ข้ามไปเนื้อหา

แคมโบเดียอังกอร์แอร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แคมโบเดียอังกอร์แอร์
អាកាសចរណ៍ជាតិ កម្ពុជា អង្គរ អ៊ែរ
IATA ICAO รหัสเรียก
K6 KHV CAMBODIA
เริ่มดำเนินงาน (2009-07-28) 28 กรกฎาคม ค.ศ. 2009 (15 ปี)
ท่าหลักพนมเปญ
ท่ารองเสียมราฐ–อังกอร์
นครโฮจิมินห์
สะสมไมล์AngkorWards
ขนาดฝูงบิน5
จุดหมาย21
บริษัทแม่รัฐบาลหลวงกัมพูชา (51%)
เวียดนามแอร์ไลน์ (49% - ขายให้กับผู้ซื้อนิรนาม)
สำนักงานใหญ่กัมพูชา พนมเปญ ประเทศกัมพูชา
บุคลากรหลัก
เว็บไซต์ www.cambodiaangkorair.com

แคมโบเดียอังกอร์แอร์ (เขมร: កម្ពុជា អង្គរ អ៊ែរ) เป็นสายการบินประจำชาติของประเทศกัมพูชา[1] โดยมีฐานการบินที่ท่าอากาศยานนานาชาติพนมเปญและมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่พนมเปญซึ่งเป็นเมืองหลวง[2] สายการบินเริ่มให้บริการเชิงพาณิชย์วันที่ 28 กรกฎาคม ค.ศ. 2009 มีรัฐบาลกัมพูชาเป็นเจ้าของ (51%) ร่วมกับสายการบินเวียดนามแอร์ไลน์ (49%) ซึ่งใช้ข้อตกลงการบินโดยใช้รหัสเที่ยวบินร่วมกัน เครื่องบินส่วนใหญ่เช่ามาจากเวียดนามแอร์ไลน์[3]

ประวัติ

[แก้]

แคมโบเดียอังกอร์แอร์ ถูกก่อตั้งและให้บริการเต็มรูปแบบในเดือนกรกฎาคม ปี ค.ศ. 2009 โดยรัฐบาลกัมพูชาและเวียดนามแอร์ไลน์ พร้อมเงินทุนหนึ่งร้อยล้านดอลลาร์ ให้บริการชั้นประหยัดและชั้นธุรกิจบน Airbus A321 ส่วน ATR 72 ให้บริการเฉพาะชั้นประหยัด โดยสายการบินนี้มาแทนที่รอยัลแอร์แคมโบดจ์ ซึ่งปิดกิจการมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 2001 ปัจจุบัน แคมโบเดียอังกอร์แอร์ให้บริการเที่ยวบินไปยังจุดหมายต่าง ๆ ในทวีปเอเชีย และมีส่วนช่วยในการพานักท่องเที่ยวมาเยี่ยมชมนครวัด จังหวัดเสียมราฐ[4]

นับตั้งแต่เริ่มให้บริการ แคมโบเดียอังกอร์แอร์ได้กลายมาเป็นผู้ผูกขาดรายใหญ่ของตลาดการบินในประเทศ อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบัน สายการบินต้องแข่งขันเที่ยวบินในประเทศกับสามสายการบินเอกชน ได้แก่ แคมโบเดียบายนแอร์ไลน์, บัสซากาแอร์ และสกายอังกอร์แอร์ไลน์

