เรือโดยสารสาธารณะ ไทย สมายล์ โบ้ท

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เรือโดยสารสาธารณะ ไทย สมายล์ โบ้ท
เรือโดยสารสาธารณะของไมน์สมาร์ทเฟอร์รี่
ที่ตั้งกรุงเทพมหานคร
เส้นทางเดินเรือแม่น้ำเจ้าพระยา
ประเภทบริการเรือโดยสารพลังงานไฟฟ้า
สาย •  สายสีเขียว  พระปิ่นเกล้า-สาทร
 •  สายสีน้ำเงิน  สะพานพระราม 7-วัดวรจรรยาวาส
 •  สายสีม่วง  พระนั่งเกล้า-สาทร
เจ้าของบริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน)
ผู้ดำเนินงานบริษัท ไทย สมายล์ โบ้ท จำกัด
กำกับดูแลกรมเจ้าท่า, กรุงเทพมหานคร
เริ่มดำเนินงานเมื่อ23 ธันวาคม พ.ศ. 2563
ความยาวของเส้นทาง22 กม. (13.67 ไมล์)
ความถี่20-60 นาที/ลำ (เวลาปกติ)
5-10 นาที/ลำ (ช่วงเวลาเร่งด่วน)
จำนวนสาย3 สาย
จำนวนเรือ35 ลำ
จุดเปลี่ยนสายทางท่าสาทร
จำนวนท่าเรือ22 ท่า
เว็บไซต์minesmartferry.com
แผนที่เส้นทาง

N30/1
พระนั่งเกล้า
สะพานพระนั่งเกล้า ไทรม้า – แยกนนทบุรี 1
N30
นนทบุรี (พิบูลสงคราม 3)
แล่นผ่าน
ไม่แวะจอด
สะพานพระราม 5
N29/1
N29
พิบูลสงคราม 2
วัดเขียน
N28
วัดตึก
N27
N26
วัดเขมา
N25
พิบูลสงคราม 1
สะพานพระราม 7
N24
ข้ามเขต
จังหวัด
นนทบุรี
กรุงเทพ
N23
วัดสร้อยทอง
บางโพ บางอ้อ – เตาปูน
N22
บางโพ
N21
เกียกกาย
N20
เขียวไข่กา
N19
กรมชลประทาน
N18
พายัพ
วัดเทพากร
N17/1
วัดเทพนารี
N17
สะพานกรุงธน
N16
N15
เทเวศร์
พระราม 8
N14
N13
พระอาทิตย์
พระปิ่นเกล้า
N12
ท่ารถไฟ
N11
พรานนก (วังหลัง)
N10
N9
ท่าช้าง
N8
ท่าเตียน
ปิดปรับปรุง
วัดอรุณ
วัดโพธิ์
ปิดปรับปรุง
สนามไชย อิสรภาพ – สามยอด
N7
ราชินี
N6/1
ยอดพิมาน
ปิดปรับปรุง
N6
สะพานพุทธ
N5
ราชวงศ์
N4
กรมเจ้าท่า
N3
สี่พระยา
N2/1
แคท ทาวเวอร์
ไอคอนสยาม
N2
วัดม่วงแค
N1
โอเรียนเต็ล
สะพานตากสิน กรุงธนบุรี – สุรศักดิ์
CEN
สาทร
S1
วัดเศวตฉัตร
S2
วัดวรจรรยาวาส
Depot
ท่าเทียบเรือบริษัท ปิยะศิริวานิช จำกัด
สถานีชาร์จ

เรือโดยสารสาธารณะ ไทย สมายล์ โบ้ท (อังกฤษ: Thai Smile Boat) เป็นเรือโดยสารไฟฟ้าในแม่น้ำเจ้าพระยา ให้บริการในเส้นทางท่าเรือพระนั่งเกล้า - ท่าเรือวัดวรจรรยาวาส โดย บริษัท ไทย สมายล์ โบ้ท จำกัด

ประวัติ[แก้]

