เวด-ไจลส์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เวด-ไจลส์
ภาษาจีน拼音
เวด-ไจลส์Wei1 Chai2 Shih4
Pʻin1-yin1
ฮั่นยฺหวี่พินอินWēi-Zhái Shì Pīnyīn
ชื่อภาษาจีนอื่น ๆ
อักษรจีนตัวเต็ม拼音
อักษรจีนตัวย่อ拼音
เวด-ไจลส์Wei1 Tʻo3-ma3 Pʻin1-yin1
ฮั่นยฺหวี่พินอินWēi Tuǒmǎ Pīnyīn
ชื่อภาษาจีนอื่น ๆ (2)
อักษรจีนตัวเต็ม拼音
อักษรจีนตัวย่อ拼音
เวด-ไจลส์Wei2 Shih4 Pʻin1-yin1
ฮั่นยฺหวี่พินอินWéi Shì Pīnyīn

เวด-ไจลส์ (อังกฤษ: Wade-Giles) หรือ เวยถัวหม่าพินอิน (จีนตัวย่อ: 威妥玛拼音; จีนตัวเต็ม: 威妥瑪拼音; พินอิน: Wēituǒmǎ Pīnyīn) บางครั้งก็เรียกโดยย่อว่า เวด เป็นระบบถอดอักษรแบบถ่ายเสียงภาษาจีนกลางด้วยตัวอักษรโรมันใช้กันในปักกิ่ง พัฒนาจากระบบที่สร้างขึ้นโดย ทอมัส เวด (Thomas Wade) ในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 และปรากฏอยู่ในพจนานุกรมจีน-อังกฤษของ เฮอร์เบิร์ต ไจลส์ (Herbert Giles) ซึ่งตีพิมพ์ขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1892 (พ.ศ. 2435)

เวด-ไจลส์ เป็นระบบหลักของการถอดอักษรสำหรับผู้พูดภาษาอังกฤษในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 ใช้ในหนังสืออ้างอิงมาตรฐานหลายเล่ม และในหนังสือทุกเล่มที่เกี่ยวกับประเทศจีนที่ตีพิมพ์ก่อนปี ค.ศ. 1979 (พ.ศ. 2522)[1] แทนที่ระบบถอดอักษรของหนานจิงที่ใช้กันเป็นปกติจนกระทั่งปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ปัจจุบันนี้เปลี่ยนไปใช้ระบบพินอินกันเป็นส่วนใหญ่ แต่มีเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้นที่ยังใช้ระบบเวด-ไจลส์ โดยเฉพาะชื่อบุคคลและเมืองบางแห่งในสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน)

อ้างอิง[แก้]

  1. Krieger, Larry S.; Kenneth Neill, Dr. Edward Reynolds (1997). "ch. 4". World History; Perspectives on the Past. Illinois: D.C. Heath and Company. pp. 82. ISBN 0-669-40533-7. "This book uses the traditional system for writing Chinese names, sometimes called the Wade-Giles system. This system is used in many standard reference books and in all books on China published before 1979."

ดูเพิ่ม[แก้]