โตเกี๋ยม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เถา เชียน (มาตรฐาน)
โตเกี๋ยม (ฮกเกี้ยน)
陶謙
สมุหเทศาภิบาลมณฑลชีจิ๋ว(徐州牧)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 190 (190) – ค.ศ. 194 (194)
กษัตริย์พระเจ้าเหี้ยนเต้
ถัดไปเล่าปี่
แม่ทัพบูรพาปลอดภัย (安東將軍)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 190 (190) – ค.ศ. 194 (194)
กษัตริย์พระเจ้าเหี้ยนเต้
ผู้ตรวจราชการมณฑลชีจิ๋ว (徐州刺史)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 188 (188) – ค.ศ. 190 (190)
กษัตริย์พระเจ้าเลนเต้ /
พระเจ้าฮั่นเซ่าตี้ /
พระเจ้าเหี้ยนเต้
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิดค.ศ. 132[1]
Dangtu County, มณฑลอานฮุย
เสียชีวิตค.ศ. 194 (อายุ 62 ปี)[1]
Tancheng County, มณฑลซานตง
คู่สมรสLady Gan[2]
บุตร
  • Tao Shang
  • Tao Ying
อาชีพข้าราชการ, ขุนศึก
Courtesy nameกงจู่ (恭祖)
Peerageหลี่หยางโหว (溧陽侯)
ชื่อภาษาจีน
อักษรจีนตัวเต็ม
อักษรจีนตัวย่อ
มณฑลที่ถูกปกครองโดยโตเกี๋ยมในปลายปี ค.ศ. 180

โตเกี๋ยม (อังกฤษ: Tao Qian; จีน: 陶谦; พินอิน: Táo Qiān; เวด-ไจลส์: T'ao Ch'ien) ชื่อรองว่า กงจู่ เป็นข้าราชการและขุนศึกที่มีชีวิตอยู่ในช่วงปลายราชวงศ์ฮั่นตะวันออกของจีน เขาเป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีในฐานะสมุหเทศาภิบาลมณฑลแห่งแคว้นชีจิ๋ว

ช่วงชีวิตแรกและอาชีพ[แก้]

โตเกี๋ยมมาจากเมืองตันเอี๋ยง(ตานหยาง-丹楊郡) มณฑลเองจิ๋ว ซึ่งอยู่บริเวณรอบหม่าอันซาน มณฑลอานฮุยในปัจจุบัน ในช่วงวัยหนุ่ม เขาเป็นที่รู้จักกันในด้านความวิริยะอุตสาหการเรียนและซื่อสัตย์ ในขณะที่เข้ารับราชการในราชวงศ์ฮั่น เขาได้นำกองทัพในเมืองตันเอี๋ยงเพื่อปราบปรามการก่อกบฎ

เมื่อเหตุการณ์กบฎโพกผ้าเหลืองได้เกิดขึ้น เขาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ตรวจราชการมณฑลแห่งแคว้นชีจิ๋ว และเขาได้ประสบความสำเร็จในการกวาดล้างพื้นที่ของกองกำลังฝ่ายกบฏ เขาได้ถูกส่งไปยังชายแดนด้านตะวันตกเฉียงเหนือในช่วงการก่อกบฏเหลียงจิ๋ว ซึ่งเขาได้ทำงานรับใช้ภายใต้บัญชาการของเตียวอุ๋น ในช่วงระหว่างการทัพ โตเกี๋ยมพูดจาดูหมิ่นเตียวอุ๋นและทำให้เขาโกรธมาก แต่อย่างไรก็ตาม ซุนเกี๋ยนและตั๋งโต๊ะที่อยู่ในกองทัพก็ไม่พอใจในความเป็นผู้นำของเตียวอุ๋นเช่นกัน ในเหตุการณ์ความวุ่นวายที่เกิดขึ้นมาจากการก่อรัฐประหารของตั๋งโต๊ะ และการสู้รบที่ตามมา โตเกี๋ยมได้กลับไปยังแคว้นชีจิ๋วและเข้าควบคุมแคว้นเองจิ๋วที่อยู่ใกล้เคียง อย่างไรก็ตาม ภายหลังจากนั้นมา เขาไม่สามารถแสดงให้เห็นถึงความทะเยอทะยานที่จะขยายอาณาเขตของเขาได้อีกต่อไป

โตเกี๋ยมได้เป็นผู้รับผิดชอบในการเริ่มต้นอาชีพของอ่องหลอง จูตี และตันเต๋ง ซึ่งทุกคนจะมีบทบาทที่สำคัญในเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่นำไปสู่ปลายราชวงศ์ฮั่น อย่างไรก็ตาม ในขณะเดียวกัน เขาก็ได้ส่งเสริมขุนนางที่ไม่มีจริยธรรมเช่น ฉกหยง เฉาหง ชิวซวน และพลาดที่จะแต่งตั้งคนดี เช่น เจ้ายู่ ที่มีความสามารถและจงรักภักดีไว้ใช้ใกล้ตัว โตเกี๋ยมยังจับคนที่ไม่ยอมสวามิภักดิ์เช่น เตียวเจียว และลิห้อมไปคุมขัง และเขายังพยายามที่จะทำร้ายครอบครัวของซุนเซ็กซึ่งได้รับใช้ให้กับอ้วนสุดในช่วงเวลานั้น

โจโฉบุกโจมตีแคว้นชีจิ๋ว[แก้]

