ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อำเภอด่านช้าง"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Kingdom nn (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 6: บรรทัด 6:
| coordinates = {{Coord|14|50|30|N|99|41|50|E|type:admin2nd_region:TH}}
| coordinates = {{Coord|14|50|30|N|99|41|50|E|type:admin2nd_region:TH}}
| area = 1,193.6
| area = 1,193.6
| population = 67,339
| population = 67,778
| population_as_of = 2557
| population_as_of = 2559
| density = 56.41
| density = 56.78
| postal_code = 72180
| postal_code = 72180
| geocode = 7203
| geocode = 7203

รุ่นแก้ไขเมื่อ 15:26, 16 กรกฎาคม 2560

อำเภอด่านช้าง
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Dan Chang
คำขวัญ: 
เขื่อนกระเสียวลือนาม ธรรมชาติงามล้ำ
วัฒนธรรมตะเพินคี่ อุทยานดีสนสองใบ
แผนที่จังหวัดสุพรรณบุรี เน้นอำเภอด่านช้าง
แผนที่จังหวัดสุพรรณบุรี เน้นอำเภอด่านช้าง
พิกัด: 14°50′30″N 99°41′50″E / 14.84167°N 99.69722°E / 14.84167; 99.69722
ประเทศ ไทย
จังหวัดสุพรรณบุรี
พื้นที่
 • ทั้งหมด1,193.6 ตร.กม. (460.9 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2559)
 • ทั้งหมด67,778 คน
 • ความหนาแน่น56.78 คน/ตร.กม. (147.1 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 72180
รหัสภูมิศาสตร์7203
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอด่านช้าง ถนนด่านช้าง-สามชุก ตำบลหนองมะค่าโมง อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี 72180
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

อำเภอด่านช้าง เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดสุพรรณบุรี

ที่ตั้งและอาณาเขต

อำเภอด่านช้างตั้งอยู่ในทิวเขาทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือสุดของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอข้างเคียง ดังนี้

ประวัติ

ด่านช้าง เดิมอยู่ในเขตปกครองของอำเภอเดิมบางนางบวช สภาพภูมิประเทศทางด้านตะวันตกเป็นเทือกเขาสูงชัน และพื้นที่ลอนลาดสลับกับลอนชัน ลาดต่ำลงมาทางทิศตะวันออก เป็นแนวเขาที่ติดกับเทือกเขาตะนาวศรี มียอดเขาสูงที่สุด ได้แก่ยอดเขาเทวดา สูง 1,123 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง โดยพื้นที่ส่วนใหญ่สมบูรณ์ไปด้วยป่าไม้เบญจพรรณ มีป่าสนสองใบ แหล่งแร่ดีบุก วูลแฟม หินแกรนิต และหินปูน ตลอดจนสัตว์ป่าเป็นจำนวนมาก ในอดีตบริเวณลำห้วยกระเสียวได้มีโขลงช้างขนาดใหญ่ ลงมากินน้ำและเล่นน้ำเป็นประจำ จึงได้มีการขนานนามบริเวณดังกล่าวว่าเป็น ด่านช้าง อันเป็นที่มาของชื่อเรียกอำเภอมาจนถึงปัจจุบัน

ในปี 2546 ได้มีการค้นพบแหล่งโบราณคดีในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ตั้งแต่สมัยหินใหม่ลงมาจนถึงสมัยประวัติศาสตร์ ที่บ้านพุน้ำร้อน บริเวณพื้นที่เชิงเขาซึ่งมีลำน้ำกระเสียวไหลผ่าน โดยได้พบเครื่องมือหินจำนวนมาก อาทิ ขวานหินขัด หินกะเทาะ ที่ทำจากหินตระกูลเชิร์ต ภาชนะดินเผาสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ขวานสำริด และกระดิ่งสำริด สันนิษฐานว่าบริเวณดังกล่าวน่าจะเป็นแหล่งผลิตเครื่องมือหินกะเทาะในสมัยหินใหม่

นอกจากนั้นที่บ้านโป่งคอม ได้มีการค้นพบโครงกระดูกมนุษย์ฝังบรรจุอยู่ในภาชนะดินเผาเคลือบสี่หู พบตะกรันแร่ และก้อนดินไฟที่เป็นโครงสร้างเตาถลุงเหล็ก สันนิษฐานว่าบริเวณดังกล่าวน่าจะเป็นแหล่งถลุงโลหะในสมัยอยุธยา

22 กุมภาพันธ์ 2467 นายพันตรี ม.จ.วงศ์วโรชร ในสมเด็จกรมพระยาเทววงศ์วโปการ พร้อมด้วยแม่กองรังวัดภูมิประเทศในสยาม ได้เดินทางมาที่บ้านตะเพินคี่ เพื่อปักปันเขตแดนรอยต่อ 3 จังหวัด ระหว่างกาญจนบุรี อุทัยธานี และสุพรรณบุรี พร้อมทั้งได้ตั้งนายปวยคอง ราษฎรบ้านดังกล่าวเป็นเจ้าวัด ทำหน้าที่ดูแลทุกข์สุขของราษฎร

ในปี 2505 กระทรวงเกษตรได้ประกาศให้ป่าห้วยขมิ้น ป่าพุน้ำร้อน และป่าหนองหญ้าไทร พื้นที่ตำบลด่านช้าง หนองมะค่าโมง พื้นที่ 330,625 ไร่ เป็นป่าสงวนแห่งชาติ 24 กรกฎาคม 2506 กระทรวงเกษตรได้ประกาศให้ป่าองค์พระ ป่าพุระกำ และป่าเขาห้วยพลู ในพื้นที่ตำบลองค์พระ พื้นที่ 447,000 ไร่ เป็นป่าสงวนแห่งชาติ เพิ่มเติมอีกแห่งหนึ่ง เนื่องจากยังมีไม้ชนิดดีมีค่าขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก และเป็นป่าต้นน้ำลำธาร จำเป็นที่จะต้องสงวนไว้เป็นป่าไม้ถาวร การประกาศทั้ง 2 ครั้งดังกล่าวส่งผลให้พื้นที่กว่า 777,625 ไร่กลายเป็นพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติขนาดใหญ่ที่สุดในจังหวัดสุพรรณบุรี

ในช่วงเวลาเดียวกันนายพัฒน์ บุญยรัตพันธ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี สุพรรณบุรีในขณะนั้นได้พิจารณาเห็นว่าบริเวณพื้นที่ใกล้สถานที่ก่อสร้างเขื่อนกระเสียวมีความเหมาะสมที่จะสร้างเป็นเมืองใหม่รองรับความเจริญเติบโต จึงได้ดำเนินการวางผังเมืองกำหนดพื้นที่ส่วนราชการ สถานศึกษา วัด ที่อยู่อาศัย ตลาด ย่านการค้าพาณิชย์ ตัดถนนเป็นตาตาราง ส่งผลให้ด่านช้างมีผังเมืองที่มีความเหมาะสม สวยงามแห่งหนึ่งในปัจจุบัน

ต่อมาในปี 2516 บริษัท สุพรรณบุรีทำไม้ จำกัด ได้รับสัมปทานทำไม้ในพื้นที่ โดยบริษัทได้ใช้เวลาตัดไม้ และชักลากออกจากป่า รวมเป็นเวลาประมาณ 17 ปี และได้หยุดดำเนินการไปในปี 2532 ผลจากการสัมปทานดังกล่าวได้ทำให้เกิดการจับจองที่ดินเปลี่ยนแปลงพื้นที่บริเวณดังกล่าวไปทำเกษตรกรรมประเภทพืชไร่เป็นจำนวนมาก อาทิ ข้าวโพด มันสำปะหลัง เป็นต้น 13 สิงหาคม 2517 คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบให้กรมส่งเสริมสหกรณ์จัดตั้ง สหกรณ์นิคมห้วยขมิ้น เพื่อจัดที่ดินป่าห้วยขมิ้น ป่าพุน้ำร้อน และป่าหนองหญ้าไทร ที่เสื่อมโทรมให้ราษฎรที่อาศัยอยู่ก่อนเข้าทำประโยชน์ต่อไป คิดเป็นพื้นที่ประมาณ 180,000 ไร่