เหตุการณ์สำคัญ

[แก้]
  • 28 กรกฎาคม ค.ศ. 2009 – เริ่มให้บริการเครื่องบิน ATR 72 ในหลาย ๆ เส้นทาง ได้แก่ พนมเปญ – เสียมราฐ, พนมเปญ – โฮจิมินห์ และ เสียมราฐ – โฮจิมินห์ และได้ทำข้อตกลงการบินโดยใช้รหัสเที่ยวบินร่วมกันกับสายการบินเวียดนามแอร์ไลน์ในเส้นทางที่บินไปยังเมืองในเวียดนาม[5]
  • 2 กันยายน ค.ศ. 2009 – ได้รับมอบเครื่องบิน Airbus A321[6]
  • 14 ธันวาคม ค.ศ. 2011 – เปิดเที่ยวบินในประเทศเพิ่มเติม เส้นทางเสียมราฐ – เมืองพระสีหนุ โดยใช้เครื่องบิน ATR 72[7]
  • 30 พฤศจิกายน ค.ศ. 2012 – เปิดเที่ยวบินระหว่างประเทศ จากเสียมราฐ มายังกรุงเทพมหานคร (สุวรรณภูมิ) โดยเครื่องบิน ATR 72 ซึ่งก่อนหน้านี้ สายการบินบางกอกแอร์เวย์ให้บริการเส้นทางนี้ ต่อมาวันที่ 31 มีนาคม ค.ศ. 2013 ได้เพิ่มเที่ยวบินเป็น 2 เที่ยวต่อวัน และในเดือนกรกฎาคมปีเดียวกัน ได้เพิ่มเที่ยวบินเป็น 3 เที่ยวต่อวัน[8][9]
  • 7 มกราคม ค.ศ. 2013 – เปิดเที่ยวบินไปยังฮานอย โดยมีทั้งเที่ยวบินจากพนมเปญและเสียมราฐ ใช้เครื่องบิน A321 นับเป็นจุดหมายปลายทางแห่งที่สองในประเทศเวียดนาม[8][10]
  • 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2013 – เปิดเที่ยวบินจากพนมเปญ ไปยังกรุงเทพมหานคร (สุวรรณภูมิ) โดยเครื่องบิน A321[11]
  • 6 มีนาคม ค.ศ. 2013
    • แคมโบเดียอังกอร์แอร์ คาดการณ์ว่าจะขาดทุนเป็นครั้งแรก เนื่องจากอัตราการแข่งขันที่สูงขึ้น[12]
    • ปรับเส้นทางการบิน เสียมราฐ – เมืองพระสีหนุ โดยให้แวะรับผู้โดยสารที่พนมเปญในเที่ยวกลับ (เที่ยวไปบินตรงเหมือนเดิม)[13]
  • 14 กรกฎาคม ค.ศ. 2013 – เปิดเที่ยวบินแบบเช่าเหมาลำ เสียมราฐ – เซี่ยเหมิน[14]
  • 26 กันยายน ค.ศ. 2013 – เปิดเที่ยวบิน เสียมราฐ – กวางโจว โดยเครื่องบิน Airbus A321 ซึ่งก่อนหน้านี้ สายการบินไชนาเซาเทิร์นแอร์ไลน์ให้บริการเส้นทางนี้[15]
  • 26 ธันวาคม ค.ศ. 2013
    • เปิดเที่ยวบินเฉพาะฤดูกาล เสียมราฐ – หางโจว
    • เปิดเที่ยวบินไปยังเซี่ยงไฮ้-ผู่ตง โดยมีต้นทางจากเสียมราฐและพนมเปญ ใช้เครื่องบิน Airbus A321 โดยมี 4 เที่ยวต่อสัปดาห์[16]
  • 18 และ 23 มกราคม ค.ศ. 2014 – เปิดเที่ยวบินแบบเช่าเหมาลำไปยังเวินโจวและเจิ้งโจว
  • 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2014 – เปิดเที่ยวบินแบบเช่าเหมาลำ เสียมราฐ – ฟูโจว
  • 16 มกราคม ค.ศ. 2015 – เปิดเที่ยวบินแบบเช่าเหมาลำไปยังจางีสิงคโปร์ ใช้เครื่องบิน Airbus A321
  • 25 ตุลาคม ค.ศ. 2015 – มีแผนเปิดเที่ยวบินอินโดจีน เชื่อมต่อระหว่างเวียดนาม กัมพูชา และลาว ในเส้นทางโฮจิมินห์ – พนมเปญ – เวียงจันทน์ – ฮานอย โดยจะใช้เครื่องบิน Airbus A321
  • 30 ตุลาคม ค.ศ. 2015 – กลับมาเปิดเที่ยวบิน เสียมราฐ – เซี่ยงไฮ้ หลังจากที่ปิดไปชั่วคราว
  • 25 ธันวาคม ค.ศ. 2015 – เปิดเที่ยวบินแบบเช่าเหมาลำไปยังโซล-อินช็อน
  • 30 ธันวาคม ค.ศ. 2016 – กลับมาเปิดเที่ยวบิน เสียมราฐ – ฮานอย โดยใช้เครื่องบิน A320-200 ลำใหม่

