เส้นเวลาของศาสนาพุทธ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

จุดประสงค์ของเส้นเวลานี้เป็นการให้ข้อมูลละเอียดตั้งแต่การประสูติของพระโคตมพุทธเจ้าจนถึงปัจจุบัน

เส้นเวลาเหตุการณ์[แก้]

เส้นเวลา: การพัฒนาและการเผยแผ่ธรรมเนียมศาสนาพุทธ (ป. 450 ปีก่อนคริสตศักราช – ป. ค.ศ. 1300)

  450 ปีก่อนคริสตศักราช 250 ปีก่อนคริสตศักราช ค.ศ. 100 ค.ศ. 500 ค.ศ. 700 ค.ศ. 800 ค.ศ. 1200

 

อินเดีย

สงฆ์ช่วงต้น

 

 

 

สำนักศาสนาพุทธช่วงต้น มหายาน วัชรยาน

 

 

 

 

 

ศรีลังกาและ
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 

 

 

 

เถรวาท

 

 

 

 

ทิเบต

 

ญิงมา

 

กาดัม
กาจู

 

ดักโป
สักยะ
  โจนัง

 

เอเชียตะวันออก

 

สำนักศาสนาพุทธช่วงต้น
และ
มหายาน
(ผ่านเส้นทางสายไหมและมหาสมุทร
ไปยังประเทศจีน
ส่วนอินเดียติดต่อไปยังประเทศเวียดนาม)

ถังมี่

นาระ (โรกูชู)

ชิงงง

ฉาน

 

เถี่ยน, ซ็อน
  เซน
เทียนไถ / สุขาวดี

 

เท็นได

 

 

นิจิเร็ง

 

โจโดชู

 

เอเชียกลางและแอ่งตาริม

 

พุทธแบบกรีก

 

 

พุทธแบบเส้นทางสายไหม

 

  450 ปีก่อนคริสตศักราช 250 ปีก่อนคริสตศักราช ค.ศ. 100 ค.ศ. 500 ค.ศ. 700 ค.ศ. 800 ค.ศ. 1200
  ข้อมูล:   = เถรวาท   = มหายาน   = วัชรยาน   = อื่น ๆ / ผสม

วันที่[แก้]

ศตวรรษที่ 6–5 ก่อนคริสตกาล[แก้]

ปี เหตุการณ์
ประมาณ 563 หรือประมาณ 480 ปีก่อนคริสตกาล ปีที่พระโคตมพุทธเจ้าประสูติ ยังไม่มีใครทราบวันที่โดยประมาณที่แน่นอนของวันประสูติและปรินิพพานของพระโคตมพุทธเจ้า นักวิชาการส่วนใหญ่ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 บันทึกให้พระพุทธเจ้ามีชีวิตประมาณ 563 ถึง 483 ปีก่อนคริสตกาล[1][2] ล่าสุดถือว่าปีที่พระพุทธเจ้าปรินิพพานอยู่ในช่วง 411 ถึง 400 ปีก่อนคริสตกาล ในระหว่างการประชุมสัมมนาใน ค.ศ. 1988 นักวิชาการส่วนใหญ่เสนอแนวคิดว่าให้เพิ่มจำนวนปีที่พระพุทธเจ้าปรินิพพานอีก 20 ปี ข้างใดข้างหนึ่งใน 400 ปีก่อนคริสตกาลศักราช[1][3]
ประมาณ 413–345 ปีก่อนคริสตกาล พระเจ้าศิศุนาคขึ้นครองราชย์ เริ่มต้นราชวงศ์ศิศุนาค

ศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสตกาล[แก้]

ปี เหตุการณ์
383 หรือประมาณ 330 ปีก่อนคริสตกาล[4] พระเจ้ากลาโศกแห่งราชวงศ์ศิศุนาคทรงจัดการประชุมการสังคายนาครั้งที่สองที่เวสาลี สงฆ์แบ่งออกเป็นสถาวีรวดิน (Sthaviravadin) กับมหาสังฆิกะที่นำโดยพระมหาเทวะ ส่วนใหญ่เกี่ยวกับคำถามของการเพิ่มหรือลดกฎจากพระวินัย[5]
345–321 ปีก่อนคริสตกาล จักรวรรดินันทะมีชัยเหนือแคว้นมคธของราชวงศ์ศิศุนาค[6]
326 ปีก่อนคริสตกาล อเล็กซานเดอร์มหาราชเดินทางไปถึงอินเดียตะวันตกเฉียงเหนือ อาณาจักรอินโด-กรีกที่เจริญขึ้นในภายหลังได้รับอิทธิพลอย่างมากต่อการพัฒนาของศาสนาพุทธ[7]
ประมาณ 324 ปีก่อนคริสตกาล พีโร นักปราชญ์ในศาลของอเล็กซานเดอร์มหาราช เรียนรู้องค์ประกอบของพุทธปรัชญาในอินเดียจากปราชญ์เปล่า (gymnosophists) เขามีส่วนในศาสนาพุทธ โดยเฉพาะไตรลักษณ์ ซึ่งก่อให้เกิดปรัชญาลัทธิพีโร (Pyrrhonism) ในปรัชญาเฮลเลนิสติก[8]
ประมาณ 321 – ประมาณ 297 ปีก่อนคริสตกาล รัชสมัยของพระเจ้าจันทรคุปตเมารยะ พระอัยกาของพระเจ้าอโศกมหาราช ผู้พิชิตราชวงศ์นันทะใน ประมาณ 320 ปีก่อนคริสตกาล และพิชิตอินเดียเหนือ[9]

ศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาล[แก้]

ปี เหตุการณ์
ประมาณ 250 ปีก่อนคริสตกาล พระเจ้าอโศกมหาราชทรงจัดการประชุมการสังคายนาครั้งที่สาม และพระโมคคัลลีบุตรติสสเถระรวบรวมกถาวัตถุเพื่อลบล้างมุมมองและทฤษฎีนอกรีตของบางนิกาย
ประมาณ 250 ปีก่อนคริสตกาล พระเจ้าอโศกมหาราชส่งพระธรรมทูตไปยังประเทศอันไกลโพ้น ซึ่งไปไกลถึงจีน, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้แผ่นดินใหญ่ และอาณาจักรมลายูทางตะวันออกและอาณาจักรเฮลเลนิสต์ทางตะวันตก
ประมาณ 250 ปีก่อนคริสตกาล ตัวอย่างอักษรขโรษฐีที่พัฒนาแล้วครั้งแรกในจารึกที่ชาห์บาซการ์ฮีกับมานเซราฮ์ในแคว้นคันธาระ
ประมาณ 220 ปีก่อนคริสตกาล พุทธนิกายเถรวาทเริ่มเข้ามายังประเทศศรีลังกาผ่านมหินทะ พระราชโอรสของพระเจ้าอโศกมหาราช ในรัชสมัยพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ แห่งอนุราธปุระ

ศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสตกาล[แก้]

ปี เหตุการณ์
185 ปีก่อนคริสตกาล พระเจ้าปุษยมิตรศุงคะโค่นล้มจักรวรรดิโมริยะและก่อตั้งจักรวรรดิศุงคะ เป็นจุดเริ่มต้นของคลื่นการข่มเหงศาสนาพุทธ
180 ปีก่อนคริสตกาล ดิมิตรีอุสที่ 1 แห่งแบกเตรียโจมตีอินเดียไปไกลถึงปาฏลีบุตรและก่อตั้งอาณาจักรอินโด-กรีก (180–10 ปีก่อนคริสตกาล) ซึ่งเป็นช่วงที่ศาสนาพุทธรุ่งเรือง
165–130 ปีก่อนคริสตกาล รัชสมัยของพระเจ้ามิลินท์ ตามรายงานจากมิลินทปัญหา พระองค์เข้ารับศาสนาพุทธจากพระนาคเสนเถระ
121 ปีก่อนคริสตกาล รายงานจากจารึกที่ถ้ำโม่เกา ตุนหวง จักรพรรดิฮั่นอู่ (156–87 ปีก่อนคริสตกาล) ได้รับพระพุทธรูปทองคำสององค์

ศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสตกาล[แก้]

ปี เหตุการณ์
ประมาณ 55 ปีก่อนคริสตกาล เธโอโดรุส ผู้ว่าการอาณาจักรอินโด-กรีก บูชาพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งอุทิศให้กับ "องค์ศากยมุนี"
29 ปีก่อนคริสตกาล รายงานจากพงศาวดารสิงหล มีการเขียนพระไตรปิฎกภาษาบาลีในรัชสมัยของ Vaṭṭagamiṇi (29–17 ปีก่อนคริสตกาล)[10]

คริสตศตวรรษที่ 1[แก้]

ปี เหตุการณ์
67 มีการบันทึกการทำพิธีศาสนาพุทธในประเทศจีนครั้งแรกจากการสนับสนุนศาสนาพุทธของหลิว ยิง
67 ศาสนาพุทธเข้ามายังประเทศจีนผ่านพระสงฆ์สองรูป พระกาศยปมาตังคะและพระธรรมรักษ์
68 ศาสนาพุทธตั้งถิ่นฐานในประเทศจีนอย่างเป็นทางการผ่านการสร้างวัดม้าขาว
78 ปาน เชา นายพลชาวจีน ทำลายอาณาจักรโคตัน
ประมาณ 78–101 รายงานจากนิกายมหายาน มีการจัดการสังคายนาครั้งที่สี่ที่ใกล้กับชลันธร ประเทศฮินเดีย ในรัชสมัยพระเจ้ากนิษกะ

คริสตศตวรรษที่ 2[แก้]

ปี เหตุการณ์
116 กุษาณะ ภายใต้การปกครองของพระเจ้ากนิษกะ ก่อตั้งอาณาจักรที่มีศูนย์กลางที่คัชการ์ ครอบครองโคตันและยาร์คันด์ในแอ่งตาริม
148 อาน ชี่กาว เจ้าชายแห่งจักรวรรดิพาร์เธียและพระสงฆ์ เดินทางมาที่จีนเพื่อแปลคัมภีร์นิกายเถรวาทฉบับแรก
ประมาณ 150–250 ชาวพุทธในอินเดียและเอเชียกลางเดินทางไปเวียดนาม
178 โลกเกษม พระสงฆ์จากจักรวรรดิกุษาณะ เดินทางไปที่ลั่วหยางเพื่อแปลคัมภีร์นิกายมหายานไปเป็นภาษาจีน

