ทางหลวงพิเศษหมายเลข 5

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ทางหลวงพิเศษหมายเลข 5
มอเตอร์เวย์สายเหนือ
ข้อมูลของเส้นทาง
ส่วนหนึ่งของ
ความยาว23.202 กิโลเมตร (14.417 ไมล์)
ทางแยกที่สำคัญ
จาก ใน อ.บางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา ส่วนหนึ่งของทางยกระดับอุตราภิมุขช่วงรังสิต-บางปะอิน
 
ถึงด่านพรมแดนเชียงของ ใน อ.เชียงของ จ.เชียงราย
ตำแหน่งที่ตั้ง
ประเทศไทย
ระบบทางหลวง

ทางหลวงพิเศษหมายเลข 5 หรือ มอเตอร์เวย์สายเหนือ เป็นโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง เชื่อมต่อระหว่างกรุงเทพมหานคร โดยเริ่มต้นจากจังหวัดสุพรรณบุรี ขึ้นสู่ภาคเหนือ และไปสิ้นสุดที่จังหวัดเชียงราย เป็นส่วนหนึ่งของโครงข่ายเส้นทางในแผนแม่บทระบบทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ เมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2540

รายละเอียดของเส้นทาง[แก้]

ทางหลวงพิเศษหมายเลข 5 ประกอบด้วยโครงการก่อสร้างเส้นทาง 6 สายต่อเนื่องกัน (ระยะทางตามมติคณะรัฐมนตรี พ.ศ. 2540) ได้แก่

  • สายบางปะอิน-นครสวรรค์ ระยะทาง 175 กิโลเมตร (เริ่มดำเนินการเป็นเส้นทางที่ 2)[1]
  • สายนครสวรรค์-พิษณุโลก ระยะทาง 142 กิโลเมตร
  • สายพิษณุโลก-ลำปาง ระยะทาง 182 กิโลเมตร
  • สายลำปาง-ลำพูน ระยะทาง 60 กิโลเมตร
  • สายลำพูน-เชียงใหม่ ระยะทาง 39 กิโลเมตร
  • สายเชียงใหม่-เชียงของ ระยะทาง 292 กิโลเมตร

รวมระยะทางตามแผนแม่บท พ.ศ. 2540 ทั้งหมด 890 กิโลเมตร ต่อมาได้มีการรวมส่วนต่อขยายของทางยกระดับอุตราภิมุข ช่วงรังสิต-บางปะอิน ระยะทาง 18 กิโลเมตร เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงพิเศษหมายเลข 5 ด้วยอีก 1 สาย รวม 7 สาย[2] ทำให้มีระยะทางเพิ่มขึ้นเป็น 908 กิโลเมตร และเมื่อสัมปทานโทลล์เวย์หมดลงในปี พ.ศ. 2577 กรมทางหลวงจะรวมทางยกระดับอุตราภิมุขตลอดทั้งสาย ระยะทาง 28 กิโลเมตร เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงพิเศษหมายเลข 5 ด้วยอีก 1 สาย รวม 8 สาย ทำให้มีระยะทางเพิ่มขึ้นเป็น 937 กิโลเมตร[3]

สายบางปะอิน−นครสวรรค์[แก้]

ทางหลวงพิเศษสายบางปะอิน−นครสวรรค์เป็นโครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษหมายเลข 5 ที่เริ่มดำเนินการเป็นโครงการแรก แนวเส้นทางส่วนใหญ่อยู่ในเขตทางของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32 โดยมีแนวเส้นทางตัดใหม่ช่วงต้นและช่วงปลายของเส้นทาง รวมระยะทางประมาณ 180 กิโลเมตร

เส้นทางในช่วงต้นจะไปเริ่มต้นที่ทางยกระดับอุตราภิมุขบริเวณทางแยกต่างระดับบางปะอิน 1 อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แล้วเบี่ยงออกไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือตามแนวถนนกาญจนาภิเษก (ด้านตะวันออก) ไปจนถึงทางแยกต่างระดับบางปะอิน 2 บริเวณบ้านคลองสอง อำเภอวังน้อย จากนั้นจะเป็นแนวเส้นทางตัดใหม่ โดยจะเบี่ยงออกไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ผ่านจุดตัดทางหลวงพิเศษหมายเลข 6 (สายบางปะอิน-นครราชสีมา) และไปบรรจบกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32 ที่อำเภอบางปะอิน เป็นทางหลวงพิเศษขนาด 8 ช่องจราจร ระยะทาง 10.1 กิโลเมตร

จากนั้นเส้นทางจะอยู่ในเขตทางของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32 ผ่านจังหวัดอ่างทอง จังหวัดสิงห์บุรี ไปจนถึงบ้านดอนเดื่อ ตำบลศิลาดาน อำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท ระยะทาง 135.5 กิโลเมตร โดยเส้นทางช่วงนี้ออกแบบเป็นทางหลวงพิเศษขนาด 6 และ 8 ช่องจราจร โดยมีทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32 ทดแทนขนานและจัดการจราจรทิศเดียวกันกับทางหลวงพิเศษทั้ง 2 ฝั่ง พร้อมจุดกลับรถ สำหรับการจราจรท้องถิ่นและผู้ที่ไม่ต้องการใช้ทางหลวงพิเศษ

เส้นทางในช่วงปลายซึ่งเป็นแนวตัดใหม่เหมือนกับช่วงต้น โดยเริ่มจากแนวทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32 เบี่ยงออกไปทางด้านทิศตะวันตก ตัดกับถนนพหลโยธิน ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาเข้าสู่จังหวัดนครสวรรค์ อ้อมผ่านอำเภอพยุหะคีรีด้านทิศตะวันตก อำเภอโกรกพระ และตัวเมืองนครสวรรค์ด้านทิศตะวันตก ตัดถนนพหลโยธินอีกครั้ง ข้ามแม่น้ำปิง ไปสิ้นสุดโครงการที่จุดบรรจบทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 117 บริเวณบ้านบึงน้ำใส อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ เป็นทางหลวงพิเศษขนาด 4 ช่องจราจร ระยะทาง 60.5 กิโลเมตร

ศูนย์บริการทางหลวงและสถานีบริการทางหลวง[แก้]

มีศูนย์บริการทางหลวง 2 แห่ง คือบริเวณทางแยกต่างระดับสิงห์บุรี-1 แยกเข้าจังหวัดลพบุรี (กม.68 ขาล่องเข้ากรุงเทพฯ และ กม.72 ขาขึ้นไปนครสวรรค์) และบริเวณถัดจากทางแยกต่างระดับอุทัยธานี (กม. 169) นอกจากนี้ยังมีสถานีบริการทางหลวง ที่มีขนาดเล็กกว่าศูนย์บริการทางหลวง โดยใช้พื้นที่สถานีบริการทางหลวงเดิมในปัจจุบันที่อำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท

รายชื่อทางแยก[แก้]

จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
จังหวัดอ่างทอง
จังหวัดสิงห์บุรี
จังหวัดชัยนาท
จังหวัดนครสวรรค์

อ้างอิง[แก้]

  1. โครงการพัฒนา 5 สายทางสู่ภูมิภาค
  2. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ :0
  3. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ :1

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]