ข้ามไปเนื้อหา

ท่าอากาศยานนานาชาติเตินเซินเญิ้ต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ท่าอากาศยานนานาชาติเตินเซินเญิ้ต
Tân Sơn Nhất International Airport

Sân bay quốc tế Tân Sơn Nhất
  • IATA: SGN
  • ICAO: VVTS
    SGNตั้งอยู่ในประเทศเวียดนาม
    SGN
    SGN
    Location of airport in Vietnam
ข้อมูลสำคัญ
การใช้งานPublic
เจ้าของVietnamese government
ผู้ดำเนินงานSouthern Airports Corporation
พื้นที่บริการHo Chi Minh City, Vietnam
ที่ตั้งTan Binh District
ฐานการบิน
เหนือระดับน้ำทะเล10 เมตร / 33 ฟุต
พิกัด10°49′08″N 106°39′07″E / 10.81889°N 106.65194°E / 10.81889; 106.65194
เว็บไซต์www.tsnairport.com
ทางวิ่ง
ทิศทาง ความยาว พื้นผิว
ฟุต เมตร
07L/25R 10,000 3,048 Concrete
07R/25L 12,468 3,800 Concrete
สถิติ (2008)
Passenger movements12,427,808[1]
Airfreight movements in tonnes444,223[1]
Aircraft movements98,002[1]

ท่าอากาศยานนานาชาติเตินเซินเญิ้ต (เวียดนาม: Sân bay quốc tế Tân Sơn Nhất, Cảng hàng không quốc tế Tân Sơn Nhất) เป็นท่าอากาศยานนานาชาติที่ใหญ่ที่สุดในเวียดนาม ตั้งอยู่ในนครโฮจิมินห์

ประวัติ

[แก้]

ท่าอากาศยานนานาชาติเตินเซินเญิ้ตถือกำเนิดขึ้นเมื่อต้นทศวรรษที่ 1930 (พ.ศ. 2473-2482) โดยรัฐบาลภายใต้อาณัติของฝรั่งเศสได้สร้างสนามบินขนาดเล็กขึ้นในหมู่บ้านเตินเซินเญิ้ต จึงเป็นที่รู้จักในชื่อว่า สนามบินเตินเซินเญิ้ต และเมื่อกลางปี พ.ศ. 2499 ทางสหรัฐอเมริกาได้สร้างทางวิ่งความยาว 2,160 เมตรและอาคารสนามบิน ซึ่งได้กลายเป็นท่าอากาศยานนานาชาติสำหรับเวียดนามใต้ ในช่วงสงครามเวียดนาม ฐานทัพอากาศเตินเซินเญิ้ตได้เป็นฐานทัพสำคัญทั้งของสหรัฐอเมริกาและกองทัพอากาศเวียดนามใต้ และก่อนปี พ.ศ. 2518 ท่าอากาศยานนานาชาติเตินเซินเญิ้ตยังเป็นท่าอากาศยานที่มีผู้มาใช้บริการมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก

ในวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2547 เครื่องบินโบอิง 747-400 ของสายการบินยูไนเต็ดแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ UA869 ได้ร่อนลงสู่โฮจิมินห์ซิตี ถือเป็นสายการบินแรกของสหรัฐอเมริกาที่บินสู่เวียดนาม หลังจากเที่ยวบินสุดท้ายของสายการบินแพนแอม ในช่วงที่กรุงไซ่ง่อนล่มสลายลง จากข้อมูลทางสถิติ ในปี พ.ศ. 2549 ท่าอากาศยานมีผู้โดยสารเข้าออกราว 8.5 ล้านคน และมีเที่ยวบินทั้งขาเข้าและขาออกรวม 64,000 เที่ยว และเมื่อเร็ว ๆ นี้ มีการบันทึกไว้ว่า ท่าอากาศยานแห่งนี้รองรับเที่ยวบินต่างประเทศถึง 2 ใน 3 จากที่มีในท่าอากาศยานทั้งหมดในเวียดนาม

