กองซุนจ้าน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กองซุนจ้าน
公孫瓚
ภาพวาดกองซุนจ้านยุคราชวงศ์ชิง
ข้าหลวงมณฑลอิวจิ๋ว (幽州刺史)
(แต่งตั้งเอง)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 193 (193) – มีนาคม ค.ศ. 199
กษัตริย์พระเจ้าเหี้ยนเต้
เฉียนเจียงจวิน (前將軍)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 192 (192) – มีนาคม ค.ศ. 199
กษัตริย์พระเจ้าเหี้ยนเต้
เฟิ่นอู่เจี่ยงจวิน
(奮武將軍)
ดำรงตำแหน่ง
189–192
กษัตริย์พระเจ้าเหี้ยนเต้
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิดก่อน ค.ศ. 161
เชียนอาน มณฑลเหอเป่ย์
เสียชีวิตเมษายน หรือพฤษภาคม ค.ศ. 199
เทศมณฑลอี้ มณฑลเหอเป่ย์
บุตรGongsun Xu (公孫續)
ความสัมพันธ์
  • Gongsun Yue (公孫越) (ลูกพี่ลูกน้อง)
  • Gongsun Fan (公孫範) (ลูกพี่ลูกน้อง)
อาชีพขุนพล, นักการเมือง, ขุนศึก
ชื่อรองโป๋กุย (伯珪)
ตำแหน่งอี้โหว (易侯)
ชื่อภาษาจีน
อักษรจีนตัวเต็ม
อักษรจีนตัวย่อ

กองซุนจ้าน มีชื่อในสำเนียงจีนกลางว่า กงซุนจ้าน (จีนตัวย่อ: 公孙瓒; จีนตัวเต็ม: 公孫瓚; พินอิน: Gōngsūn Zàn; เวด-ไจลส์: Kungsun Ts'an; ก่อน ค.ศ. 161[1] - เมษายน หรือพฤษภาคม ค.ศ. 199[2]) มีชื่อรองว่า โป๋กุย (จีน: 伯珪; พินอิน: Bóguī; เวด-ไจลส์: Po-kui) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก เจ้าเมืองปักเป๋ง กองทัพส่วนใหญ่ของกองซุนจ้านส่วนใหญ่ขี่ม้าสีขาว เนื่องจากกองซุนจ้านปราบพวกชนเผ่าพื้นเมืองเกียง เข้าผนวกทัพของตน กองซุนจ้านเป็นเพื่อนกับเล่าปี่มาตั้งแต่ครั้งยังเรียนหนังสือด้วยกัน ในสงครามปราบตั๋งโต๊ะ ในที่ประชุมพล อ้วนเสี้ยวถามว่าคนที่ยืนอยู่ข้างหลังกองซุนจ้านเป็นใคร กองซุนจ้านจึงแนะนำว่า ผู้นี้เป็นสหายข้าพเจ้า ชื่อเล่าปี่ เป็นเชื้อสายราชวงศ์ฮั่น บรรดาขุนพลจึงได้รู้จักเล่าปี่เป็นครั้งแรก และเป็นที่มาของวีรกรรมกวนอู เมื่ออาสาตัดหัวฮัวหยงได้โดยที่สุราที่โจโฉรินอวยพรให้ ยังอุ่น ๆ อยู่

เมื่อครั้งเล่าปี่ตกอับ กองซุนจ้านได้เขียนฎีกาทูลฮ่องเต้ ให้อภัยโทษแก่เล่าปี่ ต่อมาอ้วนเสี้ยวอยากได้กิจิ๋ว ซึ่งเจ้าเมืองกิจิ๋วคือฮันฮก เป็นคนอ่อนแอ อ้วนเสี้ยวคิดแผนการไม่ออก ฮองกี๋จึงแนะแผนการใช้กองซุนจ้านนำทัพมา แล้วให้อ้วนเสี้ยวนำทัพไปกิจิ๋ว อ้างว่ามาช่วย สุดท้ายอ้วนเสี้ยวยึดเมืองกิจิ๋วไว้เอง กองซุนจ้านส่งกองซุนอวดน้องชายตนไปเจรจา แต่กลับถูกทหารอ้วนเสี้ยวปลอมเป็นทหารตั๋งโต๊ะดักยิงตาย กองซุนจ้านโกรธเป็นอย่างมาก จึงได้รบกับอ้วนเสี้ยวอยู่หลายครั้ง

เมื่อครั้งกองซุนจ้านนำทัพมาเผชิญหน้ากับกองทัพของอ้วนเสี้ยวที่สะพานจีเกี้ยว บุนทิวนายทหารเอกของอ้วนเสี้ยว ได้บุกมาจับกองซุนจ้าน จนกองซุนจ้านจนตรอก แต่ดีที่จูล่ง มาช่วยไว้ทันและได้เป็นทหารของกองซุนจ้านในกาลต่อมา ภายหลังกองซุนจ้านสติวิปลาส ไม่ดูแลลูกน้องของตนเองให้ดี เมื่ออ้วนเสี้ยวยกทัพมา ก็ไม่ส่งทหารไปช่วยเหล่าเมืองขึ้น จนสุดท้ายอ้วนเสี้ยวบุกมาถึงเมืองอี้จิง กองซุนจ้านสั่งทหารสร้างกำแพงแน่นหนา แต่ก็ไม่วาย อ้วนเสี้ยวส่งทหารขุดอุโมงค์ไปจับกองซุนจ้าน กองซุนจ้านเมื่อจนตรอก จึงฆ่าบุตรและภรรยา และก็ฆ่าตัวตาย ในปี พ.ศ. 742 อันเป็นปีเดียวกับที่อ้วนสุด น้องชายอ้วนเสี้ยวตาย

รูปกองซุนจ้านจากเกม Romance Of The Three Kingdoms XI ของค่ายเกม KOEI

อ้างอิง[แก้]

  1. รายงานจากชีวิประวัติของเล่าปี่ใน จดหมายเหตุสามก๊ก กองซุนจ้านแก่กว่าเล่าปี่ และเล่าปี่ดูแลกองซุนจ้านเปรียบพี่ชาย เนื่องจากเล่าปี่เกิดใน ค.ศ. 161 ปีเกิดของกองซุนจ้านจึงต้องอยู่ก่อนหน้านั้น (瓒年长,先主以兄事之。) จดหมายเหตุสามก๊ก, vol. 32
  2. รายงานจากชีวประวัติของพระเจ้าเหี้ยนเต้ใน Book of the Later Han, อ้วนเสี้ยวยึดครอง Yijing (โดยกองซุนจ้านเสียชีวิตในช่วงที่ล้อมเมือง) ในเดือนที่ 3 ปีเจี้ยนอานที่ 4 ตรงกับ 14 เมษายนถึง 12 พฤษภาคม ค.ศ. 199 ตามปฏิทินจูเลียน ([建安]四年春三月,袁绍攻公孙瓒于易京,获之。) Houhanshu, vol.09