สกุลบาร์โบนีมัส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สกุลบาร์โบนีมัส
ฝูงปลากระแห (B. schwanenfeldii) ต้นแบบของปลาในสกุลนี้ ที่อุทยานแห่งชาติเขาสก จังหวัดสุราษฎร์ธานี
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Actinopterygii
อันดับ: Cypriniformes
วงศ์: Cyprinidae
สกุล: Barbonymus
Kottelat, 1999
ชนิดต้นแบบ
Barbus schwanenfeldii
Bleeker, 1853
ชนิด
10 ชนิด (ดูในเนื้อหา)

สกุลบาร์โบนีมัส (อังกฤษ: Tinfoil barb) เป็นสกุลของปลาน้ำจืดในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) ใช้ชื่อสกุลว่า Barbonymus (/บาร์-โบ-นี-มัส/)

มีลักษณะสำคัญทางอนุกรมวิธานคือ มีครีบหลังที่มีก้านครีบเดี่ยวที่ขอบจักเป็นฟันเลื่อย ครีบท้องมีก้านครีบแขนง 8 ก้าน ปากล่างมีร่องระหว่างริมปากกับกระดูกขากรรไกร ฐานครีบก้นยาวประมาณร้อยละ 90 ของหัว จะงอยปากไม่มีตุ่มเม็ดสิว มีหนวด 2 คู่ โดยแบ่งเป็นริมฝีปากบน 1 คู่ และมุมปาก 1 คู่

ปลาที่อยู่ในสกุลนี้มีทั้งหมด 10 ชนิด[1] เป็นปลาที่พบได้ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งหมด สกุลนี้ได้รับการตั้งชื่อในปี ค.ศ. 1999 โดยมอริส ก็อตลา ซึ่งเป็นนักมีนวิทยาชาวสวิสที่พำนักอยู่ที่ประเทศสิงคโปร์ โดยแยกออกมาจากสกุล Barbodes[2]

โดยคำว่า Barbonymus มาจากคำว่า Barbus ซึ่งเป็นสกุลหนึ่งในวงศ์เดียวกัน ที่เคยรวมกันเป็นสกุลเดียวกันก่อนหน้านั้น และคำว่า ἀνώνυμος (anṓnumos) ในภาษากรีกโบราณ ที่แปลว่า "ที่ไม่ระบุชื่อ" เนื่องจากปลาสกุลนี้ก่อนหน้านี้ขาดชื่อทั่วไปที่เหมาะสม[3]

ชนิด[แก้]

ปัจจุบันจำแนกออกได้ทั้งหมด 10 ชนิด[1]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Kottelat, M. (2013): The Fishes of the Inland Waters of Southeast Asia: A Catalogue and Core Bibliography of the Fishes Known to Occur in Freshwaters, Mangroves and Estuaries. เก็บถาวร 2013-12-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน The Raffles Bulletin of Zoology, 2013, Supplement No. 27: 1–663.
  2. สมโภชน์ อัคคะทวีวัฒน์. สาระน่ารู้ ปลาน้ำจืดไทย เล่ม ๑. กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา, 2547. 264 หน้า. หน้า 43. ISBN 974-00-8701-9
  3. Günther, A., 1868 - Catalogue of the fishes in the British Museum v. 7: i-xx + 1-512 Catalogue of the Physostomi, containing the families Heteropygii, Cyprinidae, Gonorhynchidae, Hyodontidae, Osteoglossidae, Clupeidae,... [thru]... Halosauridae, in the collection of the British Museum.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Barbonymus ที่วิกิสปีชีส์