สายกาจัง
สายกาจัง | |
---|---|
ข้อมูลทั่วไป | |
ชื่อลำลอง | MRT Laluan Kajang |
สถานะ | เปิดให้บริการ |
เจ้าของ | MRT Corp |
หมายเลขสาย | 9 (สีเขียว) |
ที่ตั้ง | หุบเขากลัง |
ปลายทาง |
|
จำนวนสถานี | 29 & 3 สำรอง |
เว็บไซต์ | myrapid |
การดำเนินงาน | |
รูปแบบ | ระบบขนส่งมวลชนเร็ว |
ระบบ | Rapid KL |
เส้นทาง | กวาซาดามันซารา–กาจัง |
ผู้ดำเนินงาน | รถไฟเร็วกัวลาลัมเปอร์ |
ศูนย์ซ่อมบำรุง | สุไหง บูโละฮ์ และ กาจัง |
ขบวนรถ | ซีเมนส์ อินสไปโร 58 ขบวนต่อ 4 ตู้ กว้าง: 3.1 m (10 ft) - หน้ากว้าง ยาว: 90.18 m (295.9 ft)[1] |
ผู้โดยสารต่อวัน | 203,709 (2023)[2] |
ผู้โดยสาร | 66.5 ล้าน (2023) |
ประวัติ | |
เปิดเมื่อ | ระยะ 1: 16 ธันวาคม 2016[3] สุไหง บูโละฮ์ KG01 [note 1] – เซอมันตัน KG14 ระยะ 2: 17 กรกฎาคม 2017 มูซีมัมเนอการา KG15 – กาจัง KG31 |
ข้อมูลทางเทคนิค | |
ระยะทาง | 47 km (29 mi) ยกระดับ: 37.5 km (23.3 mi) ใต้ดิน: 9.5 km (5.9 mi) |
รางกว้าง | 1,435 mm (4 ft 8 1⁄2 in) สแตนดาร์ดเกจ |
ระบบจ่ายไฟ | 750 V DC รางที่สาม |
ระบบการนำไฟฟ้า | อัตโนมัติและไร้คนขับ |
ความเร็ว | 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (62 ไมล์ต่อชั่วโมง) |
รถไฟฟ้าขนส่งมวลชน สายกาจัง (อังกฤษ: MRT Kajang line ;KGL)[4] [5] หรือชื่อเดิม สายซูไงบูโละฮ์-กาจัง เป็นเส้นทางรถไฟฟ้าใต้ดินที่เปิดให้บริการในเขตกัวลาลัมเปอร์และปริมณฑล สายนี้ยังเป็นส่วนหนึ่งของระบบขนส่งมวลชนในหุบเขากลัง
ประวัติ
[แก้]สายซูไงบูโละฮ์-กาจัง เป็นหนึ่งในโครงการเส้นทางรถไฟฟ้าใต้ดินสามสายในเขตหุบเขากลัง ใช้งบประมาณในการก่อสร้าว 36 พันล้านริงกิต[6]
เส้นทางเริ่มต้นจากตำบลซูไงบูโละฮ์ ทางตะวันตกเฉียงเหนือของกัวลาลัมเปอร์ ผ่านใจกลางกรุง ไปสิ้นสุดที่เมืองกาจัง ทางตะวันออกเฉียงใต้ของกัวลาลัมเปอร์ คาดว่าจะมีผู้โดยสารมาใช้งานประมาณ 1.2 ล้านคนต่อปี[6] การก่อสร้างระยะที่ 1 เริ่มจากซูไงบูโละฮ์ ไปสิ้นสุดที่เซอมันตัน ซึ่งจะเปิดให้บริการในปี ค.ศ. 2016 ส่วนระยะที่ 2 สร้างจากเซอมันตัน ไปสิ้นสุดที่กาจัง ซึ่งจะเปิดให้บริการในกรกฎาคม ค.ศ. 2017[6]
เดิมที สายนี้เป็นสายรถไฟฟ้ารางเบา ระยะทาง 43 กิโลเมตร วิ่งจากตำบลดามันซารา ไปยังตำบลเชรัส ต่อมาได้ขยายเส้นทางไปยังซูไงบูโละฮ์ และกาจัง ซึ่งเพิ่มระยะทางอีก 8.8 กิโลเมตร และได้ปรับเปลี่ยนมาเป็นรถไฟใต้ดิน ซึ่งจุผู้โดยสารได้มากกว่า[7]
สายนี้เมื่อสร้างเสร็จแล้ว จะดำเนินการโดยบริษัทแรพิดเรล[8]
ข้อมูลทั่วไป
[แก้]การจัดขบวน
[แก้]รถไฟฟ้าสายนี้มีระยะทาง 51 กิโลเมตร วิ่งจากตำบลซูไงบูโละฮ์ ไปสิ้นสุดที่เมืองกาจัง เมื่อเปิดใช้งาน คาดว่าจะมีผู้โดยสาร 1.2 ล้านคน รถไฟฟ้าเป็นแบบ 4 คันต่อขบวน จุผู้โดยสารได้ 1,200 คนต่อขบวนต่อทิศทาง และใน 1 วันจะมีผู้โดยสารใช้บริการทั้งหมด 400,000 คน ความถี่รถไฟฟ้า 3.5 นาที[9]
