โบอิง ดรีมลิฟเตอร์
โบอิง ดรีมลิฟเตอร์ | |
---|---|
โบอิง ดรีมลิฟเตอร์ที่แองเคอเรจ รัฐอะแลสกา | |
ข้อมูลทั่วไป | |
บทบาท | อากาศยานขนส่งสินค้าเกินพิกัด |
บริษัทผู้ผลิต | เครื่องบินพาณิชย์โบอิง เอเวอร์กรีนเอวิเอชันเทคโนโลยีคอร์ปอเรชัน |
สถานะ | ในประจำการ |
ผู้ใช้งานหลัก | แอตลาสแอร์ (ดำเนินงานให้กับโบอิง) |
จำนวนที่ผลิต | 4 ลำ |
ประวัติ | |
สร้างเมื่อ | ค.ศ. 2006-2010 |
เริ่มใช้งาน | ค.ศ. 2007 |
เที่ยวบินแรก | 9 กันยายน ค.ศ. 2006 |
พัฒนาจาก | โบอิง 747-400 |
โบอิง 747 ลาร์จคาร์โกเฟรตเตอร์ (แอลซีเอฟ) หรือ โบอิง ดรีมลิฟเตอร์ (อังกฤษ: Boeing Dreamlifter) เป็นเครื่องบินขนส่งสินค้าเกินพิกัดลำตัวกว้างของโบอิงที่ดัดแปลงมาจากโบอิง 747-400 ดรีมลิฟเตอร์มีความจุสินค้า 65,000 ลูกบาศก์ฟุต (1,840 ลูกบาศก์เมตร)[1] ซึ่งมากกว่ารุ่น 747-400F ถึงสามเท่า[2] โดยภายหลังการพัฒนาโบอิง 787 ดรีมไลเนอร์ โบอิงได้มีการสร้างเครื่องบินนี้ขึ้นเพื่อขนส่งชิ้นส่วนต่างๆ จากอิตาลี ญี่ปุ่น และสหรัฐแต่ก็มีการนำมาใช้ในการขนส่งอุปกรณ์ทางการแพทย์ในช่วงการระบาดทั่วของโควิด-19[3]
การพัฒนา
[แก้]ฝ่ายเครื่องบินพาณิชย์โบอิงได้ประกาศการพัฒนาดรีมลิฟเตอร์เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม ค.ศ. 2003 เพื่อนำมาใช้ในการขนส่งชิ้นส่วนของโบอิง 787 ดรีมไลเนอร์ (รู้จักกันในชื่อ โบอิง 7อี7 ณ ขณะนั้น) ทางอากาศ[4] เป็นการลดระยะเวลาในการขนส่งจากเดิมที่ขนส่งทางบกและทางเรือ ชิ้นส่วนบางชิ้นของโบอิง 787 มีขนาดใหญ่กว่าตู้คอนเทนเนอร์ขนาดมาตรฐาน และพื้นที่เก็บสินค้าบนโบอิง 747-400F อานโตนอฟ อาน-124 และอาน-225[5] โดยเดิมโบอิงมีแผนที่จะดัดแปลงเครื่องบินโบอิง 747-400 รุ่นโดยสารจำนวนสามลำเพื่อนำมาขนส่งชิ้นส่วนเครื่องบินจากญี่ปุ่นและอิตาลี ไปยังนอร์ทชาร์ลสตัน รัฐเซาท์แคโรไลนาและส่งไปยังฐานการผลิตขั้นตอนสุดท้ายในเพย์นฟีลด์ รัฐวอชิงตัน แต่ต่อมาก็ได้ปรับแผนเป็นการดัดแปลงเครื่องบินสี่ลำ[6] โบอิง ดรีมลิฟเตอร์มีลำตัวเครื่องที่นูนออกมาคล้ายกับซูเปอร์กัปปี แอร์บัส เบลูกา และเบลูกาเอ็กซ์แอล ซึ่งถูกใช้ในการขนส่งชิ้นส่วนปีก ลำตัวเครื่องบิน และสินค้าขนาดใหญ่อื่นๆ ในลักษณะเดียวกัน
การดัดแปลงส่วนหนึ่งได้รับการออกแบบโดยสำนักงานมอสโกของโบอิงและโบอิง ร็อกเก็ตไดน์ โดยการออกแบบประตูสินค้าแบบเปิดออกที่บริเวณส่วนหางจะได้รับการออกแบบร่วมกับกาเมซาอาเอโรเนาติกาของสเปน[7] พื้นที่บรรทุกสินค้าของเครื่องบินจะไม่มีการปรับความดัน[8] ส่วนหางจะต้องใช้รถที่ถูกดัดแปลงพิเศษในการเปิดออก และล็อกกับลำตัวเครื่องด้วยตัวกระตุ้น 21 ตัว[9] ต่างจากการใช้ระบบไฮดรอลิกของประตูสินค้าส่วนจมูกบนโบอิง 747 รุ่นสินค้า
โบอิง ครีมลิฟเตอร์จะดัดแปลงโดยเอเวอร์กรีนเอวิเอชันเทคโนโลยีคอร์ปอเรชันในไต้หวัน[2] ซึ่งเป็นกิจการค้าร่วมระหว่างอีวีเอแอร์และเจเนอรัลอิเล็กทริก[10] โบอิงได้เข้าซื้อโบอิง 747-400 จำนวนสี่ลำ โดยเป็นของแอร์ไชนาหนึ่งลำ[11] ของไชนาแอร์ไลน์สองลำ[12][13] และของมาเลเซียแอร์ไลน์หนึ่งลำ[14]
