พังก์ร็อก
พังก์ร็อก | |
---|---|
แหล่งกำเนิดทางรูปแบบ | การาจร็อก ร็อกแอนด์โรล ฮาร์ดร็อก ผับร็อก โพรโตพังก์ แกลมร็อก |
แหล่งกำเนิดทางวัฒนธรรม | ต้นถึงกลางทศวรรษที่ 1970 ในสหรัฐอเมริกา, สหราชอาณาจักร และ ออสเตรเลีย |
เครื่องบรรเลงสามัญ | เสียงร้อง กีตาร์ กีตาร์เบส กลองชุด |
รูปแบบอนุพันธุ์ | นิวเวฟ โพสต์พังก์ ออลเทอร์นาทิฟร็อก อีโม |
แนวย่อย | |
อะนาร์โคพังก์ - อาร์ตพังก์ - การาจพังก์ - โกธิกร็อก - แกลมร็อก - ฮาร์ดคอร์ - ฮอร์เรอร์พังก์ - ออยi! - ไรออตเกิร์ล - สเกตพังก์ - คริสเตียนพังก์ - นาซีพังก์ | |
แนวประสาน | |
แอนตีโฟล์ก - เคลติกพังก์ - ชิคาโนพังก์ - คาวพังก์ - เดธร็อก - โฟล์กพังก์ - ป็อปพังก์ - ไซโคบิลลี - พังก์อะบิลลี - พังก์บลูส์ - พังก์เมทัล - สกาพังก์ - ทูโทน |
พังก์ร็อก (อังกฤษ: punk rock) เป็นดนตรีร็อกประเภทหนึ่ง (โดยมากมักเรียกสั้น ๆ ว่า พังก์) มีการเคลื่อนไหวและเป็นที่รู้จักในช่วงกลางทศวรรษที่ 1970 พังก์ร็อกได้พัฒนาระหว่างปี ค.ศ. 1974 และ ค.ศ. 1977 ในสหรัฐอเมริกา, สหราชอาณาจักร และ ออสเตรเลีย โดยมีวงอย่าง เดอะราโมนส์, เซ็กซ์พิสทอลส์ และ เดอะแคลช ที่เป็นที่รู้จักในฐานะแนวหน้าของดนตรีประเภทนี้
ลักษณะดนตรีแบบ พังก์ร็อกมีลักษณะท่วงทำนองที่รุนแรง หยาบกระด้าง ด้วยความขาดทักษะของการเล่นดนตรี ส่วนการร้องก็จะเป็น "ตะโกน"หรือ "บ่น" และแฝงนัยยะของ "การต่อต้าน" และการยกย่อง "ความเป็นเลิศ"[1] เครื่องดนตรีจะประกอบด้วย กีตาร์ไฟฟ้า 1 หรือ 2 ตัว ,เบสไฟฟ้าและชุดกลอง มักมีการเล่นแบบ 2 คอร์ด เพลงพังก์มักมีความยาวระหว่าง 2 ถึง 2 นาทีครึ่ง มีบางเพลงมีความยาวน้อยกว่า 1 นาทีก็มี เพลงพังก์ในช่วงแรกรับอิทธิพลจากร็อกแอนด์โรลคือมีท่อนประสานเสียง
พังก์ร็อกกลายเป็นกระแสนิยมหลักในสหราชอาณาจักรตั้งแต่ปลายทศวรรษที่ 1970 แต่ความโด่งดังในที่อื่นมีในจำกัด จนกระทั่งทศวรรษที่ 80 พังก์ร็อกได้เป็นที่รู้จักในกลุ่มเล็ก ๆ ทั่วทุกมุมโลก ส่วนมากจะถูกปฏิเสธจากดนตรีกระแสหลัก ในช่วงปลายยุคทศวรรษที่ 1970 ดนตรีพังก์ร็อกได้แตกแยกแขนง ไปหลากหลายทิศทาง เช่นเพลงแนว นิวเวฟ, โพสต์พังก์ โดยหลายวงได้ทำการทดลองแนวดนตรีไปในทิศทางอื่น เช่นแนวฮาร์ดคอร์พังก์ และ โอย! และ อะนาร์โค-พังก์ เป็นต้น
และพังก์ร็อกยุคใหม่ได้พัฒนาไปอีกขึ้น โดยเพลงแนวออลเทอร์นาทิฟร็อกได้รับความนิยมเหมือนตอนที่ได้พังก์ร็อกรับความนิยมในช่วงแรก
ลักษณะ
[แก้]พังก์ยุคแรกมีจุดความก้าวร้าว ซึ่งดูไกลจากร็อกในต้นยุคทศวรรษที่ 1970 ที่อ่อนไหวและฟังดูรื่นหู[2] ทอมมี ราโมน มือกลองวงเดอะ ราโมนส์ เคยกล่าวไว้ว่า "ในช่วงแรกของการเริ่มต้น วงยุค 1960 หลายวง ได้ปฏิรูปและมีความน่าตื่นเต้น แต่โชคไม่ดีที่อยู่ได้ไม่นาน พวกเรารู้ว่าต้องการสิ่งที่ต้องการคือความบริสุทธิ์ และไม่ต้องการ ร็อกแอนด์โรล"[3]
จอห์น โฮล์มสตรอม บรรณาธิการนิตยสาร พังก์ แฟนไซน์ให้ความเห็นกับการเกิดของพังก์ร็อกว่า "พังก์ร็อกเกิดขึ้นเพราะดนตรีร็อกในช่วงนั้นดูน่าเบื่อ อย่าง บิลลี โจเอล, ไซมอน แอนด์ การ์ฟังเกล ที่ถูกเรียกว่าร็อกแอนด์โรล โดยร็อกแอนด์โรลมีความหมายกับหลาย ๆ คนว่า ดนตรีขบถและป่าเถื่อน"[4] ดนตรีพังก์นั้นถือกำเนิดมาจากความคิดของคนหนุ่มชนชั้นกลางจนถึงชนชั้นกรรมาชีพโดยมีความปรารถนาที่จะหลีกหนีสังคมที่ไม่เคยเห็นอกเห็นใจหรือช่วยเหลือเกื้อหนุนต่อพวกเขาเลยและคิดว่าสิ่งที่พวกเขาคิดพูดและแสดงออกนั้น ไร้สาระโดยสิ้นเชิง[5]
ในคำวิจารณ์ของโรเบิร์ต คริสต์เกาอธิบายไว้ว่า "มันก็คือวัฒนธรรมย่อยอย่างหนึ่งที่ปฏิเสธการเมือง ความสมบูรณ์แบบ และ นิทานปรัมปรางี่เง่าของพวกฮิปปี้"[6] ในทางตรงกันข้ามแพตติ สมิธเอ่ยในรายการสารคดี 25 ปีของพังก์ว่า "พังก์และฮิปปี้มีจุดร่วมเหมือนกันคือ ต่อต้านร็อกแอนด์โรล ในบางครั้งก็ปฏิเสธไม่เฉพาะร็อกกระแสหลักและวัฒนธรรม"[7] ในปี ค.ศ. 1977 เมื่อพังก์ก้าวสู่กระแสหลักในสหราชอาณาจักร และถูกเรียกว่า "ปีศูนย์" (Year Zero) [8] การหวนสู่ความหลังถูกทิ้งไป แต่ได้รับแนวความคิดแบบไร้จริยธรรมเข้าไป โดยวงเซ็กซ์พิสทอลส์มีคำขวัญว่า "ไร้อนาคต" (No Future) [9]
วงพังก์มักเลียนแบบโครงสร้างดนตรีที่เปลือยเปล่าและการเรียบเรียงดนตรีของดนตรีแนวการาจร็อก ในช่วงทศวรรรษที่ 1960[10] นิตยสารพังก์ ไซด์เบิร์นส ในปี 1976 ได้ล้อเลียนโดยภาพวาด 3 คอร์ด มีคำอธิบายว่า "นี่คือคอร์ด นี่อีกคอร์ด และนี่คอร์ดที่สาม ตอนนี้ฟอร์มวงได้แล้ว"[11]
เครื่องดนตรีจะประกอบด้วย กีตาร์ไฟฟ้า 1 หรือ 2 ตัว, เบสไฟฟ้า, ชุดกลอง ในช่วงแรกพังก์ร็อกดูสับสน จอห์น โฮล์มสตรอม กล่าวว่า "พังก์คือร็อกแอนด์โรลในสายตาคนที่ไม่รู้เรื่องดนตรีมากนัก แต่รู้สึกได้ถึงความต้องการที่จะปลดปล่อยตัวเองในดนตรี"[12] การร้องของพังก์บางครั้งฟังเหมือนเสียงขึ้นจมูก และบ่อยครั้งที่จะตะโกนแทนที่จะร้อง ความซับซ้อนของกีตาร์บ่งบอกถึงความหลงผิดในตัวเอง[13]
เบสกีตาร์มักจะเป็นพื้นฐานทั่วไปโดยมีส่วนช่วยพยุงเมโลดี้ของเพลง มีมือเบสวงพังก์บางวงอย่าง ไมค์ วัตต์ และ ฌอง-แจ็คส์ เบอร์เนล แห่งวงเดอะสเตรนเจอร์ส จะเน้นเบสขึ้นมา มือเบสหลาย ๆ วงมักใช้ปิ๊กมากกว่าการใช้นิ้วเนื่องจากความรวดเร็วต่อเนื่องของโน้ต กลองโดยทั่วไปจะหนักและดูแห้ง จะมีการปรับแต่งเพียงเล็กน้อย เพลงพังก์มักมีความยาวระหว่าง 2 ถึง 2 นาทีครึ่ง มีบางเพลงมีความยาวน้อยกว่า 1 นาทีก็มี เพลงพังก์ในช่วงแรกรับอิทธิพลจากร็อกแอนด์โรลคือมีท่อนประสานเสียง อย่างไรก็ตามวงพังก์รุ่นใหม่อาจรวมแนวเพลง โพสต์พังก์ และ ฮาร์ดคอร์พังก์ จะไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ดังกล่าว ฮาร์ดคอร์พังก์ กลองจะเร็วขึ้น เนื้อเพลงจะกึ่งตะโกน เสียงกีตาร์ฟังดูก้าวร้าว[14]
ภาคเนื้อร้องโดยทั่วไปจะเป็นการพูดกันตรง ๆ โดยจะวิจารณ์สังคมการเมือง[15] เช่นเพลง Career Opportunities ของวงเดอะ แคลช,Right to Work ของวงเชลซี เป็นต้น ยังมีเพลงที่มีเนื้อหาตึงเครียดในลักษณะต่อต้านความรัก พรรณาถึงความสัมพันธ์ของชายหญิงและเรื่องเพศสัมพันธ์อย่างเพลง Love Comes in Spurts ของวงเดอะวอยดอยด์ส
