ภาษาฮีบรู

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาษาฮีบรู
עִבְרִית ‘Ivrit
ออกเสียง/ʔivˈʁit/ (อิฟริต, อิสราเอลมาตรฐาน), /ʕivˈriθ/ (อิฟริธ, ตะวันออก) /ivˈʀis/ (อิฟริส, อัชเคนาซี)
ภูมิภาคประเทศอิสราเอล และประเทศอื่น ๆ
ชาติพันธุ์ชาวยิว, ชาวสะมาริตัน
จำนวนผู้พูดประมาณ 7 ล้านคน [1]  (ไม่พบวันที่)
ตระกูลภาษา
รูปแบบก่อนหน้า
รูปแบบมาตรฐาน
ระบบการเขียนอักษรฮีบรู
สถานภาพทางการ
ภาษาทางการ อิสราเอล
ภาษาชนกลุ่มน้อยที่รับรองใน โปแลนด์
 แอฟริกาใต้
ผู้วางระเบียบสถาบันภาษาฮีบรู
(Academy of the Hebrew Language האקדמיה ללשון העברית HaAqademia LaLashon Ha‘Ivrit)
รหัสภาษา
ISO 639-1he
ISO 639-2heb
ISO 639-3heb

ภาษาฮีบรู (อังกฤษ: Modern Hebrew עברית, Ivrit [ʔivˈʁit] ( ฟังเสียง) อิฟริต) เป็นภาษาเซมิติก (Semitic) ซึ่งจัดอยู่ในตระกูลภาษาแอโฟรเอชีแอติก (Afro–Asiatic) เป็นภาษาที่เก่าแก่ โดยมีอายุมาอย่างน้อยตั้งแต่ 3,500 ปีที่แล้ว ในอดีต เคยเป็นภาษาตาย เหมือนดั่งภาษาบาลี สันสกฤต และละติน โดยใช้เป็นภาษาที่ใช้เพียงแต่ในวงจำกัด หนังสือต่างทางศาสนา และสถานที่ทางศาสนาเท่านั้น แต่ปัจจุบัน มีการกลับมาใช้เป็นภาษาพูดใหม่ และเป็นภาษาที่ชาวอิสราเอลใช้สื่อสารกันในชีวิตประจำวัน โดยภายในในอิสราเอล มีผู้พูดมากกว่า 4,380,000 คน[1] ซึ่งเป็นภาษาราชการคู่กับภาษาอาหรับ นอกอิสราเอล ภาษาฮีบรูยังมีผู้พูดอีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งโดยมากเป็นชุมชนชาวยิว

ทะนัค (Tanakh) หรือพระคัมภีร์เก่า (The Old Testament) ของศาสนายิว เขียนไว้ด้วยภาษาฮีบรู ซึ่งถือว่าเป็นภาษาศักดิ์สิทธิ์ (לשון הקודש Leshon ha-Kodesh: เลโชน ฮา-โกเดช) ของชาวยิวตั้งแต่สมัยโบราณ นักภาษาศาสตร์ส่วนใหญ่ระบุว่าหลัง 57 ปีก่อนพุทธศักราช ซึ่งเป็นยุคที่จักรวรรดิบาบิโลเนียใหม่ทำลายกรุงเยรูซาเลมและอพยพชาวยิวไปยังบาบิโลนและพระเจ้าไซรัสมหาราชแห่งเปอร์เซียปลดปล่อยชาวยิวให้เป็นไท ภาษาฮีบรูในแบบที่เขียนในพระคัมภีร์เก่า ถูกแทนที่ด้วยภาษาฮีบรูใหม่และภาษาแอราเมอิกที่ใช้ในท้องถิ่นนั้น หลังจากพุทธศตวรรษที่ 7 จักรวรรดิโรมันเข้ายึดครองกรุงเยรูซาเล็ม และอพยพชาวยิวออกไป ภาษาฮีบรูเริ่มใช้เป็นภาษาพูดน้อยลงแต่ยังคงเป็นภาษาทางศาสนาและภาษาในการเขียน

หลังจากเยรูซาเล็มถูกชาวบาบิโลนทำลายครั้งแรก 586 ปีก่อนคริสตกาล ภาษาอย่างในพระคัมภีร์เก่าเริ่มถูกแทนที่ด้วยคำในลักษณะใหม่ หลังจากจำนวนประชากรของชาวยิวในบางส่วนของจูเดีย (Judea) ลดลง ภาษาฮีบรูเลิกใช้เป็นภาษาพูดราวคริสต์ศตวรรษที่ 2 แต่ยังคงเป็นภาษาเขียนที่สำคัญต่อเนื่องมาตลอดหลายศตวรรษ นอกจากจะใช้ในศาสนาแล้ว งานเขียนสำหรับวัตถุประสงค์อื่น ๆ เช่น เขียนตำรา จดหมาย ปรัชญา การแพทย์ บทกวี บันทึกศาล ล้วนใช้ภาษาฮีบรู ซึ่งได้เข้ากับวงความรู้และคำเฉพาะใหม่ ๆ โดยคำยืมและคำประดิษฐ์ใหม่

ภาษาฮีบรูยังคงถูกรักษาไว้ในฐานะภาษาเขียนโดยชุมชนชาวยิวทั่วโลก จนกระทั่งมีการตั้งลัทธิไซออนนิสต์เพื่อฟื้นฟูชาติยิว สมาชิกไซออนนิสต์ส่งเสริมให้มีการแทนที่ภาษาพูดของชาวยิวในขณะนั้น เช่นภาษาอาหรับ ภาษาจูเดสโม (Judezmo, ภาษาลาดิโน Ladino ก็เรียก) ภาษายิดดิช ภาษารัสเซีย และภาษาอื่น ๆ ของชาวยิวที่อาศัยอยู่ต่างประเทศ เป็นภาษาของศาสนายิวส่วนใหญ่ที่อาศัยอยู่ในประเทศอิสราเอล ภาษาฮีบรู มีการสร้างคำใหม่โดยยืมจากภาษาฮีบรูในไบเบิลหรือจากภาษาอาหรับและภาษาอราเมอิก รวมทั้งภาษาในยุโรป เช่น ภาษาฝรั่งเศส ภาษารัสเซีย และภาษาเยอรมัน ภาษาฮีบรูกลายเป็นภาษาราชการของปาเลสไตน์ภายใต้การปกครองของอังกฤษตั้งแต่ พ.ศ. 2464 คู่กับภาษาอังกฤษและภาษาอาหรับ และกลายเป็นภาษาราชการของอิสราเอลตั้งแต่ พ.ศ. 2491

ประวัติศาสตร์[แก้]

ภาษาฮีบรูจัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับภาษาคานาอันไนต์ โดยภาษาฮีบรูและภาษามัวไบต์ (ในจอร์แดน) เป็นกลุ่มคานาอันไนต์ใต้ ในขณะที่ภาษาฟินิเชีย (ในเลบานอน) เป็นกลุ่มคานาอันไนต์เหนือ ภาษากลุ่มคานาอันไนต์ใกล้เคียงกับภาษาอราเมอิกและภาษาอาหรับสำเนียงทางใต้และตอนกลาง สำเนียงต่าง ๆ ของภาษาคานาอันไนต์กลายเป็นภาษาตายไปหมดแล้ว เหลือภาษาฮีบรูเพียงภาษาเดียว ภาษาฮีบรูเป็นภาษาพูดในอิสราเอลตั้ง 1,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช จนถึงยุคไบแซนไทน์ ในคริสต์ศตวรรษที่ 2 หลังจากนั้นกลายเป็นภาษาเขียนจนถึงสมัยการตั้งสถาปนารัฐอิสราเอล

จุดกำเนิดของภาษาฮีบรู[แก้]

ภาษาฮีบรูจัดอยู่ในภาษากลุ่มเซมิติก โดยอยู่ในสาขาตะวันตกเฉียงเหนือ เริ่มปรากฏเมื่อ 3,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช ภาษาคานาอันไนต์ที่อยู่ในกลุ่มนี้เริ่มปรากฏเมื่อราว 2,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช คาดว่าแยกออกมาจากภาษาอราเมอิกและภาษายูการิติก ภายในภาษากลุ่มคานาอันไนต์ด้วยกันนั้น ภาษาฮีบรูอยู่ในกลุ่มย่อยเดียวกับภาษาอีโดไมต์ ภาษาอัมโมไนต์ และภาษามัวไบต์ ส่วนภาษาคานาอันไนต์อีกกลุ่มหนึ่งคือกลุ่มของภาษาฟินิเชียและภาษาลูกหลานคือภาษาปูนิก

ภาษาฮีบรูในฐานะสำเนียงของภาษาคานาอันไนต์[แก้]

หลักฐานการเขียนด้วยภาษาฮีบรูที่เก่าที่สุดคือปฏิทินเกเซอร์ มีอายุราว 1,000 ปีก่อนคริสต์ศักราชในยุคของดาวิดและโซโลมอน เขียนด้วยอักษรเซมิติกโบราณ คล้ายกับอักษรฟินิเชียที่เป็นต้นแบบของอักษรอีทรัสคัน อักษรกรีกและอักษรโรมัน การเขียนในปฏิทินไม่มีรูปสระ และไม่มีการใช้รูปพยัญชนะแทนเสียงสระดังที่ปรากฏในการเขียนภาษาฮีบรูรุ่นต่อมา ในบริเวณเดียวกันนั้น มีแผ่นจารึกเก่าที่เขียนด้วยภาษากลุ่มเซมิติกอื่น ๆ จำนวนมาก ส่วนใหญ่เขียนด้วยอักษรที่มาจากไฮโรกลิฟของอียิปต์

ภาษาที่เป็นต้นตระกูลของภาษาฮีบรูและภาษาฟินิเชียเรียกภาษาคานาอันไนต์ เป็นภาษาแรกที่ใช้อักษรที่พัฒนามาจากเฮียโรกลิฟฟิก เอกสารโบราณอีกชิ้นหนึ่งที่เป็นที่รู้จักกันดีคือ จารึกมัวไบต์ เขียนด้วยภาษามัวไบต์ จารึกซีลอมที่พบในเยรูซาเลมเป็นตัวอย่างในยุคแรก ๆ ของภาษาฮีบรู

ภาษาฮีบรูคลาสสิก[แก้]

ในความหมายอย่างกว้าง ภาษาฮีบรูคลาสสิกหมายถึงภาษาพูดในยุคโบราณของอิสราเอลตั้งแต่ 1,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช จนถึงพุทธศตวรรษที่ 9 มีสำเนียงที่เหลือรอดและผสมผสานกันมาก ชื่อที่ใช้เรียกมักมาจากวรรณคดีที่มีชื่อเสียงที่เกี่ยวข้องกับสำเนียงนั้น ๆ

  • ภาษาฮีบรูไบเบิลโบราณ อยู่ในช่วง 457 – 57 ปีก่อนพุทธศักราช เริ่มตั้งแต่ยุคโมนาร์จิกจนถึงการอพยพไปบาบิโลเนีย บางครั้งเรียกภาษาฮีบรูโบราณหรือฮีบรู-ปาเลา เขียนด้วยอักษรคานาอันไนต์
  • ภาษาฮีบรูไบเบิล ใช้ในช่วง 57 ปีก่อนพุทธศักราช ใกล้เคียงกับการอพยพไปบาบิโลเนียและปรากฏในคัมภีร์ไบเบิลที่เขียนขึ้นในยุคเดียวกันมักเรียกว่าภาษาฮีบรูไบเบิลคลาสสิก เขียนด้วยอักษรอราเมอิก
  • ภาษาฮีบรูไบเบิลรุ่นหลังใช้ในช่วง 57 ปีก่อนพุทธศักราช ถึง พ.ศ. 143 ซึ่งเป็นยุคเดียวกับยุคของจักรวรรดิเปอร์เซีย ปรากฏในคัมภีร์ไบเบิลฉบับของเอซราและเนเฮเมียห์
  • ภาษาฮีบรูในม้วนหนังสือทะเลสาบเดดซี มีอายุราว พ.ศ. 243 – 643 ซึ่งเป็นยุคที่กรีกและโรมันมีอิทธิพลเหนือกรุงเยรูซาเลมและมีการทำลายวิหารต่าง ๆ พบในม้วนหนังสือคุมรานซึ่งเป็นส่วนใหญ่ของม้วนหนังสือแห่งทะเลสาบเดดซี บางครั้งเรียกภาษาฮีบรูคุมราน ในยุคแรกเขียนด้วยอักษรอราเมอิกที่พัฒนามาเป็นอักษรฮีบรูทรงเหลี่ยม ม้วนหนังสือรุ่นหลัง ๆ เขียนด้วยอักษรฮีบรูอย่างที่ใช้ในปัจจุบัน
  • ภาษาฮีบรูมิซนาอิก ใช้ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 6 จนถึงช่วงพุทธศตวรรษที่ 8 - 9 ซึ่งเป็นยุคที่โรมันปกครองเยรูซาเลม พบในมิซนะห์และโตเซฟตาซึ่งอยู่ในคัมภีร์ทัลมุดและบางส่วนของม้วนหนังสือแห่งทะเลสาบเดดซี บางครั้งเรียกภาษาฮีบรูตันไนติกหรือฮีบรูรับบินิกยุคต้น

