สโมสรฟุตบอลคาโงชิมะยูไนเต็ด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คาโงชิมะยูไนเต็ด
ญี่ปุ่น: 鹿児島ユナイテッド
Kagoshima United FC Crest
ชื่อเต็มสโมสรฟุตบอลคาโงชิมะยูไนเต็ด
ฉายาโยกานิเซะอีเลเวน
ญี่ปุ่น: よかにせイレブン
ก่อตั้ง2014; 10 ปีที่แล้ว (2014)
สนามสนามกีฬาคาโมอิเกะ
จังหวัดคาโงชิมะ
Ground ความจุ19,934 ที่นั่ง
ประธานสึโยชิ โทกูชิเงะ และ เค็งอิจิโร ยูวากิ (เจ้าของร่วม)
ผู้จัดการKim Jong-song
ลีกเจลีก ดิวิชัน 3
2019เจลีก ดิวิชัน 2, อันดับ 21
เว็บไซต์เว็บไซต์สโมสร
สีชุดทีมเยือน

สโมสรฟุตบอลคาโงชิมะยูไนเต็ด (ญี่ปุ่น: 鹿児島ユナイテッドFC; อังกฤษ: Kagoshima United FC) เป็นสโมสรฟุตบอลที่เล่นอยู่ในเจลีก ดิวิชัน 3 ของประเทศญี่ปุ่น มีถิ่นฐานอยู่ที่เมืองคาโงชิมะ จังหวัดจังหวัดคาโงชิมะ ทางตอนใต้ของญี่ปุ่น ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 2014 จากการรวมตัวกันของอดีตสโมสร โวลกา คาโงชิมะ (ヴォルカ鹿児島) กับ เอฟซี คาโงชิมะ (FC KAGOSHIMA)

ในอดีตเคยมีนักฟุตบอลทีมชาติไทยรุ่นเยาวชนมาเล่นอยู่ที่สโมสรแห่งนี้ด้วยคือ สิทธิโชค ภาโส[1][2]

ประวัติ[แก้]

โวลกา คาโงชิมะ เคยเล่นอยู่ในลีกฟุตบอลของภูมิภาคคีวชู ทางตอนใต้ของญี่ปุ่นมาตั้งแต่ปี 1973 และได้ผ่านเข้าไปเล่นรอบเพลย์ออฟรายการ Regional League Promotion Series เพื่อขึ้นไปเล่นลีกอาชีพ Japan Football League (JFL) ซึ่งเป็นลีกระดับล่าง (ปัจจุบันคือลีกระดับ 4 ของญี่ปุ่น) แต่ยังไม่เคยไปถึงฝั่งฝัน

ส่วนทาง เอฟซี คาโงชิมะ (ชื่อเดิม NIFS United FC) ก็พยายามเลื่อนชั้นขึ้นมาเล่นในลีกฟุตบอลของภูมิภาคคีวชูเช่นเดียวกัน และทำได้สำเร็จในปี 2004 แต่ก็ไม่สามารถไปต่อถึงลีก JFL ได้

จนกระทั่งสมาคมฟุตบอลภูมิภาคคาโงชิมะ มีแนวคิดจะรวมทีมโวลกา คาโงชิมะ กับเอฟซี คาโงชิมะ เข้าด้วยกัน โดยแนวคิดนี้มีมาตั้งแต่ปี 2012 แต่ตกลงกันไม่สำเร็จ ต่อมา สามารถเจรจากันได้และรวมตัวกันได้สำเร็จโดยตั้งเป้าหมายจะเลื่อนชั้นขึ้นเจลีกให้สำเร็จ ต่อมาในปี 2013 หลังจากรวมตัวกันแล้ว สโมสรคาโงชิมะยูไนเต็ดสามารถผ่านเข้าสู่รอบสุดท้ายของรายการเพลย์ออฟได้ และได้เลื่อนขึ้นไปเล่น JFL ในฤดูกาล 2014

