หัวเหยียน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หัวเหยียน
สามผู้ยิ่งใหญ่แห่งหัวเหยียน - งานแกะสลักหินแห่งต้าจู๋, ฉงชิ่ง, ประเทศจีน
ชื่อภาษาจีน
ภาษาจีน华严宗
อักษรจีนตัวเต็ม華嚴宗
ชื่อภาษาเวียดนาม
ภาษาเวียดนามHoa Nghiêm tông
ฮ้าน-โนม華嚴宗
ชื่อภาษาเกาหลี
ฮันกึล
화엄종
ฮันจา
華嚴宗
ชื่อภาษาญี่ปุ่น
คันจิ華厳宗
คานะけごん しゅう
การถอดเสียง
โรมาจิKegon-shū
ชื่อสันสกฤต
สันสกฤตAvataṃsaka

นิกายหัวเหยียน หรือ ฮวาเหยียน (จีน: 華嚴宗) หรือนิกายอวตังสกะ เป็นหนึ่งในนิกายในศาสนาพุทธฝ่ายมหายาน ถือพุทธธรรมคำสั่งสอนในอวตังสกสูตร หรือพุทธาวตังสกมหาไวปุลยสูตร เป็นหลัก นิกายนี้ก่อตั้งขึ้นในช่วงปลายราชวงศ์สุย รุ่งเรืองถึงขีดสุดในสมัยราชวงศ์ถัง

ประวัติ[แก้]

ในราวพุทธศตวรรษที่ 9 ท่านพุทธภัทรได้แปลอวตังสกสูตรออกสู่พากย์จีน และต่อมาในสมัยราชวงศ์ถัง ท่านศึกษานันทะได้แปลอีกฉบับหนึ่ง ถือกันว่าเป็นฉบับที่สมบูรณ์ ตั้งแต่พระสูตรถูกแปลเป็นพากย์จีน ก็ถูกกับอุปนิสัยของชาวจีนมาก มีผู้ศึกษากันแพร่หลาย[1]

ต่อมาในราวพุทธศตวรรษที่ 10-11 คณาจารย์ตู้ซุ่น (杜順) ได้เขียนนิพนธ์เรื่อง "ธรรมธาตุวิปัสสนา" (華嚴法界觀門) และปัญจศาสน์สมถวิปัสสนา (華嚴五教止觀) ได้สถาปนารากฐานของนิกายหัวเหยียนขึ้น ต่อมามีคณาจารย์ฝ่าจั้ง (法藏) หรือเสียนโส่ว (贤首) ได้เขียนอรรถกถาหลักธรรมในอวตังสกสูตร นิกายหัวเหยียนจึงเจริญรุ่งเรือง บางทีนิกายนี้ก็ชื่อว่า "เสียนโส่ว" ตามนามของคณาจารย์เสียนโส่ว นิกายนี้มีอิทธิพลคู่เคียงกันนิกายเทียนไท้ตลอดมา[1]

ในช่วงปลายราชวงศ์ถัง นิกายหัวเหยียนเริ่มเสื่อมความนิยมลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายหลังการกวาดล้างพุทธศาสนาครั้งใหญ่ในรัชสมัยพระเจ้าถังอู่จง (หรือ การกวาดล้างพุทธศาสนาเมื่อปีค.ศ. 854) จนกระทั่งสูญหายไปจากแผ่นดินจีนในที่สุด ปัจจุบันคำสอนของนิกายนี้ยังเหลือที่เกาหลียังสืบสานแนวทางปริยัติอยู่บ้าง และที่ญี่ปุ่นยังคงไว้ที่สำนักวัดโทไดจิ เมืองนาระ ซึ่งในญี่ปุ่นเรียกว่านิกายเคะงง ส่วนในเกาหลีเรียกว่านิกายฮวาออม

คณาจารย์[แก้]

นิกายหัวเหยียนมีคณาจารย์หรือบูรพาจารย์ 5 ท่าน สืบทอดมาตั้งแต่เริ่มสถาปนานิกายจนถึงยุครุ่งเรืองสูงสุด เรียกในภาษาจีนว่า "ปัญจบูรพาจารย์" (五祖) มีดังนี้[2][3][4]