ในบางครั้ง ภาษาฮีบรูคลาสสิกที่กล่าวมาข้างต้นจะเรียกรวม ๆ ว่าภาษาฮีบรูไบเบิล นักภาษาศาสตร์ที่ศึกษาภาษาฮีบรูลงความเห็นว่าภาษาฮีบรูในม้วนหนังสือแห่งทะเลสาบเดดซีพัฒนามาเป็นภาษาฮีบรูไบเบิลยุคหลังแล้วจึงมาเป็นภาษาฮีบรูมิซนาอิก เมื่อเข้าสู่ยุคไบแซนไทน์ในพุทธศตวรรษที่ 9 ภาษาฮีบรูใช้เป็นภาษาพูดน้อยลง

ภาษาฮีบรูในมิซนะห์และทัลมุด[แก้]

เป็นคำที่ใช้เรียกภาษาฮีบรูที่ใช้ในคัมภีร์ทัลมุดของชาวยิว สำเนียงของภาษานี้คือภาษาฮีบรูมิซนาอิกที่เป็นภาษาพูดและภาษาฮีบรูอโมราอิกที่เป็นภาษาทางศาสนา

ส่วนแรกของทัลมุดเรียกว่ามิซนะห์ซึ่งมีการตีพิมพ์เผยแพร่เมื่อ พ.ศ. 743 เขียนด้วยสำเนียงมิซนาอิก ซึ่งพบในม้วนหนังสือทะเลสาบเดดซีด้วย จัดว่าเป็นสำเนียงหนึ่งของภาษาฮีบรูคลาสสิก อีก 100 ปีต่อมาหลังการเผยแพร่ ภาษาฮีบรูมิซนาอิกไม่มีการใช้เป็นภาษาพูดอีก ส่วนท้ายของทัลมุดคือเกมารา ให้ความเห็นเกี่ยวกับมิซนะห์และเกไรตอต เขียนด้วยภาษาอราเมอิก ภาษาฮีบรูที่เหลืออยู่ในฐานะภาษาเขียนคือภาษาฮีบรูอโมราอิกที่ปรากฏในเกมาราด้วย

ภาษาฮีบรูยุคกลาง[แก้]

หลังจากยุคของทัลมุดมีพัฒนาการของภาษาฮีบรูในฐานะภาษาเขียนที่เรียกภาษาฮีบรูยุคกลางขึ้น ที่สำคัญคือภาษาฮีบรูติเบอเรียนซึ่งเป็นสำเนียงพื้นเมืองของกาลิลีที่กลายเป็นมาตรฐานของภาษาฮีบรู ใช้ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 12 – 15 และใช้ในการอ่านออกเสียงภาษาฮีบรูในไบเบิล

ภาษาฮีบรูติเบอเรียนได้มีการเพิ่มเครื่องหมายสระและกำหนดไวยากรณ์เพื่อรักษาลักษณะของภาษาฮีบรูไว้ การกำหนดสระนี้เกิดขึ้นในเวลาไล่เลี่ยกับการกำหนดเครื่องหมายสระในอักษรซีเรียคที่กำหนดโดยใช้จุดเช่นกัน ในยุคทองของวัฒนธรรมยิวในคาบสมุทรไอบีเรีย มีการกำหนดคำศัพท์และไวยากรณ์ของภาษาฮีบรูไบเบิลโดยได้พื้นฐานาจากภาษาอาหรับคลาสสิก

เนื่องจากมีความต้องการที่จะแสดงแนวคิดทางวิทยาศาสตร์และปรัชญาจากภาษากรีกคลาสสิกและภาษาอาหรับยุคกลาง ภาษาฮีบรูยุคกลางจึงมีการยืมศัพท์เฉพาะจากภาษาเหล่านี้ หรือสร้างคำเพิ่มจากรากศัพท์เดิมในภาษาฮีบรู นอกจากนี้ ภาษาฮีบรูยังใช้เป็นภาษาทางการค้าระหว่างชาวยิวที่อยู่คนละประเทศ

ภาษาฮีบรูในทางศาสนา[แก้]

ภาษาฮีบรูเป็นภาษาที่ใช้ในบทสวดและการศึกษา และมีระบบการออกเศียงเฉพาะภาษาฮีบรูอาซเกนาซีซึ่งมีจุดกำเนิดในยุโรปกลางและยุโรปตะวันออก ใช้โดยชาวยิวอาซเกนาซีที่อยู่ในชุมชนของชาวคริสต์ออร์โธดอกซ์ ได้รับอิทธิพลจากภาษายิดดิช ภาษาฮีบรูเซฟาร์ดีเป็นระบบการออกเสียงของชาวยิวในสเปนและโปรตุเกส รวมทั้งชาวยิวเซฟาร์ดีในประเทศที่เคยอยู่ในจักรวรรดิออตโตมัน ได้รับอิทธิพลจากภาษาลาดิโน

ภาษาฮีบรูมิซราฮีหรือภาษาฮีบรูตะวันออกเป็นสำเนียงทางศาสนาของชาวยิวที่อาศัยร่วมกับชาวอาหรับและในโลกอิสลาม ได้รับอิทธิพลจากภาษาอราเมอิกและภาษาอาหรับ และภาษายิวเซฟาร์ดีในบางกรณี ซึ่งถือว่ามีลักษณะของภาษาฮีบรูไบเบิลมากที่สุด และอาจเกี่ยวข้องกับภาษายิวเยเมนที่ต่างจากภาษาฮีบรูมิซราฮีในด้านระบบสระ

ภาษาฮีบรูสมัยใหม่[แก้]

พัฒนาการของภาษาฮีบรูสมัยใหม่[แก้]

เอลีเซอร์ เบน-เยฮูดา

ภาษาฮีบรูสมัยใหม่คือภาษาฮีบรูที่ได้รับการฟื้นฟู (revival) กลับมาเป็นภาษาพูดอีกครั้งในพุทธศตวรรษที่ 24 มีลักษณะของภาษาฮีบรูเซฟาร์ดีที่เพิ่มลักษณะใหม่ๆเข้าไป เช่นคำยืมจากภาษาในยุโรปและภาษาอาหรับ การใช้ภาษาฮีบรูถูกนำกลับมาอีกครั้งโดยขบวนการฮัสกาละห์ และมีการตีพิมพ์หนังสือพิมพ์ภาษาฮีบรูในยุโรปตะวันออกและมีการเขียนนิยายด้วยภาษานี้