ใน ค.ศ. 193 โจโก๋ บิดาของโจโฉได้เดินทางผ่านมายังแคว้นชีจิ๋ว โตเกี๋ยมได้ให้การต้อนรับเป็นอย่างดี และมอบหมายให้เตียวคี(張闓) เป็นผู้คุ้มกันขบวนรถอีกด้วย แต่หลังจากเตียวคีนำทหารห้าร้อยนายติดตามขบวนรถของโจโก๋ เตียวคีเกิดความโลภด้วยเห็นว่าโจโก๋มีทรัพย์สมบัติเป็นจำนวนมาก จึงวางแผนฆ่าโจโก๋และปล้นชิงทรัพย์สินและหลบหนีไป การตายของโจโก๋ได้ทำให้โจโฉซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นสมุหเทศาภิบาลมณฑลแห่งแคว้นกุนจิ๋ว นำกองทัพบุกเข้าโจมตีแคว้นชีจิ๋วและสังหารหมู่ประชาชนพลเรือนนับไม่ถ้วนเพื่อเป็นการล้างแค้นให้กับบิดาของเขา โตเกี๋ยมได้ขอความช่วยเหลือจากพันธมิตรของเขาที่แคว้นเฉงจิ๋ว และมีเต๊งไก๋และเล่าปี่ ลูกน้องของเขามาเข้าร่วมและพร้อมด้วยกองกำลังเสริม โตเกี๋ยมสามารถต้านทานโจโฉไว้ได้ ในที่สุด กองทัพโจโฉต้องประสบขาดแคลนเสบียงและต้องถอนกำลังกลับไปยังแคว้นกุนจิ๋ว

เต๊งไก๋ได้เดินทางกลับไปทางเหนือ แต่โตเกี๋ยมได้จัดตั้งกองกำลังจำนวนหลายพันนายจากเมืองตันเอี๋ยงให้แก่เล่าปี่ ดังนั้นเล่าปี่จึงเปลี่ยนผู้เป็นนายจากเต๊งไก๋มาเป็นโตเกี๋ยม

โจโฉได้เปิดฉากการบุกเข้าโจมตีเป็นครั้งที่สองใน ค.ศ. 194 แต่กลับถูกบีบบังคับให้หันหลังกลับ เมื่อเตียวเมาและตันก๋งได้ก่อกบฎต่อต้านเขาและช่วยเหลือแก่ลิโป้ ขุนศึกคู่อริในการเข้ายึดควบคุมฐานที่มั่นของเขาในแคว้นกุนจิ๋ว

โตเกี๋ยมได้ล้มป่วยจนถึงแก่กรรมใน ค.ศ. 194 ลูกน้องของเขาอย่างบิต๊กและบิฮองได้เชิญเล่าปี่เข้ารับตำแหน่งเป็นสมุหเทศาภิบาลมณฑลแห่งแคว้นชีจิ๋วคนใหม่ เล่าปี่ได้ปฏิเสธในตอนแรกและได้เสนอที่จะยกตำแหน่งนี้ให้กับอ้วนสุด แต่ขงหยงได้โน้มน้าวให้เขายอมรับตำแหน่งนี้ในที่สุด

ในวรรณกรรมสามก๊ก[แก้]

ในวรรณกรรมอิงประวัติศาสตร์ในศตวรรษที่ 14 เรื่องสามก๊ก โตเกี๋ยมได้ถูกกล่าวถึงว่าเป็น"ชายที่อบอุ่นและซื่อสัตย์" และการโจมตีโจโก๋ของเตียวคีนั้นถือว่าเป็นการกระทำที่ขัดต่อความต้องการของเขาเอง ต่อมาภายหลังจากนั้นที่เล่าปี่ได้ช่วยเหลือเขาในการขับไล่การรุกรานของโจโฉ โตเกี๋ยมได้เสนอยกตำแหน่งสมุหเทศาภิบาลมณฑลแห่งแคว้นชีจิ๋วให้แก่เล่าปี่ถึงสามครั้งแต่เล่าปี่กลับปฏิเสธทุกครั้ง โดยกล่าวว่าเป็นการกระทำดังกล่าวจะถูกมองว่าไร้เกียรติ ใน ค.ศ. 194 ในขณะที่กำลังจะสิ้นลมหายใจ โตเกี๋ยมได้พยายามเป็นครั้งสุดท้ายเพื่อร้องขอให้เล่าปี่เข้ารับตำแหน่งทันที แต่เล่าปี่ยังคงปฏิเสธคำขอของเขา โตเกี๋ยมได้ถึงแก่กรรมอย่างสงบภายหลังจากนั้นได้ไม่นาน และในที่สุด เล่าปี่ได้ยอมเข้ารับตำแหน่งตามคำสั่งเสียครั้งสุดท้ายของเขา ภายหลังจากประชาชนชาวชีจิ๋วและเหล่าพี่น้องของเขาต่างเชิญให้เขาเข้ารับตำแหน่ง

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Tao Qian's biography in Records of the Three Kingdoms stated that Tao died in the first year of the Xingping era (194-195) in the reign of Emperor Xian of Han. (興平元年, ... 是歲,謙病死。) An annotation from the Wu Shu further mentioned that he was 63 years old (by East Asian age reckoning) when he died. (吳書曰:謙死時,年六十三, ...) By calculation, his birth year should be around 132.
  2. Lady Gan's father was an Administrator of Cangwu. (《吴书》曰:...故苍梧太守同县甘公出遇之涂,见其容貌,异而呼之,住车与语,甚恱,因许妻以女。甘公夫人闻之,怒曰:“妾闻陶家儿敖戏无度,如何以女许之?”公曰:“彼有奇表,长必大成。”遂妻之。) Wu Shu annotation in Sanguozhi, vol.08

ดูเพิ่ม[แก้]

ก่อนหน้า โตเกี๋ยม ถัดไป
ไม่ทราบ สมุหเทศาภิบาลมณฑลชีจิ๋ว
(190 - 194)
เล่าปี่