บูรพาจารย์รุ่นที่ 1 พระเถระตู้ซุ่น (杜順) หรือ มีช่วงชีวิตอยู่ระหว่างปีค.ศ. 557-640 เป็นผู้ริเริ่มใช้พระสูตรอวตังสกะสอนพุทธธรรม พระเจ้าถังไท่จงมอบสมัญญานามให้แก่ท่านว่า ตี้ซิน (帝心) ผู้คนเรียกท่านว่าอารยะตี้ซิน (帝心尊者) ท่านมีฉายาทางธรรมว่า ตี้ซิน ตู้ซุ่น (帝心杜順)

บูรพาจารย์รุ่นที่ 2 พระเถระจื้อเหยี่ยน (智儼) ได้วางรากฐานคำสอนของนิกายจนมีเอกลักษณ์เฉพาะตน ผู้คนเรียกท่านว่า อารยะจื้อเซียง (至相尊者) อนึ่งคำว่า อารยะในฝ่ายมหายาน เทียบเท่ากับคำว่าอรหันต์ หรืออริยะบุคคลในฝ่ายเถรวาท ท่านมีฉายาทางธรรมว่า หยุนหัว จื้อเหยียน (雲華智嚴)

บูรพาจารย์รุ่นที่ 3 พระเถระฝ่าจั้ง (法藏) นิกายหัวเหยียน ได้รับความนิยมแพร่หลายในหมู่ชน ได้รับพระบรมราชานุเคราะห์จากพระนางบูเช็กเทียน บางครั้งเรียกขานท่านว่า เสียนโส่ว ฝ่าจั้ง (賢首法藏) ตามฉายาทางธรรมของท่าน

บูรพาจารย์รุ่นที่ 4 พระเถระเฉิงกวน (澄觀) สืบต่อคำสอนจากรุ่นที่แล้ว เป็นพระราชครูของฮ่องเต้หลาย พระองค์ มีความสัมพันธ์แนบแน่นกับราชสำนักและวงการเมือง ได้รับสมัญญาว่าเป็นโพธิสัตว์หัวเหยียน ท่านมีฉายาทางธรรมว่า ชิงเหลียง เฉิงกวน (淸涼澄觀)

บูรพาจารย์รุ่นที่ 5 พระเถระจงมี่ (宗密) นำคำสอนของนิกายไปผสานเข้ากับการวิปัสนาทำสมาธิของนิกายฉาน ท่านมีฉายาทางธรรมว่า กุยเฟิง จงมี่ (圭峯宗密)

อย่างไรก็ตาม ยังมีการจัดคณาจารย์ของนิกายนี้ออกเป็น 7 ท่าน หรือ สัปตบูรพาจารย์ (七祖) โดยรวมเอาพระอัศวโฆษะ (馬鳴) และพระนาคารชุนะ (龍樹) เป็นต้นนิกายลำดับที่ 1 และ 2 ตามลำดับ ทำให้พระเถระตู้ซุ่นเลื่อนมาเป็นลำดับที่ 3 ส่วนพระเถรจงมี่เป็นลำดับที่ 7 โดยการจัดลำดับเป็น 7 ท่านนี้เป็นผลงานของปราชญ์ยุคหลังนามว่า หลี่ถงเสวียน (李通玄)

หลักคำสอน[แก้]

นิกายนี้สอนว่า สรรพสัตว์มีสภาวะเป็นเอกีภาพเรียกว่า "เอกสัตยธรรมธาตุ" ในอวตังสกสูตรมีพระพุทธพจน์ตรัสว่า "น่าอัศจรรย์หนอ ! สรรพสัตว์ทั้งหลาย ไฉนจึงบริบูรณ์ด้วยฌานปัญญาแห่งพระตถาคต เต็มเปี่ยมอยู่แล้วในตัวของเขาเอง" นอกจากนี้ คณาจารย์พระเถระเฉิงกวน แห่งนิกายนี้ยังกล่าวว่า "มหึมาจริงหนอ ! สัตยธาตุนี้ เป็นสมุฏฐานแห่งสิ่งทั้งปวง"[1]