การฟื้นคืนมาเป็นภาษาแม่ของภาษาฮีบรูเริ่มจากการสนับสนุนของเอลีเซอร์ เบน-เยฮูดา ผู้เข้าร่วมขบวนการแห่งชาติชาวยิวเมื่อ พ.ศ. 2424 และอพยพเข้าสู่ปาเลสไตน์ที่ยังอยู่ในจักรวรรดิออตโตมันเขาได้พัฒนาเครื่องมือและวิธีการที่จะเปลี่ยนภาษาทางศาสนาให้เป็นภาษาพูด มีการจัดตั้งโรงเรียนและเขียนตำราเรียนด้วยภาษาฮีบรู ช่วง พ.ศ. 2447 – 2457 ภาษาฮีบรูมีการใช้ในปาเลสไตน์มากขึ้นและกลายเป็นหนึ่งในสามภาษาราชการของปาเลสไตน์ในอาณัติของอังกฤษ ภาษาที่เกิดใหม่นี้มีคำศัพท์ของภาษากลุ่มเซมิติก มีรูปแบบการเรียงประโยคแบบภาษาในยุโรป

ปฏิกิริยาต่อภาษาฮีบรูใหม่[แก้]

เมื่อมีการก่อตั้งประเทศอิสราเอลและมีชาวยิวจากหลายประเทศอพยพมาอยู่รวมกัน ภาษาฮีบรูซึ่งเป็นภาษาศักดิ์สิทธิ์ในศาสนายิวได้กลายเป็นภาษากลางระหว่างชาวยิวกลุ่มต่างๆ มีการตั้งคณะกรรมการภาษาฮีบรูซึ่งต่อมาได้กลายเป็นสำนักภาษาฮีบรูในปัจจุบัน งานของคณะกรรมการคือการเผยแพร่พจนานุกรม แต่ก็มีชาวยิวบางส่วนปฏิเสธภาษาฮีบรูและพูดภาษายิดดิชเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ชาวยิวในอิสราเอลปัจจุบันมีน้อยมากที่ไม่พูดภาษาฮีบรู

ภาษาฮีบรูในสหภาพโซเวียต[แก้]

ในภาษารัสเซียมีศัพท์ที่ใช้แยกกันระหว่างภาษาฮีบรูโบราณและภาษาฮีบรูสมัยใหม่ สหภาพโซเวียตเห็นว่าพวกที่ใช้ภาษาฮีบรูเป็นพวกปฏิกิริยาซึ่งเกี่ยวข้องกับทั้งศาสนายูดายและลัทธิไซออนนิสต์ การสอนภาษาฮีบรูในโรงเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษาถูกสั่งห้ามตั้งแต่ พ.ศ. 2462 ภาษายิดดิชเป็นภาษาพูดของชาวยิวในรัสเซียซึ่งถูกกำหนดให้เป็นภาษาประจำชาติ ส่วนภาษาฮีบรูถูกกำหนดใหเป็นภาษาต่างชาติ หนังสือภาษาฮีบรูถูกห้ามตีพิมพ์และให้นำออกจากห้องสมุด

ภาษาฮีบรูในบิโรบิดซาน[แก้]

มหาวิทยาลัยแห่งชาติยิวบิโรบิดซานทำงานเกี่ยวกับชุมชนชาวยิวในบิโรบิดซานซึ่งอยู่ในภาคตะวันออกไกลของรัสเซีย มหาวิทยาลัยนี้ศึกษาภาษาฮีบรู ประวัติศาสตร์และภาษาฮีบรูคลาสสิก ในเขตปกครองตนเองชาวยิวมีการเรียนภาษาฮีบรูและภาษายิดดิช และมีการอนุรักษ์วัฒนธรรมยิวที่ได้รับการส่งเสริมจากรัฐบาลอิสราเอลในปัจจุบัน

ลักษณะของภาษาฮีบรูสมัยใหม่[แก้]

ภาษาฮีบรูมาตรฐานที่พัฒนาโดยเอลีเซอร์ เบน-เยฮูดา มีพื้นฐานมาจากการสะกดแบบมิซนาอิกและการออกเสียงแบบภาษาฮีบรูเซฟาร์ดี ผู้พูดภาษาฮีบรูสมัยใหม่รุ่นแรกๆเป็นผู้พูดภาษายิดดิชมาก่อน จึงมีการใช้สำนวนและภาษาเขียนแบบที่ได้รับอิทธิพลจากภาษายิดดิช ภาษาที่ใช้พูดในอิสราเอลได้พัฒนาไปเป็นภาษาฮีบรูอาซเกนาซี

การจัดจำแนก[แก้]

การจัดจำแนกภายในหมู่นักวิชาการมีความแตกต่างกัน ส่วนใหญ่ยอมรับความต่อเนื่องจากภาษาฮีบรูในไบเบิลและภาษาฮีบรูมิซนาอิก ในขณะที่มีการยอมรับคำศัพท์และรูปแบบการเรียงประโยคจากภาษาในยุโรปมาด้วย ในทิศทางเดียวกับการพัฒนาของภาษาอาหรับมาตรฐานสมัยใหม่ เช่นภาษาอาหรับในโมร็อกโก นักวิชาการมีความเห็นต่างกัน เช่น

  • Wexler กล่าวว่าภาษาฮีบรูสมัยใหม่ไม่ใช่ภาษากลุ่มเซมิติกแต่เป็นสำเนียงของภาษายิว-ซอร์เบียน โดยเขาเห็นว่าโครงสร้างของภาษาเป็นแบบภาษากลุ่มสลาฟที่รับเอาคำศัพท์และระบบการผันคำของภาษาฮีบรูแบบเดียวกับการเกิดภาษาผสมอื่นๆ
  • Ghilad Zuckesmann เห็นว่าภาษาฮีบรูในอิสราเอลเป็นภาษาที่แยกต่างหากจากภาษาฮีบรูอื่นๆ เนื่องจากการเรียงประโยคแบบยุโรปและมีลักษณะผสมระหว่างแบบของภาษาฮีบรูและแบบของภาษาในยุโรป

การปรากฏร่วมกับภาษาอราเมอิก[แก้]

ภาษาอราเมอิกเป็นภาษากลุ่มเซมิติกตะวันตกเฉียงเหนือเช่นเดียวกับภาษาคานาอันไนต์ ชื่อของภาษานี้อาจมาจากคำว่า Aram Naharayin ในเมโสโปเตเมียตอนบนหรือ Aram ซึ่งเป็นชื่อโบราณของซีเรีย สำเนียงที่หลากหลายของภาษาอราเมอิก พัฒนาร่วมมากับภาษาฮีบรูในประวัติศาสตร์

ภาษาอราเมอิกในฐานะภาษากลางของตะวันออกกลาง[แก้]