การปรับแก้ไขเส้นทางและสถานี
[แก้]หลังจากที่โครงการนี้ได้นำเสนอเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม ค.ศ. 2011 ได้มีการปรับเปลี่ยนแก้ไขเส้นทางและสถานีต่าง ๆ ดังต่อไปนี้[10]
- ลดจำนวนสถานีจาก 35 สถานี เหลือเพียง 31 สถานี โดยมีสถานีสำรองในอนาคตอีก 3 สถานี ได้แก่
- สถานี RRI อยู่ระหว่างสถานีกัมปงเซอลามัต–กวาซาดามันซารา
- สถานีเทคโนโลยี อยู่ระหว่างสถานีกวาซาเซ็นทรัล–โกะตะดามันซารา
- สถานีบูกิตเกียรา อยู่ระหว่างสถานีฟีลีดามันซารา–ปูซัตบันดาร์ดามันซารา
- สถานีเซกชัน 17 ถูกยกเลิก
- สถานี TTDI ถูกย้ายจากที่ตั้งเดิม 300 เมตร เนื่องจากติดย่านที่พักอาศัย[11]
- สถานีบูกิตบินตังตะวันออก และบูกิตบินตังตะวันตก ถูกยุบรวมเป็นสถานีเดียวกัน มีชื่อว่า "สถานีบูกิตบินตัง"
- ที่จอดรถถูกเพิ่มจาก 13 เป็น 16 แห่ง
- ยกเลิกสถานีตามันเมสรา
รายชื่อสถานี
[แก้]จะมี 31 สถานี โดยมีสถานีใต้ดินอยู่ 7 สถานี ช่วงทางใต้ดินยาว 9.5 กิโลเมตร[9] (แผนที่เส้นทาง เก็บถาวร 2014-01-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน)[12] การเรียกชื่อสถานีบนขบวนรถ จะแตกต่างจะชื่อทางการเล็กน้อย[13] อาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม
รหัส | ชื่อทางการ | ชื่อทั่วไป | ประเภทชานชาลา | โครงสร้าง | ที่จอดรถ | จุดเปลี่ยนเส้นทาง/หมายเหตุ |
ระยะที่ 1 – เปิดในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี ค.ศ. 2016 | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|
S01 | ซูไงบูโละฮ์ | ซูไงบูโละฮ์ | ปลายทาง | ยกระดับ | ✓ | 1 สายเซอเริมบัน, เคทีเอ็ม อีทีเอส, รถไฟระหว่างเมืองของเคทีเอ็ม |
S02 | กัมปงเซอลามัต | กัมปงบาห์รูซูไงบูโละฮ์ | ด้านข้าง | ยกระดับ | ||
S03 | RRI | ด้านข้าง | ยกระดับ | สถานีสำรองในอนาคต | ||
S04 | กวาซาดามันซารา | โกะตะดามันซารา | เกาะกลางซ้อนกัน | ยกระดับ | ✓ | 11 สายซูไงบูโละฮ์-เซอร์ดัง-ปูตราจายา |
S05 | เติกโนโลกี | ด้านข้าง | ยกระดับ | สถานีสำรองในอนาคต | ||
S06 | กวาซาเซ็นทรัล | ตามันอินดัสตรีซูไงบูโละฮ์ | ด้านข้าง | ยกระดับ | ✓ | |
S07 | โกะตะดามันซารา | PJU5 | ด้านข้าง | ยกระดับ | ||
S08 | ซูเรียน | ดาตารันซันเวย์ | ด้านข้าง | ยกระดับ | ||
S09 | มูเตียราดามันซารา | เดอะเคิร์ฟ | ด้านข้าง | ยกระดับ | ||
S10 | บันดาร์อูตามา | อูนามา 1 | ด้านข้าง | ยกระดับ | 10 สายชาห์อลัม | |
S11 | TTDI | TTDI | ด้านข้าง | ยกระดับ | ✓ | |
S12 | ฟีโลดามันซารา | เซิกซเยน 16 | เกาะกลาง | ยกระดับ | ✓ | |
S13 | บูกิตเกียรา | ด้านข้าง | ยกระดับ | ✓ | สถานีสำรองในอนาคต | |
S14 | ปูซัตบันดาร์ดามันซารา | ปูซัตบันดาร์ดามันซารา | ด้านข้าง | ยกระดับ | ✓ | |
S15 | เซอมันตัน | เซอมันตัน | ด้านข้าง | ยกระดับ | ||
ระยะที่ 2 – เปิดในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี ค.ศ. 2017 | ||||||