โบอิง 747 ลาร์จคาร์โกเฟรตเตอร์ (แอลซีเอฟ) ลำแรกเปิดตัวที่ท่าอากาศยานนานาชาติไต้หวันเถา-ยฺเหวียนในวันที่ 17 สิงหาคม ค.ศ. 2006.[10] Iและทำการบินครั้งแรกในวันที่ 9 กันยายนของปีเดียวกัน[15]
ด้วยลักษณะที่แปลกตานี้ โบอิงแอลซีเอฟถูกนำมาเปรียบเทียบกับออสกา เมเยอร์ วีเนอร์โมบิลและฮิวเกส เอช-4 เฮอร์คิวลิส[6] และเหตุนี้เองเครื่องบินลำแรกที่ถูกดัดแปลงไม่ได้มีการทำสีจากการทดสอบเพิ่มเติม สกอตต์ คาร์สัน ประธานฝ่ายเครื่องบินพาณิชย์โบอิง กล่าวขอโทษอย่างตลกๆ ต่อโจ ซัทเทอร์ ผู้ออกแบบโบอิง 747 ว่า "ขอโทษกับสิ่งที่พวกเราทำกับเครื่องบินคุณ"[6]
ประวัติการให้บริการ
[แก้]การทดสอบ
[แก้]ในวันที่ 16 กันยายน ค.ศ. 2006 เครื่องบินแอลซีเอฟทะเบียน N747BC ซึ่งเป็นลำแรกได้ลงจอดที่เพย์นฟีลด์ ซีแอตเทิลเพื่อทำการทดสอบ[2] ระบบประตูสินค้าส่วนหางได้รับการทดสอบในโรงงานของโบอิงในเอเวอร์เรต[16] เครื่องบินลำที่สอง ทะเบียน N780BA ทำการบินครั้งแรกในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2007เครื่องบินลำที่สามเริ่มทำการดัดแปลงในปี 2007[17] เครื่องบินสองลำแรกเข้าประจำการในปี 2007เพื่อรองรับกับการผลิตโบอิง 787 โบอิง 747-400 ที่จะนำมาดัดแปลงลำสุดท้ายเป็นอดีตเครื่องบินของมาเลเซียแอร์ไลน์ โดยเดิมทะเบียน 9M-MPA และต่อมาเปลี่ยนเป็น N718BA[17]
การนำโบอิงแอลซีเอฟเข้ามาประจำการนี้สามารถช่วยลดเวลาการขนส่งชิ้นส่วนปีกจากญี่ปุ่นจากเดิม 30 วันเหลือเพียงไม่กี่ชั่วโมง[18] ในช่วงแรกโบอิงได้มีเอเวอร์กรีนอินเตอร์แนชนัลแอร์ไลน์สัญชาติสหรัฐเป็นผู้ให้บริการฝูงบินนี้[6][19] จนถึงเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2010 จากนั้นจึงส่งต่อการดำเนินงานให้กับแอตลาสแอร์ที่ได้รับสัญญาการดำเนินงานเก้าปีใน ค.ศ. 2010[20]
การเข้าประจำการ
[แก้]ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2006 โบอิงได้ประกาศว่าจะเปลี่ยนชื่อเครื่องบินเป็น ดรีมลิฟเตอร์ คล้ายกับชื่อ ดรีมไลเนอร์ ของ 787 และมีการทำลวดลายที่มีหางสีน้ำเงินและสัญลักษณ์คล้ายกับของโบอิง 787 ดรีมไลเนอร์[21]
เดิมโบอิงมีแผนที่จะทำการรับรองเครื่องบินในต้นปี 2007 แต่ถูกเลื่อนจนถึงเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2007 ปลายปีกของเครื่องบินถูกถอดออกภายหลังพบปัญหาการควบคุมเครื่องบินและอาการสั่น โดยระหว่างการรอการรับรอง โบอิงได้นำเครื่องบินทำการบินขนส่งชิ้นส่วนเครื่องบิน 787 ระหว่างสถานที่ผลิตและฐานการผลิตขั้นตอนสุดท้ายในรัฐวอชิงตัน[22] โบอิง 747 แอลซีเอฟ ได้รับการรับรองจากเอฟเอเอเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน ค.ศ. 2007 โดยตั้งแต่การบินครั้งแรกในปี 2006 จนถึงการรับรองในปี 2007 เครื่องบินดรีมลิฟเตอร์ได้ทำการบินทดสอบ 437 ชั่วโมงและทำการทดสอบบนพื้นดิน 639 ชั้วโมง[23]