ภาษาของพระเยซูและจักรวรรดิบาบิโลเนียใหม่เป็นสำเนียงของภาษาแอราเมอิกจักรวรรดิเปอร์เซียที่เข้ายึดครองบาบิโลเนียในเวลาต่อมาได้ให้ภาษาอราเมคเป็นภาษากลางของจักรวรรดิ ประชากรชาวยิวที่ถูกบังคับให้อพยพมาอยู่ที่บาบิโลนและบริเวณใกล้เคียงของยูดาห์ ได้รับอนุญาตให้กลับสู่เยรูซาเลมและตั้งยูเดียในฐานะจังหวัดหนึ่งของเปอร์เซีย ทำให้ภาษากอราเมอิกเข้าไปมีบทบาทในยูเดียด้วย อักษรอราเมอิกพัฒนามาจากอักษรคานาอันไนต์ และในราว พ.ศ. 643 อักษรอราเมอิกพัฒนาไปเป็นอักษรฮีบรูทรงเหลี่ยมที่พบในม้วนคัมภีร์แห่งทะเลสาบเดดซี

ภาษาอราเมอิกเข้ามาแทนที่ภาษาฮีบรูในฐานะภาษาพูด[แก้]

นักวิชาการรุ่นใหม่เมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 25 ให้ความเห็นว่าภาษาอราเมอิกกลายเป็นภาษาพูดในดินแดนอิสราเอลตั้งแต่ยุควาเลนนิสติกในช่วง พ.ศ. 143 ซึ่งเป็นช่วงที่เลิกใช้ภาษาฮีบรูเป็นภาษาพูด อย่างไรก็ตาม หลักฐานจากม้วนคัมภีร์แห่งทะเลสาบเดดซีแสดงให้เห็นว่าภาษาฮีบรูยังคงใช้เป็นภาษาพูดควบคู่กับภาษาอราเมอิกต่อไป จนถึงช่วงที่ใกล้จะสิ้นสุดจักรวรรดิโรมันและกลายเป็นภาษาทางศาสนาในยุคจักรวรรดิไบแซนไทน์ เมื่อราว พ.ศ. 943 ภาษาที่มีบทบาทในอิสราเอลในยุคดังกล่าวมีสามภาษาคือภาษาฮีบรูในฐานะภาษาแม่ ภาษาอราเมอิกในฐานะภาษากลาง และภาษากรีกในการติดต่อกับภาคตะวันออกของจักรวรรดิโรมัน

ภาษาอราเมอิกสำเนียงของชาวยิว[แก้]

การใช้ภาษาอราเมอิกเป็นภาษากลางทำให้สำเนียงที่ใช้พูดในบริเวณต่างๆมีความแตกต่างกัน มีสำเนียงอราเมอิกเก่าตะวันตก รวมทั้งสำเนียงอราเมอิกเก่ายูเดียในช่วงจักรวรรดิโรมันด้วย โยเซฟัส ฟลาโส ได้เขียนหนังสือสงครามยิวด้วยภาษาอราเมอิกเก่ายูเดีย ซึ่งต่อมาได้แปลเป็นภาษากรีกเพื่อเผยแพร่ในจักรวรรดิโรมัน แต่ภาษาอราเมอิกที่โยเซฟัสใช้ไม่ได้เหลือรอด ในการสร้างเยรูซาเลมและวิหารครั้งที่ 2 เมื่อ พ.ศ. 613 ชาวยิวเริ่มแพร่กระจายจากเยรูซาเลมไปยังประเทศอื่นโดยเฉพาะหลังสงครามบาร์โกคบาเมื่อ พ.ศ. 678 เมื่อโรมันเปลี่ยนเยรูซาเลมให้เป็นเมืองของลัทธิเพเกินชื่อ แอเลีย กาปิโตลินา

หลังสงคราม ภาษาอราเมอิกสำเนียงยิวปาเลสไตน์ได้ก่อตัวขึ้นกลายเป็นสำเนียงหลักของภาษาอราเมอิกกลางสาขาตะวันตก เยรูซาเลมทัลมุดใช้ภาษาอราเมอิกสำเนียงยิวปาเลสไตน์นี้เช่นเดียวกับมิดรัช รับบา และน่าจะมีอิทธิพลต่อการออกเสียงของภาษาฮีบรูติเบอเรียน

บาบิโลเนียทัลมุดใช้ภาษาอราเมอิกสำเนียงยิวบาบิโลเนียซึ่งเป็นสำเนียงของภาษาอราเมอิกลางสาขาตะวันออก ภาษานี้ยังคงเป็นภาษาพูดของชาวยิวในเมโสโปเตเมียและภาษาลิซานา เดนี ในเคอร์ดิสถานมีภาษาอราเมอิกที่เป็นลูกหลานของภาษาเหล่านี้ยังคงใช้พูดโดยชาวยิวจำนวนน้อย ภาษาอราเมอิกสำเนียงยิวเหล่านี้ไม่ได้รับอิทธิพลจากภาษาฮีบรู

ภาษาอื่นที่ปรากฏร่วมกับภาษาฮีบรู[แก้]

นอกจากภาษาอราเมคสำเนียงยิวแล้ว ยังมีภาษาอื่นๆที่ได้รับอิทธิพลจากภาษาฮีบรู เช่น ภาษายิดิช ภาษาลาดิโนและภาษาอาหรับของชาวยิว ภาษาเหล่านี้ ไม่มีภาษาใดที่พัฒนามาจากภาษาฮีบรูโดยตรง แต่มีการยืมบางคำจากภาษาฮีบรูไปใช้

ลักษณะโดยทั่วไปของภาษาฮีบรู[แก้]

ฮีบรูมีลักษณะคล้ายกับภาษาตะวันตกทั่วไป คือ มีเพศ พจน์ กาล การเน้นคำ และส่วนมากเป็นคำหลายพยางค์ (ไม่ใช่ภาษาคำโดด พยางค์เดียวอย่างภาษาไทย ภาษาจีน) ภาษาฮีบรูมีการสร้างคำ โดยเอารากศัพท์ (คืออักษรตัวหลัก) มาจากคำหลักๆ เพราะฉะนั้น เมื่อได้ยินคำใหม่ ถ้าเรารู้รากศัพท์ และมีปฏิภาณ จะทำให้เดาความหมายของคำนั้นได้ ว่าน่าจะหมายถึงอะไร อีกประการหนึ่ง แม้ว่าไวยากรณ์ หรือหลักในภาษาฮีบรูจะมีมากมาย แต่ถ้าจำได้ ก็สามารถใช้ได้อย่างแม่นยำ ไม่สับสน เพราะเป็นหลักที่มั่นคง ไม่ค่อยมีข้อยกเว้นต่างๆ มากเหมือนในภาษาอังกฤษ

ลักษณะโดยทั่วๆ ไปของภาษาฮีบรู คล้ายกับภาษาตะวันตกอื่นๆ (เช่นภาษาฝรั่งเศส อิตาลี เยอรมัน ฯลฯ) ซึ่งมีลักษณะหลักๆ ดังนี้

