ฮากกา
ประชากรทั้งหมด | |
---|---|
ป. 80 ล้านถึง 120 ล้านคนทั่วโลก[2][3] | |
ภูมิภาคที่มีประชากรอย่างมีนัยสำคัญ | |
สาธารณรัฐประชาชนจีน (จีนแผ่นดินใหญ่) (มณฑลกวางตุ้ง, มณฑลฝูเจี้ยน, มณฑลเจียงซี, เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง) สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ฮ่องกง มาเก๊า ชาวจีนโพ้นทะเล (โดยการสืบเชื้อสาย): เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (มาเลเซีย, อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์, ไทย, สิงคโปร์), ส่วนอื่นของประเทศเอเชียตะวันออก, ออสเตรเลีย, อเมริกาเหนือ, ยุโรป | |
ภาษา | |
ภาษาจีนฮากกา | |
ศาสนา | |
ตามประเพณีทั่วไปของชาวจีนฮั่นที่นับถือทั้ง 4 ศาสนาพร้อมกัน ได้แก่: | |
กลุ่มชาติพันธุ์ที่เกี่ยวข้อง | |
ชาวฮั่นอื่น ๆ |
แคะ หรือ ฮากกา คือ ชาวจีนฮั่นกลุ่มหนึ่ง มีการตั้งถิ่นฐานกระจายไปในหลายมณฑลของประเทศจีนได้แก่ ระหว่างมณฑลกวางตุ้งและมณฑลฝูเจี้ยน, และยังครอบคลุมบางส่วนลึกเข้าไปในมณฑลเจียงซี โดยใช้ภาษาจีนฮากกา
กล่าวกันว่ามีบรรพบุรุษที่มีต้นกำเนิดบริเวณมณฑลเหอหนานและซานซี ทางตอนเหนือของจีนเมื่อราว 2,700 ปีที่แล้ว บรรพบุรุษของชาวจีนฮากกาอพยพลงใต้ เนื่องจากความไม่สงบทางสังคม การลุกฮือ และการรุกรานจากผู้ยึดครองต่างชาติตั้งแต่ยุคราชวงศ์จิ้น (ค.ศ. 265-420) กระแสการอพยพครั้งต่อ ๆ มาเกิดขึ้นเมื่อยุคสิ้นราชวงศ์ถัง เมื่อประเทศจีนแตกออกเป็นส่วน ๆ และช่วงราชวงศ์ซ่ง ซึ่งเป็นช่วงที่ประชากรทางภาคเหนือลดลง. ช่วงที่สาม ที่ชาวจีนฮากกาอพยพลงใต้ คือช่วงที่ชาวหนี่ว์เจินสามารถยึดครองเมืองหลวงของราชวงศ์ซ่งเหนือไว้ได้. ช่วงที่สี่ เป็นช่วงที่ราชวงศ์ซ่งถูกโค่นล้มโดยชาวมองโกล ในสมัยราชวงศ์หยวน และช่วงสุดท้ายคือสมัยราชวงศ์หมิง ซึ่งถูกโค่นล้มโดยชาวแมนจูซึ่งก่อตั้งราชวงศ์ชิงในเวลาต่อมา
ชื่อเรียก
[แก้](客家 คำว่า แคะ ในภาษาไทยถูกเรียกตามภาษาแต้จิ๋วว่า แขะแก ในภาษาจีนกลางเรียกว่า เค่อเจีย มีความหมายว่า ครอบครัวผู้มาเยือน ส่วนในภาษาจีนฮากกาเอง เรียกว่า ขักก๊า ส่วนคำว่า "ฮากกา" ที่ใช้กันแพร่หลายนั้น มาจากการออกเสียงในภาษากวางตุ้ง) ซึ่งโดยทั่วไปแล้วชาวจีนฮากกามักจะเรียกตัวเองในภาษาจีนฮากกาว่า 客家人 ฮากกาหงิ่น
ส่วนการกล่าวเรียกตัวเองสำหรับเชื้อชาติคนจีนฮากกามักจะอ้างสิทธิว่าตนสืบทอดและอนุรักษ์วัฒนธรรมสมัยราชวงศ์ฮั่นได้ดีที่สุด จึงมักเรียกตนตามภาษาจีนฮากกาว่า ฮอนหงิ่น (漢人; แปลว่า พสกนิกรหรือ ประชาชนของราชวงศ์ฮั่นหรือชาวฮั่น) ในปัจจุบันชาวจีนฮากการวมทั้งชาวจีนโพ้นทะเลอื่นๆ เช่น ชาวจีนแต้จิ๋วและชาวจีนกวางตุ้ง มักกล่าวเรียกตนเองว่าเป็น (唐人; แปลว่า พสกนิกรหรือประชาชนราชวงศ์ถัง) (ภาษาแต้จิ๋ว: "ตึ่งนั้ง"; ภาษาจีนกวางตุ้ง: "ถ่องหยั่น" )