จากดรีมลิฟเตอร์ทั้งสี่ลำ[24] สามลำสามารถเริ่มดำเนินงานได้ภายในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2008[25] และลำที่สี่เริ่มดำเนินงานได้ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2010[26][27]
เมื่อวันที่1 กรกฎาคม ค.ศ. 2020 ดรีมลิฟเตอร์ลำหนึ่งได้ขนส่งหน้ากากอนามัย 500,000 ชิ้นไปยังท่าอากาศยานนานาชาติซอล์ทเลกซิตีเพื่อส่งมอบให้กับโรงเรียนต่างๆ ในรัฐยูทาห์ระหว่างการระบาดทั่วของโควิด-19 โดยเป็นความร่วมมือระหว่างโบอิง แอตลาสแอร์ เอช.เอ็ท. โคล โกโคปาซิ เฟลลก์พอร์ต ยูพีเอส และรัฐยูทาห์[28]
อุบัติเหตุและอุบัติการณ์สำคัญ
[แก้]- 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 2013: โบอิง ครีมลิฟเตอร์ทะเบียน N780BA ให้บริการโดยแอตลาสแอร์ ได้ลงจอดท่าอากาศยานพันเอกเจมส์ จาบารา ท่าอากาศยานการบินทั่วไปขนาดเล็กในวิชิทอ รัฐแคนซัส แทนที่จะลงจอดในฐานทัพอากาศแมคคอนเนลตามแผนการ ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากท่าอากาศยานจาบารา 14 กิโลเมตร (9 ไมล์) เครื่องบินได้ขึ้นบินออกจากทางวิ่งความยาว 6,101-ฟุต (1,860-เมตร) และลงจอดที่ฐานทัพอากาศแมคคอนเนลในวันต่อมา[29][30]
- 11 ตุลาคม ค.ศ. 2022: โบอิง ครีมลิฟเตอร์ทะเบียน N718BA ที่ให้บริการโดยแอตลาสแอร์ ได้เกิดเหตุล้อลงจอดหลุดออกขณะขึ้นบินจากตารันโต ประเทศอิตาลี ล้อนั้นได้ถูกพบอยู่นอกพื้นที่ท่าอากาศยานในภายหลัง เครื่องบินทำการบินต่อไปยังนอร์ทชาร์ลสตัน รัฐเซาท์แคโรไลนาและลงจอดอย่างปลอดภัย[31]
ข้อมูลจำเพาะ
[แก้]พื้นที่บรรทุกสินค้าหลักของโบอิง ดรีมลิฟเตอร์มีความจุสูงสุด 65,000 ลูกบาศก์ฟุต (1,840 ลูกบาศก์เมตร) และมีน้ำหนักบรรทุกสูงสุด 250,000 ปอนด์ (113,400 กิโลกรัม)[32]
รุ่น | 747 ดรีมลิฟเตอร์ | 747-400 |
---|---|---|
นักบิน | สองคน | |
ความยาว | 235 ฟุต 2 นิ้ว (71.68 เมตร) | 231 ฟุต 10 นิ้ว (70.7 เมตร) |
ความยาวปีก | 211 ฟุต 5 นิ้ว (64.44 เมตร) | |
ความสูง | 70 ฟุต 8 นิ้ว (21.54 เมตร) | 63 ฟุต 8 นิ้ว (19.4 เมตร) |
ความกว้างลำตัวเครื่อง | 27 ฟุต 6 นิ้ว (8.38 เมตร) | 21 ฟุต 4 นิ้ว (6.50 เมตร) |
น้ำหนักเครื่องเปล่า | 180,530 kg (398,000 lb) | 179,015 kg (394,661 lb) |
น้ำหนักขึ้นบินสูงสุด | 364,235 kg (803,001 lb) | 396,890 kg (874,990 lb) |
ความเร็วขณะบิน | มัค 0.82 (542.406 นอต; 1,004.54 กิโลเมตรต่อชั่วโมง; 624.19 ไมล์ต่อชั่วโมง) | มัค 0.855 (566 นอต; 1,047 กิโลเมตรต่อชั่วโมง; 651 ไมล์ต่อชั่วโมง) |
ความยาวทางวิ่งในการขึ้นบิน | 9,199 ฟุต (2,804 เมตร) | 9,902 ฟุต (3,018 เมตร) |
พิสัยการบิน | 4,200 nmi (7,800 km; 4,800 mi) | 7,260 nmi (13,450 km; 8,350 mi) |
ความจุเชื้อเพลิง | 52,609 US gal (199,150 L) | 57,285 US gal (216,850 L) |
