ประเทศโตโก

พิกัด: 6°8′N 1°13′E / 6.133°N 1.217°E / 6.133; 1.217
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Togo)
สาธารณรัฐโตโก

République togolaise (ฝรั่งเศส)
ตราแผ่นดินของโตโก
ตราแผ่นดิน
คำขวัญ"Travail, Liberté, Patrie"
(ฝรั่งเศส: "งาน เสรีภาพ บ้านเกิด")[1]
เพลงชาติSalut à toi, pays de nos aïeux
(ฝรั่งเศส: "สดุดีแด่ท่าน ดินแดนแห่งบรรพบุรุษของเรา"
เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด
โลเม
6°8′N 1°13′E / 6.133°N 1.217°E / 6.133; 1.217
ภาษาราชการภาษาฝรั่งเศส
ภาษาพื้นเมืองกลุ่มภาษากเบ เช่น ภาษาเอเว, มีนา และอาจา; ภาษากาบีเย; และอื่น ๆ
เดมะนิมTogolese
การปกครองสาธารณรัฐ
โฟร์ กนาซีง-กเบ
Victoire Tomegah Dogbé
เอกราช
• จาก ฝรั่งเศส
27 เมษายน พ.ศ. 2503
พื้นที่
• รวม
56,785 ตารางกิโลเมตร (21,925 ตารางไมล์) (123)
4.2
ประชากร
• 2552 ประมาณ
6,619,000 คน[2] (อันดับที่ 1011)
116.6 ต่อตารางกิโลเมตร (302.0 ต่อตารางไมล์)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) 2019 (ประมาณ)
• รวม
$14.919 พันล้าน
$1,821[3]
จีดีพี (ราคาตลาด) 2560 (ประมาณ)
• รวม
$ 4.797 พันล้าน
$ 621
จีนี (2011)Negative increase 46[4]
สูง
เอชดีไอ (2019)เพิ่มขึ้น 0.515[5]
ต่ำ · 167th
สกุลเงินฟรังก์ซีเอฟเอ (XOF)
เขตเวลาUTC+0 (GMT)
ขับรถด้านขวามือ
รหัสโทรศัพท์+228
โดเมนบนสุด.tg
1ค่าประมาณสำหรับประเทศนี้ ได้คำนึงถึงผลของการตายจำนวนจากเอดส์ ซึ่งเป็นผลให้ความอายุยืนลดลง อัตราการตายเพิ่มขึ้น จำนวนประชากรและอัตราการเพิ่มน้อยลง และมีการกระจายของประชากรตามเพศและอายุต่างจากที่คาดการณ์ อันดับจากค่าประมาณในปี พ.ศ. 2548 CIA World Factbook - Togo

โตโก (ฝรั่งเศส: Togo) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐโตโก (ฝรั่งเศส: République togolaise) เป็นประเทศหนึ่งในภูมิภาคแอฟริกาตะวันตก (เขตที่ราบสูงกินี) มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศกานาทางทิศตะวันตก ทิศตะวันออกติดกับประเทศเบนินทิศเหนือติดกับประเทศบูร์กินาฟาโซ ทิศใต้จรดอ่าวกินี กรุงโลเมที่เป็นเมืองหลวงก็ติดกับอ่าวกินี

ประวัติศาสตร์[แก้]

โตโกเป็นดินแดนภายใต้การปกครองแบบอาณานิคมของเยอรมันตั้งแต่ พ.ศ. 2427 ต่อมาในปี 2457 ถูกปกครองโดยกลุ่มประเทศพันธมิตร และในปี พ.ศ. 2462 ถูกแบ่งสรรเป็นเขตในการปกครองของอังกฤษ (British Togoland) และของฝรั่งเศส (French Togo) หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ดินแดนโตโกทั้งสองส่วนตกเป็นดินแดนภายใต้การอารักขาของสหประชาชาติ ดินแดนในส่วนการปกครองของอังกฤษหรือ British Togoland ได้รวมกับ Gold Coast และกลายเป็นประเทศกานา ส่วนดินแดนในส่วนการปกครองของฝรั่งเศสหรือ French Togo ได้รับสิทธิในการปกครองตนเองบางส่วนในปี พ.ศ. 2499 และเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2503 ก็เป็นประเทศเอกราชและมีนาย Sylvanus Olympio ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีคนแรก

ภูมิศาสตร์[แก้]

ชายฝั่งของโตโกในอ่าวกินีมีความยาว 56 ก.ม. (35 ไมล์) และประกอบด้วยทะเลสาบที่มีหาดทราย ภูเขาที่สูงที่สุดของประเทศคือมงอากูที่ความสูง 986 เมตร (3,235 ฟุต) เหนือระดับน้ำทะเล แม่น้ำที่ยาวที่สุดคือแม่น้ำโมโนที่มีความยาว 400 กม. (250 ไมล์)

ชายฝั่งของโตโกมีลักษณะเป็นหนองน้ำและป่าชายเลน ประเทศนี้มีคะแนนเฉลี่ยดัชนีความสมบูรณ์ของภูมิทัศน์ป่าไม้ประจำปี 2019 อยู่ที่ 5.88/10 ซึ่งอยู่ในอันดับที่ 92 ทั่วโลกจาก 172 ประเทศ[6]