ภาษา
[แก้]ชาวจีนฮากกามักใช้ภาษาจีนฮากกาในการสนทนาติดต่อกันในชีวิตประจำวัน ในปัจจุบันนั้นมีการวิจัยของมหาวิทยาลัยภาษาศาสตร์ในฮ่องกงว่า ภาษาจีนฮากกาจัดอยู่ในภาษาถิ่นของภาษาตระกูลจีนฮั่นซึ่งมีความใกล้เคียงกับภาษาจีนกลางมากที่สุด เมื่อเทียบกับภาษาจีนท้องถิ่นอื่นๆ และภาษาจีนฮากกายังได้รักษาสำเนียงภาษาจีนฮั่นโบราณไว้ได้มากที่สุด
ในปัจจุบันภาษาจีนฮากกาจัดเป็นหนึ่งในภาษาราชการของสาธารณรัฐจีนที่ไต้หวัน[4]
ประวัติ
[แก้]ที่มาของคำว่า แคะ
[แก้]คำว่า แคะ นั้นกล่าวกันว่าเป็นคำเรียกที่ค่อนข้างใหม่ ระหว่างรัชสมัยของจักรพรรดิคังซี ได้โปรดให้มีการอพยพผู้คนแถบภูมิภาคชายฝั่งเป็นเวลาเกือบทศวรรษ เพื่อลดอิทธิพลที่ยังหลงเหลือของราชสำนักหมิง ซึ่งหลบหนีไปยังดินแดนซึ่งกลายเป็นไต้หวันในปัจจุบัน หลังจากที่กำจัดภัยคุกคามได้แล้ว พระจักรพรรดิ์คังซีได้มีพระราชโองการ โปรดให้มีการอพยพผู้คนเข้าไปในดินแดนนี้อีกครั้ง ดังนั้นเพื่อเป็นการอำนวยความสะดวก มีการมอบเงินให้ครอบครัวแต่ละครอบครัว ไว้สำหรับเริ่มชีวิตใหม่โดยลงทะเบียนว่าเป็น 'ครอบครัวผู้มาเยือน' (客戶 เค่อฮู่) ส่วนชนดั้งเดิมซึ่งอพยพกลับมายังถิ่นเดิม ก็ได้พบกับการเข้ามาของผู้มาอยู่ใหม่ ชนดั้งเดิมก็เกิดความหวงแหนในดินแดนที่อุดมสมบูรณ์กว่าของพวกเขา จึงผลักดันชนกลุ่มใหม่ออกไปรอบนอก หรือไปตั้งหลักทำมาหากินในเขตที่มีแต่ภูเขา เมื่อเวลาผ่านไปกระแสการต่อต้านในท้องถิ่นก็แผ่ขยาย และกล่าวกันว่าคำว่า แคะ กลายเป็นคำที่ชนดั้งเดิมใช้เรียกผู้มาอยู่ใหม่อย่างดูแคลน แต่เมื่อเวลาผ่านไปอีกสิ่งดังกล่าวก็จางลง และมีการยอมรับคำว่าแคะให้ใช้เรียกชาวจีนฮากกาได้ในที่สุด เป็นที่รู้กันดีว่าชาวนาจีนฮากกา ใช้เท้าขณะอยู่ในท่ายืนดึงวัชพืชออกจากนาข้าว ซึ่งเป็นความหยิ่งในวัฒนธรรมของพวกเขา เพราะพวกเขาไม่ยอมคุกเข่า และคลานบนดินแดนที่เป็นของชาวแมนจู
กรณีนี้ก็มีความน่าสนใจประการหนึ่ง เพราะว่าชนที่มาอยู่ใหม่อาจไม่ใช่บรรพบุรุษ ของผู้พูดภาษาจีนฮากกาทั้งหมด เนื่องจากคำว่าแคะเป็นคำที่เหมาคลุม จากการศึกษารากเหง้าสืบสายชาวกวางตุ้งและแคะ พบว่าแซ่บางแซ่มีบรรพบุรุษเดียวกัน แม้ว่าพวกเขาไม่ได้จัดอยู่ในกลุ่มชนอื่น ดั้งนั้นบรรพบุรุษของชาวฮากกาจึงเป็นชนกลุ่มหนึ่งซึ่งอพยพลงมาทางใต้ เราสามารถพบเห็นชาวฮากกาในมณฑลทางใต้ของจีน เช่น กวางตุ้ง ฮกเกี้ยนตะวันตก เจียงซี ตอนใต้ของหูหนาน กว่างซี ตอนใต้ของกุ้ยโจว ตะวันออกเฉียงใต้ของเสฉวน เกาะไหหลำและไต้หวัน