เรือโดยสารสาธารณะ ไทย สมายล์ โบ้ท เป็นโครงการเรือโดยสารบนแม่น้ำเจ้าพระยาภายใต้ความร่วมมือของบริษัท อี สมาร์ท ทรานสปอร์ต กับกรมเจ้าท่า[1] ให้บริการโดย บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน)ในเส้นทางท่าพระปิ่นเกล้า-ท่าสาทร และท่าน้ำสะพานพระราม7-ท่าสาทร ท่าน้ำพระนั่งเกล้า-ท่าสาทร เปิดให้บริการครั้งแรกในวันที่ 23 ธันวาคม 2563 [2] เรือโดยสารเป็นเรือพลังงานไฟฟ้าลำแรกของประเทศไทย จุผู้โดยสารได้ 200 คน และใช้พลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนซึ่งสามารถใช้งานได้ 3 ชั่วโมง [3] เรือโดยสารนี้ได้รับรางวัลนวัตกรรมแห่งชาติประจำปี 2563 จากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ [4]

เส้นทาง[แก้]

เส้นทางเดินเรือสามารถแบ่งได้เป็น 3 สาย คือ[5][6]

เรือโดยสารสาธารณะไมน์สมาร์ทเฟอร์รี่ที่ท่าสาทร
  1.  สายสีเขียว  ซิตี้ ไลน์ (City Line) : ให้บริการเส้นทางตั้งแต่ท่าเรือพระปิ่นเกล้า - ท่าเรือสาทร ให้บริการทุกวัน ค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสาย เรือออกทุก 45 นาที[7][8]
    • จากท่าเรือพระปิ่นเกล้า เที่ยวแรกเวลา 07.30 น. เที่ยวสุดท้ายเวลา 18.00 น.
    • จากท่าเรือสาทร เที่ยวแรกเวลา 07.30 น. เที่ยวสุดท้ายเวลา 17.30 น.
  2.  สายสีน้ำเงิน  เมโทร ไลน์ (Metro Line) : ให้บริการเส้นทางตั้งแต่ท่าเรือพระราม 7 - ท่าเรือสาทร ให้บริการทุกวัน ค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสาย[7][8]
    • วันธรรมดา
      • จากท่าเรือพระราม 7 เที่ยวแรกเวลา 06.30 น. เที่ยวสุดท้ายเวลา 17.05 น.
      • จากท่าเรือวัดวรจรรยาวาส เที่ยวแรกเวลา 07.25 น. เที่ยวสุดท้ายเวลา 18.00 น.
    • วันหยุด วันเสาร์ อาทิตย์ และในวันหยุดนักขัตฤกษ์
      • จากท่าเรือพระราม 7 เที่ยวแรกเวลา 07.30 น. เที่ยวสุดท้ายเวลา 16.25 น.
      • จากท่าเรือวัดวรจรรยาวาส เที่ยวแรกเวลา 08.25 น. เที่ยวสุดท้ายเวลา 17.20 น.
  3.  สายสีม่วง  เออร์เบิน ไลน์ (Urban Line) : ให้บริการเส้นทางตั้งแต่ท่าเรือพระนั่งเกล้า - ท่าเรือสาทร ให้บริการทุกวัน ค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสาย[9]
    • วันธรรมดา เรือออกความถี่ 15 นาที - 1 ชั่วโมง/ลำ[7]
      • จากท่าเรือสะพานพระนั่งเกล้า เที่ยวแรกเวลา 06.05 น. เที่ยวสุดท้ายเวลา 17.10 น.
      • จากท่าเรือสาทร เที่ยวแรกเวลา 06.05 น. เที่ยวสุดท้ายเวลา 18.30 น.
    • วันเสาร์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เรือออกความถี่ 35 - 50 นาที/ลำ
      • จากท่าเรือสะพานพระนั่งเกล้า เที่ยวแรกเวลา 06.50 น. เที่ยวสุดท้ายเวลา 17.10 น.
      • จากท่าเรือสาทร เที่ยวแรกเวลา 08.10 น. เที่ยวสุดท้ายเวลา 18.30 น.
    • วันอาทิตย์ เดินเรือขาละ 8 เที่ยว
      • จากท่าเรือสะพานพระนั่งเกล้า เที่ยวแรกเวลา 07.40 น. เที่ยวสุดท้ายเวลา 16.10 น.
      • จากท่าเรือสาทร เที่ยวแรกเวลา 09.00 น. เที่ยวสุดท้ายเวลา 17.30 น.

