กัมบะ โอซากะ
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
ชื่อเต็ม | ガンバ大阪 (Gamba Ōsaka) | ||
---|---|---|---|
ฉายา | เจ้าเวหา, เด็กสายฟ้า | ||
ก่อตั้ง | ค.ศ. 1980 ค.ศ. 1991 (ในชื่อ กัมบะโอซากะ) | ||
สนาม | สนามฟุตบอลนครซุอิตะ ซูอิตะ จังหวัดโอซากะ | ||
ความจุ | 39,694 ที่นั่ง | ||
เจ้าของ | พานาโซนิค | ||
ประธาน | เทรูฮิซะ โนโระ | ||
ผู้จัดการ | Dani Poyatos | ||
ลีก | เจลีก ดิวิชัน 1 | ||
2022 | อันดับที่ 15 | ||
เว็บไซต์ | เว็บไซต์สโมสร | ||
|
กัมบะโอซากะ (ญี่ปุ่น: ガンバ大阪; โรมาจิ: Gamba Ōsaka) เป็นสโมสรฟุตบอลในประเทศญี่ปุ่น ปัจจุบันเล่นอยู่ในเจลีก ดิวิชัน 1 โดยทีมกัมบะอยู่ที่เมืองซุยตะ จังหวัดโอซากะ ทีมกัมบะได้รับชัยชนะครั้งแรกในเจลีกในปี ค.ศ. 2005 นอกจากนี้ ยังสามารถคว้าแชมป์เอเอฟซี แชมเปียนส์ลีกได้สำเร็จเป็นครั้งแรก ค.ศ. 2008
คำว่า กัมบะ ในภาษาญี่ปุ่นมีความหมายว่า "พยายามทำให้ดีที่สุด" มาจากคำว่า กัมบาเระ แต่ชื่อจริงของทีมมาจากภาษาอิตาลี คำว่า กัมบา ที่แปลว่า "ขา"
อดีตมีนักฟุตบอลชาวไทยร่วมทำหน้าที่กับสโมสรแห่งนี้ด้วยคือ วิทยา เลาหกุล, นที ทองสุขแก้ว, รณชัย สยมชัย
ประวัติ
[แก้]กัมบะโอซากะ ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1980 ในชื่อ สโมสรฟุตบอลมัตสึชิตะ ในจังหวัดนาระ และเปลี่ยนชื่อมาเป็น กัมบะโอซากะ เมื่อย้ายมาอยู่ที่จังหวัดโอซากะ ในปี ค.ศ. 1991 และได้เข้าร่วมเจลีกในปี ค.ศ. 1992
ในปี ค.ศ. 2005 กัมบะโอซากะ สร้างประวัติศาสตร์ด้วยการเป็นแชมป์เจลีกครั้งแรก ต่อด้วยการสร้างประวัติศาสตร์คว้าแชมป์เอเอฟซี แชมเปียนส์ลีกมาครองได้เป็นครั้งแรก ในปี 2008 ด้วยการเอาชนะทีมอะเดเลด ยูไนเต็ด จากออสเตรเลียขาดลอย 5-0
ในวันที่ 1 ธันวาคม ค.ศ. 2012 กัมบะโอซากะ ตกชั้นจากเจลีก ดิวิชัน 1มาสู่เจลีก ดิวิชัน 2 หลังจบด้วยอันดับ 17 ในลีกแม้จะยิงประตูมากกว่าทีมอื่นก็ตาม
สัญลักษณ์สโมสร
[แก้]-
โลโก้ในอดีต
สนาม
[แก้]กัมบะโอซากะ ใช้สนามกีฬาโอซากะเอ็กซ์โป '70 ซึ่งตั้งอยู่ที่สวนที่ระลึกงานเอ็กซ์โป เป็นสยามเหย้า เป็นสนามที่มีลู่วิ่ง ความจุผู้ชม 20,000 คน และสโมสรมีแผนจะสร้างสนามแห่งใหม่เป็นสนามฟุตบอลโดยเฉพาะ ภายในบริเวณสวนที่ระลึกงานเอ็กซ์โป
ผลงานในเจลีก
[แก้]ฤดูกาล | ลีก | จำนวนทีม | อันดับ | จำนวนผู้ชมเฉลี่ย | เจลีก คัพ | ถ้วยจักรพรรดิ | ฟุตบอลเอเชีย | |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1992 | - | - | - | - | รอบแบ่งกลุ่ม | รอบ 8 ทีมสุดท้าย | - | - |
1993 | J1 | 10 | 7 | 21,571 | รอบรองชนะเลิศ | รอบ 2 | - | - |
1994 | J1 | 12 | 10 | 22,367 | รอบรองชนะเลิศ | รอบรองชนะเลิศ | - | - |
