พุกาม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พุกาม

ပုဂံ
เมือง
วัดและเจดีย์ในพุกาม
วัดและเจดีย์ในพุกาม
พุกามตั้งอยู่ในประเทศพม่า
พุกาม
พุกาม
ที่ตั้งเมืองพุกามในประเทศพม่า
พิกัด: 21°10′21″N 94°51′36″E / 21.17250°N 94.86000°E / 21.17250; 94.86000พิกัดภูมิศาสตร์: 21°10′21″N 94°51′36″E / 21.17250°N 94.86000°E / 21.17250; 94.86000
ประเทศ พม่า
เขต ภาคมัณฑะเลย์
ก่อตั้งกลางถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 9
พื้นที่
 • ทั้งหมด104 ตร.กม. (40 ตร.ไมล์)
ประชากร
 • กลุ่มชาติพันธุ์พม่า
 • ศาสนาพุทธเถรวาท
เขตเวลาUTC+6.30 (เวลามาตรฐานพม่า)
พุกาม *
  แหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก
เจดีย์ในพุกาม
พิกัด21°8′56″N 94°53′4″E / 21.14889°N 94.88444°E / 21.14889; 94.88444
ประเทศ พม่า
ภูมิภาค **เอเชียและแปซิฟิก
ประเภทมรดกทางวัฒนธรรม
เกณฑ์พิจารณา(iii), (iv), (vi)
อ้างอิง1588
ประวัติการขึ้นทะเบียน
ขึ้นทะเบียน2562 (คณะกรรมการสมัยที่ 43)
พื้นที่5,005.49 ha (12,368.8 เอเคอร์)
พื้นที่กันชน18,146.83 ha (44,841.8 เอเคอร์)
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีแหล่งมรดกโลก
** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก

พุกาม (พม่า: ပုဂံ) เป็นเมืองโบราณและได้รับการรับรองจากองค์การยูเนสโกให้เป็นแหล่งมรดกโลก ตั้งอยู่ในภาคมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า[1] ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 9 ถึง 13 เมืองแห่งนี้เคยเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรพุกาม อาณาจักรแห่งแรกของชาวพม่า ในช่วงรุ่งเรืองสูงสุดของอาณาจักรระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 11 ถึง 13 มีวัด เจดีย์ และอาราม กว่า 10,000 แห่ง ถูกสร้างขึ้นบนที่ราบพุกามเพียงแห่งเดียว[2] ซึ่งยังคงมีวัดและเจดีย์กว่า 2,200 แห่งที่ยังคงอยู่รอดมาจนถึงปัจจุบัน[3]

เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2559 เกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ทางตอนกลางของพม่า สร้างความเสียหายครั้งใหญ่แก่พุกาม วัดเกือบ 400 แห่งได้รับความเสียหาย กรมโบราณคดีแห่งพุกามได้เริ่มต้นการสำรวจและบูรณะ โดยได้รับความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญยูเนสโก นักท่องเที่ยวและผู้เข้าชมไม่สามารถเข้าชมวัดได้ 33 แห่ง[4]

ปัจจุบันพุกามตั้งอยู่ในภาคมัณฑะเลย์ อยู่ห่างจากเมืองมัณฑะเลย์ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ 90 ไมล์ หรือ 145 กิโลเมตร พุกามแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ เขตเมืองเก่า (เขตที่ตั้งอาณาจักรพุกาม) เขตเมืองใหม่ (เขตที่อยู่อาศัยปัจจุบัน) และญองอู้ (เขตพาณิชยกรรมและเศรษฐกิจ) มีสนามบินชื่อสนามบินญองอู้เป็นสนามบินประจำเมือง รายได้หลักของเมืองคือการท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ มีนักท่องเที่ยวจากทั่วทุกมุมโลกมาเยือนที่นี่เสมอทุกช่วงปี โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจากแถบเอเชียด้วยกัน

พุกามได้ชื่อว่าเป็น "เมืองแห่งทะเลเจดีย์" หรือ "ดินแดนแห่งเจดีย์" เพราะในช่วงรุ่งเรืองเคยมีเจดีย์มากมายที่ถูกสร้างขึ้นบนที่ราบพุกาม เจดีย์แห่งแรกของพุกามคือ เจดีย์ชเวซี่โกน สร้างโดยพระเจ้าอโนรธามังช่อ ปฐมกษัตริย์แห่งอาณาจักรพุกาม โดยธรรมเนียมการสร้างเจดีย์ เจดีย์องค์ใหญ่สุดจะเป็นเจดีย์ที่กษัตริย์ทรงสร้าง และองค์ที่มีขนาดเล็กถัดมาเป็นการสร้างโดยเหล่าขุนนาง อำมาตย์ ลดหลั่นลงมาตามบรรดาศักดิ์ นอกจากเจดีย์ชเวซี่โกนแล้ว ยังมีเจดีย์สำคัญ ๆ อีกหลายองค์และวัดสำคัญ ๆ อีกเช่น เจดีย์ชเวซานดอ, อานานดาพะย่า, มีนกะลาเซดี, วัดที่โลมี่นโล, วัดดะมะยานจี้, วัดตะบะญุ เป็นต้น

อ้างอิง[แก้]

  1. "Seven more cultural sites added to UNESCO's World Heritage List". UNESCO. 6 July 2019.
  2. Stadtner 2011: 216
  3. Köllner, Bruns 1998: 117
  4. "Earthquake strikes Myanmar, damaging famed Bagan temples, police say". 24 August 2016. สืบค้นเมื่อ 24 August 2016.
  • Pictorial Guide to Pagan. 2nd ed. Rangoon: Ministry of Culture, 1975.
  • Pagan - Art and Architecture of Old Burma Paul Strachan 1989, Kiscadale, Arran, Scotland.
  • Glimpses of Glorious Pagan Department of History, University of Rangoon, The Universities Press 1986.
  • [The Map of Bagan]Bagan Map. DPS Online Maps.
  • " Pagan: The Origins of Modern Burma", Micheal Aung-Thwin, University of Hawaii Press, 1985.
  • "The Mists of Ramanna: The Legend that was Lower Burma", Michael Aung-Thwin, University of Hawaii Press, 2005. This is a critical examination of the role of the Mon in the Pagan kingdom.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]