ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
DTRY (คุย | ส่วนร่วม)
→‎แหล่งข้อมูลอื่น: เพิ่ม "แม่แบบ:อดีตวิทยาเขตของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ".
DTRY (คุย | ส่วนร่วม)
→‎แหล่งข้อมูลอื่น: เพิ่ม "แม่แบบ:มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ".
บรรทัด 110: บรรทัด 110:
* [http://www.spaa2006.com เว็บไซด์สมาคมศิษย์เก่า ฝค.ตอ. , วศ. , มศว ปทุมวัน]
* [http://www.spaa2006.com เว็บไซด์สมาคมศิษย์เก่า ฝค.ตอ. , วศ. , มศว ปทุมวัน]


{{แม่แบบ:มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ}}
{{แม่แบบ:อดีตวิทยาเขตของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ}}
{{แม่แบบ:อดีตวิทยาเขตของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ}}



รุ่นแก้ไขเมื่อ 10:59, 12 กันยายน 2560

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน
คติพจน์"สิกฺขา วิรุฬหิ สมฺปตฺตา"
การศึกษา คือ ความเจริญงอกงาม
ประเภทสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ
สถาปนาพ.ศ. 2496 (แผนกฝึกหัดครูมัธยม โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา)
พ.ศ. 2498 (วิทยาลัยวิชาการศึกษาปทุมวัน)
29 มิถุนายน พ.ศ. 2517 (มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน)
อธิการบดีหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล (คนแรก)
ชมพันธุ์ กุญชร ณ อยุธยา (คนสุดท้าย)
อธิการบดีหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล (คนแรก)
ชมพันธุ์ กุญชร ณ อยุธยา (คนสุดท้าย)
ที่ตั้ง
2 ถนนอังรีดูนังต์ แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน หรือ มศว ปทุมวัน เป็นอดีตสถาบันอุดมศึกษาและเป็นหนึ่งในอดีตวิทยาเขตของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พัฒนาจากแผนกฝึกหัดครูมัธยม โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาซึ่งขึ้นอยู่กับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปี พ.ศ. 2496 ก่อนจะได้รับการเปลี่ยนสถานะเป็นวิทยาลัยวิชาการศึกษาปทุมวันในปี พ.ศ. 2498 และเป็นวิทยาเขตที่สองของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒในปี พ.ศ. 2517 ตามลำดับ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวันถูกยุบรวมวิทยาเขตเข้ากับมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตรอย่างสมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2536 รวมระยะเวลาการดำเนินงาน 40 ปี

พื้นที่ในปัจจุบันของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวันเป็นที่ตั้งของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวันและกลุ่มอาคารจุฬาวิชช์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ประวัติการก่อตั้ง

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน ถือกำเนิดมาจากเดิมเป็นแผนกฝึกหัดครูมัธยม โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ซึ่งเดิมขึ้นอยู่กับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หลังสงครามโลกครั้งที่สอง รัฐบาลในขณะนั้นมีนโยบายยกเลิกชั้นเตรียมมหาวิทยาลัย จึงโอนโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยไปสังกัดกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ โดยจัดตั้งแผนกฝึกหัดครูมัธยมขึ้นในโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาเพื่อผลิตครูผู้มีคุณวุฒิสูง เป็นการขยายการศึกษาโดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อผลิตครูให้แก่โรงเรียนมัธยมศึกษาในส่วนภูมิภาค

กระทรวงศึกษาธิการได้มีคำสั่ง ลงวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2490 ให้เปิดชั้นฝึกหัดครูมัธยมขึ้นในโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา โดยให้มีคณะกรรมการอำนวยการฝึกหัดครูมัธยมทำหน้าที่กำหนดนโยบาย และควบคุมการดำเนินงาน ต่อมากระทรวงศึกษาธิการได้มีประกาศลงวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2498 ให้โอนแผนกฝึกหัดครูมัธยมของโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา และหน่วยสาธิตโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา แผนกเตรียมอุดมศึกษาของโรงเรียนรัฐบาล กรมวิสามัญศึกษา ไปสังกัดสำนักงานเลขานุการกรมการฝึกหัดครู

ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการดังกล่าว เป็นผลให้แผนกฝึกหัดครูมัธยมเปลี่ยนทั้งสังกัดและฐานะ คือจากแผนกในสังกัดโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา มาเป็นหน่วยงานอิสระอยู่ภายใต้บังคับของพระราชบัญญัติวิทยาลัยวิชาการศึกษา พ.ศ. ๒๔๙๗ ซึ่งเพิ่งบังคับมาได้ ๙ เดือน (พระราชบัญญัติวิทยาลัยวิชาการศึกษา พ.ศ. ๒๔๙๗ ตราเมื่อวันที่ ๑๖ กันยายน พ.ศ. ๒๔๙๗ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ ๒๘ กันยายน พ.ศ. ๒๔๙๗) เป็นสาขาของวิทยาลัยวิชาการศึกษา เรียกว่าวิทยาลัยวิชาการศึกษาปทุมวัน มีรองอธิการเป็นผู้บังคับบัญชา ขึ้นตรงต่ออธิการวิทยาลัยวิชาการศึกษา หลักสูตรเดิม ๓ ปี ได้เปลี่ยนเป็น ๔ ปี ตามหลักสูตรของวิทยาลัยวิชาการศึกษา ปทุมวัน เปิดเฉพาะสาขามัธยมศึกษา แบ่งเป็น ๓ คณะวิชา คือ คณะวิชาการศึกษา คณะมนุษยธรรมศึกษาและสังคมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ และผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจะได้รับวุฒิปริญญาตรีวิชาการศึกษา (กศ.บ.) สาขามัธยมศึกษา, วิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) และศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.)

ต่อมาเมื่อมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร มีมติให้แยกคณะมนุษยธรรมศึกษาและสังคมศาสตร์ ออกเป็นคณะมนุษยศาสตร์ และคณะสังคมศาสตร์ คณะวิชาของวิทยาเขตปทุมวันจึงแยกออกเป็น 2 คณะเช่นเดียวกัน

ทำเนียบผู้บริหารของวิทยาเขต

แผนกฝึกหัดครูมัธยม โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
รายนามประธานกรรมการอำนวยการฝึกหัดครูมัธยม
วาระการดำรงตำแหน่ง
1. ศาสตราจารย์ หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล พ.ศ. 2490 - พ.ศ. 2498
รายนามหัวหน้าแผนกฝึกหัดฯ วาระการดำรงตำแหน่ง
1. หม่อมเจ้าวงษ์มหิป ชยางกูร พ.ศ. 2490
2. คุณหญิง ดร.อัมพร มีศุข พ.ศ. 2490 - พ.ศ. 2498
วิทยาลัยวิชาการศึกษา วิทยาเขตปทุมวัน
รายนามรองอธิการประจำวิทยาเขต วาระการดำรงตำแหน่ง
3. ศาสตราจารย์ คุณหญิงอุบล หุวะนันทน์ พ.ศ. 2498 - พ.ศ. 2514
4. ศาสตราจารย์ ดร.ลัดดา วงศ์สายัณห์ พ.ศ. 2514 - พ.ศ. 2517
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน
รายนามรองอธิการบดี วาระการดำรงตำแหน่ง
4. ศาสตราจารย์ ดร.ลัดดา วงศ์สายัณห์ พ.ศ. 2517 - พ.ศ. 2518
5. ศาสตราจารย์ ดร.มัลลิกา เภาพิจิตร พ.ศ. 2518 - พ.ศ. 2520
6. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บุญเอิญ มิลินทสูต พ.ศ. 2520 - พ.ศ. 2524
7. รองศาสตราจารย์ คุณหญิงสมจิตต์ ศรีธัญรัตน์ พ.ศ. 2524 - พ.ศ. 2530
8. รองศาสตราจารย์ ดร.ชมพันธุ์ กุญชร ณ อยุธยา พ.ศ. 2530 - พ.ศ. 2536

การยุบรวมวิทยาเขต

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มีนโยบายรวมวิทยาเขตในกรุงเทพมหานครซึ่งมีอยู่ทั้งหมด 4 แห่งให้เป็นวิทยาเขตเดียวกัน ทั้งนี้เพื่อขจัดความซ้ำซ้อนในการเปิดคณะวิชาต่างๆ เพื่อลดงบประมาณรายจ่ายและเพื่อผนึกกำลังทางวิชาการให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น ในขั้นแรกมีโครงการที่จะพัฒนาวิทยาเขตกลางขึ้นใหม่ โดยมีที่ตั้งที่อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในสมัยที่ศาสตราจารย์ ดร.สุดใจ เหล่าสุนทร เป็นอธิการบดีในระหว่างปี พ.ศ. 2517 - พ.ศ. 2522 แต่ต่อมามีปัญหาเรื่องงบประมาณ เมื่อศาสตราจารย์ ดร. นิพนธ์ ศศิธร ขึ้นดำรงตำแหน่งอธิการบดี ระหว่างปี พ.ศ. 2522 - พ.ศ. 2526 จึงได้นำเรียนเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาโครงการรวมวิทยาเขตของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2522 ให้รวมวิทยาเขตของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒในกรุงเทพมหานคร โดยมีจุดศูนย์กลางที่วิทยาเขตประสานมิตร และได้มีมติมอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและสำนักงบประมาณร่วมกันพิจารณาโครงการดังกล่าวโดยรีบด่วน เพื่อให้ทันดำเนินการได้ภายในปีงบประมาณ 2523

