ข้ามไปเนื้อหา

ภาษาจีนหมิ่น

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาษาหมิ่น
閩語 / 闽语
ประเทศที่มีการพูดจีน มณฑลฝูเจี้ยน มณฑลกวางตุ้ง (บริเวณเมืองแต้จิ๋ว-ซัวเถา และคาบสมุทรเล่ยโจว) มณฑลเหอหนาน Zhejiang Zhoushan archipelago off Ningbo มาเลเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ ไต้หวัน และ ชาวจีนโพ้นทะเลทั่วโลก
จำนวนผู้พูดมากกว่า 70 ล้านคน  (ไม่พบวันที่)
ตระกูลภาษา
รูปแบบก่อนหน้า
รหัสภาษา
ISO 639-1zh
ISO 639-2chi (B)
zho (T)
ISO 639-3มีหลากหลาย:
cdo – ภาษาหมิ่นตะวันออก
cpx – ภาษาหมิ่นผูเซียน
czo – ภาษาหมิ่นกลาง
mnp – ภาษาหมิ่นเหนือ
nan – ภาษาหมิ่นใต้
ภาษาจีนหมิ่น
อักษรจีนตัวเต็ม閩語
อักษรจีนตัวย่อ闽语
เป่อ่วยยีภาษาฮกเกี้ยนBân gú
แผนที่แสดงสำเนียงหลักของภาษาจีนหมิ่น

ภาษาหมิ่น (จีนตัวย่อ: 闽语; จีนตัวเต็ม: ; พินอิน: Mǐn yǔ; เป่อ่วยยี: Bân gú; BUC: Mìng ngṳ̄) เป็นหนึ่งในภาษาของตระกูลภาษาจีน พูดทางตะวันออกเฉียงใต้ ของมณฑลฝูเจี้ยน และผู้ที่อพยพไปมณฑลกวางตุ้ง หูหนาน และไต้หวัน แบ่งย่อยได้เป็น ภาษาหมิ่นเหนือ (Min Bei) ภาษาหมิ่นใต้หรือภาษาจีนฮกเกี้ยน(Min nan) และสำเนียงอื่นๆ เป็นภาษาหลักของชาวจีน ในฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และภาคใต้ของประเทศไทย

ความหลากหลาย

[แก้]

ภาษาจีนหมิ่นมีความหลากหลายของสำเนียงมากกว่าสำเนียงอื่น ๆ ของภาษาจีน ซึ่งแบ่งตามความสามารถในการเข้าใจกันได้เป็น 5-9 ภาษา เช่นภาษาหมิ่นต้ง (หมิ่นตะวันออก) ภาษาหมิ่นหนาน (หมิ่นใต้) ซึ่งพบการแบ่งแยกระหว่างกลุ่มภาษาหมิ่นบนแผ่นดินใหญ่ เช่น ภาษาหมิ่นเชาเจียง ภาษาหมิ่นเป่ย์ ภาษาหมิ่นจ้ง และกลุ่มภาษาหมิ่นตามแนวชายฝั่ง ได้แก่ ภาษาหมิ่นต้ง ภาษาหมิ่นผูเซียน ภาษาหมิ่นหนาน และภาษาซยงเหวิน ภาษาหมิ่นเชาเจียงอาจแยกเป็นกลุ่มย่อยต่างหากภายในภาษาจีนหมิ่น เพราะเป็นภาษาที่แตกออกไปเป็นภาษาแรก

ภาษาหมิ่นต้งเป็นภาษาที่มีศูนย์กลางที่เมืองฝูโจว สำเนียงฝูโจวถือเป็นสำเนียงมาตรฐานของสำเนียงหมิ่นต้ง ภาษาหมิ่นหนานโดดเด่นทางภาคใต้ของมณฑลฝูเจี้ยนและทางตะวันออกของมณฑลกวางตุ้ง ภาษาหมิ่นผูเซียนแต่เดิมเป็นสำเนียงของภาษาหมิ่นหนาน แต่ได้รับอิทธิพลจากภาษาหมิ่นต้งสำเนียงฝูโจว สำเนียงซยงเหวินที่ใช้พูดในเกาะไหหลำ ซึ่งบางครั้งจะแยกเป็นภาษาต่างหาก แต่เดิมเป็นสำเนียงของภาษาหมิ่นหนาน แต่ต่อมามีลักษณะทางสัทวิทยาเปลี่ยนไปมากขึ้น

