หนังสือเฉลยธรรมบัญญัติ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

Papyrus Fouad 266 เมื่อ ป. 100 ปีก่อนคริสตกาล ประกอบด้วยส่วนหนึ่งของหนังสือเฉลยธรรมบัญญัติในคัมภีร์ไบเบิลที่แปลเป็นภาษากรีก (Septuagint)

หนังสือเฉลยธรรมบัญญัติ (อังกฤษ: Book of Deuteronomy; กรีกโบราณ: Δευτερονόμιον, อักษรโรมัน: Deuteronómion, แปลตรงตัว'บทบัญญัติที่สอง'; ละติน: Liber Deuteronomii)[1] เป็นหนังสือเล่มที่ 5 ของคัมภีร์โทราห์ (ในศาสนายูดาห์) ซึ่งเรียกว่า Devarim (ฮีบรู: דְּבָרִים, อักษรโรมัน: Dəḇārīm, แปลตรงตัว'คำ[ของโมเสส]') และเป็นหนังสือเล่มที่ 5 ของพันธสัญญาเก่าในศาสนาคริสต์

บทที่ 1-30 ของหนังสือประกอบด้วยบทเทศน์ 3 บทหรือก็คือคำกล่าวของโมเสสต่อชาวอิสราเอลบนที่ราบโมอับ ไม่นานก่อนที่พวกเขาจะเข้าสู่แผ่นดินแห่งพระสัญญา บทเทศน์แรกเป็นย้อนความถึงเวลา 40 ปีของการร่อนเร่ในถิ่นทุรกันดารซึ่งนำไปสู่ช่วงเวลา ณ ขณะนั้นและจบลงด้วยการตักเตือนให้รักษาบทบัญญัติ บทเทศน์ที่สองเป็นการเตือนใจชาวอิสราเอลถึงความจำเป็นต้องปฏิบัติตามพระยาห์เวห์และพระบัญญัติ (หรือคำสอน) ที่พระองค์ประทานแก่พวกเขา บทเทศน์ที่สามเป็นการปลอบโยนว่าแม้ชนชาติอิสราเอลจะไม่ซื่อสัตย์และสูญเสียดินแดนนั้นไป แต่ทุกคนสามารถกลับคืนมาด้วยการกลับใจใหม่[2]

สี่บทสุดท้าย (บทที่ 31-34) ประกอบด้วยบทเพลงของโมเสส, พรของโมเสส และเรื่องเล่าของการส่งต่อเสื้อคลุมผู้นำจากโมเสสไปยังโยชูวา และท้ายที่สุดก็เป็นเรื่องการเสียชีวิตของโมเสสบนภูเขาเนโบ

วรรคหนึ่งที่มีความสำคัญที่สุดคือเฉลยธรรมบัญญัติ 6:4 เชมา ยิสราเอล (โอ คนอิสราเอล จงฟังเถิด) เป็นคำสรุปของเอกลักษณะชาวยิวของชาวยิวผู้เชื่อในพระเจ้า: "โอ คนอิสราเอล จงฟังเถิด พระยาห์เวห์ พระยาห์เวห์เท่านั้นทรงเป็นพระเจ้าของเรา"[3] วรรค 6:4–5 ยังอ้างถึงโดยพระเยซูในมาระโก 12:28–34 ว่าเป็นบัญญัติเอก

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Definition of Deuteronomy | Dictionary.com". www.dictionary.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 11 March 2023.
  2. Phillips, pp.1–2
  3. เฉลยธรรมบัญญัติ 6:4

บรรณานุกรม[แก้]

คำแปลของหนังสือเฉลยธรรมบัญญัติ[แก้]

คำอธิบายของหนังสือเฉลยธรรมบัญญัติ[แก้]

ทั่วไป[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ก่อนหน้า
หนังสือกันดารวิถี
หนังสือเฉลยธรรมบัญญัติ
คัมภีร์ฮีบรู /
พันธสัญญาเดิมของศาสนาคริสต์
ถัดไป
หนังสือโยชูวา