การระบาดทั่วของโควิด-19 ในทวีปแอฟริกา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การระบาดทั่วของโควิด-19 ในทวีปแอฟริกา
แผนที่การระบาดทั่วของโควิด-19 ในทวีปแอฟริกาในวันที่ 23 พฤษภาคม ค.ศ. 2021
  ผู้ติดเชื้อยืนยันมากกว่า 1,000,000 คน
  ผู้ติดเชื้อยืนยัน 100,000–999,999 คน
  ผู้ติดเชื้อยืนยัน 10,000–99,999 คน
  ผู้ติดเชื้อยืนยัน 1,000–9,999 คน
  ผู้ติดเชื้อยืนยัน 0–999 คน
  ไม่มีผู้ติดเชื้อยืนยันหรือข้อมูลไม่เพียงพอ
โรคโควิด-19
สายพันธุ์ไวรัสSARS-CoV-2
สถานที่ทวีปแอฟริกา
การระบาดครั้งแรกอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย์ ประเทศจีน
ผู้ป่วยต้นปัญหาไคโร ประเทศอียิปต์
ผู้ป่วยยืนยันสะสม8,270,873 (ในวันที่ 23 กันยายน)[1]
ผู้ป่วยปัจจุบัน507,462 (ในวันที่ 23 กันยายน)[1]
หาย7,555,632 (ในวันที่ 23 กันยายน)[1]
เสียชีวิต207,779 (ในวันที่ 23 กันยายน)[1]
ดินแดน58[1]

มีการยืนยันว่าโควิด-19เริ่มเข้าทวีปแอฟริกาในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2020 โดยมีผู้ติดเชื้อรายแรกที่ประเทศอียิปต์[2][3] ผู้ติดเชื้อรายแรกในแอฟริกาใต้สะฮาราอยู่ที่ประเทศไนจีเรียเมื่อช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2020[4] ไวรัสกระจายไปทั่วทวีปภายในสามเดือน โดยประเทศเลโซโทเป็นประเทศสุดท้ายที่มีรายงานผู้ติดเชื้อในวันที่ 13 พฤษภาคม ค.ศ. 2020[5][6] ในวันที่ 26 พฤษภาคม ประเทศในทวีปแอฟริกาส่วนใหญ่ประสบกับการแพร่เชื้อในชุมชน ถึงแม้ว่าจะมีสมรรถภาพในการตรวจสอบอย่างจำกัดก็ตาม[7] ผู้ติดเชื้อที่เข้ามาในประเทศส่วนใหญ่มาจากทวีปยุโรปและสหรัฐมากกว่าประเทศจีน[8]

ในช่วงต้นเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2021 ทวีปแอฟริกาประสบกับคลื่นโควิดระลอกที่สาม ทำให้มีคนติดเชื้อในประเทศที่มีผู้ติดเชื้ออยู่แล้วเพิ่มขึ้น 14 ประเทศ[9] ในวันที่ 4 กรกฎาคม ทวีปนี้มีผู้ติดเชื้อรายใหม่มากกว่า 251,000 คน ซึ่งเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่แล้วร้อยละ 20 และเพิ่มขึ้นร้อยละ 12 จากยอดสูงสุดในเดือนมกราคม ประเทศในแอฟริกามากกว่า 16 ประเทศ ซึ่งรวมถึงมาลาวีและเซเนกัล ติดเชื้อจนทำลายสถิติใหม่[10] องค์การอนามัยโลกกล่าวถึงสัปดาห์นั้นว่าเป็น'สัปดาห์โรคระบาดที่เลวร้ายที่สุด'เท่าที่แอฟริกาเคยเจอมา[11]

มีความเชื่อกันอย่างแพร่หลายว่ามีการรายงานต่ำกว่าความเป็นจริง (under-reporting) ในหลายประเทศที่ระบบบริการสุขภาพไม่ค่อยได้รับการพัฒนา[12] ในช่วงฤดูใบไม้ร่วง ค.ศ. 2020 การวิจัยความชุกของโรค (seroprevalence) ที่จูบา ประเทศซูดานใต้ มีการรายงานผู้ติดเชื้อน้อยกว่าร้อยละ 1 ของผู้ติดเชื้อทั้งหมด[13]

มีความกังวลต่อการค้นพบไวรัสสายพันธุ์ใหม่ในทวีปแอฟริกา: ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2020 มีการพบสายพันธุ์เบตาในประเทศแอฟริกาใต้[14] และในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2020 มีการพบสายพันธุ์อีตาในประเทศไนจีเรีย[15][16]

ในวันที่ 13 มกราคม ค.ศ. 2021 มีการประกาศจากสหภาพแอฟริกาว่าได้สั่งจองวัคซีนมากเกือบ 300 ล้านโดส ซึ่งมีจุดประสงค์ในการแจกจ่ายวัคซีนโควิด-19 ไปยังประเทศที่มีรายได้น้อย[17] อย่างไรก็ตาม ประเทศในทวีปแอฟริกาต้องซื้อวัคซีนบางชนิดด้วยเงินมากกว่าประเทศในทวีปยุโรปมากกว่า 2 เท่า[18] ในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2021 กลุ่ม 7 (G-7) สัญญาว่าจะกระจายวัคซีนอย่างเท่าเทียมกัน แม้ว่าจะมีการให้ข้อมูลเพียงเล็กน้อยก็ตาม[19] สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ยังเป็นผู้ให้วัคซีนในทวีปนี้ด้วย[20][21]

