ข้ามไปเนื้อหา

จรัลธาดา กรรณสูต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จรัลธาดา กรรณสูต
องคมนตรี
เริ่มดำรงตำแหน่ง
12 ธันวาคม พ.ศ. 2559 (7 ปี 327 วัน)
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด22 สิงหาคม พ.ศ. 2492 (75 ปี)
ศาสนาพุทธ
บุพการี

จรัลธาดา กรรณสูต (22 สิงหาคม 2492 -) องคมนตรี[1] ประธานคณะกรรมการมูลนิธิโครงการหลวง[2] ประธานกรรมการบริหารกองทุนพระราชทานสำหรับศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ[3] รองประธานมูลนิธิโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร อดีตที่ปรึกษาสำนักราชเลขาธิการ อดีตปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และอดีตอธิบดีกรมประมง[4]

ประวัติ

[แก้]

จรัลธาดา กรรณสูต หรือที่รู้จักในนาม ดร.จรัลธาดา กรรณสูต เกิดเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2492 เป็นบุตรชายของนายปรีดา กรรณสูต อดีตอธิบดีกรมประมงและอดีตรัฐมนตรีว่ากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในสมัยรัฐบาลพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ กับหม่อมราชวงศ์เติมแสงไข รพีพัฒน์ พระธิดาในหม่อมเจ้าไขแสงรพี รพีพัฒน์ และ หม่อมเจ้าเริงจิตร์แจรง อาภากร จรัลธาดาจึงมีศักดิ์เป็นพระปนัดดา (เหลน) ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ และพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์

จบการศึกษาจากคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ก่อนจะเข้ารับราชการที่กรมประมง นอกจากนี้ยังได้รับรางวัลนิสิตเก่าดีเด่นประเภทบริหารภาครัฐ ประจำปี พ.ศ. 2553 จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์[5]

ในปี พ.ศ. 2554 ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ญี่ปุ่น The Order of the Rising Sun,Gold Rays with Neck Ribbon จากสมเด็จพระจักรพรรดิญี่ปุ่น[6] เช่นเดียวกับที่นายปรีดาผู้เป็นบิดาเคยได้รับ

การทำงาน

[แก้]

จรัลธาดา เคยรับราชการในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เคยดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมประมง และเป็นปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นตำแหน่งสูงสุด ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นรองประธานกรรมการในคณะกรรมการที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิฝนหลวง เป็นองคมนตรีในรัชกาลที่ 10 เป็นประธานคณะกรรมการมูลนิธิโครงการหลวง[7] เป็นประธานกรรมการบริหารกองทุนพระราชทานสำหรับศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และรองประธานกรรมการมูลนิธิโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. พระราชโองการ ประกาศแต่งตั้งองคมนตรี ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓ ตอน ๒๙๐ ง พิเศษ หน้า ๑ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๕๙
  2. พระราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งคณะกรรมการมูลนิธิโครงการหลวง
  3. พระราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งคณะกรรการบริหารกองทุนพระราชทานสำหรับศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
  4. เปิดแฟ้มประวัติ 3 องคมนตรีป้ายแดง “วิรัช-จรัลธาดา-พล.อ.กัมปนาท”
  5. "รางวัลนิสิตเก่าดีเด่นมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-12-21. สืบค้นเมื่อ 2016-12-14.
  6. จากรู่นสู่รุ่น "ดร.จรัลธาดา กรรณสูต" รับเครื่องราชฯ จากญี่ปุ่น[ลิงก์เสีย]
  7. มูลนิธิโครงการหลวงเปิดใหม่‘สาขาวังแดง’
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2009-01-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๔, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2007-01-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๓ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๑๑, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๔๙
  10. 10.0 10.1 ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้า เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก และเหรียญรัตนาภรณ์ เก็บถาวร 2019-08-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๖ ตอนที่ ๔๖ ข หน้า ๑, ๑๖ สิงหาคม ๒๕๖๒
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๓๔๗, ๒๕ ธันวาคม ๒๕๓๙