ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 53: บรรทัด 53:
| หัวหน้า5_ชื่อ = ชยพล ธิติศักดิ์
| หัวหน้า5_ชื่อ = ชยพล ธิติศักดิ์
| หัวหน้า5_ตำแหน่ง = รองปลัดกระทรวง
| หัวหน้า5_ตำแหน่ง = รองปลัดกระทรวง
| หัวหน้า6_ชื่อ = ระพี ผ่องบุพกิจ
| หัวหน้า6_ตำแหน่ง = หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวง
|ประเภทหน่วยงาน = กรม
|ประเภทหน่วยงาน = กรม
|ต้นสังกัด =
|ต้นสังกัด =

รุ่นแก้ไขเมื่อ 20:23, 30 มกราคม 2559

สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย
Office of the Permanent Secretary for Interior
ไฟล์:กท.มหาดไทย.jpg
ภาพรวมหน่วยงาน
ก่อตั้ง1 เมษายน พ.ศ. 2435
เขตอำนาจทั่วราชอาณาจักร
สำนักงานใหญ่ถนนอัษฎางค์ แขวงวัดราชบพิธ เขตพระนคร กทม. 10200
งบประมาณประจำปี4,177.4136 ล้านบาท (พ.ศ. 2558)[1]
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน
  • กฤษฎา บุญราช, ปลัดกระทรวง
  • สุทธิพงษ์ จุลเจริญ, รองปลัดกระทรวง
  • ประทีป กีรติเรขา, รองปลัดกระทรวง
  • ณัฐพงศ์ ศิริชนะ, รองปลัดกระทรวง
  • ชยพล ธิติศักดิ์, รองปลัดกระทรวง
  • ระพี ผ่องบุพกิจ, หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวง

สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นหน่วยงานระดับกรม สังกัดกระทรวงมหาดไทย ดำเนินงานเกี่ยวกับราชการประจำทั่วไปของกระทรวง ที่ไม่เป็นหน้าที่ของกรมใดกรมหนึ่ง กำกับ เร่งรัด การปฏิบัติราชการของส่วนราชการในกระทรวงให้เป็นไปตามนโยบาย แนวทาง และแผนการปฏิบัติราชการของกระทรวง จัดทำแผนแม่บท งานการข่าว งานประชาสัมพันธ์ การพัฒนาระบบงานและบุคลากร การติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานของหน่วยงงานในสังกัดกระทรวง งานงบประมาณ การตรวจราชการและเรื่องราวร้องทุกข์ งานดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพวิศวกรรมและสถาปัตยกรรม และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง การทำนิติกรรม สัญญา งานคดี งานการต่างประเทศและกิจการผู้อพยพ งานการสื่อสาร และงานประสานราชการ

ประวัติ

สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย เริ่มมีการก่อตั้งขึ้นพร้อมกันกับการก่อตั้งกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2435 ต่อมาในปี พ.ศ. 2476 มีพระราชบัญญัติจัดตั้งกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2476 โดยแบ่งส่วนราชการกระทรวงมหาดไทยออกเป็น 10 ส่วนราชการ ส่วนของสำนักงานปลัดกระทรวงฯ ใช้ชื่อว่า "กรมปลัด" ต่อมามีการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม จึงเปลี่ยนชื่อเป็น "สำนักงานปลัดกระทรวง"

