โดราเอมอนฉบับการ์ตูนโทรทัศน์
โดราเอมอนฉบับการ์ตูนโทรทัศน์ (Doraemon television series) เป็นภาพยนตร์การ์ตูนสัญชาติญี่ปุ่น เริ่มออกอากาศทางโทรทัศน์ครั้งแรกในประเทศญี่ปุ่นช่วงระหว่างวันที่ 1 เมษายน ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2516 ทางนิปปอนเทเลวิชัน แต่ยังไม่เป็นที่รู้จักนัก จนต่อมาปี พ.ศ. 2522 ทีวีอาซาฮีทำให้การ์ตูนโทรทัศน์นี้ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ออกอากาศไปทั้งหมด 1,049 ตอน ออกฉายตอนสุดท้ายเมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2548 หลังจากนั้นมีการสร้างการ์ตูนโทรทัศน์ชุดนี้เพิ่มเติมโดยมีทีมนักพากย์ชุดใหม่ เพื่อเป็นการฉลองการครบรอบของโดราเอมอนเริ่มออกอากาศเมื่อวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2548 สำหรับประเทศไทยเริ่มออกกาศครั้งแรกในปี พ.ศ. 2525 ทางสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 อ.ส.ม.ท.ด็อกเตอร์ปีน่า เจ้าของดูเลี้ยงสัตว์
การออกอากาศในประเทศไทย
[แก้]โดราเอมอนฉบับการ์ตูนโทรทัศน์ในประเทศไทยเริ่มออกอากาศครั้งแรกทาง สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 อ.ส.ม.ท. ต่อมาคือโมเดิร์นไนน์ทีวี ปัจจุบันคือ ช่อง 9 เอ็มคอต เอชดี เริ่มออกอากาศวันแรกเมื่อวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2525 ช่วงเวลาประมาณ 10.00 น. ในวันเสาร์ และอาทิตย์ โดยฉายต่อจากการ์ตูนโทรทัศน์เรื่อง หน้ากากเสือ หลังจากได้ออกอากาศก็ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เป็นการสร้างชื่อให้กับช่อง 9 อ.ส.ม.ท. ให้เป็นที่ยอมรับในเรื่องการ์ตูนโทรทัศน์ หลังจากนั้นทางช่อง 9 ก็นำกลับมาฉายใหม่หลายครั้ง แต่ในฉบับการ์ตูนโทรทัศน์ที่ออกกาศทางช่อง 9 จะเรียกโดราเอมอน ว่า "โดเรม่อน" ตามชื่อที่ใช้โดย สำนักพิมพ์วิบูลย์กิจ ผู้พิมพ์โดราเอมอนฉบับการ์ตูนในสมัยนั้น และไชโยภาพยนตร์ ผู้จัดฉายโดราเอมอนฉบับภาพยนตร์ เมื่อปี พ.ศ. 2550 ทางโมเดิร์นไนน์ทีวีได้นำโดราเอมอน มาออกอากาศอีกครั้งทุกวันศุกร์ เวลา 16.40-17.05 และต่อมาในวันเสาร์ที่ 5 พฤษภาคม โดราเอมอนก็เปลี่ยนเวลาฉายมาเป็นทุกวันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 8.05-8.30 น.[1] และเมื่อปี 2555 ได้ฉายใหม่อีกรอบหนึ่ง แต่ปรับเวลาเป็น 08.15-08.30 น. ต่อมาในปี 2561 ได้ปรับเวลาเป็น 7.30 - 8.00 น.