แม้ว่าชาวฮากกาจะมีวัฒนธรรมและภาษาที่แตกต่างเฉพาะตัวจากประชากรโดยรอบ แต่ชาวฮากกาก็ไม่ถูกจัดว่าเป็นชนกลุ่มน้อย และยังคงถูกจัดว่าเป็นชาวจีนฮั่น ในความขัดแย้งนี้ ชนกลุ่มเดิมถือว่าชาวฮากกาไม่ใช่คนจีนอย่างสิ้นเชิง แต่ว่าจากการสืบรากเหง้าซึ่งพบว่ามีบรรพบุรุษสายเดียวกัน ชาวฮากกาจึงเป็นชาวจีนเหมือนเพื่อนบ้านของพวกเขา
อาณาจักรไท่ผิง (เมืองแมนแดนสันติ)
[แก้]ชาวจีนฮากกายังมีบทบาทในการกบฏไท่ผิงซึ่งนำโดย หงซิ่วฉวนผู้เป็นชาวจีนฮากกาที่เผยแพร่ศาสนาคริสต์และเป็นผู้นำสาวกซึ่งก่อตั้งอาณาจักรแห่งสวรรค์ไท่ผิง (ไท่ผิงเทียนกั๋ว)เข้าต่อต้านราชวงศ์ชิง ทรงประกาศใช้ภาษาจีนฮากกาเป็นภาษาราชการประจำอาณาจักร นับเป็นอาณาจักรที่ตั้งโดยชาวจีนฮากกาครั้งแรกในประวัติศาสตร์จีน
ชาวฮากกาในประเทศจีน
[แก้]ชาวฮากกาในมณฑลฮกเกี้ยน
[แก้]ชาวฮากกาที่ตั้งถิ่นฐานอยู่มนมณฑลฝูเจี้ยน (หรือคนไทยรู้จักในนามมณฑลฮกเกี้ยน) ได้พัฒนาสถาปัตยกรรมอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ เรียกว่า ถู่โหลว ซึ่งแปลว่าสิ่งก่อสร้างที่ทำจากดิน ด้วยเหตุผลที่ว่าชาวฮากกาเป็นผู้ที่มาอยู่ใหม่ ต้องตั้งบ้านเรือนอยู่ในเขตภูเขา และเพื่อป้องกันจากพวกขโมย และปล้นสะดม
ถู่โหลว มีรูปร่างเป็นสี่เหลี่ยมจตุรัสหรือวงกลม ออกแบบให้เป็นได้ทั้งป้อมค่ายและอาคารคล้ายอพาร์ตเมนต์ในเวลาเดียวกัน มีแต่ประตูทางเข้าออก ไม่มีหน้าต่างในระดับพื้นดิน แต่ละชั้นก็จะมีหน้าที่แตกต่างกัน ชั้นแรกเป็นชั้นไว้สำหรับเลี้ยงสัตว์ ชั้นสองเอาไว้สำหรับเก็บอาหาร และชั้นสามเป็นที่อยู่อาศัย
ชาวฮากกาในมณฑลกวางตุ้ง
[แก้]ส่วนมากชาวฮากกาในมณฑลนี้จะอาศัยอยู่ทางตะวันออกของมณฑล โดยเฉพาะในเขตซิ่งหนิง-เหมยเสี้ยน (ตัวเต็ม: 興寧-梅縣, ตัวย่อ: 兴宁-梅县) เช่นเดียวกับญาติของพวกเขาในมณฑลฮกเกี้ยน ชาวฮากกาก็มีสถาปัตยกรรมเป็นของตน เรียกว่า เหวยหลงวู (ตัวเต็ม: 圍龍屋, ตัวย่อ: 围龙屋, wéilóngwū) และ ซื่อเจี่ยวโหลว (四角楼 sìjǐaolóu)
ชาวฮากกานอกดินแดนสาธารณรัฐประชาชนจีน
[แก้]ชาวฮากกาส่วนมากที่อาศัยอยู่นอกแผ่นดินใหญ่จะอาศัยอยู่ที่มาเลเซีย สิงคโปร์ ไทย สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) และติมอร์-เลสเต