และในเดือนพฤศจิกายน 2015 สโมสรทำผลงานได้ดีจนได้ผ่านเข้าไปเล่นในเจลีก ดิวิชัน 3 และเมื่อสโมสรได้ไลเซนส์จากทางเจลีกให้เข้าร่วมการแข่งขัน สโมสรก็ได้เข้าแข่งขันอยู่ในลีกระดับ 3 นี้จนถึงปัจจุบัน[3]

ตราสโมสร[แก้]

ตราสโมสรประกอบไปด้วยภูเขาไฟซากูราจิมะ ภูเขาไฟชื่อดังของจังหวัด และอ่าวคาโงชิมะ ส่วนสีแดงในตราสโมสรเป็นสีของสโมสรโวลกา คาโงชิมะ ส่วนสีฟ้าเป็นสีของสโมสรเอฟซี คาโงชิมะ

สถิติ[แก้]

ฤดูกาล ดิวิชัน จำนวนทีม อันดับ ผู้ชมต่อเกม ถ้วยจักรพรรดิ
2014 JFL 18 2 1,825 รอบ 2
2015 JFL 18 4 2,624 รอบแรก
2016 เจลีก ดิวิชัน 3 16 5 3,665 รอบแรก

ผู้เล่นชุดปัจจุบัน[แก้]

[4] หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
1 GK ญี่ปุ่น ชุนซูเกะ อูเอดะ
2 DF ญี่ปุ่น ไคโตะ คิมูระ
3 DF ญี่ปุ่น อิซาโอะ ทานิงูจิ
5 MF ญี่ปุ่น วาตารุ อิโนอูเอะ
6 DF ญี่ปุ่น ชูโตะ ทานากะ
7 MF ญี่ปุ่น อากิระ อากาโอะ
8 MF ญี่ปุ่น ยูกิ นากาฮาตะ
9 FW ญี่ปุ่น Takuma Sonoda
11 MF ญี่ปุ่น จุงกิ โกเรียว
13 FW ญี่ปุ่น ยูยะ ยามาดะ
14 MF ญี่ปุ่น เค็นตะ นิชิโอกะ
15 MF ญี่ปุ่น ฮิโรตากะ อูชิโซโนะ
16 FW ญี่ปุ่น ยูมะ คาวาโมริ
เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
17 MF ญี่ปุ่น ยูเซ นากาฮาระ
18 DF ญี่ปุ่น มิตสึฮิโระ เซกิ
19 MF ญี่ปุ่น ทากายูกิ ฟูจิอิ
21 GK ญี่ปุ่น คาซูซะ อิวากาชิ
22 DF ญี่ปุ่น นาโออากิ อาโอยามะ
23 DF ญี่ปุ่น คัตสึนาริ มิซูโมโตะ
24 MF ญี่ปุ่น ทาชิฮิโระ มิตสึชิตะ
25 MF ญี่ปุ่น โชตะ คาโดโนะ
26 DF ญี่ปุ่น โชโกะ สึกาดะ
27 DF ญี่ปุ่น ชินจิ โทมินาริ
29 FW ญี่ปุ่น จุนยะ โนดาเกะ
31 GK มาเลเซีย Norman Haikal Rendra Iskandar
33 MF ญี่ปุ่น ยูตากะ ทาโนอูเอะ
40 DF ญี่ปุ่น ไทไก อูเอโมโตะ

อ้างอิง[แก้]

  1. สิทธิโชคตัวจริง! คาโงชิมาถล่มคู่แข่ง 3-0 ซิวตั๋วบอลถ้วยจักรพรรดิ - Goal.com
  2. "ศึกอาเซียน! เจลีก 3 ยันยิงสดนัดเปิดสนาม "สิทธิโชค" ดวลแข้ง "จัน วัฒนากา"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-03-13. สืบค้นเมื่อ 2017-09-22.
  3. "Kagoshima United to join J3". J. League. 19 November 2015. สืบค้นเมื่อ 9 March 2016.
  4. "トップチーム". Kagoshima United FC. 16 January 2017. สืบค้นเมื่อ February 15, 2017.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]