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

โลเม เป็นเมืองหลวงของประเทศโตโก มีประชากรประมาณ 700,000 คน ตั้งอยู่ที่ปากแม่น้ำกินี โลเมเป็นศูนย์กลางการปกครองและการอุตสาหกรรมของประเทศ ภายในเมืองมีท่าเรือ สินค้าส่งออกที่สำคัญของประเทศคือ กาแฟ, โกโก้, โกปรา และแก่นปาล์ม นอกจากนั้นยังมีโรงกลั่นน้ำมันอยู่อีกด้วย

โตโกแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 5 ภาค โดยแบ่งย่อยออกเป็น 30 จังหวัด ได้แก่

เศรษฐกิจ[แก้]

เศรษฐกิจของโตโกต้องพึ่งพาเกษตรกรรมเชิงพาณิชย์ และเป็นเกษตรกรรมที่มีผลิตผลเพียงพอเฉพาะบริโภคภายในประเทศ โดยแรงงานประมาณร้อยละ 65 อยู่ในภาคเกษตรกรรม โกโก้ กาแฟ และฝ้ายยังนำรายได้จากการส่งออกเข้าประเทศถึงร้อยละ 30 และโตโกเป็นประเทศที่สามารถพึ่งพาตนเองได้ในเรื่องอาหาร หากการเก็บเกี่ยวเป็นไปตามฤดูกาล ในภาคอุตสาหกรรม การทำเหมืองฟอสเฟตยังเป็นอุตสาหกรรมที่สำคัญที่สุด แม้ว่าจะได้รับผลกระทบจากราคาฟอสเฟตโลกตกต่ำและมีการแข่งขันจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ โตโกยังเป็นศูนย์กลางทางด้านพาณิชย์และการค้าในภูมิภาคด้วย รัฐบาลโตโกได้พยายามดำเนินมาตรการปฏิรูปเศรษฐกิจ และจูงใจให้มีการลงทุนจากต่างประเทศมากขึ้น รวมทั้งการจัดเก็บรายได้ของรัฐให้สอดคล้องกับรายจ่ายโดยได้รับความช่วยเหลือจากธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ

อย่างไรก็ตาม ความไม่สงบทางการเมือง รวมทั้งการนัดหยุดงานของภาครัฐและเอกชนในช่วงปี 2535 - 2536 ได้ส่งผลกระทบต่อโครงการปฏิรูปเศรษฐกิจของรัฐบาล รวมทั้งกิจกรรมเศรษฐกิจที่สำคัญด้านอื่น ๆ การลดค่าเงินถึงร้อยละ 50 เมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2537 เป็นแรงกระตุ้นสำคัญในการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจครั้งใหม่ประกอบกับการต่อสู้ทางการเมืองต่าง ๆ ได้เริ่มสงบลง ความคืบหน้าในการปฏิรูปเศรษฐกิจยังขึ้นอยู่กับการแปรรูปรัฐวิสาหกิจที่ยังดำเนินการอยู่ รวมทั้งความโปร่งใสของรัฐบาล โดยเฉพาะการจัดสรรเงินในเรื่องสวัสดิการสังคม การลดขนาดของกองทัพซึ่งรัฐบาลยังต้องพึ่งพาเพื่อความอยู่รอดของตนเอง อย่างไรก็ตาม การที่ขาดแคลนความช่วยเหลือประกอบกับราคาโกโก้ที่ตกต่ำลง ทำให้การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในปี 2541 ลดลงร้อยละ 1 แต่ก็กลับมาเช่นเดิมในปี 2542 หากบรรยากาศทางด้านการเมืองไม่เลวร้ายลง เป็นที่คาดว่าการเจริญเติบโตในปี 2543 - 2544 ควรจะสูงถึงร้อยละ 5

ศาสนา[แก้]

ประชากรโตโกนับถือศาสนาคริสต์ 29% นับถือศาสนาอิสลาม 20%[7] ที่เหลือนับถือผีและความเชื่อดั้งเดิมรวมถึงคนที่ไม่มีศาสนา

อ้างอิง[แก้]

  1. "Constitution of Togo". 2002. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-14. สืบค้นเมื่อ 2011-11-20.
  2. Department of Economic and Social Affairs Population Division (2009). "World Population Prospects, Table A.1" (PDF). 2008 revision. United Nations. สืบค้นเมื่อ 2009-03-12. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  3. "Report for Selected Countries and Subjects". www.imf.org.
  4. "Gini Index". World Bank. สืบค้นเมื่อ 2 March 2011.
  5. Human Development Report 2020 The Next Frontier: Human Development and the Anthropocene (PDF). United Nations Development Programme. 15 December 2020. pp. 343–346. ISBN 978-92-1-126442-5. สืบค้นเมื่อ 16 December 2020.
  6. Grantham, H. S.; และคณะ (2020). "Anthropogenic modification of forests means only 40% of remaining forests have high ecosystem integrity - Supplementary Material". Nature Communications. 11 (1): 5978. Bibcode:2020NatCo..11.5978G. doi:10.1038/s41467-020-19493-3. ISSN 2041-1723. PMC 7723057. PMID 33293507.
  7. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-31. สืบค้นเมื่อ 2011-12-30.