วันที่ 30 สิงหาคม 2517 กระทรวงมหาดไทยได้พิจารณาเห็นว่าอำเภอเดิมบางนางบวชมีพื้นที่กว้างขวาง และห่างไกล ราษฎรไม่ได้รับความสะดวกจากบริการของรัฐ จึงได้ประกาศให้แยกตำบลด่านช้าง องค์พระ และห้วยขมิ้น ออกไปจัดตั้งเป็นกิ่งอำเภอด่านช้าง โดยมีนายธีระศักดิ์ เทศศิริ ดำรงตำแหน่งปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ เป็นคนแรก ต่อมาได้ประกาศเพิ่มเติมเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2518 ให้โอนตำบลหนองมะค่าโมง มาขึ้นการปกครองกับกิ่งอำเภอด่านช้างอีกตำบลหนึ่ง รวมเป็น 4 ตำบล คิดเป็นพื้นที่รวม 745,625 ไร่ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติเกือบทั้งหมด

วันที่ 15 กรกฎาคม 2518 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนารถ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ ได้เสด็จพระราชดำเนินมาเปิดอาคารเรียนโรงเรียนบรรหารแจ่มใสวิทยา 3 พระราชทานธงลูกเสือชาวบ้าน และทอดพระเนตรการก่อสร้างเขื่อนกระเสียว ยังความปลาบปลื้มแก่พสกนิกรชาวด่านช้างอย่างหาที่สุดมิได้

ในปี 2523 การก่อสร้างเขื่อนกระเสียวได้แล้วเสร็จ สามารถเก็บกักน้ำไว้ใช้เพื่อการเกษตร การประมง และแก้ปัญหาน้ำท่วมจังหวัดสุพรรณบุรี มีพื้นที่เก็บกักน้ำ 28,750 ไร่ เป็นเขื่อนดินที่มีความยาวถึง 4,250 เมตร เป็นอันดับที่สองรองจากเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ลพบุรี

และต่อมาเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2524 กิ่งอำเภอด่านช้างได้เจริญขึ้นมาเป็นลำดับทั้งในด้านเศรษฐกิจ และสังคม กระทรวงมหาดไทยจึงได้ยกฐานะขึ้นเป็น อำเภอด่านช้าง เป็นศูนย์กลางในการบริหารราชการมาจนถึงปัจจุบัน โดยมี ว่าที่ ร.ต.กฤษณ์ สังขพันธ์ ดำรงตำแหน่งนายอำเภอเป็นคนแรก

และในปีถัดมา 2525 กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศจัดตั้งสุขาภิบาลด่านช้าง องค์กรปกครองท้องถิ่นแห่งแรก โดยได้รวมพื้นที่บางส่วนของตำบลด่านช้างและหนองมะค่าโมง พื้นที่ 4.4 ตารางกิโลเมตร จนถึงวันที่ 25 พฤษภาคม 2542 จึงได้ยกฐานะขึ้นเป็นเทศบาลตำบลด่านช้าง ทำหน้าที่ดูแลการพัฒนาชุมชนด่านช้างมาจนถึงปัจจุบัน

วันที่ 12 ธันวาคม 2532 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฏราชกุมารได้เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ พระราชทานพระพุทธนวราชบพิตร ประจำอำเภอด่านช้าง โดยมีนายเกียรติคุณ สุวรรณกูล นายอำเภอด่านช้างเข้ารับพระราชทาน