จุดหมายปลายทาง

[แก้]
ฐานการบินหลัก
เมืองสำคัญ
เส้นทางในอนาคต
เส้นทางแบบเช่าเหมาลำ
เส้นทางที่ยกเลิกแล้ว
นคร ประเทศ ท่าอากาศยาน ปีที่เริ่มให้บริการ ปีที่ยุติการให้บริการ อ้างอิงและหมายเหตุ
พนมเปญ กัมพูชา ท่าอากาศยานนานาชาติพนมเปญ ค.ศ. 2009 ปัจจุบัน ฐานการบินหลัก[17]
เสียมราฐ กัมพูชา ท่าอากาศยานนานาชาติเสียมราฐ ค.ศ. 2009 ปัจจุบัน ฐานการบินหลัก[17]
พระสีหนุ กัมพูชา ท่าอากาศยานนานาชาติจังหวัดพระสีหนุ ค.ศ. 2012 ปัจจุบัน
โซล เกาหลีใต้ ท่าอากาศยานนานาชาติอินช็อน ค.ศ. 2016 ปัจจุบัน [18]
กวางโจว จีน ท่าอากาศยานนานาชาติกว่างโจวไป๋-ยฺหวิน ค.ศ. 2013 ปัจจุบัน
เซี่ยงไฮ้ จีน ท่าอากาศยานนานาชาติซ่างไห่ผู่ตง ค.ศ. 2013 ปัจจุบัน
ฉางชา จีน ท่าอากาศยานนานาชาติฉางชาฮวงหัว ค.ศ. 2015 ปัจจุบัน เช่าเหมาลำ
เฉิงตู จีน ท่าอากาศยานนานาชาติเฉิงตูซวงหลิว ค.ศ. 2015 ปัจจุบัน เช่าเหมาลำ
ฉงชิ่ง จีน ท่าอากาศยานนานาชาติฉงชิ่งเจียงเป่ย์ ค.ศ. 2015 ปัจจุบัน เช่าเหมาลำ
หางโจว จีน ท่าอากาศยานนานาชาติหางโจวเซี่ยวชาน ค.ศ. 2015 ปัจจุบัน เช่าเหมาลำ
เหอเฝย์ จีน ท่าอากาศยานนานาชาติเหอเฝย์ซิ่นเฉียว ค.ศ. 2015 ปัจจุบัน เช่าเหมาลำ
หนานชาง จีน ท่าอากาศยานนานาชาติหนานชางฉางเป่ย์ ค.ศ. 2015 ปัจจุบัน เช่าเหมาลำ
หนิงปัว จีน ท่าอากาศยานนานาชาติหนิงปัวหลีเฉอ ค.ศ. 2015 ปัจจุบัน เช่าเหมาลำ
เสินหยาง จีน ท่าอากาศยานนานาชาติเสินหยางเถ่าเสียน ค.ศ. 2015 ปัจจุบัน เช่าเหมาลำ
เทียนจิน จีน ท่าอากาศยานนานาชาติเทียนจินปินไห่ ค.ศ. 2015 ปัจจุบัน เช่าเหมาลำ
เวินโจว จีน ท่าอากาศยานนานาชาติเวินโจวหลองหวัน ค.ศ. 2015 ปัจจุบัน เช่าเหมาลำ
อู๋ซี จีน ท่าอากาศยานนานาชาติสูหนันโฉวฝาง ค.ศ. 2015 ปัจจุบัน เช่าเหมาลำ
เซี่ยเหมิน จีน ท่าอากาศยานนานาชาติเซี่ยเหมินเกาจี ค.ศ. 2012 ค.ศ. 2012 ยกเลิกแล้ว
เจิ้งโจว จีน ท่าอากาศยานนานาชาติเจิ้งโจวซินเจิ้ง ค.ศ. 2015 ปัจจุบัน เช่าเหมาลำ
สิงคโปร์ สิงคโปร์ ท่าอากาศยานจางีสิงคโปร์ ค.ศ. 2015 ปัจจุบัน เช่าเหมาลำ
กรุงเทพมหานคร ไทย ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ค.ศ. 2013 ปัจจุบัน
ดานัง เวียดนาม ท่าอากาศยานนานาชาติดานัง ค.ศ. 2016 ปัจจุบัน [19]
ฮานอย เวียดนาม ท่าอากาศยานนานาชาติโหน่ยบ่าย ค.ศ. 2015 ปัจจุบัน
โฮจิมินห์ เวียดนาม ท่าอากาศยานนานาชาติเตินเซินเญิ้ต ค.ศ. 2009 ปัจจุบัน เมืองสำคัญ
หลวงพระบาง ลาว ท่าอากาศยานนานาชาติหลวงพระบาง ค.ศ. 2015 ปัจจุบัน
เวียงจันทน์ ลาว ท่าอากาศยานนานาชาติวัตไต ค.ศ. 2015 ค.ศ. 2016 ยกเลิกแล้ว

ข้อตกลงการบินร่วม

[แก้]