แม้ว่าจะมีความก้าวหน้าถึงขนาดนี้ ทวีปแอฟริกาเป็นทวีปที่มีผู้ได้รับวัคซีนน้อยที่สุดในโลก[22] โดยในช่วงต้นเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2021 องค์การอนามัยโลกรายงานว่าการจัดส่งวัคซีนโควิด-19 ในทวีปแอฟริกาลดลงจนถึงขั้น"เกือบหยุด"[23] ในวันที่ 8 มิถุนายน โม อิบรอฮีม เศรษฐีพันล้านใจบุญ วิจารณ์ประชาคมระหว่างประเทศอย่างหนักว่าประสบความล้มเหลวในการกระจายวัคซีนอย่างเท่าเทียมกันทั่วโลก[24] จนถึงวันที่ 8 กรกฎาคม ค.ศ. 2021 มีแค่ร้อยละ 2 ของทวีปเท่านั้นที่ได้รับการฉีดวัคซีนแล้ว[10]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 "Coronavirus update (live)". สืบค้นเมื่อ 23 September 2021.
  2. "Beijing orders 14-day quarantine for all returnees". BBC News. 15 February 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 February 2020. สืบค้นเมื่อ 24 March 2020.
  3. "Egypt announces first Coronavirus infection". Egypt Today. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 February 2020. สืบค้นเมื่อ 24 March 2020.
  4. "Nigeria confirms first coronavirus case". BBC News. 28 February 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 March 2020. สืบค้นเมื่อ 24 March 2020.
  5. "Remote Lesotho becomes last country in Africa to record COVID-19 case". Reuters (ภาษาอังกฤษ). 13 May 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 May 2020. สืบค้นเมื่อ 13 May 2020.
  6. "Coronavirus live updates: Lesotho becomes last African nation to report a coronavirus case". Los Angeles Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 May 2020. สืบค้นเมื่อ 13 May 2020.
  7. Akinwotu E (26 May 2020). "Experts sound alarm over lack of Covid-19 test kits in Africa". The Guardian (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 May 2020. สืบค้นเมื่อ 29 May 2020.
  8. Maclean R (17 March 2020). "Africa Braces for Coronavirus, but Slowly". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 March 2020. สืบค้นเมื่อ 25 March 2020.
  9. "Third wave sweeps across Africa as Covid vaccine imports dry up". The Guardian (ภาษาอังกฤษ). 7 June 2021. สืบค้นเมื่อ 9 June 2021.
  10. 10.0 10.1 Mendez R (2021-07-08). "Africa suffers worst surge in Covid cases as delta variant spurs third wave of pandemic". CNBC (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-07-09.
  11. Dahir AL (2021-07-08). "Africa marks its 'worst pandemic week' yet, with cases surging and vaccine scarce, the W.H.O. says". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 2021-07-09.
  12. Burke J, Mumin AA (2 May 2020). "Somali medics report rapid rise in deaths as Covid-19 fears grow". The Guardian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 May 2020. สืบค้นเมื่อ 2 May 2020.
  13. Wiens KE, Mawien PN, Rumunu J, Slater D, Jones FK, Moheed S, และคณะ (June 2021). "Seroprevalence of Severe Acute Respiratory Syndrome Coronavirus 2 IgG in Juba, South Sudan, 20201". Emerging Infectious Diseases. 27 (6): 1598–1606. doi:10.3201/eid2706.210568. PMC 8153877. PMID 34013872.
  14. Latif AA, Mullen JL, Alkuzweny M, Tsueng G, Cano M, Haag E, และคณะ. "B.1.351 Lineage Report". outbreak.info. สืบค้นเมื่อ 6 June 2021.
  15. "Lineage B.1.525". cov-lineages.org. Pango team. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-06. สืบค้นเมื่อ 6 June 2021.
  16. "Another new COVID strain found in Nigeria, says Africa CDC" (ภาษาอังกฤษ). Al Jazeera. 24 December 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 December 2020. สืบค้นเมื่อ 24 December 2020.
  17. "Africa secures 300 million COVID-19 vaccine doses in deal with manufacturers". Africanews (ภาษาอังกฤษ). 13 January 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 January 2021. สืบค้นเมื่อ 13 January 2021.
  18. "'Deeply Alarming': AstraZeneca Charging South Africa More Than Double What Europeans Pay for Covid-19 Vaccine". Common Dreams (ภาษาอังกฤษ). 22 January 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 March 2021. สืบค้นเมื่อ 22 January 2021.
  19. Lawless J (19 February 2021). "G-7 vows 'equitable' world vaccine access, but details scant". AP News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 February 2021. สืบค้นเมื่อ 19 February 2021.
  20. "Vaccine Diplomacy: COVID and the Return of Soft Power". The Globalist (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 30 April 2021. สืบค้นเมื่อ 8 June 2021.
  21. "Covid-19 Africa: What is happening with vaccines?". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 3 June 2021. สืบค้นเมื่อ 8 June 2021.
  22. "Rapidly Spreading Variants Compound Africa's Coronavirus Woes" (ภาษาอังกฤษ). Bloomberg L.P. 5 May 2021. สืบค้นเมื่อ 5 May 2021.
  23. "Alarm in Africa: Virus surges, vaccines grind to 'near halt'". AP NEWS. 3 June 2021. สืบค้นเมื่อ 9 June 2021.
  24. "Billionaire philanthropist: vaccine hoarding hurts Africa". AP NEWS. 9 June 2021. สืบค้นเมื่อ 9 June 2021.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]