เชี่ยวหลาน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เขื่อนเชี่ยวหลาน หรือ เขื่อนรัชประภา
สภาพเกาะแก่งของอ่างเก็บน้ำเขื่อนเชี่ยวหลาน ได้ชื่อว่ากุ้ยหลินแห่งเมืองไทย

เชี่ยวหลาน เป็นชื่อแก่งน้ำแห่งหนึ่งในบริเวณคลองแสง ซึ่งเป็นคลองที่มีน้ำเชี่ยวมากที่สุดในฤดูน้ำหลาก สองฟากฝั่งคลองคือ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองแสง และอุทยานแห่งชาติเขาสก ซึ่งจัดเป็นผืนป่าที่อุดมสมบูรณ์มากที่สุดแห่งหนึ่งของเทือกเขาตะนาวศรี อยู่บริเวณรอยต่อสามจังหวัดของภาคใต้ คือ ระนอง พังงา และสุราษฎร์ธานี บนยอดทิวเขา สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 1,000 เมตร ซึ่งปัจจุบันพื้นที่ป่ากลายเป็น ทะเลสาบขนาดใหญ่ ที่เกิดจากโครงการของ การไฟฟ้า เพื่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนรัชชประภา เพื่อใช้สำหรับผลิตกระแสไฟ[1]

สิ่งแวดล้อม[แก้]

นับตั้งแต่เริ่มมีการกักเก็บน้ำในเชี่ยวหลาน เมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2529 ระดับน้ำได้สูงขึ้นอย่างรวดเร็วไหลบ่าท่วมป่าใหญ่จมหายไป ส่วนที่เป็นเนินเขา และภูเขาถูกตัดขาดแบ่งแยกเป็นเกาะเล็กเกาะน้อยมากมายถึง 162 เกาะ สัตว์ป่านานาชนิดได้รับผลกระทบ เนื่องจากขาดแหล่งอาหารและที่อยู่อาศัย รวมถึงถูกน้ำท่วมฉับพลัน มีสัตว์ป่าจำนวนมากที่อพยพหนีน้ำไม่ทันล้มตายเป็นจำนวนมากไม่น้อยกว่า 338 ชนิด ซึ่งในจำนวนนั้นมีสัตว์ที่ใกล้จะสูญพันธุ์หลายชนิด ได้แก่ ช้าง กระทิง วัวแดง สมเสร็จ เสือลายเมฆ เลียงผา ไก่ฟ้าหน้าเขียว นกหว้า และกบทูด ต้นไม้ที่เป็นแหล่งอาหารของสัตว์ป่าได้ล้มตายลง ใบหลุดร่วง รากเน่า เนื่องจากรากที่ดูดซึมน้ำได้แช่อยู่ใต้ระดับน้ำ

อ้างอิง[แก้]

  1. "Rajjaprabha Dam". Electricity Generating Authority of Thailand (EGAT). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-05-17. สืบค้นเมื่อ 2018-02-12.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]