ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระธยานิพุทธะ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
[[ไฟล์:'The Dhyani Buddha Akshobhya', Tibetan thangka, late 13th century, Honolulu Academy of Arts.jpg|thumb|right|300px|' พระธยานิพุทธะ ศิลปะทิเบต ]]
[[ไฟล์:5buddha0.jpg|thumb|right|300px|' พระธยานิพุทธะ ศิลปะทิเบต ]]
'''พระธยานิพุทธะ'''หรือพระฌานิพุทธะ (บางแห่งเรียกพระชินพุทธะ) เป็นพระพุทธเจ้าในคติความเชื่อของ[[มหายาน]] เชื่อว่าอวตารมาจากพระ[[อาทิพุทธะ]] สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าด้วยอำนาจฌานของอาทิพุทธะ ไม่ได้ลงมาสร้างบารมีเหมือนพระมานุสสพุทธะ (พระพุทธเจ้าที่เป็นมนุษย์) ดำรงในสภาวะ[[สัมโภคกาย]] มีแต่[[พระโพธิสัตว์]]ที่เห็นพระองค์ได้
'''พระธยานิพุทธะ'''หรือพระฌานิพุทธะ (บางแห่งเรียกพระชินพุทธะ) เป็นพระพุทธเจ้าในคติความเชื่อของ[[มหายาน]] เชื่อว่าอวตารมาจากพระ[[อาทิพุทธะ]] สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าด้วยอำนาจฌานของอาทิพุทธะ ไม่ได้ลงมาสร้างบารมีเหมือนพระมานุสสพุทธะ (พระพุทธเจ้าที่เป็นมนุษย์) ดำรงในสภาวะ[[สัมโภคกาย]] มีแต่[[พระโพธิสัตว์]]ที่เห็นพระองค์ได้


บรรทัด 146: บรรทัด 146:
== ระเบียงภาพ ==
== ระเบียงภาพ ==
<gallery>
<gallery>
ไฟล์:Amitabha.png|พระอมิตาภพุทธะ ศิลปะจีน
ไฟล์:Ushiku Daibutsu 2006.jpg|พระพุทธรูป[[อุชิคุ ไดบุตสึ]] [[ประเทศญี่ปุ่น]] สร้างแทนองค์พระอมิตาภพุทธะ
ไฟล์:Nara daibutsu.jpg|พระไวโรจนพุทธะ [[วัดโทได]] [[เมืองนะระ]] [[ประเทศญี่ปุ่น]]
ไฟล์:Mikeswe3.jpg|พระไวโรจนพุทธะ ศิลปะจีน
ไฟล์:Akshobhya.jpg|พระอักโษภยะพุทธะ ศิลปะธิเบต
ไฟล์:'The Dhyani Buddha Akshobhya', Tibetan thangka, late 13th century, Honolulu Academy of Arts.jpg|'พระธยานิพุทธอักโษภยะ', ทังกาแบบทิเบต, ต้นพุทธศตวรรษที่ 19 (ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 13), Honolulu Academy of Arts. พื้นหลังเป็นรูปจำนวนมากของเหล่าพระธยานิพุทธะ
ไฟล์:Houshou.jpg|พระรัตนสัมภวพุทธะ ศิลปะแบบญี่ปุ่น
ไฟล์:Ratnasambhava3.gif|พระรัตนสัมภวพุทธะ ศิลปะธิเบต
ไฟล์:Amoghasiddhi1.jpg|พระอโมฆสิทธิพุทธะ ศิลปะธิเบต
ไฟล์:EMERALD buddha raining suit.JPG|[[พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร]] [[วัดพระศรีรัตนศาสดาราม]] กรุงเทพฯ สื่อถึงพระอโมฆสิทธิพุทธะ
</gallery>
</gallery>



รุ่นแก้ไขเมื่อ 17:00, 12 ตุลาคม 2555

' พระธยานิพุทธะ ศิลปะทิเบต

พระธยานิพุทธะหรือพระฌานิพุทธะ (บางแห่งเรียกพระชินพุทธะ) เป็นพระพุทธเจ้าในคติความเชื่อของมหายาน เชื่อว่าอวตารมาจากพระอาทิพุทธะ สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าด้วยอำนาจฌานของอาทิพุทธะ ไม่ได้ลงมาสร้างบารมีเหมือนพระมานุสสพุทธะ (พระพุทธเจ้าที่เป็นมนุษย์) ดำรงในสภาวะสัมโภคกาย มีแต่พระโพธิสัตว์ที่เห็นพระองค์ได้

จำนวน

พระธยานิพุทธะโดยทั่วไปมี 5 พระองค์ คือ พระไวโรจนพุทธะ พระอักโษภยพุทธะ พระรัตนสัมภวพุทธะ พระอมิตาภพุทธะ และพระอโมฆสิทธิพุทธะ พระธยานิพุทธะทั้ง 5 องค์นี้ได้สร้างพระธยานิโพธิสัตว์ขึ้นด้วยอำนาจฌานของตนอีก 5 องค์ คือ พระสมันตภัทรโพธิสัตว์เกิดจากพระไวโรจนพุทธะ พระวัชรปาณีโพธิสัตว์เกิดจากพระอักโษภยพุทธะ พระรัตนปาณีโพธิสัตว์เกิดจากพระรัตนสัมภวพุทธะ พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์เกิดจากพระอมิตาภพุทธะ และพระวิศวปาณีโพธิสัตว์เกิดจากพระอโมฆสิทธิพุทธะ

