รถไฟความเร็วสูงกัวลาลัมเปอร์–สิงคโปร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รถไฟความเร็วสูงกัวลาลัมเปอร์–สิงคโปร์
Kereta Api Berkelajuan Tinggi Kuala Lumpur-Singapura
马新高速铁路
கோலாலம்பூர்-சிங்கப்பூர் அதிவேக ரயில்
ข้อมูลทั่วไป
สถานะพักโครงการไม่มีกำหนด
เจ้าของบริษัท ไฮสปีดเทรน (มาเลเซีย)
การขนส่งทางบก (สิงคโปร์)
ที่ตั้ง มาเลเซีย และ  สิงคโปร์
ปลายทาง
จำนวนสถานี8 (โครงการ)
การดำเนินงาน
รูปแบบรถไฟความเร็วสูง
ข้อมูลทางเทคนิค
รางกว้าง1,435 mm (4 ft 8 12 in) สแตนดาร์ดเกจ
ระบบจ่ายไฟระบบจ่ายไฟฟ้าเหนือหัว

โครงการรถไฟความเร็วสูงกัวลาลัมเปอร์–สิงคโปร์ (อังกฤษ: Kuala Lumpur–Singapore High Speed Rail) เป็นโครงการรถไฟความเร็วสูงระหว่างกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย กับประเทศสิงคโปร์ คิดค้นขึ้นโดยนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2010[1] และทั้งสองประเทศ ได้ร่วมมือกันตั้งแต่วันที่ 19 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2013 เมื่อโครงการก่อสร้างเสร็จ จะเปิดให้บริการในปี ค.ศ. 2020[2]

การก่อสร้างจะเริ่มในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี ค.ศ. 2015[3] แต่หลังการเลือกตั้งผู้นำมาเลเซียตำแหน่งใหม่ คือ มหาธีร์ มูฮัมหมัด นายมหาธีร์ ได้มีมติให้ยกเลิกโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสิงคโปร์เนื่องจากกระทบต่อหนี้สาธารณะของมาเลเซีย และโครงการมีมูลค่าที่สูงมากอาจไม่คุ้มทุนและไม่ได้กำไรกลับคืนมาจากการลงทุน[4] โดยมาเลเซียชำระค่าเสียหายเป็นเงิน 500,000,000 ริงกิตให้รัฐบาลสิงคโปร์ เพื่อเป็นค่ายกเลิกสัญญา[5]

ประวัติ[แก้]

โครงการนี้เคยถูกนำเสนอครั้งแรกในช่วงปี ค.ศ. 1990-1999 แต่เนื่องจากยังไม่พร้อมในหลาย ๆ ด้าน โครงการนี้จึงถูกหยุดพักไว้ก่อน[6] ต่อมาในปี ค.ศ. 2006 บริษัท วายทีแอล ได้ฟื้นฟูโครงการรถไฟความเร็วสูงอีกครั้ง คาดว่าจะวิ่งได้ 300 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และจะเดินทางเชื่อมต่อระหว่างสองเมืองได้ภายใน 90 นาที เมื่อเทียบกับทางถนน 5 ชั่วโมง ทางรถไฟเดิม 7 ชั่วโมง[7] และทางอากาศ 4 ชั่วโมง (รวมช่วงเวลาที่ท่าอากาศยานด้วย) แต่ในปี ค.ศ. 2008 ได้ล้มเลิกโครงการนี้ เนื่องจากงบประมาณที่สูงถึง 8 พันล้านริงกิต[8]

โครงการได้รับการฟื้นฟูอีกครั้งในปี ค.ศ. 2010 โดยเป็นหนึ่งใน 131 โครงการสำคัญ[6] ซึ่งจะช่วยพัฒนาเศรษฐกิจมาเลเซีย เชื่อกันว่ารัฐบาลมาเลเซีย ได้ร่วมมือกับรัฐบาลจีน ในการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงครั้งนี้

นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย และสิงคโปร์ ได้พบปะหารือเพื่อประชุมเกี่ยวกับโครงการนี้ ในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2013[7][7] ทางมาเลเซีย และสิงคโปร์ ได้ประกาศว่า โครงการนี้จะศึกษาเสร็จในปลายปี ค.ศ. 2014 และโครงการนี้จะสำเร็จในปี ค.ศ. 2020[9]