ภาษาหมิ่นหนานยังเรียกตามสถานที่ที่ภาษานั้นใช้พูด เช่น ภาษาไต้หวัน สำเนียงอมอยแห่งเซี่ยเหมินเป็นสำเนียงของภาษาหมิ่นหนานที่ใช้พูดทั้งในจีนแผ่นดินใหญ่และไต้หวัน สำเนียงแต้จิ๋วกลายเป็นสำเนียงที่สำคัญอีกสำเนียงหนึ่ง

Glossika ได้แบ่งภาษาจีนหมิ่นออกเป็น 8 สำเนียงคือ ภาษาหมิ่นเหนือหรือหมิ่นเป่ย์ในเขตหนานผิงของฝูเจี้ยนแต่สำเนียงเจียนโอวเป็นสำเนียงมาตรฐานของภาษาหมิ่นเป่ย์ ภาษาหมิ่นเชาเจียงในบริเวณหนานผิงตะวันออกและใกล้เคียง ถ้าแบ่งอย่างกว้างจะนับเป็นสำเนียงของภาษาหมิ่นเป่ย์ ภาษาหมิ่นตะวันออก หรือหมิ่นต้งในฝูโจวและนิงเต ภาษาหมิ่นกลางหรือหมิ่นจ้งในเขตซานมิง ภาษาหมิ่นผูเซียนในเขนผูเซียน ภาษาหมิ่นใต้หรือหมิ่นหนานในจ้างโจว ชวานโจวและเซี่ยเหมิน รวมทั้งบนเกาะไต้หวัน (สำเนียงฮกเกี้ยน) และทางตะวันออกของกวางตุ้ง (สำเนียงแต้จิ๋ว) บางครั้งจัดให้สำเนียงฮกเกี้ยนและแต้จิ๋วเป็นภาษาต่างหาก ภาษาเหล่ยโจวบนคาบสมุทรเหล่ยโจว มณฑลกวางตุ้ง และภาษาไหหลำบนเกาะไหหลำ ถ้าแบ่งอย่างกว้างจะรวมภาษาเหล่ยโจวกับภาษาไหหลำเป็นภาษาเดียวกัน หรือเป็นสำเนียงของภาษาหมิ่นใต้

ภาษาหมิ่นใต้ในกวางตุ้งเรียกฮกโล ในไหหลำเรียกซยงเหวินหรือซยงโจว ฮวา ภาษาหมิ่นใต้เป็นสำเนียงที่โดดเด่นของชาวจีนในฟิลิปปินส์ที่รู้จักกันในชื่อภาษาลันนัง ในไต้หวัน ภาษาหมิ่นใต้เรียกว่าเฮอเล่อโอย ซึ่งใช้พูดเป็นภาษาแม่ของประชากรส่วนใหญ่ ภาษาหมิ่นหนานจะถูกเรียกว่าภาษาจีนฮกเกี้ยนในสิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ประเทศไทย และประเทศอื่นๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะสำเนียงแต้จิ๋ว

ประวัติ

[แก้]

ยังเป็นที่โต้แย้งในบรรดานักประวัติศาสตร์ว่าภาษาจีนหมิ่นเกิดขึ้นเมื่อใด แต่ได้มีการอธิบายการอพยพหลายครั้งที่ส่งผลต่อภาษาจีนหมิ่น ได้แก่

  • ใน พ.ศ. 851 มีการอพยพครั้งใหญ่จากเหนือสู่ใต้เนื่องจากการลุกฮือวูฮู และเป็นการนำภาษาจีนที่ใช้พูดในสมัยราชวงศ์ฉินเข้าสู่ฝูเจี้ยน[1][2]
  • ใน พ.ศ. 1212 เฉินเจิงและบุตรชายคือ เฉิน ยวังอวังจากเขตกูชือในเหอหนานได้สร้างเขตปกครองในฝูเจี้ยนและได้ปกครองพื้นที่ชวานโจวและจ้างโจวเป็นเวลาสี่ชั่วคน[3]และได้นำภาษาจีนที่พูดในสมัยต้นราชวงศ์ถังเข้ามา
  • ในสมัยราชวงศ์ถังได้มีการนำระบบสระแบบเชียยุนเข้ามาใช้ในภาษาจีนหมิ่น[4]
  • เมื่อสิ้นสุดราชวงศ์ถังใน พ.ศ. 1435 วังเชาได้ก่อตั้งอาณาจักรหมิ่นใน พ.ศ. 1452 ในฝูเจี้ยน อาณาจักรหมิ่นนี้เป็นหนึ่งในสิบอาณาจักรในสมัยห้าราชวงศ์สิบอาณาจักร วังเชาและวัง เชินจือมาจากกูชือในเหอหนานและได้นำภาษาจีนยุคปลายราชวงศ์ถังเข้ามาในฝูเจี้ยน