พระอักโษภยพุทธะ

(ตะวันออก)

พระอโมฆสิทธิพุทธะ

(เหนือ)

พระไวโรจนพุทธะ

(ศูนย์กลาง)

พระรัตนสัมภวพุทธะ

(ใต้)

พระอมิตาภพุทธะ

(ตะวันตก)

ชื่อในภาษาต่างๆได้แก่:

พุทธะ ภาษาสันสกฤต ภาษาญี่ปุ่น ภาษาจีน
พระไวโรจนพุทธะ वैरोचन 大日如来, Dainichi Nyorai 毘盧如來, Pilu Rulai
พระอักโษภยพุทธะ अक्षोभ्य 阿閃如来, Ashuku Nyorai 阿閃如來, Ajiu Rulai
พระอมิตาภพุทธะ अमिताभ 阿弥陀如来, Amida Nyorai 彌陀如來, Mituo Rulai
พระรัตนสัมภวพุทธะ रत्नसंभव 宝生如来, Hōshō Nyorai 寳生如來, Baosheng Rulai
พระอโมฆสิทธิพุทธะ अमोघसिद्धि 不空成就如来, Fukūjōju Nyorai 成就如來, Chengjiu Rulai


ลักษณะของแต่ละพระองค์

โคตร พุทธะ ปัญญาญาณ กิเลส ขันธ์ ปฏิกิริยา สัญลักษณ์ ธาตุ สี ฤดูกาล ทิศทาง มุทรา
พุทธะ พระไวโรจนพุทธะ ปัญญาอันสูงสุด ความหลง รูปขันธ์ หมุนธรรมจักร (การสอน) ธรรมจักร อากาศธาตุ สีขาว ไม่มี ศูนย์กลาง ธรรมจักรมุทรา
รัตนะ พระรัตนสัมภวพุทธะ เท่าเทียม ความโลภ เวทนาขันธ์ ความร่ำรวย รัตนมณี ธาตุดิน สืทอง สีเหลือง ฤดูใบไม้ร่วง ใต้ ทานมุทรา
ปัทมะ พระอมิตาภพุทธะ ปัญญาที่ทำให้มนุษย์รู้จักผิดชอบชั่วดี ความปรารถนา สังขารขันธ์ เสน่ห์ดึงดูด, การเอาชนะ ดอกบัว ธาตุไฟ สีแดง ฤดูร้อน ตะวันตก สมาธิมุทรา
กรรมะ พระอโมฆสิทธิพุทธะ แบบสำเร็จทุกอย่าง ความอิจฉา วิญญาณขันธ์ ความสงบระงับ วัชระแฝด ธาตุน้ำ สีเขียว ฤดูหนาว เหนือ อภยมุทรา
วัชระ พระอักโษภยพุทธะ แบบกระจกเงา ความโกรธ สัญญาขันธ์ การปกป้องและการทำลาย สายฟ้า, วัชระ ธาตุลม สีน้ำเงิน ฤดูใบไม้ผลิ ตะวันออก ภูมิผัสมุทรา

การนับถือในประเทศต่างๆ

  • เนปาลและทิเบต นับถือพระธยานิพุทธะทั้ง 5 องค์ข้างต้น โดยถือว่าพระธยานิพุทธะเป็นตัวแทนของอายตนะภายใน 5 และพระธยานิโพธิสัตว์เป็นตัวแทนของอายตนะภายนอก 5 ซึ่งประกอบเป็นร่างกายของสรรพสัตว์ มีการกำหนดตำแหน่งของพระธยานิพุทธะแต่ละองค์ในพุทธมณฑลซึ่งใช้ในการประกอบพิธ๊กรรมทางศาสนานิกายวัชรยาน รวมทั้งการกำหนดตำแหน่งของการประดิษฐานพระพุทธะเหล่านี้ไว้ในเจดีย์ในประเทศเนปาล
  • จีนและญี่ปุ่น ชาวพุทธนิกายสุขาวดี นับถือพระอมิตาภพุทธะเพียงองค์เดียว ในญี่ปุ่นได้เพิ่มพระธยานิพุทธะอีกองค์คือ พระวัชรสัตว์ถือว่าเป็นหัวหน้าของพุทธะทั้งหมด หรือเป็นอาทิพุทธะ การนับถือพระธยานิพุทธะในญี่ปุ่นพบในนิกายชินกอนเป็นส่วนใหญ่ นิกายอื่นพบน้อย

ระเบียงภาพ

อ้างอิง

  • ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์ ษัฏเสน. พระพุทธศาสนาแบบทิเบต. กทม. ศูนย์ไทยทิเบต. 2538
  • ประสงค์ แสนบุราณ. พระพุทธศาสนามหายาน. กทม. โอเดียนสโตร์. 2548