ปัจจุบัน (พ.ศ. 2567) โดราเอมอนฉบับการ์ตูนโทรทัศน์ยังคงออกอากาศทางช่อง 9 เอ็มคอต เอชดี ทุกวันเสาร์-อาทิตย์ ปรับเปลี่ยนเวลาใหม่เป็น 9.00 - 9.30 น. เริ่มวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2567
นักพากย์
[แก้]ทีมนักพากย์ญี่ปุ่น
[แก้]ในประเทศญี่ปุ่น มีการเปลี่ยนตัวนักพากย์ตัวละครหลักถึง 3 ชุดด้วยกัน ชุดแรกพากย์ในช่วง ปี พ.ศ. 2516 ที่โดราเอมอนเริ่มออกอากาศครั้งแรกทางนิปปอนเทเลวิชัน ต่อมาเมื่อย้ายมาออกอากาศทางทีวีอาซาฮี ก็ได้เปลี่ยนเป็นอีกชุดหนึ่ง ซึ่งเป็นชุดที่พากย์เสียงให้โดราเอมอนนานที่สุด คือตั้งแต่ พ.ศ. 2522 ถึง พ.ศ. 2548 แต่เมื่อได้มีการสร้างการ์ตูนโทรทัศน์ชุดใหม่ขึ้นเพื่อเป็นการฉลองครบรอบ 25 ปี ทางทีวีอาซาฮี จึงได้ประกาศทีมนักพากย์ชุดใหม่แทนชุดเก่าที่ปลดเกษียณไป
- ทีมพากย์ ปี พ.ศ. 2516-2522 (นิปปอนเทเลวิชัน)
- โคเซ โทมิตะ >> ต่อมาเปลี่ยนเป็น มาซาโกะ โนซาวะ ให้เสียงเป็น โดราเอมอน
- โทชิโกะ ฟูจิตะ ให้เสียงเป็น โนบิตะ
- มาซาโกะ เอบิสึ ให้เสียงเป็น ชิซุกะ
- คาเนตะ คาเนสึกิ ให้เสียงเป็น ไจแอนท์
- ชุน ยาชิโระ ให้เสียงเป็น ซูเนโอะ
- อิจิโร่ มุราโคชิ ให้เสียงเป็น พ่อของโนบิตะ (โนบิ โนบิสุเกะ)
- โนริโกะ โอฮาระ ให้เสียงเป็น แม่ของโนบิตะ (โนบิ ทามาโกะ)
- ทีมพากย์ ปี พ.ศ. 2522-2548 (ทีวีอาซาฮี)
- โนบุโยะ โอยามะ ให้เสียงเป็น โดราเอมอน
- โนริโกะ โอฮาระ ให้เสียงเป็น โนบิตะ
- มิจิโกะ โนมูระ ให้เสียงเป็น ชิซุกะ
- คาซึยะ ทาเทคาเบะ ให้เสียงเป็น ไจแอนท์
- คาเนตะ คาเนสึกิ ให้เสียงเป็น ซูเนโอะ
- มาซายูกิ คาโต้ ให้เสียงเป็น พ่อของโนบิตะ (โนบิ โนบิสุเกะ)
- ซาจิโกะ จิจิมัตสึ ให้เสียงเป็น แม่ของโนบิตะ (โนบิ ทามาโกะ)
- ทีมพากย์ ปี พ.ศ. 2548-ปัจจุบัน (ทีวีอาซาฮี)
- วาซาบิ มิซึตะ ให้เสียงเป็น โดราเอมอน
- เมงุมิ โอฮาระ ให้เสียงเป็น โนบิตะ
- ยูมิ คาคาซึ ให้เสียงเป็น ชิซุกะ
- สุบารุ คิมูระ ให้เสียงเป็น ไจแอนท์
- โทโมคาสึ เซกิ ให้เสียงเป็น ซูเนโอะ
- ฮากิโนะ ชิโฮโกะ ให้เสียงเป็น เดคิสุงิ
- ยาสุโนริ มัตสึโมโตะ ให้เสียงเป็น พ่อของโนบิตะ (โนบิ โนบิสุเกะ)
- โคโตโนะ มิตสึอิชิ ให้เสียงเป็น แม่ของโนบิตะ (โนบิ ทามาโกะ)
- ทาคางิ วาตารุ ให้เสียงเป็น ครู
- มินามิ ทากายามะ ให้เสียงเป็น แม่ของซูเนโอะ
- โทโมโกะ ทาเคอุจิ ให้เสียงเป็น แม่ของไจแอนท์
- โอริกาสะ ไอ ให้เสียงเป็น แม่ของชิซูกะ
- คัตสึโตชิ โฮกิ ให้เสียงเป็น คุณคามินาริ
- มัตซึโมโตะ ซาจิ ให้เสียงเป็น เซวาชิ
ทีมนักพากย์ไทย