1995 | J1 | 14 | 14 | 13,310 | - | รอบรองชนะเลิศ | - | - |
1996 | J1 | 16 | 12 | 8,004 | รอบแบ่งกลุ่ม | รอบรองชนะเลิศ | - | - |
1997 | J1 | 17 | 4 | 8,443 | รอบแบ่งกลุ่ม | รอบรองชนะเลิศ | - | - |
1998 | J1 | 18 | 15 | 8,723 | รอบแบ่งกลุ่ม | รอบ 3 | - | - |
1999 | J1 | 16 | 11 | 7,996 | รอบ 2 | รอบ 4 | - | - |
2000 | J1 | 16 | 6 | 9,794 | รอบ 2 | รอบรองชนะเลิศ | - | - |
2001 | J1 | 16 | 7 | 11,723 | รอบ 2 | รอบ 8 ทีมสุดท้าย | - | - |
2002 | J1 | 16 | 3 | 12,762 | รอบรองชนะเลิศ | รอบ 4 | - | - |
2003 | J1 | 16 | 10 | 10,222 | รอบ 8 ทีมสุดท้าย | รอบ 4 | - | - |
2004 | J1 | 16 | 3 | 12,517 | รอบ 8 ทีมสุดท้าย | รอบรองชนะเลิศ | - | - |
2005 | J1 | 18 | 1 | 15,966 | รองชนะเลิศ | รอบรองชนะเลิศ | - | - |
2006 | J1 | 18 | 3 | 16,259 | รอบ 8 ทีมสุดท้าย | รองชนะเลิศ | CL | รอบแบ่งกลุ่ม |
2007 | J1 | 18 | 3 | 17,439 | ชนะเลิศ | รอบรองชนะเลิศ | - | - |
2008 | J1 | 18 | 8 | 16,128 | รอบรองชนะเลิศ | ชนะเลิศ | CL | ชนะเลิศ |
2009 | J1 | 18 | 3 | 17,712 | รอบ 8 ทีมสุดท้าย | ชนะเลิศ | CL | รอบ 16 ทีมสุดท้าย |
2010 | J1 | 18 | 2 | 16,654 | รอบ 8 ทีมสุดท้าย | รอบรองชนะเลิศ | CL | รอบ 16 ทีมสุดท้าย |
2011 | J1 | 18 | 3 | 16,411 | รอบรองชนะเลิศ | รอบ 3 | CL | รอบ 16 ทีมสุดท้าย |
2012 | J1 | 18 | 17 | 14,778 | รอบ 8 ทีมสุดท้าย | รองชนะเลิศ | CL | รอบแบ่งกลุ่ม |
2013 | J2 | 22 | 1 | 13,444 | ไม่ได้ร่วมการแข่งขัน | รอบ 3 | CL | ไม่ได้ร่วมการแข่งขัน |
2014 | J1 | 18 | 1 | 15,777 | ชนะเลิศ | ชนะเลิศ | CL | ไม่ได้ร่วมการแข่งขัน |
2015 | J1 | 18 | 2 | 15,999 | รองชนะเลิศ | ชนะเลิศ | รองชนะเลิศ | – |
2016 | J1 | 18 | 4 | 25,342 | รองชนะเลิศ | รอบ 8 ทีมสุดท้าย | Group Stage | – |
2017 | J1 | 18 | 10 | 24,277 | รอบรองชนะเลิศ | รอบ 4 | Group Stage | – |
2018 | J1 | 18 | 16 | 23,485 | รอบ 8 ทีมสุดท้าย | รอบ 2 | – | – |
2019 | J1 | 18 | 7 | 27,708 | รอบรองชนะเลิศ | รอบ 3 |
นักฟุตบอล
[แก้]ทีมปัจจุบัน
[แก้]ข้อมูล ณ วันที่ 26 มกราคม 2015
หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ
|
การจัดอันดับในเอเชีย
[แก้]- ณ วันที่ 10 มีนาคม ค.ศ. 2015[1]
Current Rank | Country | Team |
---|---|---|
39 | ช็อนบุกฮุนไดมอเตอส์ | |
40 | เปอร์ซิบบันดุง | |
41 | บุรีรัมย์ยูไนเต็ด | |
42 | กัมบะโอซากะ | |
43 | อะดีเลดยูไนเต็ด |
บุคคลที่มีผลงานโดดเด่น
[แก้]รายชื่อผู้เล่นตามด้วยปีฤดูกาลฟุตบอล
ผู้เล่น
[แก้]- จุนอิจิ อินะโมะโตะ 1997–2001