  1. คำส่วนมาก เป็นคำหลายพยางค์ ซึ่งต่างจากภาษาไทยที่อยู่ในตระกูลภาษาคำโดด
  2. คน สัตว์ สิ่งของ และทุกอย่าง มีเพศ (ซึ่งภาษาตะวันตกส่วนมากเป็นอย่างนี้ ยกเว้นภาษาอังกฤษ) เช่น ดอกไม้ หนังสือ เวลา แตงโม กลางคืน บ้าน รูปถ่าย เป็นเพศชาย ฯลฯ จาน สมุดจด กล้วย ความรัก รูปภาพ เป็นเพศหญิง ฯลฯ มีหลักง่ายๆ อย่างหนึ่งว่า ถ้าคำนามที่ลงท้ายด้วยเสียงสระ อะ ส่วนมากมักจะเป็นเพศหญิง
  3. มีการเปลี่ยนคำกิริยา (คือคำที่แสดงอาการ เช่น กิน นอน นั่ง ทำงาน เดิน เล่น ฯลฯ) และ คำวิเศษณ์ (คือคำขยาย เช่น เล็ก ใหญ่ แดง ดำ สูง ใกล้ ไกล สวย ดี เก่ง ฯลฯ) ไปตามประธานและสรรพนาม (คือคำ แทนตัว เช่น ฉัน คุณ เธอ เขา เรา) ที่ใช้ว่าเป็นผู้หญิง หรือ ผู้ชาย หนึ่ง หรือหลายคน อย่างที่เรียกว่าในภาษาอังกฤษว่า conjugation
  4. มีคำเอกพจน์ (คือ จำนวนเพียง ๑) และพหูพจน์ (คือ จำนวนที่มากกว่าหนึ่ง) ถ้าเป็นพหูพจน์เพศชาย ส่วนมากจะลงท้ายด้วยเสียงอิม เช่น ทะพุซิม (ส้มหลายลูก), บะทิม (บ้านหลายหลัง), โค่ะว่ะอิม (หมวกหลายใบ) ฯลฯ ถ้าเป็นพหูพจน์เพศหญิง ส่วนมากจะลงท้ายด้วยเสียงโอ้ท เช่น บะน่ะโน้ท (กล้วยหลายลูก) มะเดรียโก้ท (บันไดหลายขั้น) คุลทโซ้ท (เสื้อหลายตัว) ฯลฯ
  5. ถ้าคำกิริยาซ้อนกิริยา เช่น ชอบ + กิน คำกิริยาตัวหลัง (คือคำว่า กิน) จะเปลี่ยนรูป (เป็นเหมือน infinitive ในภาษาอังกฤษ เช่น I like to eat)
  6. ภาษาฮีบรู (ซึ่งเป็นภาษาหลายพยางค์) มีการเน้นว่า ต้องออกเสียงหนักที่พยางค์ไหน (stress) ซึ่งส่วนมากจะลงเสียงหนักที่พยางค์สุดท้าย หรือพยางค์ก่อนสุดท้าย ซึ่งการเน้นเสียงนี้ ไม่มีในภาษาไทย แต่จะมีการออกเสียงสูงต่ำ (tonation) คือ เสียงวรรณยุกต์, เสียงสามัญ - เสียงจัตวา แต่เสียงสูงต่ำ ไม่ได้ทำให้ความหมายของคำฮีบรูเปลี่ยนแปลงไป เช่น คำว่า ปา ป่า ป้า ทุกคำมีความหมายเดียวกันในภาษาฮีบรู (และภาษาตะวันตกทั่วๆ ไป)
  7. มีการเน้นเสียงที่บางพยางค์ของคำ คือ ภาษาฮีบรูมีการเน้นลงเสียงหนัก 2 แบบ คือ เน้นหนักที่พยางค์ท้ายและพยางค์ก่อนสุดท้าย โดยแบบแรกพบมากกว่า และพยางค์สุดท้ายมักเป็นสระเสียงยาว กฎนี้จึงไม่ปรากฏในภาษาพูด โดยมากความยาวของเสียงสระจะต่างระหว่างกริยาและคำนาม ซึ่งมีอิทธิพลมาจากการเน้นเสียง เช่น ókhel (อาหาร) กับ okhél (การกิน) ต่างกันที่ความยาวของเสียงสระซึ่งจะเขียนเหมือนกันถ้าไม่แสดงรูปสระ
  8. คำในภาษาไทย เป็นเสียงสั้น หรือเสียงยาว ตามเสียงสระชัดเจน เช่น อะ – อา, อิ – อี, โอะ – โอ อำ ไอ ฯลฯ แต่เสียงสั้นยาว ไม่ได้ทำให้คำในภาษาฮีบรูเปลี่ยนความหมาย และคำในภาษาฮีบรูส่วนมาก จะเป็นสระเสียงสั้นมากกว่าเสียงยาว แต่เป็นเสียงสั้น ที่ไม่สั้นชัดๆ แบบในภาษาไทย เช่น คำว่ากิน หรือ โอเค็ล การออกเสียงพยางค์แรก โอะ ไม่ยาวแบบสระโอ แต่ไม่ใช่เสียงสั้นชัดๆ แบบสระโอะ คือจะเป็นเสียงคล้ายๆ สระโอะ แต่ยาวกว่านั้น และไม่ยาวเท่าเสียงโอ

นอกจากจะมีการผันคำกิริยาไปตามเพศ (gender), จำนวนของประธาน (number) และ ตามกาลเวลาที่ทำกิริยานั้นๆ (tense) ด้วย คือเปลี่ยนไปตาม อดีต ปัจจุบัน และอนาคต ยกตัวอย่าง เช่น คำว่า “กิน” จะเปลี่ยนไปดังนี้ (ในรูป infinitive ของคำว่า “กิน” ในภาษาฮีบรู คือ เล่ะเอโค็ล)

ประธาน +  (กิน) ในกาลปัจจุบัน
 
  • ผู้ชาย 1 คน (เช่น จอห์น) ใช้คำว่า โอเค็ล
  • ผู้หญิง 1 คน (เช่น ซาราห์) ใช้คำว่า โอเค่ะเล็ท
  • พหูพจน์ ชาย/ชาย ชาย/หญิง ใช้คำว่า โอคลิม
  • พหูพจน์ ที่เป็น หญิง/หญิง ใช้คำว่า โอคโล็ท

ตัวอักษร (พยัญชนะ และสระ)[แก้]