นอกจากนี้ชาวฮากกาก็ได้อพยพไปที่อื่น ๆ ด้วย เช่น ประเทศออสเตรเลีย แคนาดา สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส เบลเยียม เยอรมนี และ เนเธอร์แลนด์ และยังพบชาวฮากกาในแอฟริกาใต้ มอริเชียส และหมู่เกาะแคริบเบียนโดยเฉพาะในจาเมก้า ชาวฮากกาพลัดถิ่นในสหราชอาณาจักรส่วนใหญ่มีความเกี่ยวดองกับฮ่องกง และน่าจะอพยพออกมาเมื่อครั้งฮ่องกงยังเป็นอาณานิคมของสหราชอาณาจักร
ในไต้หวัน ประชากรราวร้อยละ 15 เป็นชาวฮากกา ดังนั้นจึงเป็นชนกลุ่มน้อยที่มีความสำคัญ ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 19 เกิดความขัดแย้งถึงขั้นใช้อาวุธเข้าปะทะกันระหว่างชาวฮากกาและชาวฝูเหล่า (福佬) ขึ้นหลายครั้ง บางครั้งเกิดจากสาเหตุทางเศรษฐกิจ บ้างก็จากการเมือง ซึ่งทำให้เกิดความไม่ไว้วางใจกันระหว่างชน 2 กลุ่มนี้มาเป็นระยะเวลานาน แต่อย่างไรก็ตามชนทั้ง 2 กลุ่มก็ยังมีการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน
ในไทย ชุมชนชาวฮากกาที่ใหญ่ที่สุด อยู่ที่บ้านห้วยกระบอก อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี[5]
บุคคลสำคัญที่เป็นชาวฮากกา
[แก้]ถึงแม้ประชากรชาวฮากกาจะมีจำนวนน้อย แต่ก็มีอิทธิพลต่อประวัติศาสตร์ของชาวจีนและของชาวจีนโพ้นทะเล โดยเฉพาะในเรื่องของการปฏิวัติและผู้นำทางการเมือง และก็ยังคงเป็นจริงอยู่ในประวัติศาสตร์ยุคใหม่ของจีนซึ่งผู้นำจีนที่มีชื่อเสียงหลายคนเป็นชาวฮากกา ระหว่างช่วงทศวรรษที่ 1980-1990 ชาวจีนฮากกาที่มีชื่อเสียงถึง 3 ท่านได้ครองอำนาจทางการเมืองพร้อม ๆ กันใน 3 ประเทศซึ่งมีชาวจีนเป็นชนส่วนใหญ่ อันได้แก่ เติ้งเสี่ยวผิงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน หลี่เติงฮุยแห่งสาธารณรัฐจีน และลีกวนยูแห่งสาธารณรัฐสิงคโปร์
นอกจากนี้ ทั้งดร.ซุนยัดเซ็น เติ้งเสี่ยวผิง และลีกวนยู ซึ่งต่างก็เป็นชาวฮากกา และยังเป็น 3 คนในชาวจีน 4 คนซึ่งนิตยสารไทม์ (Time Magazine) จัดอันดับให้เป็นชาวเอเชียที่ทรงอิทธิพลที่สุด 20 อันดับแรกในศตวรรษที่ 20 ส่วนอันดับ 4 คือ เหมาเจ๋อตุง
รายนามบุคคลสำคัญชาวฮากกาที่มีชื่อเสียง
[แก้]ในสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน)
[แก้]ในประเทศไทย
[แก้]- อานันท์ ปันยารชุน - อดีตนายกรัฐมนตรี ใช้แซ่เล่า (劉)
- ทักษิณ ชินวัตร - อดีตนายกรัฐมนตรี ใช้แซ่คู (邱)
- ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร - อดีตนายกรัฐมนตรีและนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของไทยใช้แซ่คู (邱)
- เศรษฐา ทวีสิน - อดีตนายกรัฐมนตรี มีเชื้อสายจากฝั่งมารดา ใช้แซ่จู (朱)
- แพทองธาร ชินวัตร - นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน ใช้แซ่คู (邱)