S16 | มูซีมัมเนอการา | เคแอลเซ็นทรัล | เกาะกลาง | ใต้ดิน | 1 สายเซอเริมบัน, 2 สายพอร์ตกลัง, 5 สายเกอลานาจายา, 6 เคแอลไอเอ เอ็กซ์เพรส, 7 เคแอลไอเอ แทรนสิต, 8 เคแอลโมโนเรล ธีมพิเศษ: ประวัติระบบขนส่งมวลชน | |
S17 | ปาซาร์เซอนี | ปาซาร์เซอนี | เกาะกลาง | ใต้ดิน | 5 สายเกอลานาจายา, 1 สายเซอเริมบัน, 2 สายพอร์ตกลัง ธีมพิเศษ: จุดรวมแม่น้ำสองสาย | |
S18 | เมอเดกา | เมอเดกา | เกาะกลาง | ใต้ดิน | 3 สายอัมปัง, 4 สายศรีเปอตาลิง[14] ธีมพิเศษ: อิสรภาพ | |
S19 | บูกิตบินตัง | บูกิตบินตังเซ็นทรัล | แยกกัน | ใต้ดิน | 8 เคแอลโมโนเรล[15][16] ธีมพิเศษ: พลวัต | |
S20 | ตลาดหลักทรัพย์ตุนราซัก | ปาซาร์รักยัต | เกาะกลางซ้อนกัน | ใต้ดิน | 11 สายซูไงบูโละฮ์-เซอร์ดัง-ปูตราจายา ธีมพิเศษ: ชุมชนมุสลิม | |
S21 | โคเครน | โคเครน | เกาะกลาง | ใต้ดิน | ธีมพิเศษ: การอยู่อาศัย | |
S22 | มาลูริ | มาลูริ | เกาะกลาง | ใต้ดิน | ✓ | 3 สายอัมปัง ธีมพิเศษ: การเติบโตครั้งใหม่ |
S23 | ตามันเปอร์ตามา | ตามันบูกิตเรีย | ด้านข้าง | ยกระดับ | ||
S24 | ตามันมิดะฮ์ | ตามันบูกิตเมอวะฮ์ | ด้านข้าง | ยกระดับ | ✓ | |
S25 | ตามันมูเตียรา | เลเซอร์มอลล์ | ด้านข้าง | ยกระดับ | ||
S26 | ตามันคอนนอจต์ | พลาซาฟีนิกซ์ | ด้านข้าง | ยกระดับ | ✓ | |
S27 | ตามันซันเต็กซ์ | ตามันซันเต็กซ์ | เกาะกลาง | ยกระดับ | ✓ | |
S28 | ศรีระยา | ตามันคิวแพ็ค | ด้านข้าง | ยกระดับ | ✓ | |
S29 | บันดาร์ตุนฮุสเซนออนน์ | บันดาร์ตุนฮุสเซนออนน์ | ด้านข้าง | ยกระดับ | ✓ | |
S30 | บูกิตดูกุง | บาลากง | ด้านข้าง | ยกระดับ | ||
S31 | ตามันโกเปอราซีคิวแพ็ค | ตามันโกเปอราซี | ด้านข้าง | ยกระดับ | ✓ | |
S32 | ซัวจานาอิมเปียน | ซัวจานาอิมเปียน | ด้านข้าง | ยกระดับ | ✓ | |
S33 | บันดาร์กาจัง | บันดาร์กาจัง | ด้านข้าง | ยกระดับ | ||
S34 | กาจัง | กาจัง | ปลายทาง | ยกระดับ | ✓ | 1 สายเซอเริมบัน |
ระบบรถไฟฟ้า
[แก้]ระบบรถไฟฟ้าผลิตโดยบริษัท ซีเมนส์ รถไฟฟ้าเป็นแบบไร้คนขับ พ่วง 4 คันต่อขบวน จุผู้โดยสารได้ 1,200 คนต่อขบวนต่อทิศทาง โดยรถไฟฟ้าจะเป็นรูปแบบเดียวกันกับที่ใช้ในรถไฟใต้ดินวอร์ซอ ประเทศโปแลนด์[17]
- ความยาวรถ: 18.6–20.1 เมตร
- จำนวนประตูรถต่อหนึ่งฝั่ง: 4
- ความยาวประตูรถ: 1400 มิลลิเมตร
- การรับกระแสไฟฟ้า: 750 VDC รางที่สาม
มีศูนย์ซ่อมบำรุง 2 แห่ง ได้แก่ ศูนย์ซ่อมบำรุงซูไงบูโละฮ์ และศูนย์ซ่อมบำรุงกาจัง[18]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อinspiro-kl
- ↑ "Rapid Rail Performance Update" (ภาษาอังกฤษ). Rapid KL. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-01-06.
- ↑ Rapid Rail to take over SBK line ops from Dec 15
- ↑ "Clash over naming of MRT service line". Malay Mail. 5 January 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-28. สืบค้นเมื่อ 2015-05-17.