วี. เวลกล่าวว่า "พังก์เป็นนักปฏิวัติวัฒนธรรม เผชิญหน้ากับความมืดของประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม พวกอนุรักษนิยม ข้อห้ามทางเพศ ได้ขุดในสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนออกมาโดยคนรุ่นใหม่อย่างสมบูรณ์"[16]
รูปแบบการแต่งกายของชาวพังก์ พวกเขาใส่ที-เชิร์ต สวมแจ็คเก็ตมอเตอร์ไซค์ กางเกงยีนส์ เป็นการยกย่องอเมริกันกรีซเซอร์ในยุคทศวรรษที่ 1950 ในยุคทศวรรษที่ 1980 การสักและการเจาะได้รับความนิยมในหมู่นักดนตรีพังก์และแฟนเพลง
ยุคก่อนพังก์ร็อก
[แก้]การาจร็อกและม็อด
[แก้]ในช่วงต้นและกลางยุคทศวรรษที่ 1960 วงดนตรีการาจร็อก ได้ยอมรับว่าเป็นต้นกำเนิดของดนตรีพังก์ เริ่มต้นในหลาย ๆ ที่ทางอเมริกาเหนือ วงเดอะคิงส์เม็น (The Kingsmen) การาจร็อกจากพอร์ตแลนด์ รัฐออริกอน ได้เปิดตัวด้วยเพลงดัง Louie, Louie เพลงเก่าที่นำมาทำใหม่ในรูปแบบพังก์ร็อก[17]
รูปแบบซาวนด์ที่น้อยของวงการาจร็อกหลาย ๆ วงได้รับอิทธิพลมาจากวงเดอะคิงก์ส (The Kinks) กับเพลงดัง You Really Got Me และ All Day and All of the Night ในปี 1964 ได้ถูกบรรยายว่าเป็นต้นแบบของเพลง 3 คอร์ด ของวงเดอะ ราโมนส์ในปี ค.ศ. 1978 กับเพลง I Don't Want You[18]
วงเดอะ ฮู (The Who) กับเพลง My Generation ก็ได้อิทธิพลมาจากวง เดอะคิงก์ส[19] ซึ่งวงเดอะฮูและเดอะสมอลล์เฟสเซส (The Small Faces) เป็นวงร็อกยุคก่อนหน้าที่เป็นที่รู้ดีกันว่ามีอิทธิพลให้กับวง เซ็กซ์ พิสทอลส์[20] ในปี 1966 ม็อดได้ลดความนิยมในสหรัฐอเมริกาไป การาจร็อกในอเมริกาเสื่อมความนิยมไปในไม่กี่ปี แต่แนวดนตรีใหม่ที่มาแทนคือ การาจ ซิช (garage psych) เช่นวง เดอะซีดส์ (The Seeds) ที่ต่อมาเป็นที่รู้จักในแนว โปรโตพังก์
โปรโตพังก์
[แก้]ในปี ค.ศ. 1969 มีวงจากมิชิแกน 2 วงได้ออกอัลบั้มแนวโปรโตพังก์ ถือได้ว่ามิชิแกนมีความเกี่ยวข้องกับศูนย์กลางของโปรโตพังก์ ต่อมาวงเอ็มซีไฟฟ์ (MC5) จากดีทรอยต์ ออกอัลบั้ม Kick Out the Jams "ทางวงได้ตั้งใจให้ออกมาหยาบและดิบ" เขียนโดยนิตยสารโรลลิ่ง สโตนโดย เลสเตอร์ แบงส์ "เพลงส่วนใหญ่จะค่อนข้างไม่แตกต่างกันเลย เพลงมีโครงสร้าง 2 คอร์ดแบบดิบ ๆ คุณจะเคยได้ยินมาก่อนกับวงอย่าง เดอะซีดส์ (The Seeds), บลู เชียร์ (Blue Cheer), เควสชันมาร์กแอนด์เดอะมิสทีเรียนส์ (Question Mark and the Mysterians) และ เดอะคิงส์เม็น (The Kingsmen) ความแตกต่างคือ การหลอกลวง โดยปกปิดบางส่วนของความซ้ำซากด้วยเสียงที่น่าเกลียด ในท่อน "I Want You Right Now" ฟังดูเหมือนเพลง I Want You ของวงเดอะทร็อกส์ (The Troggs)"[21]
ฤดูร้อนในปีนั้นวงเดอะสตูเจดส์ (The Stooges) ได้ออกอัลบั้มแรกโดยมีอิกกี ป็อป เป็นนักร้องนำอัลบั้มนี้โปรดิวซ์โดย จอห์น เคล อดีตสมาชิกวงร็อก เดอะเวลเวตอันเดอร์กราวด์ (The Velvet Underground) อัลบั้มนี้เป็นแรงบันดาลใจไม่ทางตรงก็ทางอ้อมให้กับการเกิดของดนตรีพังก์[22]
ทางฝั่งตะวันออกวงนิวยอร์กดอลส์ (New York Dolls) ได้ถือกำเนิดแฟชั่นร็อกแอนด์โรลแบบดุร้าย ที่ต่อมารู้จักกันในนามของ แกลมพังก์ (glam punk) [23] ในรัฐโอไฮโอวงร็อกอันเดอร์กราวนด์ได้ปรากฏออกมา นำโดย ดีโว (Devo) จากเมื่องแอเครินและเคนต์ เดอะอิเล็กทริกอีลส์ (The Electric Eels), มิเรอส์ (Mirrors) และ ร็อกเก็ตฟอร์มเดอะทูมส์ (Rocket from the Tombs) จากเมื่องคลีฟแลนด์
ในลอนดอน ดนตรีร็อกได้กลับคืนสู่สามัญ และได้ปูพื้นให้นักดนตรีหลายคนสู่วงการเพลงพังก์เช่นวงเดอะสเตรงเลอส์ (The Stranglers), ค็อคสปาร์เรอร์ (Cock Sparrer) และ โจ สตรัมเมอร์ ซึ่งต่อมาคือสมาชิกวงเดอะแคลช[24]
ในออสเตรเลีย วงการาจร็อกรุ่นใหม่หลายวงได้เป็นแรงบันดาลใจให้กับ เดอะสตูเจดส์ และ เอ็มซีไฟฟ์ (MC5) ที่มีซาวน์ดนตรีที่ใกล้เคียงกับความเป็นพังก์ที่สุดในบริสเบนวงเดอะเซนส์ (The Saints) ได้เล่นเพลงดิบ ๆแบบอังกฤษ และได้ทัวร์ในออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ในปี 1965[25] สถานีวิทยุเบิร์ดแมนได้เล่นเพลงการแสดงสดเล็ก ๆ นี้ด้วย แต่ความคลั่งไคล้ได้ตามมาถึงซิดนีย์
ที่มาของคำว่าพังก์
[แก้]ก่อนกลางทศวรรษที่ 1970 คำว่าพังก์ เป็นคำเก่าแก่ที่มีความหมายคลุมเครือ มักใช้อธิบายถึงผู้ชายหากิน พวกนักเลงอันธพาล นักเลงหัวไม้[26] เลคส์ แม็คนีลอธิบายว่า "เมื่อคุณดูรายการโทรทัศน์เกี่ยวการตามล่าคนร้ายของตำรวจ เวลาตำรวจจับผู้ร้าย พวกเค้ามักจะพูดว่า 'you dirty Punk' ถ้าครูเรียกคุณอย่างนั้นก็หมายความว่า คุณต่ำที่สุด"[27] ความหมายของคำว่าพังก์ชัดเจนขึ้นโดย นักวิจารณ์เพลงร็อก เดฟ มาร์ชในปี 1970 เมื่อเขาได้อธิบายลักษณะดนตรีและทัศนคติของวงเควสชัน มาร์ค แอนด์ เดอะ มิสทีเรียนส์ [28] เดือน มิถุนายน ค.ศ. 1972 นิตยสารแฟลชได้จัดอันดับ "เพลงพังก์สิบอันดับ" แห่งทศวรรษที่ 60[29]
ในปี 1975 พังก์ได้ใช้อธิบายถึงการกระทำหลายๆอย่างของวง แพตตีสมิธกรุป (Patti Smith Group), เดอะเบย์ซิตีโรลเลอส์ (Bay City Rollers) และ บรูซ สปริงส์ทีน[30] ที่นิวยอร์ก คลับ CBGB คลับที่หาแนวเพลงใหม่ๆ เจ้าของคลับคือ ฮิลลี คริสตัล ส่วนจอห์น โฮล์มสตรอมได้ให้เครดิต นิตยสารอควาเรียนเกี่ยวกับพังก์ว่า "เป็นการอธิบายว่าอะไรเกิดขึ้นใน CBGB บ้าง"[31] ซึ่งต่อมา โฮล์มสตรอมร่วมกับ แม็คนีล และ เก็ด ดันน์ ทำนิตยสารที่ชื่อว่า "พังก์" เปิดตัวปลายปี 1975 ซึ่งถือเป็นจุดสำคัญของคำว่าพังก์[32] โฮล์มสตรอมกล่าวว่า "มันเป็นอะไรที่ดีที่คำนี้มันดังขึ้นมา เราคิดคำนี้ได้ก่อนที่ใครจะคิดได้ เราต้องการขจัดร็อกแอนด์โรลงี่เง่าออกไป สิ่งที่เราต้องการคือความสนุกและน่าตื่นเต้น"[33]
ประวัติ
[แก้]นิวยอร์ก
