สภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สหภาพพม่า
(1988-2011)
สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า
(2011)

ပြည်ထောင်စုမြန်မာနိုင်ငံတော်
(1988–2011)
ပြည်ထောင်စု သမ္မတ မြန်မာနိုင်ငံတော်‌
(2011)
1988–2011
เพลงชาติ
เมืองหลวงย่างกุ้ง (1988–2006)
เนปยีดอ (2006–2010)
ภาษาทั่วไปพม่า
ศาสนา
ศาสนาพุทธเถรวาท
การปกครองรัฐเดี่ยว สาธารณรัฐ ภายใต้เสนาธิปไตย เผด็จการทหาร
ประธาน 
• 1988-1992
ซอ หม่อง
• 1992-2011
ตาน ฉ่วย
รองประธาน 
• 1988-1992
ตาน ฉ่วย
• 1992-2011
หม่อง เอ
นายกรัฐมนตรี 
• 1988-1992
ซอ หม่อง
• 1992-2003
ตาน ฉ่วย
• 2003-2004
ขิ่น ยุ้นต์
• 2004-2007
โซ วิน
• 2007-2011
เต็ง เส่ง
ยุคประวัติศาสตร์สงครามเย็น
18 กันยายน 1988
• เปลี่ยนชื่อจาก "Burma" เป็น "Myanmar" (เปลี่ยนชื่อภาษาอังกฤษเท่านั้น)
18 มิถุนายน 1989[1]
23 กรกฎาคม 1997
15 สิงหาคม 2007
7 พฤศจิกายน 2010
• ออง ซาน ซูจีได้รับการปล่อยตัว
13 พฤศจิกายน 2010
• เปลี่ยนชื่อเป็น "สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า"
31 มกราคม 2011[2][3]
• ยุบเลิก
30 มีนาคม 2011
เอชดีไอ (2011)0.526
ต่ำ
สกุลเงินจัต
ขับรถด้านขวา
รหัสโทรศัพท์95
ก่อนหน้า
ถัดไป
สาธารณรัฐสังคมนิยมแห่งสหภาพพม่า
สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ พม่า

สภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ (พม่า: နိုင်ငံတော်အေးချမ်းသာယာရေးနှင့်ဖွံ့ဖြိုးရေးကောင်စီ, อังกฤษ: State Peace and Development Council, อักษรย่อ SPDC) เป็นเครื่องมือการปกครองของประเทศพม่า เดิมใช้ชื่อว่าสภาฟื้นฟูกฎหมายและระเบียบแห่งรัฐ (State Law and Order Restoration Council) หรือ สลอร์ก (SLORC) ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2531 หลังความวุ่นวายทางการเมืองที่ดำเนินมานับตั้งแต่มีการยกเลิกธนบัตรบางชนิดโดยไม่มีการชดใช้จากรัฐบาล การดำเนินการดังกล่าวสร้างความไม่พอใจให้กับนักศึกษา ประกอบกับทำให้เกิดปัญหาเศรษฐกิจร้ายแรง ความไม่พอใจแพร่กระจายออกไปจนกระทั่งเกิดการประท้วงและปะทะกันจนนองเลือดในที่สุด ประชาชนจำนวนมากเสียชีวิตเนื่องจากทหารใช้กำลังปราบปรามโดยไม่ยับยั้ง

รัฐบาลกำหนดให้มีการเลือกตั้งในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2533 ท่ามกลางความแปลกใจของประชาชน ชัยชนะอย่างท่วมท้นของพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตยซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้านไร้ความหมาย เมื่อสภาฟื้นฟูกฎหมายและระเบียบแห่งรัฐปฏิเสธการเปิดประชุมสภาใหม่

การเปลี่ยนชื่อเป็นชื่อที่ใช้ในปัจจุบันมีขึ้นเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 หลังจากพม่าเข้าเป็นสมาชิกอาเซียนในเดือนกรกฎาคมปีเดียวกัน โดยเกิดขึ้นท่ามกลางเสียงวิพากษ์วิจารณ์จากทั้งภายในอาเซียนเองและต่างประเทศ นอกจากนี้การเปลี่ยนชื่อดังกล่าวยังถูกมองว่าเป็นการพยายามปรับปรุงภาพลักษณ์ของประเทศในสายตาของนานาชาติ แม้ว่าการเปลี่ยนชื่อจะแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงวาระสำคัญของชาติ แต่ลักษณะอำนาจนิยมของรัฐบาลยังคงมีอยู่

อ้างอิง[แก้]

  1. Article 2, The Adaptation of Expressions Law, 18 June 1989
  2. Article 1(b),2(a), The Law Relating to Adaptation of Expressions, 2011, 27 January 2011
  3. "၂၀၀၈ ဖွဲ့စည်းပုံအခြေခံဥပဒေ" [2008 Constitution]. Constitutional Tribunal of the Union of Myanmar, Online Law Library (ภาษาพม่า). March 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-04-22. ဖွဲ့စည်းပုံအခြေခံဥပဒေပြဋ္ဌာန်းချက်များနှင့်အညီ ၂၀၀၈ ဖွဲ့စည်းပုံအခြေခံဥပဒေသည် ပထမအကြိမ် ပြည်ထောင်စုလွှတ်တော်စတင်ကျင်းပသည့် ၃၁-၁-၂၀၁၁ ရက်နေ့တွင် စတင်အာဏာတည်ခဲ့သည်။
  • ไมเคิล ลีเฟอร์, จุฬาพร เอื้อรักสกุล (แปล-เรียบเรียง), พจนานุกรมการเมืองสมัยใหม่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2548, หน้า 547, 550. ISBN 974-571-921-8

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]