อุยกาย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อุยกาย
ภาพวาดอุยกาย สมัยราชวงศ์ชิง
ขุนพลแห่งง่อก๊ก
เกิดพ.ศ. 688
ชื่อภาษาจีน
อักษรจีนตัวเต็ม黃蓋
อักษรจีนตัวย่อ黄盖
ชื่อรองกงฟู่
ยุคในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก

อุยกาย (ตามสำเนียงฮกเกี้ยน) หรือ หวงก้าย (ตามสำเนียงจีนกลาง) (อังกฤษ: Huang Gai; จีน: 黄盖; พินอิน: Huáng Gài; เวด-ไจลส์: Huang Kai) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก ขุนพลแห่งง่อก๊ก ชื่อรอง กงฟู่ (จีน: 公覆) รับใช้ตระกูลซุนถึง 3 สมัย ตั้งแต่สมัยของซุนเกี๋ยนแต่ครั้งศึกโจรโพกผ้าเหลือง ซุนเซ็กในสมัยศึกปราบตั๋งโต๊ะและศึกปราบลิโป้ และซุนกวนในศึกเซ็กเพ็ก จนได้ชื่อว่า "แม่ทัพสามแผ่นดิน"[1]

ประวัติ[แก้]

อุยกาย เป็นชาวเมืองอิเหลง มณฑลเกงจิ๋ว (ปัจจุบัน คือ เขตเสี่ยวติง เมืองยี่ชาง มณฑลหูเป่ย์). เขาเป็นลูกหลานของ Huang Zilian (黃子廉) อดีตผู้ตรวจการของ Nanyang Commandery ปู่ของ Huang Gai ย้ายจาก Nanyang ไปยัง Lingling และยังคงอยู่ที่นั่นตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา. พื้นเพเป็นคนยากจนเพราะ กำพร้าพ่อแม่มาแต่ยังเด็ก แต่เป็นคนที่มีความมุ่งมั่นเด็ดเดี่ยวกล้าหาญ ตั้งปณิธานไว้ว่าจะเอาดีให้ได้ เมื่อเสร็จจากงานผ่าฟืนก็ขยันหมั่นเพียรศึกษาหาความรู้ จนกระทั่งได้บรรจุเป็นเข้ารับราชการเป็นเสมียนระดับล่างจนได้รับการคัดเลือกจากบ้านเกิดเป็นบัณฑิตผู้มีความกตัญญูและมีประวัติดีงาม(เสี้ยวเหลียน)ไปอยู่ในสำนักงานของหนึ่งในสามองคมนตรี(ซานกง) ต่อมาซุนเกี๋ยน ได้รวบรวมทหารเข้าปราบปรามโจรกบฎโพกผ้าเหลือง ตามคำสั่งของราชสำนักในปี 184 อุยกายก็เข้าร่วมด้วย อุยกายติดตามซุนเกี๋ยนปราบโจรป่าและปราบตั๋งโต๊ะ เมื่อซุนเกี๋ยนเสียชีวิตในปี 191/634 ก็รับใช้ซุนเซ็กต่อมาในการยึดครองกังตั๋ง จนถึงยุคของซุนกวน

ตามวรรณกรรม ในศึกเซ็กเพ็ก โจโฉยกทัพกว่าร้อยหมื่นมาบุกกังตั๋ง เมื่อขงเบ้งเดินทางมาถึงกังตั๋ง ขณะถูกที่ปรึกษาที่นำโดยเตียวเจียวรุมถามด้วยคำถามที่ต้องการเยาะเย้ยมากมาย อุยกายปรากฏตัวขึ้นมาขวางพร้อมกล่าวว่า ขงเบ้งเป็นยอดอัจฉริยะแห่งยุค ไม่ต้องตอบคำถามคนโง่งมเหล่านี้ จะพาขงเบ้งไปหาซุนกวนโดยตรง อุยกายเห็นจิวยี่มีความหนักใจในการศึกครั้งนี้ จึงอาสาตนให้จิวยี่โบยตีกลางที่ประชุมทัพจนสาหัสหนัก ขงเบ้งเป็นผู้เดียวที่ล่วงรู้ทันแผนการนี้ ถึงกับเอ่ยปากว่า "กังตั๋งมียอดขุนพลเช่นนี้ มีหรือทัพโจโฉจะไม่แตก" ซึ่งก็เป็นดังคำของขงเบ้งในศึกเซ็กเพ็กโจโฉพ่ายแพ้อย่างย่อยยับ

ส่วนในประวัติศาสตร์จริง อุยกายเป็นผู้วางแผนให้จิวยี่ใช้อุบายยอมสวามิภักดิ์ และเมื่อแล่นเรือของตนเข้าหากองเรือของโจโฉแล้ว กว่าฝ่ายโจโฉจะรู้ว่าแท้จริงแล้วเป็นเรือที่บรรทุกไปด้วยน้ำมันและวัตถุระเบิดก็สายไปแล้ว นำมาสู่ความพ่ายแพ้อย่างยับเยินของโจโฉในครั้งนี้ การบันทึกในประวัติศาสตร์ได้ยกความกล้าหาญและวีรกรรมครั้งนี้ของอุยกายไว้มาก[1]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 หน้า 3, อุยกาย ผู้ชนะศึกผาแดง. "ชักธงรบ" โดย กิเลน ประลองเชิง. ไทยรัฐปีที่ 68 ฉบับที่ 21727: วันจันทร์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 แรม 9 ค่ำ เดือน 8 ปีระกา