ข้ามไปเนื้อหา

ปลาตะเพียนขาว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ปลาตะเพียนขาว
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอต
Eukaryota
อาณาจักร: สัตว์
Animalia
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
Chordata
ชั้น: ปลาที่มีก้านครีบ
Actinopterygii
อันดับ: ปลาตะเพียน
Cypriniformes
วงศ์: วงศ์ปลาตะเพียน
Cyprinidae
วงศ์ย่อย: Cyprininae
Cyprininae
สกุล: สกุลบาร์โบนีมัส
Barbonymus
(Bleeker, 1850)
สปีชีส์: Barbonymus gonionotus
ชื่อทวินาม
Barbonymus gonionotus
(Bleeker, 1850)
ชื่อพ้อง

Barbodes gonionotus (Bleeker, 1850)
Barbodes jolamarki (Smith, 1934)
Barbus gonionotus Bleeker, 1850
Barbus javanicus Bleeker, 1855
Barbus koilometopon Bleeker, 1857
Puntius gonionotus (Bleeker, 1850)
Puntius javanicus (Bleeker, 1855)
Puntius jolamarki Smith, 1934
Puntius viehoeveri Fowler, 1943

ปลาตะเพียนขาว หรือ ปลาตะเพียนเงิน หรือที่นิยมเรียกสั้น ๆ ว่า ปลาตะเพียน[2] (ชื่อวิทยาศาสตร์: Barbonymus gonionotus) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีรูปร่างเหมือนปลาในวงศ์ปลาตะเพียนทั่วไป ตัวมีสีเงินแวววาว ด้านหลังมีสีคล้ำเล็กน้อย ด้านท้องสีจาง ครีบอื่น ๆ มีสีเหลืองอ่อน ภาคอีสานเรียกว่า "ปลาปาก"

ปลาตะเพียนขาวเป็นปลาพื้นเมืองของภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ นับเป็นปลาน้ำจืดที่คนไทยรู้จักดี และอยู่ในวิถีชีวิตความเป็นอยู่มาแต่โบราณ เช่น ปลาตะเพียนใบลาน[2] มีการเลี้ยงปลาชนิดนี้ในประเทศมานานกว่า 30 ปี และถูกนำพันธุ์ไปเลี้ยงยังต่างประเทศ เช่น มาเลเซีย, บอร์เนียว, อินโดนีเซีย แม้ว่าในประเทศเหล่านี้จะมีปลาชนิดนี้อยู่ในธรรมชาติแล้วก็ตาม ขนาดโดยเฉลี่ย 36 เซนติเมตร (พบใหญ่ที่สุด 90 เซนติเมตร น้ำหนัก 13 กิโลกรัม ที่มาเลเซีย)[3] พบชุกชุมในทุกแหล่งน้ำทุกภาคของไทย ยกเว้นแม่น้ำสาละวิน อยู่กันเป็นฝูง ชอบที่น้ำไหลเป็นพิเศษ เป็นปลากินพืช, แมลง และสัตว์หน้าดิน นอกจากนี้ยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามอีกด้วย โดยเฉพาะตัวที่เป็นปลาเผือก ซึ่งเรียกกันว่า "ปลาตะเพียนอินโด" นิยมเลี้ยงเพื่อใช้ประโยชน์เก็บกินเศษอาหารที่ปลาใหญ่กินเหลือหรือเก็บตะไคร่น้ำและปรสิตในตู้ หรือแม้กระทั่งเลี้ยงเป็นปลาลูกไล่ของปลาใหญ่กว่า หรือเลี้ยงเพื่อทดสอบค่าความเป็นกรดเป็นด่างของน้ำ (pH) หรือความเข้มข้นของคลอรีน ก่อนที่จะปล่อยปลาที่จะเลี้ยงจริงลงไป เนื่องจากเป็นปลาที่มีราคาถูก หาซื้อได้ง่าย และมีความไวต่อคุณภาพน้ำ[4]

มีการผสมพันธุ์และวางไข่ในช่วงฤดูฝน ตัวเมียเมื่อถึงสภาพสมบูรณ์ ลำตัวจะอวบอ้วนและใหญ่กว่าตัวผู้ถึง 2–3 เท่า ตัวผู้บริเวณข้างแก้มจะมีตุ่มคล้ายสิวอันเป็นเอกลักษณ์ของปลาในวงศ์ปลาตะเพียน ตัวเมียใช้เวลาอุ้มท้องจนกระทั่งวางไข่ประมาณ 1 เดือน ปัจจุบันมีการเพาะพันธุ์ปลาเพื่อนำไปปล่อยในแหล่งน้ำต่าง ๆ[2]

มีการนำมาทำเป็นอาหาร เช่น ปลาตะเพียนต้มเค็มหรือปลาส้ม นับว่าเป็นตำรับที่มีชื่อมากของปลาชนิดนี้ แต่เป็นปลาที่มีก้างมาก[5][6]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Thinh, D.V.; Van, N.S.; Nguyen, T.H.T. (2012). "Barbonymus gonionotus". The IUCN Red List of Threatened Species. 2012: e.T166914A1151554. doi:10.2305/IUCN.UK.2012-1.RLTS.T166914A1151554.en. Retrieved on 15 December 2017
  2. 2.0 2.1 2.2 "กบนอกกะลา ตอน ปลาตะเพียน เรื่องเยอะก้างแยะ ดูรายการกบนอกกะลาย้อนหลัง 25 กันยายน 2558". ช่อง 9. 25 September 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-10-21. สืบค้นเมื่อ 26 September 2015.
  3. "Fishing Worldrecords | carps 10-25 kg | Barbonymus gonionotus". www.fishing-worldrecords.com.
  4. Nanconnection. (แอบ) คุยเรื่องปลาตู้โครงการ 2. ตอน ปลาอโรตัวเป็นวาน่าเลี้ยง. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2546. 224 หน้า. ISBN 9745348651
  5. "Women integrate fish and farming". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-30. สืบค้นเมื่อ 2014-03-21. {{cite web}}: ระบุ |accessdate= และ |access-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archivedate= และ |archive-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archiveurl= และ |archive-url= มากกว่าหนึ่งรายการ (help)
  6. "National Aquaculture Sector Overview - Thailand". Food and Agriculture Organization of the United Nations.[ลิงก์เสีย]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]