สถานีรถไฟเซอเริมบัน
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
KB14 สถานีรถไฟชานเมืองและรถไฟระหว่างเมือง | |||||||||||||||||||||||||
อาคารสถานีก่อนสงคราม สถานีรถไฟเซเรมบันที่ยังคงเปิดให้บริการ | |||||||||||||||||||||||||
ข้อมูลทั่วไป | |||||||||||||||||||||||||
ชื่ออื่น | มลายู: ستيسين كريتاڤي سرمبن (ยาวี) จีน: 芙蓉 ทมิฬ: சரம்பன் | ||||||||||||||||||||||||
ที่ตั้ง | เซอเริมบัน รัฐเนอเกอรีเซิมบีลัน ประเทศมาเลเซีย | ||||||||||||||||||||||||
พิกัด | 2°43′08″N 101°56′28″E / 2.71889°N 101.941°E | ||||||||||||||||||||||||
เจ้าของ | เกอเรตาปีตานะฮ์เมอลายู | ||||||||||||||||||||||||
สาย | สายชายฝั่งทะเลตะวันตก | ||||||||||||||||||||||||
ชานชาลา | 1 ชานชาลาด้านข้าง และ 1 ชานชาลาเกาะกลาง | ||||||||||||||||||||||||
ทางวิ่ง | 3 | ||||||||||||||||||||||||
โครงสร้าง | |||||||||||||||||||||||||
ที่จอดรถ | มีบริการ | ||||||||||||||||||||||||
ข้อมูลอื่น | |||||||||||||||||||||||||
รหัสสถานี | KB14 | ||||||||||||||||||||||||
ประวัติ | |||||||||||||||||||||||||
เริ่มเปิดให้บริการ | 1910 | ||||||||||||||||||||||||
ติดตั้งระบบไฟฟ้า | 1995 | ||||||||||||||||||||||||
การเชื่อมต่อ | |||||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||||
|
สถานีรถไฟเซอเริมบัน เป็นสถานีรถไฟ ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของเมืองเซอเริมบัน ในรัฐเนอเกอรีเซิมบีลัน ประเทศมาเลเซีย ให้บริการรถไฟระหว่างเมือง สายเหนือ–ใต้ และรถไฟชานเมืองเคทีเอ็ม สายเซอเริมบัน ซึ่งเปิดให้บริการมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1995
ประวัติ
[แก้]สถานีรถไฟเซอเริมบันก่อสร้างระหว่างปี ค.ศ. 1904–1910 ด้วยงบประมาณ 26,000 ริงกิต เริ่มดำเนินการโดยกรมรถไฟมาเลเซีย (ต่อมาได้กลายเป็น การรถไฟมลายา) ซึ่งดำเนินการรถไฟทุกสายในคาบสมุทรมลายูในขณะนั้น
ตั้งแต่วันที่ 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1994 – 12 เมษายน ค.ศ. 1994 ได้มีการทดลองเดินรถไฟชานเมืองเคทีเอ็ม สายเซอเริมบัน ก่อนเปิดใช้งานอย่างเป็นทางการ
ชานชาลา
[แก้]ชานชาลาสถานีรถไฟเซอเริมบัน มีทั้งหมด 3 ชานชาลา เชื่อมต่อกันโดยสะพานลอย และเนื่องจากเป็นสถานีปลายทางของรถไฟชานเมืองเคทีเอ็ม สายเซอเริมบัน ชานชาลาที่ 1 จึงถูกใช้เป็นชานชาลาสำหรับรถไฟชานเมืองเพียงชานชาลาเดียว ส่วนชานชาลาที่ 2–3 ใช้เป็นชานชาลารถไฟระหว่างเมือง
อนึ่ง ชานชาลาที่ 1 เป็นชานชาลาด้านข้าง ส่วนชานชาลาที่ 2–3 เป็นชานชาลาเกาะกลาง
สถาปัตยกรรม
[แก้]อาคารสถานีรถไฟเซอเริมบันเป็นอาคารชั้นเดียว รูปแบบเรียบง่าย มีการแบ่งจัดสรรพื้นที่ภายในตัวอาคาร ดังนี้ ปีกอาคารฝั่งใต้ ใช้เป็นที่ทำการสถานี ส่วนปีกอาคารฝั่งเหนือ ใช้เป็นที่จำหน่ายตั๋ว และที่พักผู้โดยสาร