กฎของเลขจำนวนเต็ม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

กฎของเลขจำนวนเต็ม กล่าวว่า มวลของธาตุจะเท่ากับเลขจำนวนเต็มคูณกับมวลของอะตอมไฮโดรเจน[1] กฎนี้สร้างขึ้นจากสมมุติฐานของเพราท์ในปี ค.ศ. 1815[2] ปี ค.ศ. 1920 ฟรานซิส ดับเบิลยู. แอสตัน สาธิตให้เห็นจากการใช้เครื่องวัดมวลว่าความเบี่ยงเบนไปจากกฎนั้นเกิดขึ้นโดยมีเหตุหลักมาจากไอโซโทป[3] ซึ่งเป็นรองพลังงานยึดเหนี่ยว ทำให้เกิดเหตุการณ์มวลพร่อง สำหรับรูปแบบปัจจุบันของกฎเลขจำนวนเต็มคือ มวลอะตอมของไอโซโทปของธาตุหนึ่งๆ มีค่าประมาณเท่ากับเลขมวล (จำนวนโปรตอนบวกนิวตรอน) คูณกับหน่วยมวลอะตอม (มีค่าประมาณเท่ากับมวลของอะตอมโปรตอน, นิวตรอน, หรือไฮโดรเจน-1 1 หน่วย) กฎนี้ทำนายมวลอะตอมของนิวไคลด์และไอโซโทปจำนวนมากได้ในระดับความแม่นยำสูงกว่า 99%

อ้างอิง[แก้]

  1. Budzikiewicz H, Grigsby RD (2006). "Mass spectrometry and isotopes: a century of research and discussion". Mass Spectrometry Reviews. 25 (1): 146–57. Bibcode:2006MSRv...25..146B. doi:10.1002/mas.20061. PMID 16134128.
  2. Prout, William (1815). "On the relation between the specific gravities of bodies in their gaseous state and the weights of their atoms". Annals of Philosophy. 6: 321–330. สืบค้นเมื่อ 2007-09-08.
  3. Aston, Francis W. (1920). "The constitution of atmospheric neon". Philosophical Magazine. 39 (6): 449–455. doi:10.1080/14786440408636058.

หนังสืออ่านเพิ่มเติม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]