[แก้]ต้นกำเนิดของนิวยอร์กพังก์สามารถสืบต้นตอไปถึงปลายยุคทวรรษที่ 1960 กับวัฒนธรรมขยะ และ ต้นยุคทวรรษที่ 1970 กับการเคลื่อนไหวของอันเดอร์กราวนด์ร็อก มีจุดศูนย์กลางอยู่แถว เมอร์เซอร์ อาร์ทส เซ็นเตอร์ ใน กรีนิช วิลเลจที่ที่ นิวยอร์ก ดอลส์ได้แสดง[34] ในปี 1974 CBGB ได้กลายเป็นสถานที่ประจำของวงดนตรีที่เล่นเพลงเสียงดัง ๆ และดนตรีที่ซับซ้อน ริชาร์ด เฮลล์ได้ริเริ่มรูปแบบการแต่งตัวแบบ แจ็คเก็ตหนัง เสื้อทีเชิร์ตขาดๆ กางเกงขาสั้น ทรงผมที่ดูสกปรก[35]
ต้นปี 1975 เฮลล์ได้เขียนเพลง Blank Generation โดยได้บันทึกเสียงกับวงใหม่ เดอะ วอยดอยด์ส ที่ออกวางขายในปี 1976[36] เดือน สิงหาคม 1975 บลอนดีย์ได้ออกซิงเกิล Little Johnny Jewel คำวิจารณ์ของ จอห์น วอล์กเกอร์อธิบายว่า "นี่ถือเป็นจุดเปลี่ยนของเพลงในนิวยอร์ก"[37] อีกคนนึงที่เล่นประจำที่คลับนี้คือ แพตติ สมิธ ที่ได้พัฒนาในรูปแบบของผู้หญิง อัลบั้มแรกคืออัลบั้ม Horses ที่โปรดิวซ์โดย จอห์น เคล ออกวางจำหน่ายเดือนพฤศจิกายน 1975[38]
ไซร์เออเรเคิดส์ ได้ออกแผ่นแรกกับ เดอะราโมนส์ ซิงเกิล Blitzkrieg Bop ถือเป็นการเปิดตัวของพังก์อย่างเป็นทางการ ออกวางขายช่วงเดือนธันวาคม[39] และมีนิตยสารใหม่ๆเกิดขึ้นพร้อมกับศิลปินอย่าง เวลเว็ต อันเดอร์กราวนด์ ,เดอะ สตูกส์ และ นิวยอร์ก ดอลลส์ โดยมีจุดศูนย์กลางอยู่ที่ CBGB และ แม็กซ์ แคนซัส ซิตี้ มีศิลปินเช่น เดอะราโมนส์, เทเลวิชัน (Television), เดอะฮาร์ตเบรกเกอร์ส (The Heartbreakers), แพตตี สมิธ (Patti Smith), บลอนดี (Blondie), ทอล์กกิงเฮดส์ (Talking Heads) และอื่นๆ[40] คำว่าพังก์เริ่มเป็นที่รู้จักทั่วไป ริชาร์ด เฮลล์ได้ริเริ่มลักษณะเฉพาะตัวขึ้นมา[41]
สหราชอาณาจักรและออสเตรเลีย
[แก้]หลังจากที่ได้ทำงานจัดการกับวงนิวยอร์กดอลส์ (New York Dolls) ในระยะเวลาสั้นๆ มาลคอล์ม แม็คลาเรน (Malcolm McLaren) ได้กลับมาลอนดอนเดือนพฤษภาคม 1975 เขาได้รับแรงบันดาลใจจากสิ่งที่เขาเห็นใน CBGB โดยเขาได้เปิดร้าน SEX (ร่วมกับวิเวียน เวสต์วูด) ร้านเสื้อผ้าที่ปฏิวัติวงการแฟชั่น ขายเสื้อผ้าขาดๆ เครื่องห้อยต่างๆ ชุดหนังต่างๆ โดยต่อมาได้รับความนิยมในหมู่พังก์[42] เขาก็ได้มีส่วนร่วมกับวงเดอะสแวงเกอส์ (The Swankers) ที่ต่อมาคือวง เซ็กซ์พิสทอลส์
4 กรกฎาคม ค.ศ. 1976 วงเดอะ ราโมนส์และเดอะ สเตรนเจอร์ส ได้เปิดคอนเสิร์ตที่ราวด์เฮาส์ในลอนดอน โดยมีผู้ชมร่วม 2 พันคน[43] คืนต่อๆมา สมาชิกวงเซ็กซ์ พิสทอลส์ และเดอะ แคลช ได้ร่วมคอนเสิร์ตกับวงเดอะราโมนส์[44] คอนเสิร์ตเหล่านี้เป็นจุดสำคัญของวงการพังก์ร็อกในอังกฤษที่เพิ่งเริ่มต้นขึ้น[45] หลายเดือนผ่านไปมีวงพังก์เกิดขึ้นอีกหลายวง โดยได้รับแรงบันดาลใจจากวงเซ็กซ์ พิสทอลส์[46] ในลอนดอนได้เกิดวงอย่าง เดอะแดมน์ (The Damned), เดอะ ไวเบรเตอส์ (The Vibrators), เดอะสลิตส์ (The Slits), เอกซ์-เรย์ สเป็กซ์ (X-Ray Spex), ซูซีแอนด์เดอะแบนชีส์ (Siouxsie and the Banshees), อีตเตอร์ (Eater), เดอะ ซับเวอร์วิฟส์ (The Subversives), ดิแอดเวิร์ตส์ (The Adverts), และในย่านเชลซีมีวงเกิดอย่าง เจเนอเนอเรชันเอกซ์ (Generation X) และวง แชม 69 (Sham 69) ก็เริ่มต้นทางตะวันออกเฉียงใต้ของเมือง เฮอร์แชม (มณฑลเซอร์รีย์) ส่วนในแมนเชสเตอร์ เกิดวงอย่าง เดอะบัซค็อกส์ (The Buzzcocks) ที่ต่อมาคือวง วอร์ซอว์ (Warsaw) และจอยดิวิชัน (Joy Division) ที่หลายๆที่ในอังกฤษ วงเหล่านี้ได้ทดลองดนตรีทดลอง และมีหลายวงอย่าง เดอะแจม (The Jam), ค็อก สปาร์เรอร์ ก็ได้ลองมาสู่กระแสพังก์
คลินตัน เฮย์ลิน นักเขียนคอลัมน์ร็อกได้อธิบายไว้ว่า "วงแกล็มเหล่านี้ได้รับอิทธิพลของวัยรุ่นต้นยุคทศวรรษที่ 1970 อย่าง ที. เร็กซ์ (T.Rex), สเลด (Slade) และ ร็อกซีมิวสิก (Roxy Music)[47]
ในขณะที่พังก์ได้เข้าถึงสหราชอาณาจักร เช่นเดียวกับวงการใต้ดินในออสเตรเลีย
กลับมาสู่ที่อังกฤษ เพลง Anarchy in the U.K. โดยเซ็กซ์ พิสทอลส์ ขึ้นชาร์ทในเดือน กันยายน 1976 และวงเดอะ เซนต์ เป็นวงพังก์วงแรกที่ไม่ใช่วงจากอเมริกาที่ออกขายซิงเกิล คือเพลง (I'm) Stranded[48] ทางฝั่งออสเตรเลีย ที่เพิร์ธ วงพังก์อย่าง ชีพ นาสตีส์ได้เริ่มฟอร์มวง
เดอะแดมน์ (The Damned) เป็นวงพังก์จากอังกฤษวงแรกที่ออกซิงเกิลโดยออกเพลง New Rose[49] ต่อมาเซ็กซ์พิสทอลส์ (Sex Pistols), เดอะแคลช (The Clash), เดอะแดมน์ และ เดอะฮาร์ตเบรกเกอส์ (The Heartbreaker) ได้รวมกันออกทัวร์ที่ชื่อว่า Anarchy Tour แสดงคอนเสิร์ตทั่วสหราชอาณาจักร โดยหลายที่ในทัวร์ถูกยกเลิกไปเนื่องจากสื่อได้วิจารณ์ในแง่ร้าย[50]
คลื่นลูกถัดไป
[แก้]ในขณะที่กระแสพังก์ร็อกได้แพร่ขยายอย่างรวดเร็วในสหราชอาณาจักรตั้งแต่ช่วงปี 1976 โดยในปี 1977 วงรุ่นใหม่ได้รับความนิยมทั้งในสหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และ แคนาดา กระแสนิยมอยู่ในท้องถิ่นนั้นๆ มีการจัดการอย่างกระตือรือร้นโดย เจ้าของคลับ ผู้จัดคอนเสิร์ต ในสถานที่ต่างๆอย่าง โรงเรียน โรงรถ โกดังเก็บของ มีการโฆษณาโดยใช้ใบปลิว ใบปิด นิตยสารสำหรับแฟนเพลง เป็นลักษณะแบบ D.I.Y (do-it-yourself) ซึ่งต่อต้านการค้าแบบธุรกิจ[51]
ความแพร่หลายของแคลิฟอร์เนียพังก์เริ่มขึ้นและพัฒนาในช่วงต้นปี 1976 มีวงอย่าง เดอะเวียโดส (The Weirdos), เดอะดิลส์ (The Dils), เดอะสครีมเมอส์ (The Screamers), เดอะดิกกีส์ (The Dickies), เอกซ์ (X), เดอะโก-โกส์ (The Go-Go's), เดอะซีโรส์ (The Zeros) และ เดอะแบกส์ (The Bags) จากเมื่องลอสแอนเจลิส[52] และพังก์ได้เติบโตในซานฟรานซิสโก, วอชิงตัน ดี.ซี. ส่วนในนิวยอร์กที่ที่เป็นต้นกำเนิดของพังก์ มีความนิยมในแนวย่อยใหม่อย่าง "โนเวฟ" แต่วงดั้งเดิมอย่าง เดอะราโมนส์ ก็คงยังเล่นอยู่ ในนิวเจอร์ซีย์ วงมิสฟิตส์ ได้ถือกำเนิดขึ้นในช่วงนั้น โดยในปี 1978 ได้พัฒนาแนวทางจนเป็นที่รู้จักกันในแนว ฮอร์เรอร์พังก์ ในแคนาดา ได้กำเนิดวงพังก์อีกมากมาย เช่น เดอะดีมิกซ์ (The Demics), เดอะโกเวอร์เมนต์ (The Government) เป็นต้น