คริสตศตวรรษที่ 3[แก้]

ปี เหตุการณ์
ประมาณ 250 แคว้นคันธาระเลิกใช้งานอักษรขโรษฐี
ประมาณ 250–350 มีการใช้อักษรขโรษฐีในโคตันและนียาที่เส้นทางสายไหมตอนใต้
296 เอกสารตัวเขียนศาสนาพุทธฉบับแรกสุดของจีนถูกเขียนในปีนี้ (Zhu Fo Yao Ji Jing, พบที่ต้าเหลียนในช่วงปลาย ค.ศ. 2005)

คริสตศตวรรษที่ 4[แก้]

ปี เหตุการณ์
320–467 มหาวิทยาลัยนาลันทารองรับพระสงฆ์ 3,000–10,000 รูป
372 ฝูเจียน (苻堅) แห่งเฉียนฉินส่งพระสงฆ์ช่านเต่า (順道) ไปที่เกาหลีของพระเจ้าโซซูริม[11]
384 มรนันตะ พระสงฆ์จากแคว้นคันธาระ เดินทางมาถึงอาณาจักรแพ็กเจ พระเจ้าอาซินถึงกับประกาศว่า "ประชาชนควรเชื่อในศาสนาพุทธและแสวงหาความสุข"[11]
399–414 ฝาเสี่ยนเดินทางไปอินเดีย แล้วกลับมาแปลผลงานศาสนาพุทธไปเป็นภาษาจีน

คริสต์ศตวรรษที่ 5[แก้]

ปี เหตุการณ์
ประมาณคริสตศตวรรษที่ 5 อาณาจักรฟูนาน (อยู่ใจกลางประเทศกัมพูชาในปัจจุบัน) เริ่มสนับสนุนศาสนาพุทธแทนศาสนาฮินดู เริ่มมีหลักฐานศาสนาพุทธช่วงต้นในประเทศพม่า (จารึกภาษาบาลี), ประเทศอินโดนีเซีย (รูปปั้น) เริ่มการสร้างสถูปที่ดัมบุลลา (ประเทศศรีลังกา)
402 ด้วยพระราชประสงค์ของเหยา ซิ่ง พระกุมารชีพเดินทางไปถึงฉางอันและแปลคัมภีร์ไปเป็นภาษาจีน.
403 ในประเทศจีน ฮุ่ย หย่วนโต้แย้งว่าพระสงฆ์ควรได้รับการยกเว้นจากการโค้งคำนับพระจักรพรรดิ
405 เหยา ซิ่งยกย่องพระกุมารชีพ
425 ศาสนาพุทธไปถึงเกาะสุมาตรา
464 พุทธภัทรเดินทางถึงประเทศจีนเพื่อให้เทศน์ศาสนาพุทธ
485 พระสงฆ์ 5 รูปจากแคว้นคันธาระเดินทางมาถึงฝูซาง (ประเทศญี่ปุ่น หรือเป็นไปได้ว่าเป็นทวีปอเมริกา)
495 มีการสร้างวัดเส้าหลินขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาของจักรพรรดิเว่ยเซี่ยวเหวิน[12][13]

คริสต์ศตวรรษที่ 6[แก้]

ปี เหตุการณ์
527 พระโพธิธรรมพักอาศัยที่วัดเส้าหลินในมณฑลเหอหนาน ประเทศจีน[14]
531–579 รัชสมัยของโฆสโรว์ที่ 1 แห่งเปอร์เซีย ผู้มีพระบรมราชโองการให้แปลเรื่องราวชาดกไปเป็นภาษาเปอร์เซีย
538 หรือ 552 รายงานจากนิฮงโชกิ ศาสนาพุทธเข้ามายังประเทศญี่ปุ่นผ่านอาณาจักรแพ็กเจ (เกาหลี) นักวิชาการบางส่วนจัดให้เกิดใน ค.ศ. 538
ประมาณ 575 สาวกเซ็นจากจีนเข้าไปยังประเทศเวียดนาม

คริสต์ศตวรรษที่ 7[แก้]

ปี เหตุการณ์
607 ราชทูตญี่ปุ่นไปเอาสำเนาพระสูตรที่จีนสมัยราชวงศ์สุย
616–634 จิ้งหว่านเริ่มสลักพระสูตรลงบนหินที่ฝางชาน, หยู่โจว ซึ่งอยู่ห่างจากปักกิ่งทางตะวันตกเฉียงใต้ 75 กิโลเมตร[15]
617–649 รัชสมัยพระเจ้าซรอนซันกัมโปแห่งทิเบต ถือเป็นกษัตริย์ทิเบตองค์แรกที่สนับสนุนการเข้ามาของศาสนาพุทธที่ทิเบต[16]
627–645 พระถังซัมจั๋งเดินทางไปที่อินเดีย พบการกดขี่ชาวพุทธโดยSasanka (กษัตริย์แห่งGauda รัฐทางตะวันตกเฉียงเหนือของเบงกอล) ก่อนกลับไปที่ฉางอันเพื่อแปลคัมภีร์ศาสนาพุทธ
671 ยี่จิ้ง ผู้แสวงบุญชาวจีนที่นับถือศาสนาพุทธ เดินทางมาที่ปาเล็มบัง เมืองหลวงของอาณาจักรศรีวิชัยบนเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย และรายงานมาว่ามีพระสงฆ์อาศัยอยู่ที่นี่กว่า 1000 รูป