แต่ทว่า คณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้พิจารณารายละเอียดและความเหมาะสมของโครงการนี้แล้ว มีความเห็นว่า ในหลักการเห็นชอบด้วยกับการรวมวิทยาเขตไว้ในที่เดียวกัน แต่ไม่เห็นด้วยที่จะให้รวมวิทยาเขตไว้ที่วิทยาเขตประสานมิตร และขยายการผลิตนิสิตเพิ่มขึ้น ทั้งนี้เพราะสถานที่ตั้งของวิทยาเขตประสานมิตรคับแคบ ไม่เหมาะสมที่จะขยายทั้งทางด้านตัวอาคารและจำนวนนิสิตเพิ่มขึ้น และหากเพิ่มจำนวนนิสิตทั้งภาคปกติและภาคสมทบให้มีจำนวนมากตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ถึง 20,000 คน จะเป็นการสร้างปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อมและการจราจรขึ้นในบริเวณดังกล่าวให้เลวร้ายยิ่งขึ้น คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติจึงได้เสนอว่า สถานที่ที่จะรวมวิทยาเขตไว้ด้วยกันนั้น เห็นควรรวมไว้ที่บางแสน ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายทางด้านการศึกษาแห่งชาติ ที่จะขยายการศึกษาโดยจัดตั้งสถาบันขึ้นในส่วนภูมิภาค เพื่อเป็นการสร้างความเสมอภาคในการศึกษา อีกทั้งสาขาวิชาที่ทางมหาวิทยาลัยจะขยายและเปิดขึ้นใหม่นั้นเป็นสาขาทางด้านสังคมแทบทั้งสิ้น ซึ่งจาการสำรวจบัณฑิตที่จบจากด้านสังคมกำลังมีปัญหาด้านการว่างงานค่อนข้างสูงแล้ว

อย่างไรก็ตามเมื่อคณะรัฐมนตรีได้พิจารณาข้อเสนอของคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติแล้ว ได้มีมติเมื่อวันที่ ๓ มิถุนายน ๒๕๒๓ ดังนี้

  1. ให้รวมวิทยาเขตของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒทั้งหมดที่อยู่ในกรุงเทพมหานคร (วิทยาเขตประสานมิตร ปทุมวัน พลศึกษา และบางเขน) ไปไว้ในที่เดียวกันที่วิทยาเขตประสานมิตร โดยมีหลักการมิให้ขยายการผลิตนิสิตเพิ่มขึ้น แต่ถ้ามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสงค์จะขยายการผลิตนิสิตเพิ่มขึ้น ให้พิจารณาขยายที่วิทยาเขตบางแสน การขยายดังกล่าวให้เน้นหนักทางด้านสาขาวิทยาศาสตร์
  2. การย้ายวิทยาเขตตามข้อ ๑ ให้ดำเนินการไปตามกำลังเงินงบประมาณ

นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2523 เป็นต้นมา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒจึงได้ดำเนินการรวมวิทยาเขตเป็นลำดับมา ท่ามกลางเสียงเรียกร้องจากสภาคณาจารย์ อาจารย์และนิสิตของวิทยาเขตที่จะถูกรวมให้ทบทวนมติของคณะรัฐมนตรีดังกล่าว แต่ทบวงมหาวิทยาลัยได้ยืนยันให้ถือปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี

สำหรับวิทยาเขตปทุมวันนั้น ในปีการศึกษา พ.ศ. 2530 คณะวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ถูกยุบไปรวมกับคณะวิชาเดียวกันที่วิทยาเขตประสานมิตร ในระหว่างนั้นเองได้มีการลดจำนวนนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ที่เข้าใหม่ในแต่ละปี จนกระทั่งมหาวิทยาลัยได้ให้งดรับนิสิตชั้นปีที่ 1 ตั้งแต่ปีการศึกษา พ.ศ. 2533 เป็นต้นมา แม้ว่าคณะต่างๆ ของวิทยาเขตปทุมวันจะพยายามชี้แจงเหตุผลในการขอรับนิสิตชั้นปีที่ ๑ ในคณะมนุษยศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์และคณะสังคมศาสตร์ต่อไป เพื่อผลิตบัณฑิตในสาขาวิชาที่ไม่ซ้ำซ้อนกับวิทยาเขตประสานมิตรและวิทยาเขตอื่นๆ อาทิ สาขาวิชาภาษาฝรั่งเศส ภาษาเยอรมัน และประวัติศาสตร์เน้นการท่องเที่ยว ทั้งนี้เพื่อให้มีการผลิตบัณฑิตที่ต่อเนื่องโดยเฉพาะทางด้านภาษาต่างประเทศ ซึ่งวิทยาเขตปทุมวันเป็นวิทยาเขตเดียวที่เปิดสอนภาษาต่างประเทศถึง ๕ ภาษา คือ ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาเยอรมัน ภาษาจีน และภาษาญี่ปุ่น อีกทั้งคณะสังคมศาสตร์ก็ได้เปิดวิชาเอกประวัติศาสตร์โดยเน้นการท่องเที่ยว ซึ่งสาขาวิชาต่างๆ ที่เปิดสอนทั้งหมดที่วิทยาเขตปทุมวัน ล้วนแต่เป็นสาขาที่เป็นที่ต้องการของประเทศชาติ อันจะนำไปสู่การเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ (NIC) และสอดคล้องกับโลกแห่งยุคข้อมูลข่าวสาร ซึ่งความรู้ความสามารในด้านภาษาที่ใช้สื่อสารทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศนับเป็นความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับบัณฑิตในอนาคต

ในระยะเวลาตั้งแต่ปีการศึกษา 2533 เป็นต้นมา คณาจารย์ของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน จึงต้องสอนนิสิตทั้งที่วิทยาเขตปทุมวัน และวิทยาเขตประสานมิตร จนกระทั่งปีการศึกษา 2534 นิสิตรุ่นสุดท้ายของวิทยาเขตปทุมวันกำลังจะจบเป็นบัณฑิต ดังนั้นหลังจากเดือนมีนาคม พ.ศ. 2536 วิทยาเขตปทุมวันจะไม่มีนิสิตของตนเองอีกต่อไป ในช่วงระยะเวลานับตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2535 จนถึงพฤษภาคม พ.ศ. 2536 จึงเป็นช่วงที่บุคลากรของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน จะต้องวางแผนและดำเนินการเคลื่อนย้ายพัสดุครุภัณฑ์ ตลอดจนการดำเนินการต่างๆ ทั้งในด้านวิชาการและธุรการ เพื่อให้การรวมวิทยาเขตและการเคลื่อนย้ายบุคลากรดำเนินไปด้วยความราบรื่นและเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย

ในด้านอาคารสถานที่นั้น โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน จะยังคงตั้งอยู่ ณ ที่เดิม โดยจะเป็นโรงเรียนสาธิตของวิทยาเขตกลาง แต่อาจจะยังคงใช้ชื่อเดิมต่อไปได้ ทั้งนี้เนื่องจากโรงเรียนสาธิตฯ เป็นโรงเรียนมัธยมที่มีชื่อเสียงและเป็นโรงเรียนในเมือง มีนักเรียนเป็นจำนวนมาก หากต้องเคลื่อนย้ายไปตั้งที่อื่นก็จะไม่สะดวกต่อครูบาอาจารย์นักเรียนและผู้ปกครอง ทั้งนี้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินก็ได้อนุญาตให้โรงเรียนสาธิตฯ ตั้งอยู่ ณ ที่เดิมไปก่อน จนกว่าโรงเรียนจะสามารถหาทางขยับขยายไปยังที่อื่นได้ สำหรับมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน นั้น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้มีนโยบายที่จะเข้ามาซ่อมแซมอาคารเรียนทั้งหมด และจะให้นิสิตของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เข้ามาใช้อาคารเรียนในปีการศึกษา 2536

สิ่งที่เหลือเป็นอนุสรณ์ของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน นอกจากโรงเรียนสาธิตฯ แล้ว ก็คือหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาฝรั่งเศส และสาขาวิชาภาษาเยอรมัน ซึ่งเป็นสาขาที่เปิดสอนเพียงวิทยาเขตเดียวของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ โดยปัจจุบันเปิดเป็นหลักสูตรของคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (ประสานมิตร)

แหล่งข้อมูลอื่น