ว่านชักมดลูก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ว่านชักมดลูก
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Monocots
ไม่ได้จัดลำดับ: Commelinids
อันดับ: Zingiberales
วงศ์: Zingiberaceae
สกุล: Curcuma
สปีชีส์: C.  zanthorrhiza
ชื่อทวินาม
Curcuma zanthorrhiza
Roxb.
ชื่อพ้อง

Curcuma xanthorrhiza Roxb. orth. var.[1]

ว่านชักมดลูก ชื่อวิทยาศาสตร์: Curcuma zanthorrhiza เป็นพืชในวงศ์ขิง ลำต้นตั้งตรง แตกหน่อมาก เหง้ามีใบเกล็ดที่แก่และแห้งหุ้มเป็นวง เหง้าสีออกเหลืองหรือน้ำตาลอมส้มหรือแดง เหง้าแก่เปลี่ยนเป็นสีออกเทา เนื้อเหง้าสีส้มเข้มหรือแดงเข้ม ส่วนที่อ่อนสีจะจางลง กาบใบเรียงซ้อนเป็นลำต้นเทียม ผิวใบด้านบนสีเขียวเข้ม กลางใบเป็นแถบสีน้ำตาลอมแดง ผิวใบด้านล่างสีเขียวน้ำทะเลหรือเขียวอ่อน ดอกช่อแบบเชิงลด ทรงกระบอก ริ้วประดับเรียงเวียน แต่ละริ้วมีกลีบย่อยอยู่ภายในซอก ริ้วประดับสีม่วง ดอกย่อยสีออกเหลือง ลักษณะลำต้นโดยทั่วไปคล้ายขมิ้นอ้อย

ถิ่นกำเนิดอยู่ในเกาะบาหลี เกาะชวา กระจายพันธุ์มาจนถึงมาเลเซีย ไทย และอินเดีย เหง้าสีเหลืองเข้ม กลิ่นฉุนและขม สกัดแป้งออกมาโดยใช้การขูดกับตะแกรงและล้างแป้งจนหมดกลิ่น แป้งที่ได้นิยมใช้ทำพุดดิ้งและโจ๊ก ในชวา นำเหง้าแห้งที่หั่นเป็นชิ้นบาง ๆ ไปต้ม เติมน้ำตาล ทำเป็นเครื่องดื่มรสหวาน ส่วนอ่อนของลำต้น เหง้า และช่อดอกอ่อนนำมารับประทานเป็นผักได้ เหง้าให้สีย้อมสีเหลือง และเป็นยาสมุนไพร น้ำสกัดจากเหง้าใช้รักษาโรคตับ แก้ไข้ อาหารไม่ย่อย ปวดตามข้อ ใช้เป็นยาบำรุงหลังคลอดบุตร ในเหง้าแห้งมีคูเคอร์มิน 1-4% เมื่ออ่อนสารนี้มีมากกว่าแป้ง แป้งจะมีมากที่สุดในเหง้าโตเต็มที่

อ้างอิง[แก้]

  1. Leong-Škorničková, Jana; Šída, Otakar; Marhold, Karol (2010). "Back to types! Towards stability of names in Indian Curcuma L. (Zingiberaceae)" (PDF). Taxon. International Association for Plant Taxonomy. 59 (1): 269–282. สืบค้นเมื่อ 20 December 2012.
  • พีรศักดิ์ วรสุนทโรสถ และคณะ. ทรัพยากรพืชในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 9: พืชให้คาร์โบไฮเดรตที่ไม่ใช่เมล็ด. กทม. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย. 2544. หน้า 97 - 98