เครื่องยนต์ (×4) | พีดับเบิลยู 4056 | พีดับเบิลยู 4056 จีอี ซีเอฟ6-80C2B5F โรลส์-รอยซ์ อาร์บี211-524จี/เอช |
แรงดันเครื่องยนต์ (×4) | 63,300 lbf (282 kN) | แพรตแอนด์วิทนีย์: 63,300 lbf (282 kN) จีอี: 62,100 lbf (276 kN) โรลส์-รอยซ์: 59,500 lbf (265 kN) |
แหล่งอ้างอิง: ข้อมูลจำเพาะโบอิง 747-400[33] และ รายงานท่าอากาศยานโบอิง 747[34]
เครื่องบินที่ใกล้เคียงกัน
[แก้]รุ่นที่ใกล้เคียงกัน
[แก้]เครื่องบินที่ใกล้เคียงกัน
[แก้]- แอโรสเปซไลน์ เพรกเนนท์กัปปี
- แอโรสเปซไลน์ ซูเปอร์กัปปี
- คอนรอย สกายมอนสเตอร์
- อานโตนอฟ อาน-225 มรียา
- แอร์บัส เอ300-600เอสที เบลูกา
- แอร์บัส เอ300-743แอล เบลูกาเอ็กซ์แอล
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Boeing Dreamlifter leads unique aircraft at AirVenture เก็บถาวร เมษายน 14, 2013 ที่ archive.today" Experimental Aircraft Association. Retrieved: September 30, 2012.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 Hanson, Mary et al. "Boeing Selects EGAT for 747 Large Cargo Freighter Modifications". Boeing Commercial Airplanes, February 18, 2005. Retrieved: March 17, 2008.
- ↑ Pallini, Thomas. "Boeing's massive oversized cargo plane just flew its first COVID-19 mission from Hong Kong to South Carolina. Take a look at the 'Dreamlifter.'". Business Insider (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ July 17, 2021.
- ↑ Leach, Yvonne (October 13, 2003). "Boeing 7E7 Will Use Air Transport for Component Delivery" (Press release). Boeing. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 31, 2020. สืบค้นเมื่อ May 9, 2017.
- ↑ Wagner, Mark; Norris, Guy (2009), Boeing 787 Dreamliner, MBI, pp. 101–14.
- ↑ 6.0 6.1 6.2 6.3 Lunsford, J. Lynn. "Ugly in the Air: Boeing's New Plane Gets Gawks, Stares" เก็บถาวร พฤษภาคม 17, 2013 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. The Wall Street Journal, January 8, 2007.
- ↑ Hanson, Mary (February 22, 2005). "Boeing's 747 Large Cargo Freighter Development on Plan" (Press release). Seattle: Boeing. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 27, 2006. สืบค้นเมื่อ January 8, 2007.
- ↑ http://www.boeing.com/news/frontiers/archive/2005/june/ts_sf05.html เก็บถาวร มกราคม 7, 2007 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Retrieved June 30, 2017.
- ↑ "How Does The Boeing Dreamlifter's Swing Tail Door Work?". Simple Flying (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). April 5, 2021. สืบค้นเมื่อ July 8, 2021.