[แก้]สำหรับประเทศไทยทีมนักพากย์เสียงภาษาไทยก็เป็นชุดเดิมตั้งแต่การออกอากาศครั้งแรกทางสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 อ.ส.ม.ท. โดยเริ่มพากย์มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2525[2][3] จนถึงปัจจุบัน แต่ก็มีเปลี่ยนผู้พากย์บางคนบ้าง โดยมีทีมนักพากย์ตัวละครหลักดังนี้
- ฉันทนา ธาราจันทร์ [4] ให้เสียงเป็น โดราเอมอน และแม่ของซูเนโอะ
- ศันสนีย์ สมานวรวงศ์ [5] ให้เสียงเป็น โนบิตะ และแม่ของชิซุกะ
- กัลยาณี กรรสมบัติ >> ต่อมาเปลี่ยนเป็น ศรีอาภา เรือนนาค [6] (จนถึงปัจจุบัน) ให้เสียงเป็น ชิซุกะ และ เซวาชิ
- นิรันดร์ บุญยรัตพันธุ์ (เฉพาะเดอะมูฟวี่) <> ธนกฤต เจนคลองธรรม [7] ให้เสียงเป็น ไจแอนท์
- อรุณี นันทิวาส [8] ให้เสียงเป็น ซูเนโอะ โดเรมี และแม่ของไจแอนท์
- เรวัติ ศิริสรรพ >> ต่อมาเปลี่ยนเป็น หฤษฎ์ ภูมิดิษฐ์ >> ไกวัล วัฒนไกร >> สุภาพ ไชยวิสุทธิกุล (จนถึงปัจจุบัน) ให้เสียงเป็น พ่อของโนบิตะ (โนบิ โนบิสุเกะ) และครู
- สุลัคษณา เทพหัสดิน ณ อยุธยา ให้เสียงเป็น แม่ของโนบิตะ (โนบิ ทามาโกะ) และเดคิซุงิ
รายชื่อตอนโดราเอมอนฉบับการ์ตูนโทรทัศน์ (2548)
[แก้]โดราเอมอนฉบับการ์ตูนโทรทัศน์ (2548–2557)
[แก้]- ดูบทความหลักที่: รายชื่อตอนในโดราเอมอนฉบับการ์ตูนโทรทัศน์ (2553–2557)
- ดูบทความหลักที่: รายชื่อตอนโดราเอมอนฉบับการ์ตูนโทรทัศน์ (2548–2552)
- ดูบทความหลักที่: รายชื่อตอนโดราเอมอนฉบับการ์ตูนโทรทัศน์ (2553–2557)
โดราเอมอนฉบับการ์ตูนโทรทัศน์ (2558–2563)
[แก้]ดูบทความหลักที่: รายชื่อตอนในโดราเอมอนฉบับการ์ตูนโทรทัศน์ (2558–2562)
ดูบทความหลักที่: รายชื่อตอนในโดราเอมอนฉบับการ์ตูนโทรทัศน์ (พ.ศ. 2558–2560)
ดูบทความหลักที่: รายชื่อตอนในโดราเอมอนฉบับการ์ตูนโทรทัศน์ (พ.ศ. 2561–2563)
ดูบทความหลักที่: รายชื่อตอนในโดราเอมอนฉบับการ์ตูนโทรทัศน์ (พ.ศ. 2564–2566)
ดูบทความหลักที่: รายชื่อตอนในโดราเอมอนฉบับการ์ตูนโทรทัศน์ (พ.ศ. 2567–2569)
เพลงประกอบ
[แก้]เพลงประกอบในโดราเอมอนฉบับการ์ตูนโทรทัศน์ ใช้ในตอนเปิดเรื่อง (opening theme) ของทุกตอน มีอยู่ด้วยกันหลายแบบ แต่ที่นิยมและเป็นรู้จักกันมากที่สุดก็คือเพลงของทีวีอาซาฮี ซึ่งมีการเปลี่ยนนักร้องมาแล้ว 5 คนแต่ยังใช้เนื้อเพลงและดนตรีประกอบดังเดิม เพลงนี้มีชื่อว่า "เพลงของโดราเอมอน" หรือในชื่อภาษาญี่ปุ่นว่า "โดราเอมอน โนะ อุตะ" (ドラえもんのうた, Doraemon no uta) นอกจากนี้ยังเพลงตอนปิดเรื่อง (ending theme) อีกด้วย
เพลงเปิดเรื่อง
[แก้]- ฉบับปี พ.ศ. 2516
- โดราเอมอน (ドラえもん)ขับร้องโดย ฮารุมิ ไนโต และ คณะ NLT