อำนาจและหน้าที่

  1. กำหนดยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง เพื่อรักษาความสงบสุขในสังคมและความมั่นคงของประเทศ
  2. เสนอแนะ กำหนดนโยบายด้านความมั่นคงเพื่อรักษาความสงบสุขในสังคม และความมั่นคงของประเทศ
  3. จัดทำและบูรณาการแผนมหาดไทย (แปลงนโยบาย)
  4. เสนอแนะนโยบายในการจัดตั้งและจัดสรรงบประมาณประจำปี
  5. ติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานของหน่วยงานในสังกัดกระทรวง
  6. พัฒนาบุคลากรของ มท.
  7. นโยบายและมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น
  8. ตรวจราชการกระทรวงและเรื่องราวร้องทุกข์
  9. อำนวยการและประสานงานในภารกิจเกี่ยวกับความมั่นคงภายใน
  10. ดำเนินการเกี่ยวกับการสื่อสารของกระทรวง รวมทั้งสนับสนุนและให้บริการด้านการสื่อสารแก่ส่วนราชการต่าง ๆ
  11. ดำเนินการเกี่ยวกับกฎหมายในความรับผิดชอบของกระทรวง และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งงานนิติกรรมและสัญญา งานเกี่ยวกับความรับผิดทางแพ่งของเจ้าหน้าที่ส่วนราชการ และงานคดีที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกระทรวง
  12. กำกับ เร่งรัด และประสานการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด
  13. ดำเนินการเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่กิจกรรมตลอดจนผลงานของกระทรวง
  14. ดำเนินการเกี่ยวกับการกำหนดแนวทางและระเบียบในการจัดระบบการสำรวจ การจัดเก็บ การประมวล และการใช้ประโยชน์ข้อมูลของหน่วยงานในสังกัดของกระทรวง และเป็นศูนย์ข้อมูลเพื่อการบริหารของกระทรวง
  15. ดำเนินการเกี่ยวกับการพัฒนาระบบ รูปแบบ และยุทธศาสตร์ในการบริหาร การปกครอง และการพัฒนา ตลอดจนพัฒนาบุคลากรระดับสูงของกระทรวง
  16. ดำเนินการและประสานการบริหารราชการในส่วนภูมิภาค
  17. งานราชการประจำทั่วไปของกระทรวง และงานที่ไม่ได้กำหนดเป็นอำนาจหน้าที่ของกรมใดกรมหนึ่งในสังกัดกระทรวง
  18. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นหน้าที่ของสำนักงานปลัดกระทรวง หรือตามที่กระทรวงหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย

หน่วยงานภายใน

ในอดีตมีการแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานปลัดกระทรวงฯ แบ่งออกเป็น 3 กอง คือ กองกลาง กองคลัง และกองที่ปรึกษา ต่อมาปี พ.ศ. 2515 ได้มีประกาศคณะปฏิวัติให้โอนกิจการกองแผนงานและหน่วยงที่ปรึกษากระทรวงมหาดไทย มาเป็นส่วนหนึ่งในสำนักงานปลัดกระทรวงฯ โดยจั้งตั้งเป็นหน่วยงานใหม่ ชื่อว่า สำนักนโยบายและแผนมหาดไทย

ราชการส่วนกลาง

  1. กลุ่มงานไม่สังกัดกอง
  2. สถาบันดำรงราชานุภาพ (วิทยาลัยมหาดไทย)
  3. สำนักกฎหมาย
  4. สำนักงานคณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น
  5. สำนักนโยบายและแผน
  6. สำนักพัฒนาและส่งเสริมการบริหารราชการจังหวัด
  7. ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
  8. กองกลาง
  9. กองการเจ้าหน้าที่
  10. กองคลัง
  11. กองการต่างประเทศ
  12. กองตรวจราชการและเรื่องราวร้องทุกข์
  13. กองสารนิเทศ

ราชการส่วนภูมิภาค

  • สำนักงานจังหวัด มีหัวหน้าสำนักงานจังหวัด (ผู้อำนวยการระดับสูง) เป็นหัวหน้าหน่วยงาน มีสำนักงานตั้งอยู่ภายในศาลากลางจังหวัด
    • กลุ่มงานอำนวยการ
    • กลุ่มงานยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด
    • กลุ่มงานข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสาร
    • กลุ่มงานบริหารทรัพยากรบุคคล

อ้างอิง

  1. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 เล่ม 131 ตอนที่ 69ก วันที่ 30 กันยายน 2557

แหล่งข้อมูลอื่น