เปราะหอม
หน้าตา
เปราะหอม | |
---|---|
ภาพวาดเมื่อปี 1805ใน The Botanical Magazine | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Angiosperms |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Monocots |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Commelinids |
อันดับ: | Zingiberales |
วงศ์: | Zingiberaceae |
วงศ์ย่อย: | Zingiberoideae |
เผ่า: | Kaempferia |
สกุล: | Kaempferia |
สปีชีส์: | K. galanga |
ชื่อทวินาม | |
Kaempferia galanga L. |
เปราะหอม ข่ามาราบา หอมเปราะ หรือ ว่านตีนดิน (ชื่อวิทยาศาสตร์: Kaempferia galanga) เป็นพืชในวงศ์ Zingiberaceae พบตามที่โล่งในเกาะนิวกินี กระจายพันธุ์ใน อินโดนีเซีย จีนตอนใต้, ไต้หวัน, กัมพูชา และอินเดีย เป็นไม้ล้มลุกอายุหลายปี ลำต้นเป็นเหง้าใต้ดินมีรากสะสมอาหาร ใบเดี่ยวแทงขึ้นมาจากเหง้า ไม่มีก้านใบ ใบอยู่ใกล้พื้นดิน มักมีเพียง 2 ใบ ท้องใบมีขน ใบกลมแผ่ออกตามแนวข้าง ช่อดอกออกระหว่างใบทั้งสอง ไม่มีก้านช่อดอก ริ้วประดับรูปใบหอก ดอกสีชมพูอ่อนหรือขาว มีจุดสีม่วง
เหง้ามีรสเผ็ดขม ใช้ขับลม แก้ลงท้อง แก้หวัด[1]กระตุ้นอาการประสาทหลอน [2]เหง้าใช้ประกอบอาหาร[3] ชาวโอรังอัซลีในรัฐเปรัก ประเทศมาเลเซียนำน้ำคั้นจากเหง้าใช้รักษาอาการปวดจากโรคกระเพาะอาหารและไอ[4]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ชยันต์ พิเชียรสุนทร ศุภชัย ติยวรนันท์ และ วิเชียร จีรวงศ์. คู่มือเภสัชกรรมแผนไทยเล่ม 6 เภสัชกรรม. กทม. อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง. 2555. หน้า 40 – 41
- ↑ จารุพันธ์ ทองแถม. พืชมหัศจรรย์โลกวิกฤติ. กทม. เศรษฐศิลป์. 2555 หน้า 469
- ↑ รุ่งรัตน์ เอียดแก้ว วุฒิพล หัวเมืองแก้ว อภิชาต ภัทรธรรม. 2555. การใช้ประโยชน์จากของป่าของราษฎรตำบลท่าเสา อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี[ลิงก์เสีย]. วารสารวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 40 (3): 992 – 1001
- ↑ Samuel, A.J.S.J., Kalusalingam, A., Chellappan, D.K., Gopinath, R., Radhamani, S., Husain, H. A., Muruganandham, V., Promwichit, P. 2010. Ethnomedical survey of plants used by the orang asli in kampong bawong, Perak, West Malaysia. Joutnal of Ethnobiology and Ethnomedicine. 6:5