นิคหิต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อักษรไทย
-ํ
รูปพยัญชนะ
รูปสระ
–ั –ํ –ิ ' "
–ุ –ู –็
ฤๅ ฦๅ
รูปวรรณยุกต์
–่ –้ –๊ –๋
เครื่องหมายอื่น ๆ
–์ –๎ –ฺ
เครื่องหมายวรรคตอน
ฯลฯ

นิคหิต (บาลี: นิคฺคหีต निग्गहीत) หรือ นฤคหิต (สันสกฤต: निगृहीत นิคฺฤหีต) หรือ หยาดน้ำ (-อฺ) มีลักษณะเป็นวงกลม หยาดน้ำค้าง (-อํ) มีลักษณะวงกลมเล็ก ๆ ใช้ประสมสระ อึ และ อำ

ในการเขียนภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต และภาษาเขมรด้วยอักษรไทย ใช้นิคหิตเติมเหนือพยัญชนะแทนเสียง ง และ ม เช่น เช่น จํหัน อ่านว่า จังหัน, ชุํนุํ อ่านว่า ชุมนุม นอกจากนี้ในภาษาสันสกฤตจะใช้นิคหิตแทนเสียง อะ, อิ, อุ อีกด้วย ตัวอย่างเช่น อมตะ → อมฤต, นิคหิต → นฤคหิต, ปุจฉา → ปฤจฉา

ในภาษาสันสกฤตเรียกว่า อนุสวาร (เทวนาครี अनुस्वार, อนุสฺวาร ( अनु- อนุ- + स्वार สฺวาร) หมายถึง เสียงข้างหลัง) เป็นเครื่องหมายที่ใช้กำกับเสียงนาสิก การออกเสียงขึ้นกับสระที่อยู่ข้างหน้า เช่น ผลํ ออกเสียง ผะลัม, ปุรึ/ปุริํ/ปุริ˚ ออกเสียง ปุริม, มีมำสา ออกเสียง มีมามสา เป็นต้น

ในภาษาอินเดียจำนวนหนึ่ง มีการใช้เครื่องหมายดังกล่าว โดยมากเป็นวงกลมขนาดเล็กวางไว้เหนือพยัญชนะ แต่อาจใช้รูปแบบอื่น ๆ ได้ตามชนิดของอักษร และการออกเสียงแตกต่างกันไปตามแต่ระบบเสียงในภาษานั้น ๆ

การประสมรูป[แก้]

การประสมรูป ปรากฏ ใช้เป็นสระ สัทอักษรสากล
(พยัญชนะต้น) + นิคหิต ◌ํ อัง, อัม (ภาษาบาลี) /ã/
(พยัญชนะต้น) + นิคหิต + ลากข้าง ◌ำ อำ /am/, /aːm/
(พยัญชนะต้น) + พินทุ์อิ + นิคหิต ◌ึ อึ /ɯʔ/, /ɯ/

คำที่ประสมด้วยสระอำส่วนใหญ่ออกเสียงเหมือน อัม แต่ก็มีบางคำที่นิยมออกเสียงเหมือน อาม เช่น น้ำ (น้าม) เป็นต้น