หากจะสรุป คำสอนอันเป็นเอกลักษณ์ของนิกายนี้คือ ทุกสรรพสิ่งล้วนแต่มีพุทธภาวะ นับแต่ปรมาณูจนถึงสากลจักรวาล โดยมีวาทะว่า "เอกะคือสรรพสิ่ง สรรพสิ่งคือเอกะ" นี่คือคำสอนอย่างรวบรับที่สุดของนิกายนี้ ดังปรากฏในพุทธาวตํสกะสูตร ความว่า

"ในทุกอณูฝุ่นผงของสากลโลก

ปรากฏสรรพโลกและสรรพุทธะ

ณ ปลายหนึ่งเกศาพระพุทธองค์

ปรากฏพุทธเกษตรแดนทิพย์มิถ้วน

ในพุทธเกษตรแดนทิพย์มิถ้วน

อยู่ ณ ปลายหนึ่งเกศาพระพุทธองค์"[5]

การแบ่งหลักคำสอน[แก้]

นิกายนี้แบ่งระยะกาลแห่งพระธรรมเทศนาของพระพุทธองค์ออกเป็น 3 กาล เรียกว่า "ตรีการศาสน์" ได้แก่

  1. ปฐมกาล ทรงแสดงอวตังสกสูตร เปรียบด้วยพระอาทิตย์ในอรุณสมัยเริ่มแรกขึ้ต้องยอดเขาหลวง
  2. มัธยมกาล ทรงแสดงพระธรรมเป็นประโยชน์แก่บุคคลทั่วไปอุปมาดั่งแสงสุริยะในเวลาเที่ยง
  3. ปัจฉิมกาล ทรงแสดงธรรม ในการสรุปหลักธรรมในยานทั้งสามเป็นยานเดียว อุปมาดังพระอาทิตย์อัสดง ย่อมส่องแสงสู่ยอดเขาอีกวาระหนึ่ง[1]

คัมภีร์สำคัญ[แก้]

  • ฝอซัวโตวซาจิง (佛說兜沙經) จำนวน 1 ผูก แปลโดยพระโลกเกษม สมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออก
  • เหวินซูซือลี่เหวินผู่ซ่าซู่จิง (文殊師利問菩薩署經) จำนวน 1 ผูก แปลโดยพระโลกเกษม สมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออก
  • ฝอซัวผู่ซ่าเปิ่นเย่จิง (佛說菩薩本業經) จำนวน 1 ผูก แปลโดยจือเชียน สมัยอาณาจักรง่อก๊ก
  • จูผู่ซ่าฉิวฝูเปิ่นเย่จิง (諸菩薩求佛本業經) จำนวน 1 ผูก แปลโดยเนี่ยต้าวเจิน สมัยราชวงศ์จิ้นตะวันตก
  • ผู่ซ่าสือจู้สิงต้าวผิ่น (菩薩十住行道品) จำนวน 1 ผูก แปลโดยพระธรรมรักษะ สมัยราชวงศ์จิ้นตะวันตก
  • เจี้ยนเป่ยอิเชี้ยจื้อเต๋อจิง (漸備一切智德經) จำนวน 5 ผูก แปลโดยพระธรรมรักษะ สมัยราชวงศ์จิ้นตะวันตก
  • เติ่งมู่ผูซ่าสั่วเหวินซานเม่ยจิง (等目菩薩所問三昧經) จำนวน 3 ผูก แปลโดยพระธรรมรักษะ สมัยราชวงศ์จิ้นตะวันตก
  • ฝอซัวหรูไหลซิ่งเซี่ยนจิง (佛說如來興顯經) จำนวน 4 ผูก แปลโดยพระธรรมรักษะ สมัยราชวงศ์จิ้นตะวันตก
  • ตู้ซื่อผิ่นจิง (度世品經) จำนวน 6 ผูก แปลโดยพระธรรมรักษะ สมัยราชวงศ์จิ้นตะวันตก
  • พุทธาวตังสกมหาไพบูลสูตร หรือ ต้าฟางกว่างฝอหัวเหยียนจิง (大方廣佛華嚴經) จำนวน 60 ผูก แปลโดยพระพุทธภัทระ สมัยราชวงศ์จิ้นตะวันตก

คัมภีร์รอง[แก้]

ปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 ปรัชญามหายาน, หน้า
  2. A Dictionary of Chinese Buddhist Terms, p.
  3. Cook, Francis H (1977), Hua-Yen Buddhism: The Jewel Net of Indra, Penn State Press,
  4. Hamar, Imre, ed. (2007), Reflecting Mirrors: Perspectives on Huayan Buddhism. Wiesbaden: Harrassowitz Verlag
  5. Dumoulin, Heinrich (2005-A), Zen Buddhism: A History. Volume 1: India and China, World Wisdom Books,

ข้อมูล[แก้]

  • Buswell, Robert E. (1991), The "Short-cut" Approach of K'an-hua Meditation: The Evolution of a Practical Subitism in Chinese Ch'an Buddhism. In: Peter N. Gregory (editor)(1991), Sudden and Gradual. Approaches to Enlightenment in Chinese Thought, Delhi: Motilal Banarsidass Publishers Private Limited
  • Cleary, Thomas, trans. (1993). The Flower Ornament Scripture: A Translation of the Avatamsaka Sūtra. ISBN 0-87773-940-4
  • Cook, Francis H (1977), Hua-Yen Buddhism: The Jewel Net of Indra, Penn State Press, ISBN 0-271-02190-X
  • Dumoulin, Heinrich (2005-A), Zen Buddhism: A History. Volume 1: India and China, World Wisdom Books, ISBN 978-0-941532-89-1 {{citation}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |year= (help)
  • Garfield, Jay L.; Edelglass, William (2011), The Oxford Handbook of World Philosophy, ISBN 9780195328998
  • Hamar, Imre (2007), Introduction. In: Hamar, Imre (editor), Reflecting Mirrors: Perspectives on Huayan Buddhism (Asiatische Forschungen Vol. 151) (PDF), Wiesbaden: Harrassowitz, ISBN 978-3447055093, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ April 12, 2014
  • Lai, Whalen (2003), Buddhism in China: A Historical Survey. In Antonio S. Cua (ed.): Encyclopedia of Chinese Philosophy (PDF), New York: Routledge, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ November 12, 2014
  • Wright, Dale S. (1982), The Significance of Paradoxical Language in Hua-Yen Buddhism. In: Philosophy East and West 32 (3):325-338, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 12, 2014
  • William Edward Soothill. (1934). A Dictionary of Chinese Buddhist Terms. Oxford.
  • เสถียร โพธินันทะ. ปรัชญามหายาน. กรุงเทพฯ. มหามกุฏราชวิทยาลัย.

อ่านเพิ่ม[แก้]

  • Cleary, Thomas (1995). Entry Into the Inconceivable: An Introduction to Hua-Yen Buddhism, University of Hawaii Press; Reprint edition. ISBN 0824816978 (Essays by Tang Dynasty Huayen masters)
  • Fa Zang (2014). "Rafter Dialogue" and "Essay on the Golden Lion," in Justin Tiwald and Bryan W. Van Norden, eds., Readings in Later Chinese Philosophy. Indianapolis: Hackett Publishing. ISBN 978-1624661907
  • Gimello, Robert; Girard, Frédéric; Hamar, Imre (2012). Avataṃsaka Buddhism in East Asia: Huayan, Kegon, Flower Ornament Buddhism ; origins and adaptation of a visual culture, Asiatische Forschungen: Monographienreihe zur Geschichte, Kultur und Sprache der Völker Ost- u. Zentralasiens, Wiesbaden: Harrassowitz, ISBN 978-3-447-06678-5.
  • Gregory, Peter N. (1983). The place of the Sudden Teaching within the Hua-Yen tradition:an investigation of the process of doctrinal change, Journal of the International Association of Buddhist Studies 6 (1), 31 - 60
  • Haiyun Jimeng (2006). The Dawn of Enlightenment - The Opening Passage of Avatamsaka Sutra with a Commentary, Kongting Publishing. ISBN 986748410X
  • Hamar, Imre, ed. (2007), Reflecting Mirrors: Perspectives on Huayan Buddhism. Wiesbaden: Harrassowitz Verlag
  • Prince, Tony (2020), Universal Enlightenment - An introduction to the Teachings and Practices of Huayen Buddhism (2nd edn.). Amazon Kindle Book. ASIN B08C37PG7G

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]