- เกียรติ วัธนเวคิน (คิ้วเซ่เกี้ยน) - ผู้ก่อตั้งและเจ้าของกิจการธนาคารเกียรตินาคินภัทร ใช้แซ่คิ้ว (丘)
- โชติ ล่ำซำ- ผู้ก่อตั้ง และเจ้าของกิจการธนาคารกสิกรไทย ใช้แซ่หวู่ (伍)
- วิกรม กรมดิษฐ์ - ผู้ก่อตั้ง และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ใช้แซ่คู (แซ่คูมีทั้งแต้จิ๋วและฮกเกี้ยนแต่ตัวอักษรจะไม่เหมื่อนกัน)
- ยิ่งศักดิ์ จงเลิศเจษฎาวงศ์ - นักทำอาหารและนักแสดง
ดูเพิ่ม
[แก้]อ่านเพิ่ม
[แก้]ผู้คนและอัตลักษณ์
[แก้]- Char, Tin-yuke (1969). The Hakka Chinese – Their Origin & Folk Songs. Jade Mountain Press.
- Eberhard, Wolfram (1974). Studies in Hakka Folktales. Taipei: Chinese Association for Folklore.
- Kiang, Clyde (July 1991). The Hakka Search for a Homeland. Allegheny Press. ISBN 9780910042611.
- Constable, Nicole, บ.ก. (1996). Guest People: Hakka Identity in China and Abroad. University of Washington Press. ISBN 9780295984872.
- Leong, Sow-Theng (1997). Wright, Tim (บ.ก.). Migration and Ethnicity in Chinese History: Hakkas, Pengmin and Their Neighbors. Stanford University Press. ISBN 9780804728577.
- Chung, Yoon-Ngan (2005). The Hakka Chinese: Their Origin, Folk Songs and Nursery Rhymes. Poseidon Books. ISBN 978-1921005503.
- Leo, Jessieca (September 2015). Global Hakka: Hakka Identity in the Remaking. BRILL. ISBN 9789004300262.
การเมือง
[แก้]- Erbaugh, Mary S. (December 1992). "The Secret History of the Hakkas: The Chinese Revolution as a Hakka Enterprise". The China Quarterly. 132 (132): 937–968. doi:10.1017/S0305741000045495. JSTOR 654189.
- Spence, Jonathan D. (December 1996). God's Chinese Son: The Taiping Heavenly Kingdom of Hong Xiuquan. W. W. Norton & Company. ISBN 9780393315561.
- Zhang, Delai (2002). The Hakkas of Sabah: A Survey of Their Impact on the Modernization of the Bornean Malaysian State. Sabah Theological Seminary. ISBN 9789834084004.
- Yong, Kee Howe (July 2013). The Hakkas of Sarawak: Sacrificial Gifts in Cold War Era Malaysia. University of Toronto Press. ISBN 9781442615465.
- Lee, Wei Ling (January 2015). Yap, Koon Hong (บ.ก.). A Hakka Woman's Singapore Stories: My Life as a Daughter, Doctor and Diehard Singaporean. Straits Times Press. ISBN 9789814642477.