ระบบการเขียน

[แก้]

เมื่อมีการใช้อักษรจีนเขียนภาษาที่ไม่ใช่ภาษาจีนกลางจะใช้ตัวอักษรที่มีความเกี่ยวข้องกับภาษาที่ใช้ และประดิษฐ์อักษรใหม่สำหรับคำที่ไม่มีในภาษาจีนดั้งเดิม ในบางกรณีมีการออกเสียงต่างไป หรืออาจจะมีความหมายต่างไป ซึ่งการเขียนภาษาจีนกวางตุ้งได้ใช้การเขียนในลักษณะนี้ ในที่สุด การเขียนแบบนี้จะไม่เป็นที่เข้าใจสำหรับผู้พูดภาษาจีนกลาง เพราะมีการเปลี่ยนแปลงของไวยากรณ์ คำศัพท์ และใช้ตัวอักษรที่ไม่มีในภาษาจีนกลางจำนวนมาก

ภาษาหมิ่นได้พัฒนาด้วยระบบนี้เช่นกัน แต่ไม่มีระบบมาตรฐานสำหรับภาษาหมิ่น แม้จะมีการออกแบบอักษรเฉพาะ ซึ่งจะมีคำยืมจากภาษาอื่นๆที่ไม่ใช่ภาษาจีน เช่น คำในภาษาท้องถิ่นของในเกาะไต้หวัน ที่มีในภาษาไต้หวัน รวมทั้งคำยืมจากภาษาญี่ปุ่น ในสิงคโปร์ มาเลเซีย ภาษาจีนหมิ่นจะมีคำยืมจากภาษามลายู ภาษาอังกฤษ และอื่น ๆ การเขียนภาษาหมิ่นด้วยอักษรจีนล้วนๆจึงไม่แสดงการพูดภาษาหมิ่นจริง ๆ แต่จะเป็นรูปแบบของภาษาจีนกลางอยู่มาก

มีความพยายามใช้อักษรละตินในการเขียนภาษาหมิ่น บางกลุ่มใช้อักษรละตินแบบที่ใช้โดยมิชชันนารีหรือเจียวฮุย ลัวมาจือ (ภาษาจีน: 教會羅馬字; พินอิน: Jiaohui Luomazi) สำหรับภาษาหมิ่นใต้ จะใช้ระบบการเขียนด้วยอักษรละตินที่เรียก เปะอั่วจี (Pe̍h-ōe-jī; POJ) และระบบสำหรับภาษาหมิ่นตะวันออกที่เรียก ปั้งอั๋วเส (Bàng-uâ-cê; BUC) ทั้งสองระบบคิดค้นโดยมิชชันนารีขาวต่างชาติในพุทธศตวรรษที่ 24 มีการเขียนแบบไม่เป็นทางการที่ใช้อักษรจีนควบคู่กับอักษรละตินสำหรับคำที่ไม่มีอักษรจีนกำกับ

อ้างอิง

[แก้]
  1. 《晉書•地理志》“閩越遐阻,僻在一隅。永嘉之後,帝室東遷,衣冠避難,多所萃止。“
  2. 《閩書》 “衣冠始入閩者八族,所謂林、黄、陳、鄭、詹、丘、胡是也。”
  3. 《汉语方言学基础教程》, 李小凡, page 52, “唐初,陈政、陈元光父子四代驻守闽南漳、泉二州。“
  4. 《汉语方言学基础教程》, 李小凡, page 52, “唐朝科举兴盛,崇尚文教,《切韵》音系作为文读系统也进入了闽语。“