ในช่วงปี 1978-79 ฮาร์ดคอร์พังก์ได้เกิดขึ้นในแคลิฟอร์เนียใต้และวอชิงตัน ดีซี ฮาร์คอร์พังก์มีลักษณะดนตรีแบบใหม่ที่ดูวัยรุ่นกว่า นิยมในหมู่ชานเมือง ต่อต้านพวกปัญญาชน และรุนแรงยิ่งกว่า ในลอสแอนเจลิส พังก์เป็นที่รู้จักในชื่อ ฮอลลีวูดพังก์ และ บีชพังก์ โดยเป็นที่นิยมในแถบเซาธ์เบย์ และ ออเรนจ์ เคาน์ตี[53] และด้วยความโดนเด่นของฮาร์ดคอร์พังก์ วงแคลิฟอร์เนียพังก์เริ่มที่จะกลับมาทำฮาร์ดคอร์พังก์ เช่นวงเดอะ โก-โกส์ และ เอกซ์ ซึ่งประสบความสำเร็จในกระแสหลัก[54]
พังก์ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางในกระแสเพลงใต้ดินในอเมริกาเหนือและออสเตรเลียในช่วงยุคทศวรรษที่ 70 ในสหราชอาณาจักรพังก์ในอังกฤษมีความหลากหลายมากขึ้น และเข้าสู่กระแสหลัก[55] วงเดอะ แคลชกับอัลบั้มแรก สามารถขึ้นชาร์ทอันดับที่ 12 ในเดือนพฤษภาคม 1977 วงเซ็กซ์พิสทอลส์ มีซิงเกิลฮิตอันดับ 2 คือเพลง God Save the Queen และมีวงหลายๆวงเกิดขึ้น ในชื่อที่เป็นที่รู้จักในแนว "สตรีตพังก์" ความหลากหลายของเพลงขยายไปมากขึ้นโดยมีการใช้เครื่องดนตรีที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น วงรุ่นใหม่หลายๆวงใช้เครื่องสังเคราะห์เสียง[56] วงเดอะแคลชได้นำเพลง Police and Thieves มาทำใหม่ในสไตล์จาไมกา เร้กเก้[57] ส่วนวงยุคแรกๆอย่าง เดอะสลิตส์ และ เดอะโพลิส (The Poilice) ได้ทำเพลงผสมพังก์ในสไตล์เร้กเก้และสกา เป็นเพลงรูปแบบใหม่ ในชือแนว "ทูโทน" อย่างเช่นวง เดอะสเปเชียลส์ (The Specials), เดอะ บีท (The Beat), แมดเนสส์ (Madness) เป็นต้น[58]
ในเยอรมนีตะวันตก วงไอดีล (Ideal), เอกซ์ตราบรีต (Extrabreit) และ นีนา (Nena) ได้รับความนิยมในเพลงกระแสหลัก ส่วนในฝรั่งเศส ศิลปินแนวพรี-พังก์อย่าง ลู รีดได้เรียกตัวเองว่า les punk[59] พังก์ยังได้รับความนิยมในประเทศอื่นๆอย่าง เบลเยียม, เนเธอร์แลนด์, ญี่ปุ่น, สวิตเซอร์แลนด์ และ สวีเดน
ความหลากหลายของพังก์
[แก้]ในช่วงปลายยุคทศวรรษที่ 70 ดนตรีพังคได้แตกแยกแขนง ไปหลากหลายทิศทาง โดยได้ผสมผสานความเป็นศิลปะ ของกลุ่มคนชั้นกลางผู้ต้องการความแตกต่าง และกลุ่มคนชั้นแรงงาน[60] นี่เป็นที่มาของเพลงแนว นิวเวฟ และ โพสต์พังก์ โดยหลายวงได้ทำการทดลองแนวดนตรีไปในทิศทางอื่น เช่นแนว ฮาร์ดคอร์พังก์ และ ออย! และ อะนาร์โค-พังก์ ในบขณะที่ ป็อปพังก์มีคนเคยกล่าวว่า เป็นการรวมระหว่างแอ็บบ้า กับ เซ็กซ์พิสทอลส์[61]
ความหลายหลายได้เกิดขึ้น หลายๆแนวเริ่มรวมกันกับแนวอื่น อย่างเช่นวงเดอะ แคลชในอัลบั้ม London Calling ได้รวมเร้กเก้ สกา อาร์แอนด์บี ร็อกอะบิลลี กับพังก์ ซึ่งถือว่าเป็นอัลบั้มที่ดีที่สุดอัลบั้มหนึ่งก็ว่าได้[62]
นิวเวฟ
[แก้]นิวเวฟเป็นแนวเพลงย่อยของพังก์แรกๆ ในช่วงนั้นวงอย่าง ทอล์กกิงเฮดส์ (Talking Heads), บลอนดี (Blondie), ดีโว (Devo) และ เดอะโพลิซ (The Police) ได้ทำให้ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง โดยเพลงมีจังหวะที่สามารถเต้นรำได้ ทางภาคโปรดักชันที่ดูสละสลวยขึ้นกว่าพังก์ ทำให้เรียกว่า นิวเวฟ โดยมีองค์ประกอบของพังก์ยุคเริ่มแรกอยู่และแฟชั่น บวกความเป็นป็อปเข้าไปและดูอันตรายน้อยลง ตัวอย่างวงนิวเวฟเช่น เดอะคาส์ (The Cars) และ เอลวิส คอสเตลโล (Elvis Costello) ที่ได้รับความนิยมทั้งอังกฤษและอเมริกา
ดนตรีนิวเวฟได้เข้าสู่แนวดนตรีกระแสหลัก มีพังก์เป็นต้นแบบ มีการรวมแนวเพลงอย่าง ทูโทนสกา เป็นต้น ต่อมากระแสเพลงแนวนิวโรแมนติกได้รับความนิยม เช่นวง ดูแรนดูแรน (Duran Duran) และวงซินธ์ป็อปอย่าง ดีเพเช โมด ดนตรีนิวเวฟกลายเป็นวัฒนธรรมป็อปและการเกิดของสถานีโทรทัศน์ทางดนตรีช่อง เอ็มทีวี ในปี 1981 ที่ได้เล่นเพลงประเภทนิวเวฟอยู่[63]
โพสต์พังก์
[แก้]ในสหราชอาณาจักรแนวโพสต์-พังก์ ได้เกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง มีวงอย่าง เดอะฟอลล์ (The Fall), จอยดิวิชัน (Joy Division), แกงออฟโฟร์ (Gang of Four) เป็นต้น มีบางวงอย่าง ซูซีแอนด์เดอะแบนชีส์และเดอะ สลิทตส์ได้แปลจากวงพังก์เป็นวงโพสต์-พังก์ ทางด้านดนตรีมักจะเป็นดนตรีทดลอง เหมือนวงแนวนิวเวฟ ลักษณะแนวเพลงนิวเวฟจะมีลักษณะไม่ค่อยจะเป็นเพลงป็อป ดูหม่น ๆ ดูกัดกร่อน ในบางครั้งจะไม่มีท่วงทำนอง และได้รับอิทธิพลจากดนตรีอาร์ตร็อกอย่าง แคปเทน บีฟฮาร์ต และ เดวิด โบอี เป็นต้น ในทางเนื้อเพลงจะเป็นการเขียนเนื้อเพลงแบบใหม่[64]
วงอย่าง นิวออร์เดอร์ (New Order) และ ยูทู (U2) ที่ดังข้ามไปฝั่งอเมริกาสู่กระแสหลัก แต่บางวงก็ดังในกลุ่มเล็กอย่าง แกงออฟโฟร์ (Gang of Four) และ เดอะเรนโคทส์ (The Raincoats) เป็นต้น แต่อย่างไรก็ดีแนวเพลงได้แสดงให้เห็นถึงความสำคัญในวัฒนธรรมเพลงป็อปด้วย[65]
ฮาร์ดคอร์พังก์
[แก้]ฮาร์ดคอร์พังก์มีลักษณะถึงความเร็ว จังหวะที่ก้าวร้าว และมักพูดถึงเรื่องการเมือง ถูกพัฒนาช่วงปลายทศวรรษที่ 70 ในสหรัฐอเมริกา นักเขียนชื่อ สตีเวน บลุช กล่าวว่า "ฮาร์ดคอร์พังก์เริ่มมาจากแถบชานเมืองอันเงียบเหงาในอเมริกา ผู้ปกครองที่ได้ย้ายเด็กออกจากเมืองใหญ่สู่ชานเมืองนี้ ได้ทำให้เห็นถึงความเป็นจริงของเมืองและก็สุดท้ายก็จบลงด้วยปีศาจพันธุ์ใหม่นี้"[66]
ฮาร์ดคอร์พังก์เกิดขึ้นแถบทางใต้ของแคลิฟอรืเนียในช่วงปี ค.ศ. 1978–79 ตามมาด้วยวอชิงตัน ดีซี และแพร่ขยายไปทั่วอเมริกาเหนือและทั่วโลก[67]
ในช่วงแรกวงแรกๆมี แบล็กแฟลก (Black Flag) และ มิดเดิลคลาส (Middle Class), แบดเบรนส์ (Bad Brains) และ ทีนไอเดิลส์ (Teen Idles) ก็ได้เกิดขึ้นแทบ วอชิงตัน ดีซี[68] วงบางวงอย่าง เดด เคนเนดีส์ได้เปลี่ยนมาเป็นฮาร์ดคอร์พังก์ ส่วนในนิวยอร์กแนวนี้เริ่มเกิดขึ้นในปี 1981 โดยการนำอย่างวง แอกนอสติกฟรอนต์ (Agnostic Front), เดอะโคร-แม็กส์ (The Cro-Mags), เมอร์ฟีส์ลอว์ (Murphy's Law) และ ยูทออฟทูเดย์ (Youth of Today)[69]
เนื้อเพลงของวง เดด เคนเนดีส์ในเพลง Holiday in Cambodia แสดงให้เห็นการวิจารณ์สังคมการค้าและค่านิยมของชนชั้นกลาง[70]
ช่วงต้นยุค 1980 วงทางตะวันตกเฉียงใต้ของอเมริกาและแคลิฟอร์เนียอย่างวง เจเอฟเอ (JFA), เอเจนต์ออเรนจ์ (Agent Orange) และ เดอะแฟกชัน (The Faction) ได้สร้างทิศทางดนตรีใหม่ให้กับฮาร์ดคอร์พังก์ในแนวใหม่ เรียกว่า สเกตพังก์
โอย! (Oi!)