- Liu, L. Larry (January 2015). Hakkas in Power: A Study of Chinese Political Leadership in East and Southeast Asia, and South America. Create Space Independent Publishing Platform. ISBN 9781505429435.
ภาษา
[แก้]- Lee, T.H. (1955). Hakka Lessons for Malayan Students. Government Federation of Malaya.
- Tsang, Joseph Mang Kin (January 2003). The Hakka Epic. President's Fund for Creative Writing in English. ISBN 9789990397406.
- Chen, Matthew Y.; Lian, Hee Wee; Yan, Xiuhong (2004). The Paradox of Hakka Tone Sandhi. Dept of Chinese Studies, National University of Singapore. ISBN 9789810519438.
- Hashimoto, Mantaro J. (June 2010). The Hakka Dialect: A Linguistic Study of its Phonology, Syntax and Lexicon. Cambridge University Press. ISBN 9780521133678.
ศาสนา
[แก้]- Constable, Nicole (August 1994). Christian Souls and Chinese Spirits: A Hakka Community in Hong Kong. University of California Press. ISBN 9780520083844.
- Lutz, Jessie G.; Lutz, Rolland Ray (January 1998). Hakka Chinese Confront Protestant Christianity, 1850-1900: With the Autobiographies of Eight Hakka Christians, and Commentary. Routledge. ISBN 9780765600387.
- Christofferson, Ethan (September 2012). Negotiating Identity: Exploring Tensions between Being Hakka and Being Christian in Northwestern Taiwan. Wipf & Stock Publishers. ISBN 9781610975032.
อาหาร
[แก้]- Anusasananan, Linda Lau (October 2012). The Hakka Cookbook: Chinese Soul Food from around the World. University of California Press. ISBN 9780520273283.
ประวัติครอบครัว
[แก้]- Tan, Amy (October 1995). The Hundred Secret Senses. Penguin Books. ISBN 9780399141157. The book was shortlisted for the 1996 Orange Prize for Fiction.[6]
- Lee, J.P. (January 2004). Breaking the Curse of the Green Dragon (A Hakka Story). Instrument of Truth. ISBN 9789810480424.
- Chin, Woon Ping (June 2008). Hakka Soul: Memories, Migrations and Meals. University of Hawaii. ISBN 9780824832896.
- Huang, Suhua (April 2012). A Faithful Reading Partner: A Story from a Hakka Village. AuthorHouse. ISBN 9781468562675.
- Lampotang, Peggy (January 2014). The Coral Heart: A Shopkeeper's Journey. Atelier d'ecriture. ISBN 9789990336924.
- Sze, Elsie (February 2014). Ghost Cave: A Novel of Sarawak. Hong Kong Women in Publishing Society. ISBN 978-1496073945.
- Hsiung, C. Fong (September 2014). Picture Bride. Mawenzi House/TSAR Publishers. ISBN 9781927494394.
- Lin Ung, Charlene (March 2015). Nam Moi: A Young Girl's Story of Her Family's Escape from Vietnam. Createspace Independent Publishing Platform. ISBN 9781508700791.
- Madison, Paula Williams (April 2015). Finding Samuel Lowe: China, Jamaica, Harlem. Amistad. ISBN 9780062331632.
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Rubinstein, Murray A. (2004), "Rethinking Taiwanese and Chinese Identity: Melissa J. Brown's Is Taiwan Chinese?" (PDF), iir.nccu.edu.tw, Institute of International Relations, vol. 40, pp. 454–458, ISSN 1013-2511, OCLC 206031459, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 27 July 2011
- ↑ "Hakka population". Encyclopædia Britannica. สืบค้นเมื่อ 15 January 2015.
- ↑ "客家文化探密:怀念先人 感念生活 客家人闹元宵". Sina Corp.
- ↑ "Hakka made an official language".
- ↑ "คิดเช่น Gen D 08 12 60". ฟ้าวันใหม่. 2017-12-08. สืบค้นเมื่อ 2017-12-09.
- ↑ "Orange past winners". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-04-18. สืบค้นเมื่อ 11 May 2008.
- Rouil, C., Formose: des batailles presque oubliées (Taipei, 2001)