ข้ามไปเนื้อหา

ท่าอากาศยานนานาชาติสมุย

พิกัด: 09°32′52″N 100°03′44″E / 9.54778°N 100.06222°E / 9.54778; 100.06222
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ท่าอากาศยานสมุย)
ท่าอากาศยานนานาชาติสมุย
อาคารผู้โดยสารขาออกท่าอากาศยานนานาชาติสมุย
ข้อมูลสำคัญ
การใช้งานสาธารณะ
ผู้ดำเนินงานบางกอกแอร์เวย์ส
ที่ตั้งตำบลบ่อผุด อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี 84320
เหนือระดับน้ำทะเล64 ฟุต / 20 เมตร
พิกัด09°32′52″N 100°03′44″E / 9.54778°N 100.06222°E / 9.54778; 100.06222
แผนที่
แผนที่
ทางวิ่ง
ทิศทาง ความยาว พื้นผิว
ฟุต เมตร
17/35 6,890 2,100 ยางมะตอย
สถิติ (2558)
เที่ยวบิน24,260
จำนวนผู้โดยสาร2,051,289
เคาเตอร์เช็คอินสนามบินสมุย

ท่าอากาศยานนานาชาติสมุย หรือ สนามบินสมุย (อังกฤษ: Samui International Airport) ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ของพื้นที่เกาะสมุย อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอเกาะสมุย ประมาณ 23 กิโลเมตร ในพื้นที่ตำบลบ่อผุด อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นท่าอากาศยานที่ให้บริการเที่ยวบินระหว่างประเทศ (International Airport)[1] และเป็นท่าอากาศยานที่ดำเนินการโดย บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) อีกทั้งยังเป็นท่าอากาศยานสำหรับนักท่องเที่ยว ที่มา เกาะพะงัน อีกด้วย โดยมีเที่ยวบินเข้าออกไปยังเมืองต่างๆมากมาย

ข้อมูลทั่วไป

[แก้]

ท่าอากาศยานนานาชาติสมุย เปิดทำการบินเมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2532 ตั้งอยู่บนเนื้อที่ 600 ไร่ (ในปัจจุบัน) ผู้อำนวยการคนแรก คือ พลอากาศเอก อมร แนวมาลี[2]
เริ่มดำเนินการก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2527 พื้นที่เดิมเป็นสวนมะพร้าวซึ่งบริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ได้รับความเห็นชอบจากกรมการบินพาณิชย์ว่าเป็นพื้นที่ ที่เหมาะสมสำหรับเป็นที่ตั้งของสนามบิน เนื่องจากเป็นพื้นที่ราบขนาดใหญ่เพียงพอกับการสร้างสนามบิน และ เป็นสนามบินของเอกชน
เริ่มเปิดบริการเส้นทางแรกในเส้นทาง กรุงเทพ – สมุย ด้วยเครื่องบิน DASH 8 - 100 ขนาด 37 ที่นั่ง ใช้เวลาเดินทางเพียงแค่ 1 ชั่วโมง 10 นาที ซึ่งเป็นการย่นระยะเวลาเดินทางไปเกาะสมุย โดยปกติ จะต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 6 ชั่วโมงถึง 1 วัน ของการเดินทางแต่ละประเภท

และในปัจจุบัน ท่าอากาศยานนานาชาติสมุย สามารถรองรับเครื่องบินไอพ่นขนาดเล็ก เช่น Airbus A319 และ Boeing 737-400 รวมถึงเครื่องบินใบพัด รุ่น ATR72 โดยใช้เวลาเดินทางประมาณ 50นาทีเท่านั้น
ปัจจุบัน ท่าอากาศยานนานาชาติสมุย ได้ทำการขยายอาคารผู้โดยสารใหม่ โดยอาคารผู้โดยสารภายในประเทศอาคารใหม่ได้เปิดให้บริการไปเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2550 และอาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศอาคารใหม่ได้เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2550 โดยอาคารผู้โดยสารใหม่มีพื้นที่ใช้สอยกว่า 7,300 ตารางเมตร โดยประกอบไปด้วยอาคารผู้โดยสาร 6 อาคารแบ่งเป็นอาคารผู้โดยสารภายในประเทศ 4 อาคาร และอาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศ 2 อาคาร โดยอาคารผู้โดยสารใหม่ สามารถรองรับผู้โดยสารได้วันละประมาณ 16,000 คนต่อวัน หรือ 6,000,000 คนต่อปี

และยังมี Samui Park Avenue ตั้งอยู่บนพื้นที่ประมาณ 4 ไร่ ภายในบริเวณสนามบินสมุย ประกอบด้วย 3 อาคารแบ่งเป็นแบบ 2 ชั้น 2 อาคารและแบบ 1 ชั้น 1 อาคาร โดยเปิดให้บริการตั้งแต่เวลา 07.00-22.00 น. เพื่อต้องการให้ผู้โดยสารและบุคคลภายนอกสามารถมาใช้บริการและรู้สึกเหมือนเดินช็อปปิ้งอยู่ในสวน Samui Park Avenue จึงเป็นถนนช็อปปิ้งแห่งใหม่ของเกาะสมุย เชื่อมระหว่างอาคารผู้โดยสาร ซึ่งผู้โดยสารสามารถเดินเล่น พักผ่อน และเพลิดเพลินกับหลากหลายร้านค้าชั้นนำ ภัตตาคารที่มีชื่อเสียงระดับโลก คาเฟ่ที่บริการอินเทอร์เน็ต[3]

รายชื่อสายการบิน

[แก้]
สายการบิน จุดหมายปลายทาง[4] หมายเหตุ
บางกอกแอร์เวย์ส ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
ท่าอากาศยานอู่ตะเภา
ท่าอากาศยานกระบี่
ท่าอากาศยานเชียงใหม่
ท่าอากาศยานภูเก็ต
ท่าอากาศยานดอนเมือง[[1]]
หาดใหญ่ ยกเลิกไปก่อน กลับมาในอนาคต
ภายในประเทศ
บางกอกแอร์เวย์ส ท่าอากาศยานนานาชาติกว่างโจวไป๋-ยฺหวิน
ท่าอากาศยานชางงีสิงคโปร์
ท่าอากาศยานนานาชาติฮ่องกง
ท่าอากาศยานนานาชาติกัวลาลัมเปอร์ ยกเลิกไปก่อน กลับมาในอนาคต
ระหว่างประเทศ
สกู๊ต ท่าอากาศยานชางงีสิงคโปร์ ระหว่างประเทศ
ไห่หนานแอร์ไลน์ ท่าอากาศยานนานาชาติเฉิงตู ระหว่างประเทศ

สนามบินพี่สนามบินน้อง

[แก้]

ท่าอากาศยานสุโขทัย ท่าอากาศยานตราด

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ประกาศสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย เรื่อง รายชื่อสนามบินที่ให้บริการเที่ยวบินระหว่างประเทศ (International Airport) พ.ศ. ๒๕๖๖
  2. พลอากาศเอกอมร แนวมาลี[ลิงก์เสีย]
  3. "Samui International Airport". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-03-30. สืบค้นเมื่อ 2014-09-02.
  4. "Flight Tracker". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-03-31. สืบค้นเมื่อ 2013-10-01.