ท่าเรือ[แก้]

ท่าเรือและการเชื่อมต่อกับขนส่งมวลชนประเภทอื่น ๆ ประกอบไปด้วย

N30/1
พระนั่งเกล้า
สะพานพระนั่งเกล้า ไทรม้า – แยกนนทบุรี 1
N30
นนทบุรี (พิบูลสงคราม 3)
แล่นผ่าน
ไม่แวะจอด
สะพานพระราม 5
N29/1
N29
พิบูลสงคราม 2
วัดเขียน
N28
วัดตึก
N27
N26
วัดเขมา
N25
พิบูลสงคราม 1
สะพานพระราม 7
N24
ข้ามเขต
จังหวัด
นนทบุรี
กรุงเทพ
N23
วัดสร้อยทอง
บางโพ บางอ้อ – เตาปูน
N22
บางโพ
N21
เกียกกาย
N20
เขียวไข่กา
N19
กรมชลประทาน
N18
พายัพ
วัดเทพากร
N17/1
วัดเทพนารี
N17
สะพานกรุงธน
N16
N15
เทเวศร์
พระราม 8
N14
N13
พระอาทิตย์
พระปิ่นเกล้า
N12
ท่ารถไฟ
N11
พรานนก (วังหลัง)
N10
N9
ท่าช้าง
N8
ท่าเตียน
ปิดปรับปรุง
วัดอรุณ
วัดโพธิ์
ปิดปรับปรุง
สนามไชย อิสรภาพ – สามยอด
N7
ราชินี
N6/1
ยอดพิมาน
ปิดปรับปรุง
N6
สะพานพุทธ
N5
ราชวงศ์
N4
กรมเจ้าท่า
N3
สี่พระยา
N2/1
แคท ทาวเวอร์
ไอคอนสยาม
N2
วัดม่วงแค
N1
โอเรียนเต็ล
สะพานตากสิน กรุงธนบุรี – สุรศักดิ์
CEN
สาทร
S1
วัดเศวตฉัตร
S2
วัดวรจรรยาวาส
Depot
ท่าเทียบเรือบริษัท ปิยะศิริวานิช จำกัด
สถานีชาร์จ

อ้างอิง[แก้]

  1. "ไปนั่งมาแล้ว!! "ติดดอยรีวิว เรือไฟฟ้าเจ้าพระยา MINE Smart Ferry" แอร์เย็น นั่งสบาย ไร้ควันดำ". www.condotiddoi.com.
  2. "MINE Smart Ferry เรือโดยสารฝีมือคนไทย 100%". www.efinancethai.com.
  3. "เรือโดยสารไฟฟ้ามาแล้ว! EA เปิดตัว MINE Smart Ferry เรือพลังงานไฟฟ้าลำแรกของไทย". www.thairath.co.th. 13 August 2020.
  4. "เรือโดยสารไฟฟ้า MINE SMART FERRY ขยายระยะเวลาวิ่งฟรีถึงกลาง มี.ค.นี้". bangkokbiznews. 11 March 2021.
  5. "เส้นทางเดินเรือและสายเรือที่ให้บริการ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-03-17. สืบค้นเมื่อ 2022-03-17.
  6. #ชี้เป้า เส้นทางเดิน เรือด่วนเจ้าพระยา พร้อมจุดเที่ยว ยังไงก็ไม่หลง!
  7. 7.0 7.1 7.2 LivingPop, Fuse (2022-04-21). "รู้จักกับ "เรือด่วนเจ้าพระยา" เคล็ดลับการเดินทางหนีรถติดบนท้องถนนใน กทม. (มีแผนที่+ตารางเรือให้โหลดด้วยนะ)". Living Pop.
  8. 8.0 8.1 "MINE SMART FERRY - MISSION NO EMISSION". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-02-07. สืบค้นเมื่อ 2023-02-07.
  9. "MINE SMART FERRY - MISSION NO EMISSION". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-02-07. สืบค้นเมื่อ 2023-02-07.

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]