- แพทริก เอ็มโบมา 1997–1998
- สึเนะยะซึ มิยะโมะโตะ 1995–2006
- มะซะชิ โองุโระ 1999–2005
- ฟรานซิลโก อาร์เซ 2003
- ยะซุฮิโตะ เอ็นโด 2001–ปัจจุบัน
- อะกิระ คะจิ 2006–ปัจจุบัน
- โช แจ จิน 2009–2010
ผู้ฝึกสอน
[แก้]- วิทยา เลาหกุล 1988–1992
เกียรติประวัติ
[แก้]การแข่งขันในประเทศ
[แก้]ในนามสโมสรฟุตบอลมัตสึชิตะ (ยุคทีมสมัครเล่น)
- ฟุตบอลผู้ใหญ่ชิงถ้วยทั่วประเทศญี่ปุ่น
- ชนะเลิศ (1) : 1983
- ฟุตบอลลีกญี่ปุ่น ดิวิชัน 2
- ชนะเลิศ (1) : 1985–86
- ถ้วยจักรพรรดิ:
- ชนะเลิศ (1) : 1990
ในนามสโมสรฟุตบอลกัมบะโอซากะ (ยุคทีมฟุตบอลอาชีพ)
- เจลีก ดิวิชัน 1
- ชนะเลิศ (2) : 2005, 2014
- รองชนะเลิศ (1) : 2010
- ถ้วยจักรพรรดิ
- ชนะเลิศ (3) : 2008, 2009, 2014
- รองชนะเลิศ (1) : 2006
- เจลีกคัพ
- ชนะเลิศ (2) : 2007, 2014
- รองชนะเลิศ (1) : 2005
- ซีร็อกซ์ ซูเปอร์คัพ
- ชนะเลิศ (1) : 2007
- รองชนะเลิศ (2) : 2006, 2009, 2010
ฟุตบอลเอเชีย
[แก้]- เอเอฟซี แชมเปียนส์ลีก
- ชนะเลิศ (1) : 2008
ฟุตบอลระดับโลก
[แก้]- ฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรโลก
- อันดับที่ 3 : 2008
- ฟุตบอลชิงถ้วยธนาคารซูรูกะ
- รองชนะเลิศ (1) : 2008
ฟุตบอลระดับนานาชาติ รายการเล็ก
[แก้]- ควีนส์คัพ
- ชนะเลิศ (1) : 1992
- แชมเปียน คัพ เอ3
- รองชนะเลิศ (1) : 2006
- แพนแปซิฟิก แชมเปียนชิพ
- ชนะเลิศ (1) : 2008
ผู้จัดการทีม
[แก้]ผู้จัดการทีม | สัญชาติ | อยู่ในตำแหน่ง |
---|---|---|
คุนิชิเกะ คะมะโมะโตะ | ญี่ปุ่น | 1991–94[2] |
ซิกเฟรด์ เฮลด์ | เยอรมนี | 1994–95 |
โจซิป คูเซ | โครเอเชีย | 1996–97 |
เฟดริช คอนซิเลีย | ออสเตรีย | 1997–98 |
เฟเดริค อันโตเนตติ | ฝรั่งเศส | 1998–99 |
ฮิโระชิ ฮะยะโนะ | ญี่ปุ่น | 1999–01 |
คะซุฮิโกะ ทะเคะโมะโตะ | ญี่ปุ่น | 2001–02 |
อะกิระ นิชิโนะ | ญี่ปุ่น | กุมภาพันธ์ 2002 – ธันวาคม 2011 |
โฮเซ คาร์ลอส เซอร์เรา | บราซิล | มกราคม 2012 – มีนาคม 2012 |
มะซะโนะบุ มะสึนะมิ | ญี่ปุ่น | มีนาคม 2012 – มกราคม 2013 |
เคนตะ ฮะเซะงะวะ | ญี่ปุ่น | 2013 – 2017 |
สโมสรพันธมิตร
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Asian Football Clubs Ranking".
{{cite web}}
:|url=
ไม่มีหรือว่างเปล่า (help) - ↑ "Japan Football Hall of Fame". JFA. Japan Football Association.
- ↑ แลกเปลี่ยนศาสตร์ฟุตบอล! ชลบุรีจับมือพันธมิตรลูกหนังกัมบะ โอซาก้า
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์ทางการ (ญี่ปุ่น อังกฤษ)
- กัมบะ โอซากะ ที่เฟซบุ๊ก
- กัมบะ โอซากะ ที่เอกซ์ (ทวิตเตอร์)
- กัมบะ โอซากะ ที่อินสตาแกรม
- กัมบะโอซากะ ที่ยูทูบ