โกเสียง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โกเสียง (เกา เสียง)
高翔 / 高詳
มหาขุนพล (大將軍 ต้าเจียงจฺวิน)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. ? (?) – ค.ศ. ? (?)
กษัตริย์เล่าเสี้ยน
ขุนพลทัพขวา (右將軍 โย่วเจียงจวิน)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 229 (229) – ค.ศ. 232 (232)
กษัตริย์เล่าเสี้ยน
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิดไม่ทราบ
นครจิงโจว มณฑลหูเป่ย์
เสียชีวิตไม่ทราบ
อาชีพขุนพล
บรรดาศักดิ์เสฺวียนเซียงโหว (玄鄉侯)

โกเสียง (มีบทบาทในช่วง ค.ศ. 217-ทศวรรษ 240) มีชื่อในภาษาจีนกลางว่าเกา เสียง (จีนตัวย่อ: 高翔 / 高详; จีนตัวเต็ม: 高翔 / 高詳; พินอิน: Gāo Xiáng; เวด-ไจลส์: Kao Hsiang) เป็นขุนพลของรัฐจ๊กก๊กในยุคสามก๊กของจีนซึ่งมีส่วนร่วมในการบุกขึ้นเหนือของจูกัดเหลียง มีตำแหน่งเป็นขุนพลทัพขวา (右將軍 โย่วเจียงจวิน) และมีบรรดาศักดิ์เป็นเสฺวียนเซียงโหว (玄鄉侯)[1]

ประวัติ[แก้]

โกเสียงเป็นชาวเมืองลำกุ๋น (南郡 หนานจวิ้น; ปัจจุบันอยู่ในนครจิงโจว มณฑลหูเป่ย์) ในมณฑลเกงจิ๋ว[2]

ระหว่างปี ค.ศ. 217 ถึง ค.ศ. 219 โกเสียงติดตามเล่าปี่ไปร่วมรบในยุทธการที่ฮันต๋ง โกเสียงและตันเซ็กตั่งค่ายอยู่ที่ด่านเองเปงก๋วน (陽平 หยางผิง) แต่ถูกซิหลงขุนพลของโจโฉตีแตกพ่าย[3]

ในปี ค.ศ. 228 โกเสียงติดตามจูกัดเหลียงไปร่วมรบในการบุกขึ้นเหนือโดยรับหน้าที่เป็นผู้ช่วยของม้าเจ๊ก ไปประจำการที่หลิวเซีย (柳城 หลิ่วเฉิง) เมื่อม้าเจ๊กถูกตีแตกพ่าย และเมืองหลิวเซียถูกกุยห้วยขุนพลของวุยก๊กยึดได้ โกเสียงจึงถอยทัพ[4]

ในปี ค.ศ. 231 โกเสียงได้รับการแต่งตั้งเป็นแม่ทัพหน้า (前部督 เฉียนปู้ตู) นำทหารพร้อมด้วยอุยเอี๋ยนและงอปั้น โจมตีได้ชัยแก่สุมาอี้แม่ทัพวุยก๊ก สามารถตัดศีรษะทหารวุยก๊กได้ 3,000 หัว เก็บชุดเกราะได้ 5,000 ชุด เก็บหน้าไม้ได้ 3,100 คัน[5] เมื่อลิเงียมซึ่งรับผิดชอบการส่งเสบียงได้ทำงานผิดพลาด โกเสียงและจูกัดเหลียงได้เสนอว่าควรปลดลิเงียมออกจากราชการ[1]

ในนิยายสามก๊ก[แก้]

โกเสียงปรากฏเป็นตัวละครในนิยายอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก ตอนที่ 9[a] ในฐานะขุนพลทัพขวาของกองทัพหลวงซึ่งติดตามจูกัดเหลียงไปร่วมรบในการบุกขึ้นเหนือ[6][7]

ในสามก๊ก ตอนที่ 95[b] จูกัดเหลียงให้โกเสียงนำทหารไปรักษาเมืองหลิวเซียเพื่อคอยช่วยเหลือม้าเจ๊กที่รักษาตำบลเกเต๋ง ภายหลังโกเสียงร่วมกับอุยเอี๋ยนและอองเป๋งพยายามตีตำบลเกเต๋งที่ม้าเจ๊กเสียให้กับสุมาอี้คืนมา แต่ไม่สำเร็จ ส่วนม้าเจ๊กที่มีความผิดฐานเสียตำบลเกเต๋งก็ถูกจูกัดเหลียงสั่งประหารในเวลาต่อมา [8][9]

ภายหลังใน สามก๊ก ตอนที่ 102[c] โกเสียงได้ปรากฏบทบาทในศึกบุกวุยก๊กของจูกัดเหลียงอีกครั้ง โดยจูกัดเหลียงสั่งให้โกเสียงนำทหารคุมขบวนโคยนตร์ลำเลียงเสบียงจากด่านเกียมโก๊ะไปค่ายของจ๊กก๊กที่เขากิสาน สุมาอี้รู้ข่าวจึงให้เตียวฮอและงักหลิมไปตีชิงเอาโคยนตร์มาได้จำนวนหนึ่ง สุมาอี้ให้ช่างสร้างโคยนตร์เลียนแบบโคยนตร์ของจ๊กก๊กได้สองพันกว่าตัว ภายหลังจูกัดเหลียงได้ใช้ให้อองเป๋งชิงโคยนตร์ที่สุมาอี้ให้สร้างเลียนแบบนี้มาได้ [10][11]

หมายเหตุ[แก้]

  1. ตรงกับในสามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ตอนที่ 70
  2. ตรงกับในสามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ตอนที่ 72
  3. ตรงกับในสามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ตอนที่ 77

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 (平为大臣,受恩过量,不思忠报,横造无端,危耻不办,迷罔上下,论狱弃科,导人为姧,狭情志狂,若无天地。自度姧露,嫌心遂生,闻军临至,西向托疾还沮、漳,军临至沮,复还江阳,平参军狐忠勤谏乃止。今篡贼未灭,社稷多难,国事惟和,可以克捷,不可苞含,以危大业。輙与行中军师车骑将军都乡侯臣刘琰,使持节前军师征西大将军领凉州刺史南郑侯臣魏延、…督前部右将军玄乡侯臣高翔、…领从事中郎武略中郎将臣樊岐等议,輙解平任,免官禄、节传、印绶、符策,削其爵土。) อรรถาธิบายจากกงเหวินช่างช่างชูในจดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 40.
  2. (南郡高翔至大將軍,綝征西將軍。) หฺวาหยางกั๋วจื้อ เล่มที่ 7.
  3. (是時,夏侯淵沒於陽平,太祖憂之。以真為征蜀護軍,督徐晃等破劉備別將高詳於陽平。。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 9.
  4. (太和二年,蜀相諸葛亮出祁山,遣將軍馬謖至街亭,高詳屯列柳城。張郃擊謖,淮攻詳營,皆破之。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 26.
  5. (亮使魏延、高翔、吳班赴拒,大破之,獲甲首三千級,玄鎧五千領,角弩三千一百張,宣王還保營。) อรรถาธิบายจากฮั่นจิ้นชุนชิวในจดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 35.
  6. สามก๊ก (ซานกั๋วเหยี่ยนอี้) ตอนที่ 91
  7. สามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ตอนที่ 70
  8. สามก๊ก (ซานกั๋วเหยี่ยนอี้) ตอนที่ 95
  9. สามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ตอนที่ 72
  10. สามก๊ก (ซานกั๋วเหยี่ยนอี้) ตอนที่ 102
  11. สามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ตอนที่ 77

บรรณานกุรม[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]