[แก้]ตามกระแสวงพังก์ยุคแรกในสหราชอาณาจักร อย่างวง ค็อคสปาร์เรอร์ (Cock Sparrer) และ แชม 69 (Sham 69) ในช่วงปลายทศวรรษที่ 70[5] คลื่นลูกต่อมาอย่าง ค็อคนีย์รีเจกส์ (Cockney Rejects), แอนเจลิกอับสตาร์ตส์ (Angelic Upstarts), ดิเอกซ์พลอเตด (The Exploited) และ เดอะโฟร์สกินส์ (The 4-Skins) ได้หาสิ่งใหม่ ๆ ให้กับชนชั้นกรรมาชีพ[71]
วงเหล่านี้มักเรียกว่า รีลพังก์ หรือ สตรีตพังก์ แกรี บัชเชล ได้อธิบายแนวเพลง Oi! ว่า "แนวนี้ได้มาจากวง เดอะ ค็อคนีย์รีเจกส์ ที่มักจะตะโกนว่า "Oi! Oi! Oi!" ก่อนที่จะเล่นเพลง แทนที่คำว่า "1, 2, 3, 4!"[72] ส่วนเนื้อเพลงจะสะท้อนให้เห็นความแข็งกร้าว หยาบคาย แสดงสภาพความเป็นจริงในยุคมาร์กาเรต แทตเชอร์ ในสหราชอาณาจักรช่วงปลายทศวรรษที่ 1970 ถึงต้นทศวรรษที่ 1980
กระแสของ Oi! ถูกกระตุ้นโดยกระแสพังก์ในช่วงนั้น สตีฟ เคนต์นักกีตาร์มืออาชีพกล่าวว่า "พวกเด็กมหาวิทยาลัยมักจะใช้คำยาว ๆ ในการแต่งเพลง และพยายามทำตัวเองให้เป็นศิลปิน"[73] ข้อบัญญัติอย่างนึงของ Oi!คือ ต้องไม่เสแสร้งและเข้าถึงได้ และ Oi! คือความเป็นจริงของพังก์ ที่ที่วงพวกนี้ได้เกิดขึ้น มันโหดร้ายและก้าวร้าวมาก[74]
วง Oi! ในช่วงแรกจะไม่สนใจเรื่องการเมือง อย่างไรก็ตาม วง Oi! หลายวงเริ่มที่จะสนใจสกินเฮดแบบนาซี ถึงแม้วงหลายวงจะไม่ได้สนับสนุนนาซีก็ตาม บางครั้งกลุ่มสกินเฮดที่เหยียดสีผิวจะเข้ามาขัดขวางการแสดงคอนเสิร์ตของพวก Oi! โดยจะตะโกนคำขวัญของลัทธิฟาสซิสท์ และพยายามก่อความวุ่นวาย วง Oi! หลายวงได้ต่อต้านกับแฟน ๆ การเข้าถึงของกลุ่มคนชั้นกลาง[75]
เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม ค.ศ. 1981 ในคอนเสิร์ตในเซาธ์ฮอล ที่มีวงอย่าง เดอะบิสเนส (The Business), เดอะโฟร์สกินส์ และ เดอะลาสต์รีสอร์ต (The Last Resort) ถูกลอบวางระเบิดโดยกลุ่มเด็กวัยรุ่นชาวเอเชีย เพราะความเข้าใจผิดว่าเป็นงานของนีโอนาซี[76] หลังจากนั้นสื่อมวลชนได้ลงข่าวเกี่ยวกับเหตุการณ์ครั้งนี้เกี่ยวกับความถูกต้อง และเพลงแนว Oi! ก็ได้ลดความนิยมไป[77]
อะนาร์โค-พังก์
[แก้]อะนาร์โค-พังก์ (Anarcho-Punk) มาจากคำสองคำ คือ อนาธิปไตย (Anarchism) (อนาธิปไตยหมายถึงแนวคิดการเมืองแบบไร้ผู้นำ) และ พังก์ (Punk) เป็นแนวดนตรีที่สร้างงานดนตรีโดยเสนอเนื้อหาเชิง อนาธิปไตย ซึ่งจริง ๆ แนวพังก์ร็อกก็เป็นแนวที่ต่อต้านระบอบแบบแผน และต่อต้านสังคมอนุรักษนิยมอยู่แล้ว[78]
อะนาร์โค-พังก์ได้พัฒนาไปพร้อมกับ Oi! และกระแสอเมริกันฮาร์ดคอร์ ด้วยรูปแบบดนตรีพังก์ดั้งเดิม ตรงไปตรงมามาก (การใช้คอร์ดน้อย เมโลดี้เรียบ ๆ ในแบบพังก์) และการร้องแบบตะโกนโวยวาย เช่นวงอย่าง คราส (Crass), ซับฮิวเมนส์ (Subhumans), ฟลักซ์ออฟพิงก์อินเดียนส์ (Flux of Pink Indians), คอนฟลิกต์ (Conflict), พอยสันเกิร์ลส์ (Poison Girls) และ อะพอสเติลส์ (The Apostles) พยายามที่จะเปลี่ยนพังก์ร็อกที่ใส่แนวคิดทางด้านอนาธิปไตยเข้าไป[79]
อะนาร์โค-พังก์ในยุคเริ่มนั้นเป็นการแสดงตัวตนและได้แสดงศิลปะอย่างชัดเจนนอกจากนี้ยังมีการสนับสนุนสโลแกน "DIY not EMI" (DIY = Do It Yourself) อันเป็นเหมือนการปฏิเสธค่ายใหญ่ และแสดงออกทางจุดยืนในการต่อต้านระบบทุนไปในตัว โดยอาศัยเครือข่ายและระบบความสัมพันธ์เป็นหลักในการเผยแพร่งาน อะนาร์โค-พังก์ได้แพร่ขยายไปยังแนวพังก์ย่อยแนวอื่น อย่าง พอยสัน เกิร์ลส,คอนฟลิกต์ พัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ จนเป็นแนวฮาร์ดคอร์พังก์[78]
ป็อปพังก์
[แก้]ด้วยความรักในวงเดอะบีชบอยส์ และแนวบับเบิลกัมป็อปในช่วงปลายทศวรรษที่ 1960 วงเดอะ ราโมนส์ได้ปูทางไว้ที่รู้จักกันเป็นอย่างดีในชื่อของ ป็อปพังก์[80] ในช่วงปลายทศวรรษที่ 70 วงจากสหราชอาณาจักรอย่าง บัซค็อกส์ และ ดิ อันเดอร์โทนส์ ได้รวมแนวเพลงป็อปเข้ากับเนื้อเพลงแบบพังก์ทีดูรวดเร็วและยุ่งเหยิง[81]
ช่วงต้นยุคทศวรรษที่ 1980 วงฮาร์ดคอร์ร็อกแนวหน้าแถบแคลิฟอร์เนียใต้ได้ย้ำโดยทำเมโลดี้ที่สละสลวยมากขึ้นกว่าทั่วไป เอพิแทฟเรเคิดส์ (Epitaph Records) ได้ค้นพบสมาชิกวงแบด รีลิเจียน ซึ่งต่อมาเป็นรากฐานให้กับวงป็อปพังก์หลาย ๆ วง รวมถึง โนเอฟเอกซ์ ที่ได้รับอิทธิพลจากสกา และจังหวะของสเก็ตพังก์ ส่วนวงที่เชื่อมพังก์ร็อกด้วยเมโลดี้แบบป็อป เช่นวงเดอะเควียร์ (The Queers) และ สครีชชิงวีเซล (Screeching Weasel) ได้กระจายทั่วประเทศ วงอย่างกรีนเดย์ (Green Day) ได้นำกระแสป็อปพังก์สู่กระแสหลัก และมีวงอย่างเดอะแวนดาลส์ (The Vandals) และ กัตเตอร์เมาธ์ (Guttermouth) ได้พัฒนาโดยรวมเมโลดี้แบบป็อปกับความตลกขบขันและก้าวร้าวด้วยกัน[82]
พังก์ยุคใหม่
[แก้]ออลเทอร์นาทิฟร็อก
[แก้]วงพังก์ร็อกใต้ดินเกิดขึ้นมาด้วยนับไม่ถ้วน ทั้งเกิดขึ้นมาโดยซาวด์ดนตรีแบบพังก์และได้ประยุกต์ในเจตนารมณ์ของ DIY สู่ความแตกต่างหลากหลายของดนตรี จนกระทั่งต้นยุคทศวรรษที่ 1980 วงในสหราชอาณาจักรอย่างนิวออร์เดอร์ (New Order) และ เดอะเคียว (The Cure) ได้พัฒนาดนตรีรูปแบบใหม่โดยยึดหลักจากแนวโพสต์พังก์และนิวเวฟ ส่วนในอเมริกาวงอย่าง ฮุสเกอร์ดุ (Hüsker Dü) และวงที่ตามมาอย่าง เดอะรีเพลซเม็นส์ (The Replacements) ได้เชื่อมช่องว่างระหว่างแนวพังก์อย่างฮาร์ดคอร์และดนตรีที่ตอนนั้นเรียกว่า คอลเลจร็อก[83]
ในปี ค.ศ. 1985 นิตยสารโรลลิ่งสโตนได้เขียนเกี่ยวกับวงอย่าง แบล็กแฟล็ก (Black Flag), ฮุสเกอร์ดุ, มินิตเม็น (Minutemen) และเดอะรีเพลซเม็นส์ ว่า "วงพังก์ดั้งเดิมได้ผ่านไปแล้ว วงพังก์ร็อกอเมริกันที่ดีที่สุดได้เข้ามาแทน พวกเขาได้รู้จักว่าการเล่นดนตรีเป็นอย่างไร และได้ค้นพบเมโลดี้ การโซโล่กีตาร์ และเนื้อเพลงที่มีอะไรมากไปกว่าการตะโกนคำขวัญทางการเมือง"[84] โดยช่วงสิ้นสุดทศวรรษที่ 1980 วงเหล่านี้ได้แปลเปลี่ยนมาเป็นออลเทอร์นาทิฟร็อก โดยออลเทอร์นาทิฟร็อกได้รวมความหลากหลายของสไตล์ อย่าง อินดี้ร็อก, โกธิกร็อก, กรันจ์ และอื่น ๆ ทำให้เป็นหนึ่งเดียวกันโดยอยู่ในต้นแบบของพังก์ร็อกสู่กระแสนิยมทางด้านดนตรี[85]
วงออลเทอร์นาทิฟอย่าง โซนิกยูท (Sonic Youth) ที่ได้โตขึ้นจากแนวโนเวฟ และวงจากบอสตันอย่างพิกซี่ ได้เริ่มมีกลุ่มคนฟังที่กว้างขวางขึ้น[86] ในปี 1991 วงเนอร์วานา (Nirvana) ได้เกิดขึ้นในกระแสของเพลงแนวกรันจ์ และได้ประสบความสำเร็จทางด้านธุรกิจกับอัลบั้มที่ 2 ของพวกเขา Nevermind เนอร์วาน่าได้สดุดีว่าพังก์เป็นอิทธิพลสำคัญของดนตรีพวกเขา[87] เคิร์ต โคเบนนักร้องนำวงเนอร์วาน่าได้เขียนไว้ว่า "พังก์คือดนตรีที่อิสระ มันพูด กระทำ และเล่นในสิ่งที่คุณต้องการ"[88] การประสบความสำเร็จขอวงเนอร์วาน่าได้เป็นตัวกระตุ้นให้กระแสอัลเทอร์เนทีฟร็อกดังขึ้นมา และได้เป็นส่วนหนึ่งของแนวดนตรีที่ได้รับความนิยมในทศวรรษที่ 1990 ด้วย[89]
เควียร์คอร์ (Queercore) และไรออตเกิร์ล (riot grrrl)
[แก้]ในทศวรรษที่ 1990 วงพังก์บางวงมีสมาชิกเป็นเกย์ อย่างเช่น ฟิฟธ์ คอลัมน์ (Fifth Column), ก็อดอีสมายโคไพล็อต (God Is My Co-Pilot), แพนซีดิวิชัน (Pansy Division), ทีมเดร็ช (Team Dresch) และ ซิสเตอร์จอร์จ (Sister George) พวกเขาได้พัฒนาเพลงแนวเควียร์คอร์ ถึงแม้ว่าจะมีต้นกำเนิดมาจากพังก์ แต่ก็แพร่ขยายไปในแนวดนตรีที่หลากหลาย อย่างฮาร์ดคอร์, อินดี้ร็อก, พาวเวอร์ป็อป, โนเวฟ, น็อยส์, เอกซ์เพอร์ริเม็นทอล และ อินดัสเทรียล เนื้อเพลงของเควียร์คอร์ มักจะเกี่ยวกับ ความอคติ, อัตลักษณ์ทางเพศ, สิทธิส่วนบุคคล โดยอาจกล่าวทั้งในทางขบขันหรือกิริยาท่าทางที่จริงจัง
ในปี ค.ศ. 1991 คอนเสิร์ต Love Rock Revolution Girl Style Now ที่จัดขึ้นในโอลิมเปีย,วอชิงตัน ได้ประกาศการเกิดขึ้นของเพลงแนว riot grrrl[90] ศิลปินที่มาร่วมงาน รวมถึงวงหลายวงที่มีผู้หญิงเป็นแกนนำอย่าง บิกินิคิล (Bikini Kiss), แบรตโมบายล์ (Bratmobile) และ เฮฟเวนส์ทูเบ็ตซี (Heavens to Betsy)
นักร้องนำวงบิกินิคิล ชื่อแคธลีน ฮานนา เป็นเหมือนสัญลักษณ์ของเพลงแนว riot grrrl ซึ่งต่อมาได้เข้าทำงานในแนวอิเล็กโทรอาร์ตพังก์กับวง เลอทิกร์ (Le Tigre) ส่วนมือกีตาร์วงเฮฟเวนส์ทูเบ็ตซี ชื่อ โคริน ทักเกอร์ และ แคร์รีย์ บราวสไตน์ จากวง เอกซ์คิวส์ 17 (Excuse 17) ต่อมาทั้งคู่ได้ร่วมกันตั้งวงอินดี้ร็อก/พังก์ ชื่อ สลีทเทอร์-คินนีย์ (Sleater-Kinney)
อีโม
[แก้]คำว่าอีโมได้เคยถูกอธิบายเป็นหนึ่งในแนวย่อยของฮาร์ดคอร์พังก์ ที่มีต้นกำเนิดในวอชิงตันดีซีในช่วงกลางทศวรรษที่ 1980 คำว่าอีโมมีที่มาจากข้อเท็จจริงที่สมาชิกในวง บางครั้งจะใส่อารมณ์ (emotional) ในการแสดง สังเกตได้จากวงอีโมในยุคแรกๆอย่าง ไรตส์ออฟสปริง (Rites of Spring), เอ็มเบลซ (Embrace) และ วันลาสต์วิช (One Last Wish) คำว่า อีโม ย่อมาจาก Emotional Hardcore เน้นการแสดงสดที่เน้นถึงอารมณ์และความรู้สึก แต่แตกต่างจากฮาร์ดคอร์ เนื่องจาก เนื้อหาในสัดส่วนของอีโมร็อกนั้น เน้นสำรวจความรู้สึกภายในจิตใจของตัวเอง มากกว่าวนเวียนก่นด่าถึงสิ่งที่อยู่รอบข้างตัวเอง โดยในช่วงทศวรรษที่ 90 มีวงอีโมเกิดขึ้นมาโดยเฉพาะจากย่านมิดเวสต์หลายวง ไม่ว่าจะเป็น เดอะ เก็ต อัพ และ จิมมี อีท เวิลด์ ที่ได้รับอิทธิพลมาแบบเต็ม ๆ จากวงรุ่นพี่อย่าง ฟูกาซิ (Fugazi)[91]
วงอย่าง ซันนี่เดย์เรียลเอ็สเตต (Sunny Day Real Estate) และ เท็กซัสอีสเดอะรีซัน (Texas Is the Reason) ได้แสดงเพลงอินดี้ร็อกในรูปแบบของอีโม ที่มีรูปแบบเพลงที่เป็นเมโลดี้มากขึ้น และลดความยุ่งเหยิงลงกว่าอีโมก่อนหน้านี้ วงแอนทอยช์แอร์โรว์ (Antioch Arrow) เล่นเพลงอีโมที่รุนแรงขึ้น ที่ต่อมารู้จักกันในชื่อ "สครีโม่" แฟนเพลงอันเดอร์กราวด์หลายคนอ้างว่าวงอีโมในปัจจุบันแทบไม่มีคุณสมบัติของพังก์เลย[92]
พังก์รีไววัล
[แก้]ในยุคเดียวกับเนอร์วาน่า วงอัลเทอร์เนทีฟร็อกหลายวงในช่วงต้นทศวรรษที่ 90 ได้ตอบรับกระแสพังก์ ได้ช่วยให้พังก์ร็อกได้ฟื้นคืนชีพ ในปี ค.ศ. 1994 วงพังก์ร็อกจากแคลิฟอร์เนียอย่าง กรีนเดย์ (Green Day), ดิออฟสปริง (The Offspring), แรนซิด (Rancid) และ แบดรีลิเจียน (Bad Religion) เป็นตัวสำคัญของความสำเร็จด้วยการช่วยเหลือจากเอ็มทีวีและสถานีวิทยุที่โด่งดังอย่าง KROQ-FM[93] ถึงแม้ว่ากรีนเดย์และแบดรีลิเจียนจะอยู่ในสังกัดค่ายเพลงใหญ่ก็ตาม การประสบความสำเร็จทางธุรกิจอย่างมากของกรีนเดย์และดิออฟสปริง ได้ปูทางให้ศิลปินแนวป็อปพังก์อย่างวง บลิงก์-182 (Blink-182), ซิมเพิลแพลน (Simple Plan), กู้ดชาร์ลอตต์ (Good Charlotte) และ ซัม 41 (Sum 41)
วงจากบอสตัน ไมตีไมตีบอสสโตนส์ (Mighty Mighty Bosstones) และวงแนวสกาพังก์จากแคลิฟอร์เนีย วงซับไลม์ (Sublime) ได้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในช่วงปลายทศวรรษที่ 1990 ซึ่งต่อมาวงสกาพังก์อย่าง รีลบิกฟิช (Reel Big Fish) และเลสแดนเจค (Less Than Jake) ก็ได้ได้การตอบรับที่ดีจากแฟนเพลงในยุค 2000 วงอื่นที่มีรากมาจากฮาร์คอร์พังก์ อย่าง เอเอฟไอ (AFI) มีเพลงขึ้นชาร์ตในยุค 2000 วงเคลติกพังก์ อย่างวง ฟล็อกกิงมอลลี (Flogging Molly) และ ดร็อปคิกเมอร์ฟีส์ (Dropkick Murphys) ได้รวมแนวเพลง Oi! เข้าไปด้วย
การเกิดใหม่ของพังก์เห็นได้ชัดว่า ว่ากลุ่มคนที่ฟังพังก์ได้เข้าสู่กระแสหลัก[94] ซึ่งก็มีแฟนเพลงพังก์หลายคนได้ต่อต้านการเกิดเช่นนี้ อย่างความโด่งดังของวง ซัม 41 และ บลิงก์-182[95]
พังก์ในประเทศไทย
[แก้]ในช่วงที่วงเซ็กซ์ พิสทอลส์ได้เข้าสู่กระแสนิยมหลักทั่วโลก เพลงร็อกในประเทศไทยนิยมเพลงแนวโปรเกรสซิฟ เพลงแบบบุปผาชน หรือเพลงฮาร์ดร็อกอย่าง แบล็ค แซบบาธ, เล็ด แซพพลิน
ต่อมากระแสพังก์ในประเทศไทยเกิดตอนปลายยุคทศวรรษที่ 80 มีการเกิดของรายการเพลง เรดิโอ แอคทีฟ โดยไนต์สปอต เข้ามาปฏิวัติด้วยที่ไม่เปิดเพลงร็อกเก่า ๆ และเพลงป็อปตลาด โดยการนำของวาสนา วีระชาติพลี ดีเจชื่อดัง ดนตรีแนวพังก์เริ่มเป็นที่รู้จักในเมืองไทยจริง ๆ เมื่อกลางยุคทศวรรษที่ 90 หรือช่วงที่ดนตรีแนวอัลเทอร์เนทีฟดังมากในประเทศไทย อย่างวง แมนิค สตรีท พรีชเชอร์ส ที่เคยมาแสดงคอนเสิร์ตในประเทศไทยแล้ว เป็นต้น[96]
ส่วนวงดนตรีพังก์ร็อกในประเทศไทย เช่นวงเอบี นอร์มอล[97], มังกี้ แพ้นส์[98], ซิก ไชด์[99], หมีน้อย[100] และ สติวเดนต์อั๊กลี่[99] นอกจากนั้นยังมีวงอีโมพังก์อย่างวงไรทาลิน ของค่ายมิวสิกบั๊กส์[101]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Punk " No Future for You, No Future for Me" เว็บไซต์ music499.com
- ↑ Robb (2006) , คำนำโดย Michael Bracewell (อังกฤษ)
- ↑ Ramone, Tommy, "Fight Club", Uncut, January 2007 (อังกฤษ)
- ↑ McLaren, Malcolm,"Punk Celebrates 30 Years of Subversion" BBC News, August 18, 2006. เรียกดูเมื่อ 17 มกราคม ค.ศ. 2006 (อังกฤษ)
- ↑ 5.0 5.1 "Punk เก็บถาวร 2008-03-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน" เว็บไซต์ dekpunk.th.gs
- ↑ Christgau, Robert,"Please Kill Me: The Uncensored Oral History of Punk, by Legs McNeil and Gillian McCain" (review)New York Times Book Review, 1996. เรียกดูเมื่อ 17 มกราคม ค.ศ. 2007 (อังกฤษ)
- ↑ Harris (2004) , หน้า 202 (อังกฤษ)
- ↑ Sabin (1999) , หน้า 101 (อังกฤษ)
- ↑ Robb (2006) , คำนำโดย Michael Bracewell (อังกฤษ)
- ↑ Murphy, Peter, "Shine On, The Lights Of The Bowery: The Blank Generation Revisited", Hot Press, July 12, 2002; Hoskyns, Barney, "Richard Hell: King Punk Remembers the [ ] Generation", Rock's Backpages, March 2002. (อังกฤษ)
- ↑ Punk Music in Britain" BBC.co.uk., October 7, 2002. เรียกดูเมื่อ 18 ธันวาคม ค.ศ. 2006 (อังกฤษ)
- ↑ McLaren, Malcolm,"Punk Celebrates 30 Years of Subversion", BBC News, August 18, 2006. เรียกดูเมื่อ 17 ธันวาคม ค.ศ. 2006 (อังกฤษ)
- ↑ Chong, Kevin, "The Thrill Is Gone"Canadian Broadcasting Corporation, August 2006. เรียกดูเมื่อ 17 ธันวาคม ค.ศ. 2006 (อังกฤษ)
- ↑ Shuker (2002) , หน้า 159 (อังกฤษ)
- ↑ Sabin (1999) , หน้า 4, 226; Dalton, Stephen, "Revolution Rock", Vox, June 1993. (อังกฤษ)
- ↑ Savage (1991) , หน้า 440 (อังกฤษ)
- ↑ Sabin (1999) , หน้า 157 (อังกฤษ)
- ↑ Harrington (2002) , หน้า 165 (อังกฤษ)
- ↑ Wilkerson (2006) , หน้า 52 (อังกฤษ)
- ↑ Fletcher (2000) , หน้า 497 (อังกฤษ)
- ↑ MC5: Kick Out the Jams เก็บถาวร 2007-12-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน โดย Lester Bangs, Rolling Stone, April 5, 1969. เรียกดูเมื่อ 1/16/07 (อังกฤษ)
- ↑ Taylor (2003) , หน้า 49 (อังกฤษ)
- ↑ Harrington (2002) , หน้า 538 (อังกฤษ)
- ↑ Robb (2006) , หน้า 51 (อังกฤษ)
- ↑ Unterberger (2000) , หน้า 18 (อังกฤษ)
- ↑ Leblanc (1999) , หน้า 35 (อังกฤษ)
- ↑ Quoted in Leblanc (1999) , หน้า 35 (อังกฤษ)
- ↑ Taylor (2003) , หน้า 16; Woods, Scott, "A Meaty, Beaty, Big, and Bouncy Interview with Dave Marsh เก็บถาวร 2007-08-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนrockcritics.com (อังกฤษ)
- ↑ Taylor (2003) , หน้า 16 (อังกฤษ)
- ↑ Savage (1991) , หน้า 131 (อังกฤษ)
- ↑ Savage (1991) , หน้า 130–131 (อังกฤษ)
- ↑ Taylor (2003) , หน้า 16–17 (อังกฤษ)
- ↑ Savage (1991) , หน้า 131 (อังกฤษ)
- ↑ Savage (1991) , หน้า 86–90, 59–60 (อังกฤษ)
- ↑ Savage (1991) , หน้า 89 (อังกฤษ)
- ↑ Savage (1991) , หน้า 90; Buckley (2003) , หน้า 485 (อังกฤษ)
- ↑ Walker (1991) , หน้า 662. (อังกฤษ)
- ↑ Walsh (2006) , หน้า 27 (อังกฤษ)
- ↑ Savage (1991) , หน้า 132 (อังกฤษ)
- ↑ McNeil and McCain (1997) , หน้า 240, 300; Walsh (2006) , หน้า 15, 24; for CBGB's closing in 2006, see, e.g., Damian Fowler,"Legendary punk club CBGB closes" BBC News, October 16, 2006. เรียกดูเมื่อ 11 ธันวาคม ค.ศ. 2006 (อังกฤษ)
- ↑ Walsh (2006) , หน้า 8 (อังกฤษ)
- ↑ "The Sex Pistols" เก็บถาวร 2009-04-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Rolling Stone Encyclopedia of Rock 'n' Roll (2001) (อังกฤษ)
- ↑ Robb (2006) , หน้า 198 (อังกฤษ)
- ↑ Taylor (2003) , หน้า 56. (อังกฤษ)
- ↑ "The Ramones" Rock and Roll Hall of Fame (2002) (อังกฤษ)
- ↑ Marcus (1989) , หน้า 37, 67 (อังกฤษ)
- ↑ Heylin (1993) , หน้า xii. (อังกฤษ)
- ↑ Stafford (2006) , หน้า 57–76 (อังกฤษ)
- ↑ Griffin, Jeff,"The Damned" BBC.co.uk. (อังกฤษ)
- ↑ Lydon (1995) , หน้า 139–140 (อังกฤษ)
- ↑ Ross, Alex."Generation Exit: Kurt Cobain" เก็บถาวร 2008-04-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน The New Yorker, April 1994. (อังกฤษ)
- ↑ Spitz and Mullen (2001) (อังกฤษ)
- ↑ "Round-Table Discussion: Hollywood Vanguard vs. Beach Punks!" Flipsidezine.com (อังกฤษ)
- ↑ Spitz and Mullen (2001) , หน้า 274–279 (อังกฤษ)
- ↑ Punk Rock AllMusic.com (อังกฤษ)
- ↑ W, Matt,"10 Bands that Are Leading Post-Punk's Third Wave" associatedcontent.com (อังกฤษ)
- ↑ Reynolds (2005) , หน้า xvii, xviii, xxiii (อังกฤษ)
- ↑ Hebdige (1987) , หน้า 107 (อังกฤษ)
- ↑ Sabin (1999) , หน้า 12 (อังกฤษ)
- ↑ Savage (1991) , หน้า 396 (อังกฤษ)
- ↑ Quoted in Wells (2004) , หน้า 21 (อังกฤษ)
- ↑ Spencer, Neil, and James Brown,"Why the Clash Are Still Rock Titans" The Observer (UK) , October 29, 2006. (อังกฤษ)
- ↑ New Wave เก็บถาวร 2010-11-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Allmusic.com (อังกฤษ)
- ↑ Post-punk AllMusic.com (อังกฤษ)
- ↑ Reynolds (2005) , หน้า xxix (อังกฤษ)
- ↑ Blush, Steven, "Move Over My Chemical Romance: The Dynamic Beginnings of US Punk", Uncut, January 2007. (อังกฤษ)
- ↑ Blush (2001) , หน้า 17; Coker, Matt,"Suddenly In Vogue: The Middle Class may have been the most influential band you’ve never heard of", เก็บถาวร 2007-11-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน OC Weekly, December 5, 2002 (อังกฤษ)
- ↑ Andersen and Jenkins (2001) (อังกฤษ)
- ↑ Blush (2001) , หน้า 173 (อังกฤษ)
- ↑ Van Dorston, A.S."A History of Punk" fastnbulbous.com (อังกฤษ)
- ↑ Sabin (1999) , หน้า 216 n. 17; Dalton, Stephen, "Revolution Rock", Vox, June 1993 (อังกฤษ)
- ↑ Robb (2006) , หน้า 469 (อังกฤษ)
- ↑ Quoted in Robb (2006) , หน้า 469–470 (อังกฤษ)
- ↑ Robb (2006) , หน้า 470 (อังกฤษ)
- ↑ Fleischer, Tzvi."Sounds of Hate" เก็บถาวร 2005-12-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Australia/Israel & Jewish Affairs Council (AIJAC) , August 2000 (อังกฤษ)
- ↑ Gimarc (1997) , หน้า 175 (อังกฤษ)
- ↑ Robb (2006) , หน้า 511 (อังกฤษ)
- ↑ 78.0 78.1 "Anarcho-Punk เก็บถาวร 2007-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน" เว็บไซต์ tonkla.org