ปี 2533 บริษัท น้ำตาลมิตรผล จำกัด ได้ย้ายโรงงานน้ำตาลจากอำเภอบ้านโป่ง ราชบุรี มาก่อสร้างใหม่ที่อำเภอด่านช้าง ปัจจุบันมีกำลังการผลิต 45,000 ตันต่อวัน เป็นโรงงานน้ำตาลขนาดใหญ่เป็นอับสองของประเทศ ทำให้อ้อยกลายเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของด่านช้าง ส่งผลให้เกิดการเจริญเติบโตของชุมชนอำเภอด่านช้างอย่างรวดเร็วมาจนถึงปัจจุบัน

26 พฤษภาคม 2534 ชื่ออำเภอด่านช้างปรากฏเป็นข่าวดังไปทั่วโลก เมื่อเครื่องบินของสายการบินเลาดาห์แอร์ ประสบอุบัติเหตุตกบริเวณป่าสนสองใบ เศษซากความเสียหายกระจายไปทั่วป่าในเขตตำบลห้วยขมิ้น และวังยาว มีผู้เสียชีวิต 223 คน

27 กรกฎาคม 2539 กรมการปกครองได้อนุมัติงบประมาณให้ดำเนินการก่อสร้างอาคารที่ว่าการอำเภอด่านช้าง ในบริเวณศูนย์ราชการอำเภอด่านช้าง โดยฯพณฯ บรรหาร ศิลปอาชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เดินทางมาเป็นประธานในการวางศิลาฤกษ์อาคารดังกล่าว เมื่อดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จได้กลายเป็นศูนย์กลางในการบริหารราชการมาจนถึงปัจจุบัน

4 กุมภาพันธ์ 2540 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดอาคารห้องสมุดประชาชนเฉลิมราชกุมารี และเปิดประชุมทางวิชาการองค์การยุวเกษตรแห่งอนาคต ที่วิทยาลัยเกษตรกรรมสุพรรณบุรี อำเภอด่านช้าง ยังความปลาบปลื้มมาสู่พสกนิกรชาวด่านช้างอย่างหาที่สุดมิได้

วันที่ 30 กันยายน 2541 กรมป่าไม้ได้พิจารณาเห็นว่า พื้นที่ป่าองค์พระ ป่าพุระกำ และป่าห้วยพลู ยังมีสภาพป่าที่มีความสมบูรณ์ เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารสำคัญของจังหวัดสุพรรณบุรี ทิวทัศน์สวยงาม สัตว์ป่าชุกชุม จึงได้ประกาศจัดตั้งเป็น อุทยานแห่งชาติพุเตย ครอบคลุมเนื้อที่ 198,422 ไร่ นับเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ที่ นิเวศน์ที่สำคัญในจังหวัดสุพรรณบุรี

และเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2551 พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ ได้เสด็จมาทรงเป็นประธานถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดเขาถ้ำหมี ตำบลหนองมะค่าโมง ยังความปลาบปลื้มมาสู่พสกนิกรชาวอำเภอด่านช้างอีกครั้งหนึ่ง

อำเภอด่านช้าง นับได้ว่าเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดสุพรรณบุรีที่มีความสำคัญทางด้านเศรษฐกิจ การท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ และเป็นแหล่งต้นน้ำที่สำคัญ ผ่านการเป็นอำเภอมาแล้วกว่า 30 ปี เป็นอำเภอขนาดใหญ่มีการบริหารงานที่สลับซับซ้อน ในปี 2554 กระทรวงมหาดไทยจึงได้ปรับปรุงตำแหน่งนายอำเภอให้เป็นระดับ ผู้อำนวยการระดับสูง

เหตุการณ์สำคัญ

  • วันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2517 ได้แยกพื้นที่ตำบลด่านช้าง ตำบลองค์พระ และตำบลห้วยขมิ้น อำเภอเดิมบางนางบวช มาตั้งเป็น กิ่งอำเภอด่านช้าง
  • วันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2518 ได้โอนพื้นที่ตำบลหนองมะค่าโมง อำเภอเดิมบางนางบวช มาขึ้นกับกิ่งอำเภอด่านช้าง อำเภอเดิมบางนางบวช ด้วยสาเหตุการติดต่อทางราชการกับกิ่งอำเภอด่านช้างสะดวกกว่าและระยะทางการไปติดต่อราชการใกล้กว่า
  • วันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2524 ยกฐานะเป็น อำเภอด่านช้าง