- ↑ 10.0 10.1 Hanson, Mary. "Boeing 747 Large Cargo Freighter Rolls Out; Prepares for First Flight". Boeing Commercial Airplanes, June 17, 2006. Retrieved: March 17, 2008.
- ↑ "Boeing N747BC (Ex B-2464)—Airfleets". Airfleets. Retrieved: March 17, 2008.
- ↑ "Boeing N780BA (Ex B-162 B-18272)". Airfleets.Retrieved: March 17, 2008.
- ↑ "Boeing N249BA (Ex B-161 B-18271)". Airfleets. Retrieved: March 17, 2008.
- ↑ Boeing N718BA (Ex 9M-MPA)". Airfleets. Retrieved: March 17, 2008.
- ↑ Hanson, Mary. "Boeing 747 Large Cargo Freighter Completes First Flight". Boeing Commercial Airplanes, September 9, 2006. Retrieved: March 17, 2008.
- ↑ "Boeing 747 Large Cargo Freighter Successfully Tests Swing Tail". Boeing Commercial Airplanes, October 23, 2006. Retrieved: March 17, 2008.
- ↑ 17.0 17.1 Hanson, Mary. "Large Cargo Freighter Taking Shape". Boeing Commercial Airplanes, April 17, 2006. Retrieved: March 17, 2008.
- ↑ "Boeing 747 Dreamlifter Fact Sheet เก็บถาวร กุมภาพันธ์ 18, 2013 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน". Archive Boeing Commercial Airplanes, April 23, 2007. Retrieved: March 17, 2008.
- ↑ Hanson, Mary et al. "Evergreen International Airlines, Inc. to Operate Boeing 747 Large Cargo Freighters". Boeing Commercial Airplanes, December 15, 2007. Retrieved: March 17, 2008.
- ↑ Ostrower, Jon (March 4, 2010). "Atlas to assume Dreamlifter control in September". Flightglobal. Washington, D.C. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 10, 2017. สืบค้นเมื่อ March 5, 2010.
- ↑ "Boeing Reveals Livery, Name for 747 Large Cargo Freighters". เก็บถาวร เมษายน 7, 2012 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Boeing Commercial Airplanes, December 6, 2006. Retrieved: March 17, 2008.
- ↑ Wallace, James. "Boeing Can't Soothe Jitters". Seattle Post-Intelligencer, Retrieved: March 17, 2008.
- ↑ Hanson, Mary. "Boeing 747 Dreamlifter Achieves FAA Certification". Boeing Commercial Airplanes, June 4, 2007. Retrieved: March 17, 2008.
- ↑ "Boeing 747 Dreamlifter Fact Sheet" เก็บถาวร กุมภาพันธ์ 18, 2013 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Boeing. Retrieved: September 14, 2011.
- ↑ Tinseth, Randy. "Three of four" เก็บถาวร กรกฎาคม 26, 2011 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Boeing Blog Randy's Journal, June 12, 2008.
- ↑ Mecham, Michael. "Boeing Puts Last Dreamlifter In Service"[ลิงก์เสีย]. Aviation Week, February 16, 2010.
- ↑ "Final Boeing 747 Dreamlifter Enters Service" เก็บถาวร กันยายน 6, 2011 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Boeing, February 16, 2010.
- ↑ Klopfenstein, Jacob (July 1, 2020). "499 new COVID-19 cases, 1 death as 500K masks delivered to Utah students, teachers". KSL.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 2, 2020. สืบค้นเมื่อ July 2, 2020.
- ↑ "NTSB Identification: DCA14IA016". National Transportation Safety Board. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 6, 2021. สืบค้นเมื่อ March 22, 2016.
- ↑ LeBeau, Phil (November 21, 2013). "'Wrong airport' Dreamlifter successfully takes off". CNBC. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 7, 2017. สืบค้นเมื่อ September 8, 2017.
- ↑ Garbuno, Daniel Martínez (2022-10-11). "Boeing 747 Dreamlifter Loses Wheel Departing Taranto, Italy". Simple Flying. สืบค้นเมื่อ 2022-10-13.
- ↑ "Flight Test Program is under way for 747 Large Cargo Freighter" เก็บถาวร มีนาคม 3, 2016 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Boeing, November 2006. Retrieved: September 14, 2011.
- ↑ 747-400 "Technical Information" เก็บถาวร พฤษภาคม 24, 2011 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Boeing. Retrieved: September 14, 2011.
- ↑ "Boeing 747 Airplane Characteristics for Airport Planning". เก็บถาวร พฤษภาคม 24, 2011 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Boeing. Retrieved: September 14, 2011.