- ฉบับปี พ.ศ. 2522
- โดราเอมอน โนะ อุตะ (ドラえもんのうた) ขับร้องโดย คุมิโกะ โอสุงิ (2 เมษายน 2522 - 2 ตุลาคม 2535)
- โดราเอมอน โนะ อุตะ (ドラえもんのうた) ขับร้องโดย ซาโตโกะ ยามาโนะ (9 ตุลาคม 2535 - 20 กันยายน 2545)
- โดราเอมอน โนะ อุตะ (ドラえもんのうた) ขับร้องโดย โตเกียวพูริน (4 ตุลาคม 2545 - 11 เมษายน 2546)
- โดราเอมอน โนะ อุตะ (ドラえもんのうた) ขับร้องโดย มิซาโตะ วาตานาเบะ (18 เมษายน 2546 - 23 เมษายน 2547)
- โดราเอมอน โนะ อุตะ (ドラえもんのうた) ขับร้องโดย AJI (อะจิ) (30 เมษายน 2547 - 18 มีนาคม 2548)
- ฉบับปี พ.ศ. 2548
ศิลปิน | ชื่อเพลง | วันที่เริ่มออกอากาศ | วันสิ้นสุดการออกอากาศ | |
---|---|---|---|---|
1. | 12 Girls Band | ญี่ปุ่น: "Doraemon no Uta"; โรมาจิ: ドラえもんのうた | 15 เมษายน 2548 | 21 ตุลาคม 2548 |
2. | Rimi Natsukawa | ญี่ปุ่น: "Hagushichao"; โรมาจิ: ハグしちゃお | 28 ตุลาคม 2548 | 20 เมษายน 2550 |
3. | Mao | Yume o Kanaete Doraemon. |夢をかなえてドラえもん (กันยายน 2550) | 11 พฤษภาคม 2550 | 6 กันยายน 2562 |
4. | Doraemon cast | "Doraemon no Uta 40th" (ドラえもんのうた 40th) | 5 เมษายน 2562 | 19 เมษายน 2562 |
5. | Gen Hoshino | "Doraemon" | 5 ตุลาคม 2562 | 2 พฤศจิกายน 2567 |
6. | Mao | ญี่ปุ่น: "Yume wo Kanaete Doraemon"; โรมาจิ: 夢をかなえてドラえもん | 9 พฤศจิกายน 2567 | ปัจจุบัน |
- โดราเอมอน โนะ อุตะ (ドラえもんのうた) แบบดนตรีบรรเลง บรรเลงโดย ทเวลฟ์ เกิลส์ แบนด์ (15 เมษายน - 21 ตุลาคม 2548)
- ฮางุชิชาโอ้ (はぐShichao) ขับร้องโดย อากิ โยโกะ (28 ตุลาคม 2548 - 20 เมษายน 2550)
- ยูเมโวะ กะนะเอเท โดราเอมอน (夢をかなえてドラえもん) ขับร้องโดย mao (11 พฤษภาคม 2550 - 29 มีนาคม 2562, 12 เมษายน - 6 กันยายน 2562, 9 พฤศจิกายน 2567 - ปัจจุบัน)
- โดราเอมอน โนะ อุตะ (ドラえもんのうた) ขับร้องโดย โดราเอมอน (มิสึตะ วาซาบิ), โนบิตะ (เมงุมิ โอฮาระ), ชิซุกะ (ยูมิ คากาซุ), ซึเนโอะ (โทโมกาซุ เซกิ), ไจแอนท์ (ซูบารุ คิมูระ) (5 เมษายน 2562)
- โดราเอมอน (ドラえもん) ขับร้องโดย เก็น โฮชิโนะ (5 ตุลาคม 2562 - 2 พฤศจิกายน 2567)
- Himawari no Yakusoku (ひまわりの約束) ขับร้องโดย Motohiro Hata (11 สิงหาคม 2557 - ปัจจุบัน)
เพลงปิดเรื่อง
[แก้]- ฉบับปี พ.ศ. 2516
- โดราเอมอน รุมบ้า (ドラえもんルンバ) ขับร้องโดย ฮารุมิ ไนโต
- ฉบับปี พ.ศ. 2522
- อาโออิ โซระ วะ พ็อกเก็ต ซะ (青い空はポケットさ) ขับร้องโดย คุมิโกะ โอสุงิ (8 เมษายน 2522 - 27 กันยายน 2524)
- มารุคาโอะ โนะ อุตะ (まる顔のうた) ขับร้องโดย โนบุโยะ โอยามะ (2 ตุลาคม 2524 - 30 มีนาคม 2527)