คริสต์ศตวรรษที่ 8[แก้]

ปี เหตุการณ์
ประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 8 มีการแปลชาดกปัญจตันตระไปเป็นภาษาซีรีแอกและภาษาอาหรับ ยอห์นแห่งดามัสกัสแปลชีวประวัติของพระพุทธเจ้าไปเป็นภาษากรีก และมีการเผยแพร่ไปในหมู่ชาวคริสต์คู่กับบาร์ลามและโยซาฟัต ในคริสต์ศตรรษที่ 14 เรื่องราวของโยซาฟัตเป็นที่นิยมมากจนมีการประกาศเป็นนักบุญคาทอลิก
736 หัวเหยียนถูกส่งไปญี่ปุ่นผ่านประเทศเกาหลี
743–754 เจี้ยนเจิน พระสงฆ์ชาวจีนพยายามไปญี่ปุ่น 11 ครั้ง และประสบความสำเร็จใน ค.ศ. 754 เพื่อก่อตั้งสำนักริตสึที่ญี่ปุ่น ซึ่งเน้นนหลัก พระวินัย
760–830 เริ่มต้นการก่อสร้างโบโรบูดูร์ สถาปัตยกรรมศาสนาพุทธที่โด่งดัง ซึ่งใช้เวลาสร้างประมาณ 50 ปี

คริสตศตวรรษที่ 9[แก้]

ปี เหตุการณ์
804 ในรัชสมัยจักรพรรดิคัมมุ มีเรือสี่ลำเดินทางไปที่จีน โดยสองลำที่ไปถึงจีน ลำหนึ่งมีพระสงฆ์นามว่าคูไก—ผู้ที่รัฐบาลญี่ปุ่นให้อุปสมบทเป็นภิกษุ—รับคำสอนวัชรยานที่ฉางอันและกลับไปที่ญี่ปุ่น เพื่อก่อตั้งสำนักชิงงง ส่วนเรืออีกลำมีพระสงฆ์นามว่าไซโจ ผู้กลับมาญี่ปุ่นเพื่อก่อตั้งสำนักเท็นได ซึ่งอิงจากธรรมเนียมเทียนไถ
838 ถึง 841 พระเจ้าลางทรมาครองราชย์ที่ทิเบต และข่มเหงศาสนาพุทธ
838–847 เอ็นนิง พระสงฆ์จากสำนักเท็นได เดินทางไปที่จีนเป็นเวลา 9 ปี
841–846 จักรพรรดิถังอู่จงแห่งราชวงศ์ถังครองราชย์ในประเทศจีน พระองค์เป็นหนึ่งในสามจักรพรรดิที่ห้ามศาสนาพุทธ จาก ค.ศ. 843 ถึง 845 จักรพรรดิถังอู่จงทรงดำเนินการการข่มเหงต่อต้านศาสนาพุทธครั้งใหญ่ ทำให้โครงสร้างสถาบันพุทธศาสนาในประเทศจีนอ่อนแอลงอย่างถาวร
859 มีการก่อตั้งเซนสำนักเฉาต้งโดยต้งชาน เหลียงเจี้ยกับสาวกในจีนใต้

คริสต์ศตวรรษที่ 10[แก้]

ปี เหตุการณ์
ประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 10 เริ่มสร้างวัดที่พุกาม ประเทศพม่า
ประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 10 เริ่มฟื้นฟูศาสนาพุทธในทิเบต

คริสต์ศตวรรษที่ 11[แก้]

ปี เหตุการณ์
ประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 11 มาร์ปา, Konchog Gyalpo, อติสา และคนอื่น ๆ นำสายซาร์มาเข้าทิเบต
1009 เริ่มต้นราชวงศ์ลี้ของเวียดนาม โดยจักรพรรดิทรงอุปถัมภ์ศาสนาพุทธมหายานกับจิตวิญญาณดั้งเดิม
1025 อาณาจักรศรีวิชัยถูกโจมตีโดยโจฬะแห่งอินเดียใต้ ตัวอาณาจักรรอดพ้นจากเหตุการณ์ แต่มีความสำคัญลดลง หลังการโจมตี มีการย้ายศูนย์กลางไปทางเหนือจากปาเล็มบังไปยังจัมบี-เมอลายู
1056 พระเจ้าอโนรธามังช่อแห่งอาณาจักรพุกามเข้ารับศาสนาพุทธนิกายเถรวาท
1057 พระเจ้าอโนรธามังช่อยึดครองสะเทิม ทำให้ศาสนาพุทธเถรวาทในพม่าแข็งแกร่งขึ้น
1070 ภิกษุจากพุกามเดินทางมาที่โปลนนรุวะ ประเทศศรีลังกา เพื่อฟื้นฟูสายเถรวาท
1084–1112 ในประเทศพม่ารัชสมัยพระเจ้าจานซิต้า พระองค์เสร็จสิ้นจากการสร้างเจดีย์ชเวซี่โกน เจดีย์ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งรวมถึงฟันจากประเทศศรีลังกา

คริสต์ศตวรรษที่ 12[แก้]

ปี เหตุการณ์
1100–1125 จักรพรรดิซ่งฮุ่ยจงประกาศให้ศาสนาพุทธเป็นศาสนานอกกฎหมายเพื่อสนับสนุนลัทธิเต๋า พระองค์เป็นหนึ่งในสามจักรพรรดิที่ห้ามศาสนาพุทธ
1133–1212 โฮเน็งก่อตั้งศาสนาพุทธพุทธเกษตรเป็นลัทธิเอกเทศในญี่ปุ่น
1164 กลุ่มชาวต่างชาติทำลายโปลนนรุวะ ประเทศศรีลังกา ด้วยคำชี้แนะจากพระป่าสองรูป มหากัสสปะเถระกับสารีบุตรเถระ ปรากรมพาหุที่ 1 (Parakramabahu I) ทรงรวมภิกษุทั้งหมดในศรีลังกาตามแบบมหาวีระอีกครั้ง sect.
1181 พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ผู้นับถือศาสนาพุทธมหายาน (และทรงอุปถัมภ์ศาสนาฮินดู) ปกครองจักรวรรดิเขมร พระองค์มีพระราชกระแสรับสั่งให้สร้างปราสาทบายน โครงสร้างทางพุทธศาสนาที่โดดเด่นที่สุดในกลุ่มวิหารอังกอร์ และใช้เวลาสร้างนานจนถึงช่วงที่ชาวเขมรหันไปนับถือนิกายเถรวาท
1190 พระเจ้านรปติสี่ตู่แห่งพุกามปรับปรุงศาสนาพุทธในพม่าใหม่ด้วยสำนักมหาวีระแห่งซีลอน

คริสต์ศตวรรษที่ 13[แก้]

ปี เหตุการณ์
ประมาณ ค.ศ. 1200 นาลันทา ศูนย์การศึกษาพระพุทธศาสนาที่ยิ่งใหญ่ในอินเดีย ถูกปล้นและเผาทิ้งโดยมุฮัมมัด อิบน์ บัคติยาร์ ค็อลญี
1222 วันเกิดของนิจิเร็ง ไดโชนิง (1222–1282) ผู้ก่อตั้งสำนักนิชิเร็ง
1227 โดเง็งนำสำนักเฉาต้งของเซ็นจากจีนมาญี่ปุ่นในฐานะสำนักโซโต
1236 ภิกษุจากกัญจิปุรัม (Kañcipuram) ประเทศอินเดีย เดินทางมาที่ศรีลังกาเพื่อฟื้นฟูสายเถรวาท
1238 ก่อตั้งอาณาจักรสุโขทัยและให้ศาสนาพุทธนิกายเถรวาทเป็นศาสนาประจำอาณาจักร
1244 โดเง็ง เซ็นจิก่อตั้งวัดและอารมเซนโซโตะเอเฮจิ
ประมาณ ค.ศ. 1250 เถรวาทเข้าครอบครองแทนที่มหายานในประเทศกัมพูชา
1260–1270 กุบไล ข่านทำให้ศาสนาพุทธ (โดยเฉพาะพุทธแบบทิเบต) เป็นศาสนาประจำชาติโดยพฤตินัยในราชวงศ์หยวน
1279–1298 พ่อขุนรามคำแหงมหาราชแห่งอาณาจักรสุโขทัยครองราชย์และยึดครองประเทศลาว พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศไทยในปัจจุบัน พะโค (ประเทศพม่า) และบางส่วนของคาบสมุทรมลายูกลายเป็นรัฐบริวาร ทำให้ประเพณีศิลปะสุโขทัยแพร่หลาย หลังจากพ่อขุนรามคำแหงสวรรคต สุโขทัยจึงเสียการควบคุมดินแดนเพราะรัฐบริวารกลายเป็นเอกราช
1285 อาร์กุนเปลี่ยนจักรวรรดิข่านอิลไปเป็นรัฐพุทธ
1287 จักรวรรดิพุกาม อาณาจักรเถรวาทที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ล่มสลายจากการบุกครองของชาวมองโกล
1295 ฆาซัน ข่าน ผู้นำมองโกลเข้ารับอิสลาม ทำให้ผู้นำที่นับถือศาสนาพุทธนิกายตันตรยานสิ้นสุดลง

คริสตศตวรรษที่ 14[แก้]

ปี เหตุการณ์
1312 ในนิกายมหายานช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 13 มูไง เนียวไดกลายเป็นหัวหน้าภิกษุณัรูปแรกของญี่ปุ่นและกลายเป็นเจ้าอาวาสเซ็นหญิงรูปแรก[17]
1351 ในประเทศไทย พระเจ้าอู่ทอง ผู้น่าจะเป็นบุตรของครอบครัวพ่อค้าชาวจีน ก่อตั้งอยุธยาเป็นเมืองหลวงและเปลี่ยนพระนามเป็นสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1
1391–1474 Gyalwa Gendun Drubpa ดาไลลามะองค์แรกของประเทศทิเบต

คริสตศตวรรษที่ 15[แก้]

ปี เหตุการณ์
1405–1431 เจิ้งเหอริเริ่มการเดินทางสมบัติหมิง ทำให้ผู้คนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อินเดีย อ่าวเปอร์เซีย แอฟริกาตะวันออก และอียิปต์พบเห็นศาสนาพุทธแบบจีน

คริสตศตวรรษที่ 16[แก้]

ปี เหตุการณ์
1578 อัลตัน ข่านแห่งตือเมดยกตำแหน่งทะไลลามะให้กับSonam Gyatso (ต่อมามีชื่อว่า ทะไลลามะ องค์ที่สาม)

คริสตศตวรรษที่ 17[แก้]

ปี เหตุการณ์
ประมาณ คริสต์ทศวรรษ 1600-1700 เมื่อเวียดนามถูกแบ่งเป็นสองส่วน ผู้นำเหงียนทางใต้สนับสนุนศาสนาพุทธนิกายมหายานเป็นอุดมการณ์เชิงบูรณาการของสังคมพหุเชื้อชาติ ซึ่งเต็มไปด้วยชาวจามกับชนกลุ่มน้อยอื่น ๆ
1614 ตระกูลโทโยโตมิซ่อมแซมพระพุทธรูปที่วัดโฮโกจิ เกียวโต
1615 ชาวมองโกลออยรัตเข้ารับศาสนาพุทธแบบทิเบต สำนักเกลุก
1642 กือชิ ข่าน แห่งโคชูตมอบอำนาจอธิปไตยทิเบตให้กับทะไลลามะองค์ที่ 5

คริสตศตวรรษที่ 18[แก้]

ปี เหตุการณ์
1753 ประเทศศรีลังกาแต่งตั้งอุปสมบทพระสงฆ์จากประเทศไทยใหม่ – สยามนิกาย

คริสตศตวรรษที่ 19[แก้]

ปี เหตุการณ์
1802–1820 จักรพรรดิซา ล็องครองราชย์เวียดนามที่รวมตัวกันเป็นหนึ่ง พระองค์สามารถกำจัดกบฏเต็ยเซินในเวียดนามใต้ด้วยความช่วยเหลือจากพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช แล้วค่อยยึดครองดินแดนทางเหนือของ Trinh และก่อตั้งรัฐลัทธิขงจื้อกับจำกัดอิทธิพลศาสนาพุทธ พระองค์สั่งห้ามผู้ใหญ่เข้าร่วมพิธีศาสนาพุทธ
1851–1868 ในประเทศไทย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว—ซึ่งเคยเป็นพระสงฆ์ก่อน—ทรงริเริ่มการรณรงค์ปฏิรูปพระภิกษุให้ทันสมัย
1860 ในประเทศศรีลังกาเริ่มฟื้นฟูศาสนาพุทธขนานใหญ่ พร้อมกับความเป็นชาตินิยม
1879 สภาภายใต้การอุปถัมภ์ของพระเจ้ามินดงไปปรับปรุงคัมภีร์ภาษาบาลีอีกครั้ง
1880 เฮเลนา บลาวัตสกีย์และเฮนรี สตีล โอลคอตเป็นชาวตะวันตกคนแรกที่ได้รับสิทธิผู้ลี้ภัยกับเบญจศีล ซึ่งเป็นพิธีที่จะเข้ามานับถือศาสนาพุทธ[18]
1882 มีการสร้างวัดพระหยกที่เซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน โดยนำพระพุทธรูปสององค์จากพม่ามาประดิษฐานที่นี่
1884 อู ธรรมโลก ชาวไอร์แลนด์ที่อุปสมบทในประเทศพม่า เป็นภิกขุตะวันตกรูปแรกที่ทราบชื่อแต่ไม่เป็นที่รู้จัก
1896 นักโบราณคดีชาวเนปาลค้นพบเสาอโศกที่ลุมพีนี โดยการใช้บันทึกของฝาเสี่ยน

คริสตศตวรรษที่ 20[แก้]

ปี เหตุการณ์
1911 อู ธรรมโลกพยายามปลุกปั่นให้ต่อต้านมิชชันนารีในประเทศพม่า
1930 มีการก่อตั้งสมาคมสร้างคุณค่าที่ญี่ปุ่น
1949 มหาโพธิวิหารที่พุทธคยากลับอยู่ในน้ำมือของชาวพุทธ
1954 มีการสังคายนาครั้งที่หกที่ย่างกุ้ง ประเทศพม่า ซึ่งดำเนินการโดยอู้นุ
1956 ภีมราว รามจี อามเพฑกร บิดารัฐธรรมนูญอินเดียและผู้นำทลิต เข้ารับศาสนาพุทธแบบนวยาน
1959 ทะไลลามะที่ 14 หนีออกจากทิเบตท่ามกลางช่วงก่อความไม่สงบ อารามใดที่มีส่วนรู้เห็นหรือให้ที่พักพิงสายลับที่ก่อความรุนแรง จะมีการลงโทษด้วยการทำลาย เผา หรือรื้ออารามทั้งหมด
1963 ทิก กว๋าง ดึ๊กเผาตนเองเพื่อประท้วงต่อโง ดิ่ญ เสี่ยม
1965 รัฐบาลพม่าจับกุมพระสงฆ์มากกว่า 700 รูปที่เขตเมืองฮเมาบี ใกล้ย่างกุ้ง เพราะพวกเขาไม่ยอมรับการปกครองของรัฐบาล
1966 เฟรดา เบดี สตรีชาวอังกฤษ เป็นผู้หญิงชาวตะวันตกคนแรกที่นับถือศาสนาพุทธแบบทิเบต[19]
คริสตทศวรรษ 1970 บริการทางโบราณคดีอินโดนีเซีย (Indonesian Archaeological Service) กับยูเนสโกร่วมฟื้นฟูโบโรบูดูร์
1974 วัดป่านานาชาติ​ วัดแรกที่ก่อตั้งเพื่อฝึกฝนและสนับสนุนพระสงฆ์ชาวตะวันตกในสายพระป่าในประเทศไทย ก่อตั้งโดยพระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท)
1974 ในประเทศพม่า ในช่วงการเดินขบวนที่งานศพของอู้ตั่น พระสงฆ์ 600 รูปถูกจับและบางรูปถูกกองทัพรัฐบาลแทงด้วยดาบปลายปืน
1975 ผู้นำคอมมิวนิสต์ลาวพยายามเปลี่ยนแปลงมุมมองศาสนา—โดยเฉพาะการเรียกให้พระสงฆ์มาทำงาน ทำให้มีพระสงฆ์หลายรูปลาสิกขาไปใช้ชีวิตตามปกติ แต่ศาสนาพุทธยังคงเป็นที่นิยมอยู่
1975–1979 พล พต ผู้นำเขมรแดงเกือบทำลายศาสนาพุทธสำเร็จ แต่เวียดนามโจมตีกัมพูชาเสียก่อนใน ค.ศ. 1978 พระสงฆ์และผู้รู้ศาสนาเกือบทั้งหมดถ้าไม่ถูกฆ่าก็เนรเทศออกนอกประเทศ และวัดกับหอสมุดถูกทำลายเกือบทั้งหมด
1978 ในประเทศพม่า รัฐบาลจับ สึก และจำคุกพระสงฆ์และสามเณรมากกว่าเดิม อารามถูกปินและถูกยึดทรัพย์สิน
1980 รัฐบาลทหารพม่ายืนยันอำนาจเหนือพระสงฆ์ และก่อความรุนแรงต่อพระสงฆ์ตลอดทั้งทศวรรษ
1988 ในช่วงการก่อกำเริบ 1988 ทหารของสภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐยิงใส่พระสงฆ์
1990 27 สิงหาคม – พระสงฆ์มากกว่า 7000 รูปรวมตัวกันที่มัณฑะเลย์เพื่อต่อต้านทหาร ทำให้รัฐบาลโจมตีอารามและจับกุมพระสงฆ์ร้อยกว่ารูป พระสงฆ์หลายรูปถูกจำคุกเป็นเวลายาวนาน และสั่งให้สึกทั้งหมด พระบางรูปถูกทรมาณขณะสอบสวน
1998 25 มกราคม – กลุ่มก่อการร้ายกองทัพพยัคฆ์ปลดปล่อยทมิฬอีแลมระเบิดฆ่าตัวตายที่วัดพระเขี้ยวแก้ว สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดในศรีลังกากับแหล่งมรดาโลกของยูเนสโก ซึ่งบรรจุฟันของพระพุทธเจ้า มีประชาชนเสียชีวิต 8 คน และบาดเจ็บ 25 คน และสร้างความเสียหหายกับโครงสร้างวัดที่สร้างมาตั้งแต่ ค.ศ. 1592

คริสต์ศตวรรษที่ 21[แก้]

วันที่ เหตุการณ์
2001 พฤษภาคม – พระพุทธรูปแห่งบามียานถูกพวกตอลิบานระเบิดทำลายที่บามยาน ประเทศอัฟกานิสถาน
2003 Ayya Sudhamma Bhikkhuni เป็นหญิงอเมริกันคนแรกที่ได้รับการอุปสมบทเป็นภิกษุณีแบบเถรวาทที่ศรีลังกา[20][21][22]
2006 Merle Kodo Boyd เกิดที่รัฐเท็กซัส เป็นหญิงชาวแอฟริกัน–อเมริกันคนแรกที่ได้รับการถ่ายทอดธรรมะแบบเซ็น[23]
2007 Myokei Caine-Barrett เกิดและอุปสมบทที่ญี่ปุ่น เป็นภิกษุณีนิจิเร็งรูปแรกในอเมริกาเหนือ[24]
2011 ทาง Institute for Buddhist Dialectical Studies (IBD) ที่ธรรมศาลา ประเทศอินเดีย มอบปริญญา geshe ให้กับเกลซัง วังโม ภิกษุณีชาวเยอรมัน ทำให้เธอกลายเป็นผู้หญิงคนแรกของโลกที่ได้รับ geshe[25][26]
2013 หญิงทิเบตสามารถเข้าสอบ geshe ครั้งแรก[27]
2014 ก่อตั้งมหาวิทยาลัยนาลันทาที่ราชคฤห์ โดยมีการให้ที่ดิน 455 เอเคอร์และจัดสรรจากรัฐบาลอินเดีย 2727 โกฏิ (10 ล้าน) รูปีอินเดีย (ประมาณ 454 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)[28] และได้รับทุนจากรัฐบาลจีน, สิงคโปร์, ออสเตรเลีย, ไทย และอื่น ๆ[29]
2016 ภิกษุณีทิเบต 20 รูปเป็นหญิงทิเบตรูปแรกที่ได้รับปริญญา geshe[30][31]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Cousins 1996, pp. 57–63.
  2. Schumann 2003, p. 10–13.
  3. Prebish 2008, p. 2.
  4. Harvey, Peter (2013). An Introduction to Buddhism: Teachings, History and Practices (2nd ed.). Cambridge, UK: Cambridge University Press. pp. 88–90. Noting the date of seventy years after the passing of the Buddha, which, in the short chronology, would place the second council around 330 +/-20 years.
  5. Skilton, Andrew. A Concise History of Buddhism. 2004. p. 48
  6. Raychaudhuri, H. C.; Mukherjee, B. N. (1996), Political History of Ancient India: From the Accession of Parikshit to the Extinction of the Gupta Dynasty, Oxford University Press, pp. 204–209.
  7. Narain, A.K. (1957). The Indo-Greeks. Oxford: Clarendon Press. p. 124
  8. Beckwith, Christopher I. (2015). Greek Buddha: Pyrrho's Encounter with Early Buddhism in Central Asia (PDF). Princeton University Press. ISBN 9781400866328.
  9. R.K. Sen (1895). "Origin of the Maurya of Magadha and of Chanakya". Journal of the Buddhist Text Society of India. The Society. pp. 26–32.
  10. Geiger 2012.
  11. 11.0 11.1 Buswell, Robert E. (1991). Tracing Back the Radiance: Chinul's Korean Way of Zen. University of Hawaii Press. pp. 5, 6. ISBN 0824814274.
  12. "A brief History of Kung Fu". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 6, 2014.
  13. Canzonieri, Salvatore (February–March 1998). "History of Chinese Martial Arts: Jin Dynasty to the Period of Disunity". Han Wei Wushu. 3 (9).
  14. [1] The Art of Shaolin Kung Fu: The Secrets of Kung Fu for Self-Defense, Health and Enlightenment by Grandmaster Wong Kiew Kit
  15. Lagerwey, John (2004). Religion and Chinese Society. Hong Kong: The Chinese University Press. p. xviii.
  16. Anne-Marie Blondeau, Yonten Gyatso, 'Lhasa, Legend and History,' in Françoise Pommaret(ed.) Lhasa in the seventeenth century: the capital of the Dalai Lamas, Brill Tibetan Studies Library, 3, Brill 2003, pp. 15–38.
  17. "Abbess Nyodai's 700th Memorial". Institute for Medieval Japanese Studies. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 21, 2012. สืบค้นเมื่อ April 10, 2012.
  18. Current Perspectives in Buddhism: Buddhism today : issues & global dimensions, Madhusudan Sakya, Cyber Tech Publications, 2011, p. 244
  19. "Nonfiction Book Review: The Revolutionary Life of Freda Bedi: British Feminist, Indian Nationalist, Buddhist Nun by Vicki Mackenzie. Shambhala,". Publishersweekly.com. ISBN 978-1-61180-425-6. สืบค้นเมื่อ 2017-06-10.
  20. The Outstanding Women in Buddhism Awards (2006) เก็บถาวร 2011-01-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.
  21. Carolina Buddhist Vihara (n.d.) เก็บถาวร กันยายน 7, 2010 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.
  22. Bhāvanā Society Forest Monastery (2007) เก็บถาวร 2017-11-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, p. 165.
  23. Zen master who?: a guide to the people and stories of Zen[ลิงก์เสีย] By James Ishmael Ford
  24. Zen T.C. Zheng. "Cultivating her faith: Buddhist order's first female priest tends to diverse congregation". Chron.com. สืบค้นเมื่อ 2010-11-19.
  25. "2,500 Years After The Buddha, Tibetan Buddhists Acknowledge Women". Huffington Post. 18 May 2011.
  26. "Geshe Kelsang Wangmo, An Interview with the World's First Female Geshe". Foundation for the Preservation of the Mahayana Tradition. September 11, 2012. สืบค้นเมื่อ October 4, 2016.
  27. "Buddhist nun professors or none?". onfaith. June 7, 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-09-21. สืบค้นเมื่อ October 4, 2016.
  28. "Sushma Swaraj inaugurates Nalanda University". Economic Times. 19 September 2014. สืบค้นเมื่อ 19 September 2014.
  29. "Nalanda University reopens". Times of India. 1 September 2014. สืบค้นเมื่อ 10 September 2014.
  30. Nuns, Tibetan (2016-07-14). "Tibetan Buddhist Nuns Make History: Congratulations Geshema Nuns!". The Tibetan Nuns Project – Tnp.org. สืบค้นเมื่อ 2016-10-04.
  31. "Twenty Tibetan Buddhist nuns are first ever to earn Geshema degrees". Lionsroar.com. 2016-07-15. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-05. สืบค้นเมื่อ 2016-10-04.

ข้อมูล[แก้]

สิ่งตีพิมพ์[แก้]

เว็บไซต์[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]