คุยเรื่องแม่แบบ:ศาสนาพุทธ

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ธงพระธรรมจักร
ธงพระพุทธศาสนาสากล
ศาสนาพุทธ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิพระพุทธศาสนา และสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะรวบรวมเรื่องทุกอย่างเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ถ้าต้องการมีส่วนร่วมโครงการ สามารถเข้าร่วมได้ที่หน้าโครงการ
 แม่แบบ  หน้านี้เป็นหน้าแม่แบบ จึงไม่จัดระดับตามการจัดระดับบทความ

มีพุทธภาษิตอยู่บทหนึ่งความว่า ผู้ใดได้ยินได้ฟังคำว่า "สิ่งทั้งหลายทั้งปวง อันใครๆ ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น" ผู้นั้นชื่อว่า ได้ยินได้ฟังทั้งหมดในพุทธศาสนา (ท่านพุทธทาสมักใช้คำนี้เสมอในการอธิบายใจความทั้งหมดของพระพุทธศาสนา)

คำนี้จึงนับได้ว่าเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา ดังนั้น นิพพาน จึงเป็นเป็นไวพจน์ของ การไม่ยึดมั่นถือมั่น ด้วย

อีกประการหนึ่ง การดับที่สุดซึ่งทุกข์ (นิพพาน) เป็นผลของเหตุคือ การไม่ยึดมั่นถือมั่น ผมจึงทำลิงก์ไปที่ นิพพาน อันเป็นผล

เพราะการใช้คำว่า จุดหมายของพระพุทธศาสนาคือนิพพาน อาจจะเข้าใจยากสำหรับคนทั่วไป

การเปลี่ยนมาใช้พุทธพจน์บทเดียว ที่กินความคลุมทั้งพระไตรปิฎกทั้ง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ น่าจะทำให้สาธุชนเข้าใจจุดหมายของพระพุทธศาสนาได้ดีกว่าครับ

-- ผู้ใช้ Tmd | พูดคุย 11:41, 28 พฤศจิกายน 2007 (ICT)

ช่วยยกพุทธพจน์เต็มๆของ"สิ่งทั้งหลายทั้งปวง อันใครๆ ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น"ให้หน่อยสิครับ--Bpitk 00:29, 23 มีนาคม 2551 (ICT)
  • แฟน ๆ ขอมา tmd จัดให้คร้าบ

อันว่า บทพุทธพจน์บาลี "สพฺเพ ธมฺมา นาลํ อภินิเวสาย" "ธรรมทั้งปวงอันใคร ๆ ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น" ที่ท่านพุทธทาสชอบใช้นั้น มีปรากฏอยู่หลายแห่งด้วยกันครับทั้งอวิชชาสูตร จูฬตัณหาสังขยสูตร ขอยกตัดตอนพระบาลีจำเพาะ จูฬตัณหาสังขยสูตร อันโด่งดัง ก็แล้วกันครับ



จูฬตณฺหาสงฺขยสุตฺต

[๔๓๓] เอวมฺเม สุต เอก สมย ภควา สาวตฺถิย วิหรติ ปุพฺพาราเม มิคารมาตุ ปาสาเท ฯ อถ โข สกฺโก เทวานมินฺโท เยน ภควา เตนุปสงฺกมิ อุปสงฺกมิตฺวา ภควนฺต อภิวาเทตฺวา เอกมนฺต อฏฺาสิ ฯ เอกมนฺต ิโต โข สกฺโก เทวานมินฺโท ภควนฺต เอตทโวจ กิตฺตาวตา นุ โข ภนฺเต ภิกฺขุ สงฺขิตฺเตน ตณฺหาสงฺขยวิมุตฺโต โหติ อจฺจนฺตนิฏฺโ อจฺจนฺตโยคกฺเขมี อจฺจนฺตพฺรหฺมจารี อจฺจนฺตปริโยสาโน เสฏฺโ เทวมนุสฺสานนฺติ ฯ