โครงการนี้ได้ถูกนำเข้างบประมาณขององค์การขนส่งทางบก (LTA) ในปี ค.ศ. 2014 และในวันที่ 7 เมษายน ค.ศ. 2014 ได้มีการประกาศว่า รถไฟความเร็วสูงสายนี้ จะผ่านย่านตูอัสตะวันตก, จูร่งตะวันออก และย่านดาวน์ทาวน์คอร์[10][11] วันที่ 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2015 ทั้งสองประเทศได้ร่วมประชุมหารือเกี่ยวกับความเป็นไปได้ของแนวเส้นทาง เนื่องจากเส้นทางช่วงที่ผ่านย่านจูร่งตะวันออกนั้น ไม่สามารถเชื่อมต่อกับสายรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนได้[12] การก่อสร้างคาดว่าจะเริ่มในปี ค.ศ. 2016.[13]

ประเทศญี่ปุ่น และประเทศเกาหลีใต้ ต่างก็สนใจในโครงการนี้ด้วย[14][15]

รายละเอียด[แก้]

รถไฟความเร็วสูงสายกัวลาลัมเปอร์–สิงคโปร์ มีระยะทาง 400 กิโลเมตร จะใช้เวลาในการเดินทาง 90 นาที[16] งบประมาณในการก่อสร้าง 40 พันล้านริงกิต[16][17] รถไฟวิ่งด้วยความเร็วตั้งแต่ 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมงขึ้นไป[2]

รายชื่อสถานีในมาเลเซีย[แก้]

ประธานคณะกรรมการขนส่งทางบก ได้ประกาศรายชื่อสถานีรถไฟความเร็วสูงในประเทศมาเลเซีย เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม ค.ศ. 2014[18]

รายชื่อสถานีในสิงคโปร์[แก้]

รัฐบาลสิงคโปร์ได้เลือกสถานีจูร่งตะวันออก เป็นสถานีปลายทาง เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม ค.ศ. 2015[19][20]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Greater Kuala Lumpur - EPP 3: Connecting to Singapore via a high speed rail system". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-06. สืบค้นเมื่อ 2015-05-30.
  2. 2.0 2.1 "KL-Singapore high-speed link to kick off". Investvine.com. 2013-02-20. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-03-05. สืบค้นเมื่อ 2013-02-27.
  3. "KL-Singapore high speed rail project to start in 2016". The Malaysian Insider. 27 December 2014.
  4. ""มาเลเซีย" ล้มโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม "สิงคโปร์" หวังลดหนี้". PPTV HD. 2018-05-30. สืบค้นเมื่อ 2018-07-22.
  5. "มาเลเซียยกเลิกรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสิงคโปร์". Thai PBS. 2018-05-29. สืบค้นเมื่อ 2018-07-22.
  6. 6.0 6.1 "Transport operators all for high-speed rail link". New Strait Times. 23 September 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-24. สืบค้นเมื่อ 15 May 2015 – โดยทาง HighBeam Research.
  7. 7.0 7.1 7.2 "Kuala Lumpur - Singapore high speed railway agreement". Railway Gazette International. 19 February 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-03-27. สืบค้นเมื่อ 2015-05-30.
  8. Lew, Alexander (24 April 2008). "Malaysia Halts Kuala Lumpur-Singapore Bullet Train". Wired.
  9. "Proposed Singapore-KL Rail Link To Be Finalised Next Year: Najib".
  10. "LTA calls tender for high-speed rail feasibility study". The Straits Times. 11 April 2014. สืบค้นเมื่อ 13 April 2014.
  11. "KL-S'pore rail link: Tender called for S'pore leg feasibility study". Channel News Asia. 11 April 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-04-13. สืบค้นเมื่อ 13 April 2014.
  12. "สำเนาที่เก็บถาวร". Channel Newsasia. 6 February 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-02-07. สืบค้นเมื่อ 28 February 2015.
  13. "Singapore-Kuala Lumpur Bullet Train May Miss 2020 Deadline". Bloomberg. October 29, 2014.
  14. "Japan may bid for KL-Singapore rail project". New Straits Times. 16 March 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-02-01. สืบค้นเมื่อ 18 May 2015 – โดยทาง HighBeam Research.
  15. Ching, Ooi Tee (26 November 2014). "S. Korea keen on high-speed rail project". New Straits Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-02-01. สืบค้นเมื่อ 18 May 2015 – โดยทาง HighBeam Research.
  16. 16.0 16.1 Senator Datuk Abdul Rahim Rahman (25 June 2011). "High-speed rail will spur growth in hub cities". The Star Online.
  17. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-11. สืบค้นเมื่อ 2015-05-30.
  18. "Singapore-Kuala Lumpur High Speed Rail have Seven Stops Malaysia 2014".
  19. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-05-19. สืบค้นเมื่อ 2015-05-30.
  20. http://www.straitstimes.com/news/singapore/transport/story/singapore-high-speed-rail-terminus-will-be-current-jurong-country-clu

ดูเพิ่ม[แก้]