- ซานตาคลอส วะ โดโกะ โนะ ฮิโตะ (サンタクロースはどこのひと) ขับร้องโดย โนบุโยะ โอยามะ (18 พฤศจิกายน - 30 ธันวาคม 2526)
- โบคุทาจิ วะ จิคิวจิน (ぼくたち地球人) ขับร้องโดย มิตสึโกะ โฮริเอะ (6 เมษายน 2527 - 8 เมษายน 2531)
- อาโอโซระ เตะ อีนะ (青空っていいな) ขับร้องโดย มิตสึโกะ โฮริเอะ (15 เมษายน 2531 - 2 ตุลาคม 2535)
- อาชิตะโมะ โทโมดาจิ (あしたも ともだち) ขับร้องโดย ยูอิ นิชิวากิ (9 ตุลาคม 2535 - 7 เมษายน 2538)
- โบคุ โดราเอมอน 2112 (ぼくドラえもん2112) ขับร้องโดย โนบุโยะ โอยามะ, โคโอโรงิ'73 (14 เมษายน 2538 - 20 กันยายน 2545)
- มาตะ อาเอรุ ฮิ มาเดะ (またあえる日まで) ขับร้องโดย ยูซุ (4 ตุลาคม 2545 - 11 เมษายน 2546)
- ทัมโปโปะ โนะ อุตะ (タンポポの詩) ขับร้องโดย THE ALFEE (18 เมษายน 2546 - 4 ตุลาคม 2546)
- ยูเมะ บิโยริ (YUME日和) ขับร้องโดย ฮิโตมิ ชิมาทานิ (10 ตุลาคม 2546 - 28 พฤษภาคม 2547)
- อา อีนะ! (あぁ いいな!) ขับร้องโดย W (ดับเบิลยู) (4 มิถุนายน 2547 - 18 มีนาคม 2548)
- ฉบับปี พ.ศ. 2548
- โอโดเระ โดเระ โดระ โดราเอมอน อนโดะ (踊れ・どれ・ドラ ドラえもん音頭) ขับร้องโดย วาซาบิ มิซึตะ (5 สิงหาคม 2548 - ปัจจุบัน)
โดราเอมอนฉบับการ์ตูนโทรทัศน์ ปีต่างๆ
[แก้]- โดราเอมอนฉบับการ์ตูนโทรทัศน์ (2516 - 2522)
- โดราเอมอนฉบับการ์ตูนโทรทัศน์ (2522 - 2548)
- โดราเอมอนฉบับการ์ตูนโทรทัศน์ (2548 - ปัจจุบัน)
- โดราเอมอนฉบับการ์ตูนโทรทัศน์ (2568 -ภาพใหม่)
อ้างอิง
[แก้]- สมประสงค์ เจียมบุญสม, นิตยสาร a day ปีที่ 2 ฉบับที่ 18, กุมภาพันธ์ 2545, หน้า 62-76
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-01-05. สืบค้นเมื่อ 2007-01-05.
- ↑ http://www.youtube.com/watch?v=HocrxJRTeec
- ↑ รายการ กบนอกกะลา ตอน เปิดตำนานโดราเอมอน.
- ↑ คุยกับ "โดราเอมอน" เก็บถาวร 2007-03-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, ผู้จัดการออนไลน์, 12 ก.ย. 2546, เรียกข้อมูลเมื่อ 18 ก.ย. 2552
- ↑ นิตยสารทีวีแมกกาซีน ฉบับที่ 10, สำนักพิมพ์อนิเมทกรุ๊ป, 2533, หน้า 125
- ↑ นิตยสารบิ๊กตูน, ปีที่ 5 ฉบับที่ 65 ประจำเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2539
- ↑ Cartoon Focus -- โดราเอม่อน (Doraemon), kartoon-discovery.com
- ↑ นิตยสารบิ๊กตูน, ปีที่ 5 ฉบับที่ 60 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บทางการโดราเอมอนฉบับโทรทัศน์ของทีวีอาซาฮี (ญี่ปุ่น)
- โมเดิร์นไนน์การ์ตูน เก็บถาวร 2006-12-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน