ร็อกแอนด์โรล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เอลวิส เพรสลีย์ นักร้องร็อกแอนด์โรลที่มีอิทธิพลที่สุดคนนึงในยุคนั้น

ร็อกแอนด์โรล (อังกฤษ: Rock and roll หรือ rock 'n' roll) คือแนวเพลงประเภทหนึ่งที่ได้พัฒนาในสหรัฐอเมริกาตั้งแต่ช่วงปลายยุค 40s จนมาได้รับความนิยมในต้นยุค 50s และได้แพร่ขยายความนิยมไปทั่วโลก ซึ่งในปัจจุบันเราจะเรียกกันสั้นๆว่า "ร็อก" ส่วนเรื่องจังหวะจะเป็นจังหวะ บูกี้ วูกี้ บลูส์ โดยจะทำให้เด่นโดยจังหวะแบ็ค บีท (Back Beat) ซึ่งต่อมาจะใช้กลองสแนร์ ดนตรีร็อกแอนด์โรลช่วงแรกจะเล่นโดยกีตาร์ไฟฟ้า หนึ่งหรือสองตัว (1 ลีด ,1 ริทึม),กีตาร์เบส (หรือดับเบิ้ลเบส),ชุดกลอง ส่วนคีย์บอร์ดจะเป็นส่วนเสริม

ร็อกแอนด์โรลในช่วงต้นยุค 50s มักจะใช้แซกโซโฟนนำดนตรี ต่อมาจึงเปลี่ยนมาเป็นกีตาร์ช่วงกลางยุค 50s เปียโนก็ถูกใช้เป็นส่วนสำคัญในดนตรีร็อกแอนด์โรลช่วงกลางยุค 40s

ความได้รับความนิยมในดนตรีร็อกแอนด์โรลเป็นอย่างมากได้แพร่กระจายสู่สังคม นอกจากทางด้านดนตรีแล้ว ยังมีผลต่อแฟชั่น ไลฟ์สไตล์ ภาษา ศิลปินที่มีชื่อเสียงอย่างมากคือ เอลวิส เพรสลีย์ ที่สร้างภาพยนตร์และรายการโทรทัศน์ในรูปแบบของร็อกแอนด์โรล

ในปี ค.ศ. 1951 อลัน ฟรีด (Alan Freed) ดีเจจากโอไฮโอ ได้ถูกยกเครดิตให้เป็นผู้คิดคำว่า ร็อกแอนด์โรลล์เป็นคนแรก

ร็อกแอนด์โรล ได้ผสมผสาน เอาดนตรีของคนผิวขาวกับผิวดำเข้าด้วยกัน ทำให้เกิดเป็นดนตรีแนวใหม่ที่มีจังหวะที่รุนแรงกว่าเดิม ทั้งเสียงกีตาร์ที่ดัง กลองที่รัวและเร็ว วัฒนธรรมดนตรีแบบร็อกแอนด์โรล ได้มีผลต่อวัยรุ่นในยุคนั้น ทั้งภาษาและการพูดจา ที่โจ่งแจ้ง แสดงอารมณ์อย่างชัดเจน การแต่งกายและทรงผมแปลก ๆ การเต้นรำอย่างบ้าคลั่ง ฯลฯ ที่ถือว่าเป็น การแสดง ถึงตัวตน (Identity) ของตนเองออกมา ภาษากายต่าง ๆ เหล่านี้ ล้วนเป็นแนวทางที่ขัดแย้งกับ สิ่งที่ผู้ใหญ่ในสมัยนั้น เห็นว่าดีงาม และถูกต้องทั้งสิ้น ในยุคนั้น ร็อกแอนด์โรลจึงถูกประฌามว่าเป็น ดนตรีของปีศาจ (Devil's Music) เนื่องจากความใหม่และแหวกแนวอย่างมาก

ในช่วงทศวรรษที่ 50 เพราะขณะที่ศิลปินร็อกแอนด์โรลระดับที่เป็นตำนาน ทยอยกันสร้างชื่อ และผลงานของตนเองไว้ที่อเมริกา ไม่ว่าจะเป็น บิล ฮาลีย์ (Bill Haley) ที่มีเพลงฮิตที่รู้จักกันทั่วโลกคือ Rock around the clock (1954), ชัค เบอร์รี (Chuck Berry) ผลงานที่โด่งดัง คือเพลง Meybelline (1955), ลิตเติล ริชาร์ด (Little Richard) เพลง Long tall Sally หรือ Rip it up (1956) ที่มียอดขายเกินหลักล้าน, เจอร์รี ลี ลีวิส (Jerry Lee Lewis) กับเพลงที่ได้รางวัลแผ่นเสียงทองคำ Whole latta shakin' goin' on (1957), และเพลงที่ติดอันดับสองรองเพลงของเอลวิส Great Ball of Fire! (1957), Crazy Arms (1957), เอลวิส เพรสลีย์ที่มีเพลงฮิตติดอันดับนับไม่ถ้วนตั้งแต่ 1956 ถึง 1958 เช่น Love me tender (1956) Loving you (1957) Jailhouse rock (1957) King carole (1958) Big hunk o'love (1959), หรือ บัดดี ฮอลลี (Buddy Holly) ผลงานที่ฮิตที่สุด Peggy Sue (1957) Rave On (1957) Oh Boy! (1958)

อ้างอิง[แก้]