[๔๓๔] อิธ เทวานมินฺท ภิกฺขุโน สุต โหติ สพฺเพ ธมฺมา นาล อภินิเวสายาติ เอวฺเจ ต เทวานมินฺท ภิกฺขุโน สุต โหติ สพฺเพ ธมฺมา นาล อภินิเวสายาติ โส สพฺพ ธมฺม อภิชานาติ สพฺพ ธมฺม อภิฺาย สพฺพ ธมฺม ปริชานาติ สพฺพ ธมฺม ปริฺาย ยงฺกิฺจิ เวทน เวเทติ สุข วา ทุกฺข วา อทุกฺขมสุข วา โส ตาสุ เวทนาสุ อนิจฺจานุปสฺสี วิหรติ วิราคานุปสฺสี วิหรติ นิโรธานุปสฺสี วิหรติ ปฏินิสฺสคฺคานุปสฺสี วิหรติ โส ตาสุ เวทนาสุ อนิจฺจานุปสฺสี วิหรนฺโต วิราคานุปสฺสี วิหรนฺโต นิโรธานุปสฺสี วิหรนฺโต ปฏินิสฺสคฺคานุปสฺสี วิหรนฺโต น กิฺจิ โลเก อุปาทิยติ อนุปาทิย น ปริตสฺสติ อปริตสฺส ปจฺจตฺตฺเว ปรินิพฺพายติ ขีณา ชาติ วุสิต พฺรหฺมจริย กต กรณีย นาปร อิตฺถตฺตายาติ ปชานาติ เอตฺตาวตา โข เทวานมินฺท ภิกฺขุ สงฺขิตฺเตน ตณฺหาสงฺขยวิมุตฺโต โหติ อจฺจนฺตนิฏฺโ อจฺจนฺตโยคกฺเขมี อจฺจนฺตพฺรหฺมจารี อจฺจนฺตปริโยสาโน เสฏฺโ เทวมนุสฺสานนฺติ ฯ อถ โข สกฺโก เทวานมินฺโท ภควโต ภาสิต อภินนฺทิตฺวา อนุโมทิตฺวา ภควนฺต อภิวาเทตฺวา ปทกฺขิณ กตฺวา ตตฺเถวนฺตรธายิ ฯ

อ้างอิง: พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ จูฬตัณหาสังขยสูตร 

พึ่งสังเกต แม่แบบ:พุทธ วันนี้ครับ เห็นด้วยกับท่านอย่างยิ่ง! กับท่านBpitk ที่ใส่ว่าจุดมุ่งหมายของพระพุทธศาสนาคือ พ้นทุกข์ / ความดับทุกข์ เข้าใจง่ายดีครับ ^_^ -- ผู้ใช้ Tmd | พูดคุย 22:43, 1 เมษายน 2551 (ICT)

ยินดีครับ ที่คุณเห็นตรงกันว่า จุดมุ่งหมายของพระพุทธศาสนาคือ พ้นทุกข์ / ความดับทุกข์ ว่าแต่ว่า ทำไมจึงใช้ สิ่งทั้งหลายทั้งปวง แทน สพฺเพ ธมฺมา ล่ะครับ ผมเลยค้นไม่เจอ เลยทีแรก หรือว่า ทั้ง จิต เจตสิก รูป นิพพาน และทั้งบัญญัติต่างๆ มีอากาส เป็นต้น รวมอยู่ใน สพฺเพ ธมฺมา --Bpitk 23:21, 8 เมษายน 2551 (ICT)
บทว่า สพฺเพ ธมฺมา นาลํ อภินิเวสาย นี้ อธิบายว่า ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ ชื่อว่าธรรมทั้งปวง ธรรมแม้ทั้งหมดเหล่านั้น ไม่ควร คือไม่เรียน ไม่ปรารถนา ไม่ประกอบไว้ด้วยความยึดมั่นด้วยอำนาจแห่งตัณหาและทิฏฐิ เพราะเหตุไร เพราะไม่ดำรงอยู่โดยอาการที่บุคคลจะถือเอาได้. --Bpitk 23:21, 8 เมษายน 2551 (ICT)
ท่านพุทธทาสบอกว่าทุกสิ่งแม้กระทั่งนิพพาน หากยังยึดว่า กู นิพพาน แล้วมันจะนิพพานอย่างไร? (ขออภัยจำไม่ได้ว่าหนังสือของท่านเล่มไหน) สรุปคือ ท่านหมายเอาจุดหมายของพุทธะว่า เมื่อใด ปราศจากที่ยึด ปราศจากผู้ยึด เมื่อปราศจากผู้ยึด แล้วใครจะทุกข์ (นิพพาน)-- ผู้ใช้ Tmd | พูดคุย 23:29, 8 เมษายน 2551 (ICT)
ขอบคุณครับ สำหรับคำแนะนำ ผมเพียงแต่มักจะงงเรื่อง สพฺเพ ธมฺมา ทีแรกคิดว่า หมายถึงเฉพาะ ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ ตลอดจนวิปัสสนาภูมิต่างๆ --Bpitk 23:40, 8 เมษายน 2551 (ICT)

ครับ บางทีตำรามันก็ "บัง" อะไร ๆ ไว้ได้มากเหมือนกัน อย่างที่ท่านพุทธทาสกล่าวไว้ครับ อิอิ -- ผู้ใช้ Tmd | พูดคุย 23:56, 8 เมษายน 2551 (ICT)