สายการบินและจุดหมายปลายทาง

[แก้]
ภาพด้านนอกของอาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศ
หอควบคุมการบิน
ตราประทับผ่านแดนบนหนังสือเดินทางจากท่าอากาศยานนานาชาติเตินเซินเญิ้ต
เคาน์เตอร์เช็กอิน อาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศ
อาคารผู้โดยสารภายในประเทศ
ภาพจากมุมสูงของท่าอากาศยานนานาชาติเตินเซินเญิ้ต
สายการบิน จุดหมายปลายทาง
ชื่อไทย ชื่ออังกฤษ
กาตาร์แอร์เวย์ (QR) Qatar Airways โดฮา
แคมโบเดียอังกอร์แอร์ (K6) Cambodia Ankor Air พนมเปญ เสียมราฐ
การบินไทย (TG) Thai Airways International หาดใหญ่ (อนาคต), กรุงเทพฯ-สุวรรณภูมิ
การบินลาว (QV) Lao Airlines ปากเซ เวียงจันทน์
คาเธย์แปซิฟิก (CX) Cathay Pacific Airways ฮ่องกง
โคเรียนแอร์ (KE) Korean Air โซล-อินชอน
เจแปนแอร์ไลน์ (JL) Japan Airlines โตเกียว-นาริตะ โอซะกะ ฟุกุโอะกะ
เจ็ตสตาร์แปซิฟิกแอร์ไลน์ (BL) Jetstar Pacific Airlines ดานัง วิญ เว้ ฮานอย ไฮฟอง
เจ็ตสตาร์เอเชียแอร์เวย์ (3K) Jetstar Asia Airways สิงคโปร์
เจ็ตสตาร์แอร์เวย์ (JQ) Jetstar Airways ดาร์วิน ซิดนีย์
ไชน่าเซาเทิร์นแอร์ไลน์ (CZ) China Southern Airlines กว่างโจว
ไชน่าแอร์ไลน์ (CI) China Airlines ไทเป
เซบูแปซิฟิก (5J) Cebu Pacific มะนิลา
เซินเจิ้นแอร์ไลน์ (ZH) Shenzhen Airlines เซินเจิ้น
เซี่ยงไฮ้แอร์ไลน์ (FM) Shanghai Airlines เซี่ยงไฮ้
เตอร์กิชแอร์ไลน์ (TK) Turkish Airlines กรุงเทพฯ-สุวรรณภูมิ อิสตันบูล-อะตาเติร์ก
ไทเกอร์แอร์เวย์ (TR) Tiger Airways สิงคโปร์
ไทยแอร์เอเชีย (FD) Thai AirAsia กรุงเทพฯ-ดอนเมือง
นกแอร์ (DD) Nok Air กรุงเทพฯ-ดอนเมือง หยุดชั่วคราว
ฟิลิปปินส์แอร์ไลน์ (PR) Philippine Airlines มะนิลา
มาเลเซียแอร์ไลน์ (MH) Malaysia Airlines กัวลาลัมเปอร์
แมนดารินแอร์ไลน์ (AE) Mandarin Airlines เกาซุง
ยูนิแอร์ (B7) Uni Air เกาซุง
ยูไนเต็ดแอร์ไลน์ (UA) United Airlines ฮ่องกง
รอแยลบรูไนแอร์ไลน์ (BI) Royal Brunei Airlines บันดาร์เซอรีเบอกาวัน
ลุฟต์ฮันซา (LH) Lufthansa กรุงเทพฯ-สุวรรณภูมิ แฟรงก์เฟิร์ต
ไลออนแอร์ (JT) Lion Air สิงคโปร์
เวียดเจ็ทแอร์ (VJ) VietJet Air กรุงเทพฯสุวรรณภูมิ, ญาจาง, ดานัง, บวนมาถวด , ฟู้โกว๊ก, วินห์, เว้ , ฮานอย, ไฮฟอง
เวียดนามแอร์ไลน์ (VN) Vietnam Airlines กรุงเทพฯ-สุวรรณภูมิ กว่างโจว กัวลาลัมเปอร์ ก่ามาว กุ๋ยเยิน เกาซุง คุนหมิง ซิดนีย์ เซี่ยงไฮ้ โซล ดานัง ดาลัด ตามกี่ ตุยหั่ว โตเกียว ไทเป นะโงะยะ บ่วนมาทวด ปารีส ปักกิ่ง ปูซาน ฟู้กว๊ก พนมเปญ ไพลกู แฟรงก์เฟิร์ต ฟุกุโอะกะ มะนิลา เมลเบิร์น ยาตรัง ย่างกุ้ง ร้ากยา ลอนดอน วิญ เว้ เวียงจันทน์ สิงคโปร์ เสียมราฐ หลวงพระบาง โอซะกะ ฮ่องกง ฮานอย ไฮฟอง
สิงคโปร์แอร์ไลน์ (SQ) Singapore Airlines สิงคโปร์
ออลนิปปอนแอร์เวย์ (NH) (เอเอ็นเอ) All Nippon Airways (ANA) โตเกียว
อีวีเอแอร์ (BR) EVA Air ไทเป
เอเชียนาแอร์ไลน์ (OZ) Asiana Airlines โซล ปูซาน
แอร์ไชน่า (CA) Air China ปักกิ่ง หนานหนิง
แอร์ฟรานซ์ (AF) Air France ปารีส
แอร์แม่โขง (P8) Air Mekong คงเด่า ดาลัด บ่วนมาทวด ฟู้ก๊วก ไพลกู ฮานอย
ไทยเวียดเจ็ทแอร์ (VZ) Thai vietjet Air กรุงเทพฯ-สุวรรณภูมิ หยุดชั่วคราว

อ้างอิง

[แก้]