ภาษาฮีบรู เขียนจากขวาไปซ้าย (เหมือนกับภาษาอาหรับ) ต่างจากภาษาไทยซึ่งเขียน (ประโยค) จากซ้ายไปขวา (เหมือนภาษาอังกฤษ) ดังนั้นการเปิดหนังสือฮีบรู จึงเปิดจากขวาไปซ้ายด้วย (เหมือนหนังสือญี่ปุ่น) สำหรับผู้ที่ไม่ชิน อาจจะรู้สึกว่า เป็นการเปิดจากปกหลัง หรือหน้าสุดท้ายมาก่อน แต่จริงๆ ตรงนั้นเป็นหน้าแรกในการเขียนแบบฮีบรู คนอิสราเอลหลายคน เคยพูดให้เหตุผลว่า การเขียนจากขวาไปซ้ายแบบนี้ ทำให้สะดวกกว่าในสมัยที่มนุษย์เริ่มมีอักษรใช้ในยุคแรกๆ โดยช่วยให้แกะสลักข้อความต่างๆ ลงบนแผ่นศิลาหรือแผ่นหินได้ง่ายขึ้น เพราะคนส่วนมากถนัดขวา และการสลักตัวอักษรลงบนแผ่นหิน โดยแท่งเหล็กมือซ้าย (แทนดินสอ) และถือค้อนสลักด้วยมือขวา น่าจะทำได้ดีกว่า และรวดเร็วกว่า (ภาษาที่เขียนจากซ้ายไปขวา)

ภาษาเขียนในภาษาฮีบรูมี 2 รูปแบบคือ ตัวพิมพ์ และตัวเขียน (ซึ่งน้อยกว่าภาษาเขียนในภาษาอังกฤษซึ่งมีถึง 4 แบบ คือ ตัวพิมพ์เล็ก ตัวพิมพ์ใหญ่ ตัวเขียนเล็ก ตัวเขียนใหญ่)

ชื่อเรียกตัวอักษรในภาษาฮีบรู ตัวอักษรฮีบรู ตัวอักษรในภาษาอื่น
ตัวพิมพ์ฮีบรูมาตรฐาน อักษรฮีบรูหวัด อักษรราชี อักษรฟินิเชียน อักษรกรีก อักษรลาติน อักษรซีริลลิก อักษรนาบาทาเอียน อักษรอาหรับ
[[Aleph|אָלֶף]] /'alef/ א א א Αα Aa Аа ا
[[Beth|בֵּית]] /bet/ ב ב ב Ββ Bb Бб
Вв
ب
[[Gimel (Hebräisch)|גִּמֶל]] /'gimel/ ג ג ג Γγ Cc
Gg
Гг ج
[[Daleth|דָּלֶת]] /'dalet/,
หรือ /'daled/
ד ד ד Δδ Dd Дд دذ
[[He (Hebräisch)|הֵא]] /he/,
หรือ /hej/
ה ה ה Εε Ee Ее
Єє
ه هـ
ـهـ ـه
[[Waw (Hebräisch)|וָו]] /vav/ ו ו ו Υυ
Ϝϝ
FfUuVv
WwYy
Ѵѵ
Уу
و
[[Zajin|זָיִן]] /'zain/ ז ז ז Ζζ Zz Зз ز
[[Chet|חֵית]] /χet/ ח ח ח Ηη Hh Ии ح
[[Tet (Buchstabe)|טֵית]] /tet/ ט ט ט Θθ Ѳѳ طظ
[[Jod (Hebräisch)|יוֹד]] /jod/,
หรือ /jud/
י י י Ιι Jj
Ii
Јј
Іі
ي
[[Kaph|כַּף]] /kaf/ כ ך כ ך כ ך Κκ Kk Кк ك
[[Lamed|לָמֶד]] /'lamed/ ל ל ל Λλ Ll Лл ل
[[Mem (Hebräisch)|מֵם]] /mem/ מ ם מ ם מ ם Μμ Mm Мм م
[[Nun (Hebräisch)|נוּן]] /nun/ נ ן נ ן נ ן Νν Nn Нн ن
[[Samech|סָמֶךְ]] /'sameχ/ ס ס ס Ξξ
Χχ
Xx Ѯѯ
Хх
?
[[Ajin|עַיִן]] /'ain/ ע ע ע Οο Oo Оо ع ء
غـ غ
[[Pe|פֵּא]] /pe/,
หรือ /pej/
פ ף פ ף פ ף Ππ Pp Пп ف
[[Tzade|צָדֵי]] /'tsade/,
หรือ /'tsadik/
צ ץ צ ץ צ ץ Ϻϻ - Цц
Чч
ص
ضـ ض
[[Koph|קוֹף]] /kof/,
หรือ /kuf/
ק ק ק Ϙϙ Qq Ҁҁ ق
[[Resch|רֵישׁ]] /reʃ/,
หรือ /rejʃ/
ר ר ר Ρρ Rr Рр ر
[[Sin (Hebräisch)|שִׁין]] /ʃin/ ש ש ש Σσς Ss Сс
Шш
سـ س
شـ ش
[[Taw|תָּו]] /tav/,
หรือ /taf/
ת ת ת Ττ Tt Тт ت
ث

ข้อสังเกตเกี่ยวกับตัวอักษรและเสียงในภาษาฮีบรู[แก้]

  • พยัญชนะ 22 ตัว แต่มี 27 รูป เพราะมีพยัญชนะ 5 ตัว ถ้าอยู่ท้ายคำ จะเปลี่ยนรูปไป คือ ตัวที่ 11 คัฟ כ, ตัวที่ 13 นุน נ, ตัวที่ 14 เม็ม מ, ตัวที่ 17 เพย์ פ และตัวที่ 18 ทซะดิ צ
  • มีสระ 5 เสียง คือ อะ, อิ, เอะ, อุ, โอะ แต่มีการเขียนสระมากกว่า 5 รูปแบบ รวมเรียกว่า "นิกคุต" (niqqud) โดยอาจเป็นจุด (1 – 3 จุด) หรือเป็นขีดใต้พยัญชนะ มีอักษร 2 ตัวที่ออกเป็นเสียงสระด้วย คือ ตัววัฟ (ו) ออกเสียงเป็นสระโอ และสระอุ กับตัวยุด (י) ออกเสียงเป็นสระอิ ด้วย นอกจากนี้ เมื่อสระ 2 ตัวออกเสียงพร้อมๆ กัน จะทำให้เกิดสระเสียงใหม่ เช่น คำว่าเฮซิเลีย คนอิสราเอลจะออกเสียงและเขียนเป็น เฮ – ซิ – ลิ – ย่ะ คือ สระอิ + สระอะ กลายเป็น สระเอีย
  • ไม่มีเสียงวรรณยุกต์ คือ ไม่มีเสียงสูง – ต่ำ (tonation) การออกเสียงพยางค์ด้วยโทนเสียงเสียงที่ต่างกัน ไม่มีผลให้ความหมายของคำเปลี่ยนไป (เช่นเดียวกับภาษาตะวันตกทั่วไป)