- ↑ "No Tussle Over Naming of MRT Line". ETP Updates. 6 January 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-07. สืบค้นเมื่อ 2015-05-17.
- ↑ 6.0 6.1 6.2 "MRT". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-05-15. สืบค้นเมื่อ 24 April 2015. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ "SBK info" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน - ↑ "NU Sentral Set To Improve Urban Transportation, Says Najib". Bernama. 11 August 2009.
- ↑ "Government goes with Prasarana to operate Sg Buloh-Kajang MRT line". The Malaysian Insider. 16 June 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-06-17. สืบค้นเมื่อ 2015-05-17.
- ↑ 9.0 9.1 "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-18. สืบค้นเมื่อ 2015-05-17.
- ↑ transitmy. "MRT Update: MyRapidTransit launching & public viewing on 8 July 2011 at KL Convention Centre". Malaysian Transit. สืบค้นเมื่อ 11 July 2011.
- ↑ Achariam, Noel (30 May 2011). "Proposed TTDI MRT station shifted". New Straits Times. สืบค้นเมื่อ 6 June 2011.
- ↑ "Route Map". MRT Corp. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-01-13. สืบค้นเมื่อ 22 January 2014.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-18. สืบค้นเมื่อ 2015-05-17.
- ↑ http://www.youtube.com/watch?v=d62grQs_2I4
- ↑ http://www.youtube.com/watch?feature=player_detailpage&v=J_9QkoLV8FQ#t=207s
- ↑ http://www.youtube.com/watch?feature=player_detailpage&v=J_9QkoLV8FQ#t=222s
- ↑ MRT Corp. "MRT CORP AWARDS RM3.474 BILLION WORTH OF CONTRACTS" (PDF). MRT Corp. สืบค้นเมื่อ 15 September 2012.[ลิงก์เสีย]
- ↑ Progress Report (PDF). MRT Corp. 2012. p. 13. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2015-05-17.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- คณะกรรมการขนส่งทางบก เก็บถาวร 2017-08-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Syarikat Prasarana Negara Berhad
- แรพิดเคแอล
- เว็บไซต์ของเอ็มอาร์ที
- เว็บไซต์ของรถไฟฟ้าหุบเขากลัง เก็บถาวร 2014-05-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- TransitMy
- คู่มือแผนการเดินทาง เก็บถาวร 2008-12-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- iMetro
- แอ็ปสโตร์ เก็บถาวร 2011-03-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- MRT tunneling works by MMC-Gamuda
อ้างอิงผิดพลาด: มีป้ายระบุ <ref>
สำหรับกลุ่มชื่อ "note" แต่ไม่พบป้ายระบุ <references group="note"/>
ที่สอดคล้องกัน