แคมโบเดียอังกอร์แอร์ได้ทำข้อตกลงการบินร่วมกับสายการบินดังต่อไปนี้:

ฝูงบิน

[แก้]
แอร์บัส เอ321 ของแคมโบเดียอังกอร์แอร์ท่าอากาศยานเตินเซินเญิ้ต

ณ เดือนตุลาคม ค.ศ. 2023 แคมโบเดียอังกอร์แอร์มีเครื่องบินประจำการในฝูงบินดังนี้:[20][21]

ฝูงบินของสายการบินแคมโบเดียอังกอร์แอร์
เครื่องบิน ประจำการ คำสั่งซื้อ จำนวนที่นั่ง หมายเหตุ
ทั้งหมด
แอร์บัส เอ320-200 2 0 180 180
แอร์บัส เอ321-200 1 16 168 184
เอทีอาร์ 72-500 2 0 68 68
ทั้งหมด 5

แคมโบเดียอังกอร์แอร์มีอายุฝูงบินเฉลี่ย 10.5 ปี

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Cambodia gets national carrier with Vietnam's help". Alibaba.com. 26 กรกฎาคม 2009. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-16. สืบค้นเมื่อ 16 July 2012.
  2. "Contact Us". Cambodia Angkor Air. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-02-23. สืบค้นเมื่อ 2015-02-22. Phnom Penh (Head Office): House 206A, Preah Norodom Boulevard, Phnom Penh city, Cambodia
  3. "Contacts เก็บถาวร 4 ตุลาคม 2009 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน." Cambodia Angkor Air. Retrieved 8 October 2009.
  4. "Cambodia launches national airline". Saigon Giai Phong. 27 July 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-24. สืบค้นเมื่อ 10 July 2013.
  5. "Camdobia Angkor Air launches operation". airlineroute.net/. 28 July 2009. สืบค้นเมื่อ 14 September 2013.
  6. "New carrier buys Airbus jet". Phnom Penh Post. 2 September 2009. สืบค้นเมื่อ 17 September 2013.
  7. "Cambodia Angkor Air to start Siem Reap – Sihanoukville from Dec 2011". airlineroute.net/. 9 November 2011. สืบค้นเมื่อ 14 September 2013.
  8. 8.0 8.1 "Cambodia Angkor Air to Start Siem Reap – Bangkok Service from late-Nov 2012". airlineroute.net/. 9 November 2012. สืบค้นเมื่อ 14 September 2013.
  9. "Cambodia Angkor Air Increases Ho Chi Minh / Bangkok Service from July 2013". airlineroute.net/. 19 June 2013. สืบค้นเมื่อ 14 September 2013.
  10. "Cambodia Angkor Air Expands Operation from Jan 2013". airlineroute.net/. 2 January 2013. สืบค้นเมื่อ 14 September 2013.
  11. "Cambodia Angkor flies to Bangkok". opendevelopmentcambodia.net. 4 January 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-09-05. สืบค้นเมื่อ 14 September 2013.
  12. "Angkor Air forecasts first loss". Phnom Penh Post. 6 March 2013. สืบค้นเมื่อ 14 September 2013.
  13. "Cambodia Angkor Air S13 Sihanoukville Operation Changes". airlineroute.net/. 6 March 2013. สืบค้นเมื่อ 14 September 2013.
  14. "Airline will offer more China trips". opendevelopmentcambodia.net. 25 June 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-09-06. สืบค้นเมื่อ 14 September 2013.
  15. "Cambodia Angkor Air to Start Siem Reap – Guangzhou Service from late-September 2013". airlineroute.net/. 11 September 2013. สืบค้นเมื่อ 14 September 2013.
  16. "Cambodia Angkor Air Plans Shanghai Service Launch from late-December 2013". airlineroute.net/. 15 October 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-15. สืบค้นเมื่อ 11 November 2013.
  17. 17.0 17.1 "Cambodia Angkor Air destinations". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-14. สืบค้นเมื่อ 2017-08-01.
  18. "Cambodia Angkor Air to Start Phnom Penh – Seoul Operation from April 2016". airlineroute. สืบค้นเมื่อ 7 March 2016.
  19. "Cambodia Angkor Air Adds New Vietnam Routes in S16". airlineroute. สืบค้นเมื่อ 8 March 2016.
  20. "Cambodia Angkor Air Fleet Details and History". Planespotters.net. 22 June 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-07. สืบค้นเมื่อ 12 April 2015.
  21. "Flight Info|Cambodia Angkor Air - Proudly The National Flag Carrier". www.cambodiaangkorair.com (ภาษาเวียดนาม).

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]