เสียงพยัญชนะฮีบรู 4 เสียง ที่ไม่มีเสียงเทียบในภาษาไทย[แก้]

  • ตัวที่ 6 วัฟ (ו) และตัวที่ 2 (ที่เป็นตัวเพิ่ม) เว็ท (ב) (ทั้ง ๒ พยัญชนะนี้ เสียงเหมือนกัน) คือเป็นเสียง ว แต่เป็นเสียงก้อง (voiced) เวลาออกเสียง ฟันบน จะแตะบนริมฝีปากล่าง
  • ตัวที่ 7 ซะยิน (ז) เป็นเสียง ซ แต่เป็นเสียงก้อง (voiced) คือ เสียง ซ ที่ออกมาจากลำคอ เทียบได้กับเสียง Z ในภาษาอังกฤษ
  • ตัวที่ 8 เค็ท (ח) และตัวที่ 11 คัฟ כ (ทั้ง ๒ พยัญชนะนี้ เสียงเหมือนกัน) คือ คล้ายเสียง ค แต่ฐานเสียงออกมาจาก คอที่ลึกกว่า
  • ตัวที่ 18 ซะดิ (צ) คือ คล้ายออกเป็นเสียง ท ควบ ซ คือเสียง (ท) จะออกครึ่งเสียงเร็วๆ ไม่ได้เป็นเสียง ทะ ตรงๆ

นอกจากนี้ ฮีบรูยังมีลักษณะสำคัญอีกอย่างคือ ตัวอักษรฮีบรูทั้งชุดเป็นพยัญชนะล้วนไม่มีรูปสระ ดังนั้นเวลาเขียนจะไม่แสดงรูปสระ เช่น คำว่า อิสราเอล จะเขียนแบบลดรูปสระเป็น อสรอล ซึ่งหากถ้าผู้อ่านไม่เคยชิน (คนที่ไม่ได้เติบโตมากับภาษาฮีบรูและเรียนรู้เสียงอ่านแต่เด็ก) จะทำให้อ่านพลาดได้ง่าย ดังนั้นโดยทั่วไปในภาษาฮีบรูที่เขียนอย่างมีรูปสระกำกับ ก็คือ ในพระคัมภีร์เก่า ซึ่งเป็นหนังสือทางศาสนา ในหนังสือเด็ก และในคำที่มาจากภาษาต่างประเทศ ก็มักจะเขียนสระกำกับไว้ เพื่อให้อ่านออกเสียงได้ถูกต้องใกล้เคียงกับภาษาเดิม

ไวยากรณ์[แก้]

ไวยากรณ์ของภาษาฮีบรูมีระบบการใช้คำบุพบทมากกว่าการใช้การก แต่การผันคำก็มีบทบาทในการสร้างคำกริยาและคำนาม ตัวอย่าง เช่น คำนามมีโครงสร้างผูกประโยคเรียกว่า สมิคุต เพื่อแสดงถึงความสัมพันธ์แบบเป็นของซึ่งเป็นภาคกลับของการกแสดงความเป็นเจ้าของในภาษาที่มีการผันคำส่วนใหญ่ คำสมิคุตมักแสดงด้วยขีดคั่น ในการพูดแบบสมัยใหม่การใช้โครงสร้างผูกประโยคมักใช้ปนไปกับการใช้บุพบท shel (ของ)

ระบบการเขียน[แก้]

ภาษาฮีบรูปัจจุบันเขียนด้วยอักษรฮีบรูจากขวาไปซ้าย อักษรปัจจุบันมีรูปร่างเป็นแบบเหลี่ยม ที่พัฒนามาจากอักษรอราเมอิก อักษรอีกแบบหนึ่งที่มักใช้ในเอกสารลายมือเขียนมีรูปร่างค่อนข้างกลม และเป็นเส้นโค้งกว่า

นิกคุต[แก้]

ภาษาฮีบรูไบเบิลยุคแรกมีแต่พยัญชนะและช่องว่าง ระบบการแสดงเสียงสระที่เรียกนิคุต (มาจากรากศัพท์ที่หมายถึงจุด) เริ่มพัฒนาขึ้นเมื่อพุทธศตวรรษที่ 10 ปัจจุบันใช้ในการพิมพ์ไบเบิล และหนังสือทางศาสนาต่างๆ รวมทั้งในบทกวี หนังสือสำหรับเด็ก และหนังสือสำหรับผู้เริ่มเรียนภาษาฮีบรู หนังสือภาษาฮีบรูสมัยใหม่มีเพียงพยัญชนะ ช่องว่าง และเครื่องหมายวรรคตอนต่างๆ มีการใช้นิกคุตเมื่อจำเป็นเพื่อป้องกันความกำกวมของความหมายและในการถอดเสียงชื่อที่มาจากภาษาอื่น

พยัญชนะ[แก้]

หน่วยเสียงทั้งหมดในภาษาฮีบรูแทนด้วยอักษรเดี่ยว แม้ว่าอักษรเดี่ยวบางตัวเช่น เบต แทนได้สองเสียงคือ /b/ และ /v/ แต่ในการเขียนแบบเต็มจะแยกเสียงทั้งสองอกจากกันโดยเติมจุดเมื่อออกเสียง b อักษรบางตัวมีรูปท้ายคำซึ่งใช้เฉพาะเมื่ออยู่ท้ายคำเท่านั้น

แม่แบบการอ่าน[แก้]

อักษรเฮย วาฟ และยอดใช้แสดงทั้งเสียงพยัญชนะ /h/, /v/, และ /j/ ตามลำดับ หรือใช้แทนเสียงสระ ซึ่งเมื่อใช้แทนเสียงสระจะเรียกแม่แบบการอ่าน อักษรเฮยเมื่ออยู่ท้ายคำมักแสดงเสียง/อา/เมื่อเป็นเพศหญิงหรือเสียง /อี/ เมื่อเป็นเพศชาย บางครั้งแสดงเสียง/โอ/ เช่น שְלֹמֺה (shlomo โซโลมอน) วาฟ ใช้แสดงเสียง/โอ/หรือ/อู/ และยอดอาจใช้แทนเสียง /อี/ หรือ/เอ/ บางครั้งใช้ยอดสองครั้งเพื่อแสดงเสียง/เอย/ ในภาษาฮีบรูอิสราเอลสมัยใหม่ ใช้อะเลฟแทนเสียง/อา/ในชื่อที่มาจากภาษาอื่น โดยเฉพาะภาษาอาหรับ

อ้างอิง[แก้]

  1. Lewis, M. Paul, Gary F. Simons, and Charles D. Fennig (eds.). 2016. Ethnologue: Languages of the World, Nineteenth edition. Dallas, Texas: SIL International. Online version: http://www.ethnologue.com