- ↑ Wells (2004) , หน้า 35 (อังกฤษ)
- ↑ Besssman (1993) , หน้า 16; Marcus (1979) , หน้า 114; Simpson (2003) , หน้า 72; McNeil (1997) , หน้า 206 (อังกฤษ)
- ↑ Cooper, Ryan."The Buzzcocks, Founders of Pop Punk" punkmusic.about.com. (อังกฤษ)
- ↑ Di Bella, Christine."Blink 182 + Green Day"popmatters.com (อังกฤษ)
- ↑ Azerrad (2001) , passim; for relationship of Hüsker Dü and The Replacements, see หน้า 205–206 (อังกฤษ)
- ↑ Goldberg, Michael. "Punk Lives." Rolling Stone. June-August 1985. (อังกฤษ)
- ↑ Erlewine, Stephen Thomas. American Alternative Rock / Post-Punk เก็บถาวร 2010-11-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน All Music Guide. (อังกฤษ)
- ↑ Azerrad (2001) , passim (อังกฤษ)
- ↑ "Kurt Donald Cobain" เก็บถาวร 2006-10-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, The Biography Channel (อังกฤษ)
- ↑ St. Thomas (2004) , หน้า 94 (อังกฤษ)
- ↑ "1991 The Year That Punk Broke" rottentomatoes (อังกฤษ)
- ↑ Raha (2005) , หน้า 154 (อังกฤษ)
- ↑ ROCK KEEP ROLLIN เก็บถาวร 2012-11-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน โดย ผู้จัดการออนไลน์ 8 กันยายน 2549 15:04 น.
- ↑ "You Are So Not Scene (1) : The Fall of Emo as We (Don't) Know It" pastepunk.com (อังกฤษ)
- ↑ Gold, Jonathan. "The Year Punk Broke". SPIN. November 1994. (อังกฤษ)
- ↑ Gold, Jonathan. "The Year Punk Broke". SPIN. November 1994. (อังกฤษ)
- ↑ Haenfler (2006) , หน้า 12 (อังกฤษ)
- ↑ "พังก์ สายพันธุ์ใหม่ เก็บถาวร 2007-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน"
- ↑ เอบีนอร์มอล ชุด 4 โชว์ของดี ซีทรู โดย คม ชัด ลึก วัน อังคาร ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 02:51 น.
- ↑ คนตะลึง มังกี้ แพ้นส์ งานสากลสุดเจ๋งของเด็กไทยวัย 15
- ↑ 99.0 99.1 ฟรานซิส นันตะสุคนธ์ ,Teen Marketing Positioning Magazine กุมภาพันธ์ 2548
- ↑ Young rock 'n' rollers keep the Bangkok underground scene alive เก็บถาวร 2007-10-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน nationmultimedia.com (อังกฤษ)
- ↑ เสียงจ๊ากแหลม-ดนตรีหนักหน่วง ของอีโม พังก์ ในแบบ "ไรทาลิน" เว็บไซต์ คมชัดลึก.คอม
บรรณานุกรม
[แก้]- Andersen, Mark, and Mark Jenkins (2001). Dance of Days: Two Decades of Punk in the Nation's Capital (New York: Soft Skull Press). ISBN 1-887128-49-2
- Azerrad, Michael (2001). Our Band Could Be Your Life (New York: Little, Brown). ISBN 0-316-78753-1
- Blush, Steven (2001). American Hardcore: A Tribal History (Los Angles: Feral House). ISBN 0-922915-71-7
- Fletcher, Tony (2000). Moon: The Life and Death of a Rock Legend (New York: HarperCollins). ISBN 0-380-78827-6
- Gimarc, George (1997). Post Punk Diary, 1980–1982 (New York: St. Martin's). ISBN 0-312-16968-X
- Haenfler, Ross (2006). Straight Edge: Hardcore Punk, Clean-Living Youth, and Social Change (New Brunswick, N.J.: Rutgers University Press). ISBN 0-8135-3852-1
- Harrington, Joe S. (2002). Sonic Cool: The Life & Death of Rock 'n' Roll (Milwaukee, Wisc.: Hal Leonard). ISBN 0-634-02861-8
- Harris, John (2004). Britpop!: Cool Britannia and the Spectacular Demise of English Rock (Cambridge, Mass.: Da Capo) ISBN 0-306-81367-X
- Hebdige, Dick (1987). Cut 'n' Mix: Culture, Identity and Caribbean Music (London: Routledge). ISBN 0-415-05875-9
- Heylin, Clinton (1993). From the Velvets to the Voidoids: The Birth of American Punk Rock (Chicago: A Cappella Books). ISBN 1-55652-573-3
- Leblanc, Lauraine (1999). Pretty in Punk: Girls' Gender Resistance in a Boys' Subculture (New Brunswick, N.J.: Rutgers University Press). ISBN 0-8135-2651-5
- Lydon, John (1995). Rotten: No Irish, No Blacks, No Dogs (New York: Picador). ISBN 0-312-11883-X
- Marcus, Greil (1989). Lipstick Traces: A Secret History of the Twentieth Century (Cambridge, Mass.: Harvard University Press). ISBN 0-674-53581-2
- Raha, Maria (2005). Cinderella's Big Score: Women of the Punk and Indie Underground (Emeryville, Calif.: Seal). ISBN 1-58005-116-2
- Reynolds, Simon (2005). Rip It Up and Start Again: Post Punk 1978–1984 (London and New York: Faber and Faber). ISBN 0-571-21569-6
- Robb, John (2006). Punk Rock: An Oral History (London: Elbury Press). ISBN 0-09-190511-7
- Sabin, Roger (1999). Punk Rock, So What? The Cultural Legacy of Punk (London: Routledge). ISBN 0-415-17030-3.
- Savage, Jon (1991). England's Dreaming: The Sex Pistols and Punk Rock (London: Faber and Faber). ISBN 0-312-28822-0
- Shuker, Roy (2002). Popular Music: The Key Concepts (London: Routledge). ISBN 0-415-28425-2
- Stafford, Andrew (2006). Pig City: From the Saints to Savage Garden, 2d rev. ed. (Brisbane: University of Queensland Press). ISBN 0-7022-3561-X
- St. Thomas, Kurt, with Troy Smith (2002). Nirvana: The Chosen Rejects (New York St. Martin's). ISBN 0-312-20663-1
- Taylor, Steven (2003). False Prophet: Field Notes from the Punk Underground (Middletown, Conn.: Wesleyan University Press). ISBN 0-8195-6668-3
- Walker, John (1991). "Television", in The Trouser Press Record Guide, 4th ed., ed. Ira Robbins (New York: Collier) , หน้า 662. ISBN 0-02-036361-3
- Walsh, Gavin (2006). Punk on 45; Revolutions on Vinyl, 1976–79 (London: Plexus). ISBN 0-85965-370-6
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- punkrock.org (อังกฤษ)
- Distorted Magazine นิตยสารเพลงพังก์ร็อกยุคใหม่ (อังกฤษ)
- ประวัติของพังก์ โดย A.S. Van Dorston (อังกฤษ)