การแบ่งเขตการปกครอง

การปกครองส่วนภูมิภาค

อำเภอด่านช้างแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 7 ตำบล 93 หมู่บ้าน ได้แก่

1. หนองมะค่าโมง (Nong Makha Mong)
2. ด่านช้าง (Dan Chang)
3. ห้วยขมิ้น (Huai Khamin)
4. องค์พระ (Ong Phra)
5. วังคัน (Wang Khan)
6. นิคมกระเสียว (Nikhom Krasiao)
7. วังยาว (Wang Yao)

การปกครองส่วนท้องถิ่น

ท้องที่อำเภอด่านช้างประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 8 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลด่านช้าง ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลหนองมะค่าโมงและบางส่วนของตำบลด่านช้าง
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองมะค่าโมง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองมะค่าโมง (นอกเขตเทศบาลตำบลด่านช้าง)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลด่านช้าง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลด่านช้าง (นอกเขตเทศบาลตำบลด่านช้าง)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยขมิ้น ครอบคลุมพื้นที่ตำบลห้วยขมิ้นทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลองค์พระ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลองค์พระทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลวังคัน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวังคันทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลนิคมกระเสียว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนิคมกระเสียวทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลวังยาว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวังยาวทั้งตำบล

จำนวนประชากร

      หมายถึงจำนวนประชากรได้เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน
      หมายถึงจำนวนประชากรได้ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน
อันดับ
(ปีล่าสุด)
ตำบลในอำเภอด่านช้าง พ.ศ. 2559 พ.ศ. 2558 พ.ศ. 2557 พ.ศ. 2556 พ.ศ. 2555 พ.ศ. 2554 พ.ศ. 2553 พ.ศ. 2552 พ.ศ. 2551
1 หนองมะค่าโมง 17,915 17,878 17,862 17,782 17,757 17,619 17,611 17,512 17,347
2 ด่านช้าง 16,199 16,119 16,106 16,007 15,842 15,821 15,833 15,743 15,483
3 ห้วยขมิ้น 9,282 9,291 9,277 9,259 9,288 9,166 9,191 9,188 9,204
4 องค์พระ 7,354 7,290 7,190 7,133 7,071 6,950 6,956 6,861 6,749
5 วังคัน 6,593 6,581 6,544 6,531 6,506 6,452 6,444 6,417 6,331
6 นิคมกระเสียว 5,389 5,387 5,355 5,346 5,268 5,234 5,238 5,252 5,272
7 วังยาว 5,046 5,036 5,005 4,953 4,874 4,728 4,704 4,633 4,660
รวม 67,778 67,582 67,339 67,011 66,606 65,970 65,977 65,606 65,046

สถาบันการเงิน

ในเขตพื้นที่อำเภอด่านช้างมีสถาบันทางการเงิน 7 แห่งได้แก่

สถานศึกษา

ในเขตพื้นที่อำเภอด่านช้างประกอบด้วยโรงเรียนมัธยมศึกษา จำนวน 2 แห่ง ได้แก่

ระดับประถมศึกษาในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลด่านช้าง 2 แห่ง ได้แก่

  • โรงเรียนอนุบาลด่านช้าง
  • โรงเรียนวัดด่านช้าง

ระดับอนุบาล 3 แห่ง (เขตเทศบาล) ได้แก่

  • โรงเรียนอนุบาลปัญญาประเสริฐ
  • โรงเรียนอนุบาลปราณี
  • โรงเรียนศุภลักษณ์

วิทยาลัย 1 แห่ง ได้แก่

  • วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี สุพรรณบุรี

ระดับอุดมศึกษา 1 แห่ง ได้แก่

สถานพยาบาล

อำเภอด่านช้างมีโรงพยาบาลประจำอำเภอ 1 แห่ง

  • โรงพยาบาลด่านช้าง (86 เตียง) [1]

อ้างอิง