เท็ด ดีบีอาซี จูเนียร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Ted DiBiase, Jr.)
Ted DiBiase Jr.
ชื่อเกิดTheodore Marvin DiBiase Jr.[1][2]
เกิด (1982-11-08) พฤศจิกายน 8, 1982 (41 ปี)[2]
Baton Rouge, Louisiana, United States[3]
การศึกษาMississippi College
คู่สมรสKristen DiBiase (สมรส 2008)
บุตร2
ครอบครัวIron Mike DiBiase (grandfather)
Helen Hild (grandmother)
Ted DiBiase (father)
Mike DiBiase (half-brother)
Brett DiBiase (brother)
ประวัติมวยปล้ำอาชีพ
ชื่อบนสังเวียนTed DiBiase
Ted DiBiase Jr.[1]
ส่วนสูง6 ft 3 in (1.91 m)[4]
น้ำหนัก214 lb (97 kg)[4]
มาจากMadison, Mississippi[4]
ฝึกหัดโดยChris Youngblood[5]
Harley Race's Wrestling Academy[6]
เปิดตัวJuly 8, 2006[7]
รีไทร์2017

ทีโอเดอร์ มาร์วิน ดิบิอาซี จูเนียร์ (Theodore Marvin DiBiase, Jr.) เกิด 8 พฤศจิกายน ค.ศ. 1982 อดีตนักมวยปล้ำอาชีพและนักแสดงาวอเมริกัน เป็นนักมวยปล้ำรุ่นที่ 3 ของตระกูล ลูกชายของตำนาน เดอะ มิลเลียน ดอลลาห์ แมน เท็ด ดีบีอาซี หลานปู่ของ "ดิ ไอรอน" ไมค์ ดีบีอาซี เป็นน้องชายของไมค์ ดีบีอาซี จูเนียร์ และเป็นพี่ชายของเบรตต์ ดีบีอาซี ซึ่งเหล่านี้ต่างเป็นนักมวยปล้ำอาชีพทั้งสิ้น

ประวัติ[แก้]

เท็ดเปิดตัว WWE ครั้งแรกในรอว์วันที่ 26 พฤษภาคม 2008 โดยทำท่าว่าจะมาท้าชิงแชมป์โลกแท็กทีมจากโคดี โรดส์และฮาร์ดคอร์ ฮอลลี‎[8] ในไนท์ออฟแชมเปียนส์ (2008)กับคู่แท็กทีมปริศนา จนวันนั้นมาถึงเขาก็เปิดตัวมาคนเดียวโดยบอกว่าคู่แทกทีมยังไม่มา และแมตช์ก็เริ่มขึ้น แต่โคดีก็เปิดเผยว่าเขาคือคู่ทีมคนใหม่ของเท็ดโดยการหักหลังฮอลลีเป็นแท็กทีมคู่ใหม่นามไพรซ์เลสส (Priceless)[9]

ในปลายปี 2008 เท็ดและโคดีเสียแชมป์ให้กับซีเอ็ม พังก์และโคฟี คิงส์ตัน[10] ในรอว์สัปดาห์ต่อมาได้ไปรบกวนการปล้ำของแรนดี ออร์ตันและซีเอ็ม พังก์ จึงโดนออร์ตันเตะเข้าที่ศีรษะและต้องพักปล้ำไปในบทโทรทัศน์ แต่อันที่จริงเขาต้องไปถ่ายภาพยนตร์เรื่อง เดอะ มารีน 2[11][12]

เท็ดได้กลับมาในรอว์ วันที่ 12 มกราคม 2009 โดยทำทีว่าจะรุมออร์ตัน ที่มาทำร้ายเขาร่วมกับมานูและซิม สนูกกา สุดท้ายเขาก็ได้หักหลังมานูและซิม ไปเข้าร่วมทีมเดอะเลกาซีของออร์ตันกับโคดี[13] ในไนท์ออฟแชมเปียนส์ (2009) เท็ดกับโคดีได้ชิงแชมป์แท็กทีมยูนิฟายด์กับทีมเจริ-โชว์ (บิ๊กโชว์และคริส เจริโค) แต่ก็ไม่สามารถคว้าแชมป์ได้[14]

หลังจากร่วมกลุ่มกับแรนดี ออร์ตันมา 1 ปี เท็ดรู้สึกอยากจะเจริญก้าวหน้าในฐานะนักมวยปล้ำเดี่ยวบ้างซึ่งเขาเอาชนะมาร์ก เฮนรีแล้วเข้ารอบไปชิงแชมป์ WWE[15] ในอิลิมิเนชั่น แชมเบอร์ (2010)แต่ไม่สำเร็จ[16] หลังจากนั้นเขากับโคดีก็เปิดศึกกับออร์ตัน[17][18] เรื่อยมาจนถึงเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 26 เป็นแมตช์ 3 เส้าระหว่าสมาชิกเดอะเลกาซี ครั้งนั้นทำให้เขากับโคดีแตกคอกันและเป็นการยุติบทบาทของเลกาซี หลังจากร่วมกลุ่มกันมานานถึง 18 เดือน[19]

เท็ดได้ย้ายไปอยู่สแมคดาวน์จากผลดราฟท์ 25 เมษายน 2011[20] ในสแมคดาวน์ได้เจอกับอดีตคู่แท็กทีมอย่างโคดี โรดส์แต่ก็แพ้ ในสแมคดาวน์ต่อมาเขาได้เปิดตัวพร้อมโคดี และถูกโคดีสั่งให้เอาถุงกระดาษมาครอบหัวตัวเอง[21] จากนั้นก็ได้เปิดศึกท้าชิงแชมป์อินเตอร์คอนติเนนทัลกับโคดีในไนท์ออฟแชมเปียนส์ (2011) แต่ก็ไม่สามารถคว้าแชมป์มาได้[22] ก่อนเริ่มรายการไนท์ออฟแชมเปียนส์ (2012) เขาได้กลับมาเข้าร่วมปล้ำแบทเทิลรอยัลหาผู้ท้าชิงแชมป์ยูเอสอันดับ 1 แต่ก็ไม่ชนะ[23]

วันที่ 26 สิงหาคม 2013 เขาได้ประกาศด้วยการถ่ายวิดีโอส่วนตัวแล้วอัพลงยูทูปและทวิตเตอร์ของเขา ว่าเขาตัดสินใจที่จะไม่ต่อสัญญากับทาง WWE แล้ว โดยบอกว่านี่เป็นการตัดสินใจของตัวเขาเอง และมันเป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับตัวเขาและครอบครัวในตอนนี้ เขาอยากจะใช้เวลาเลี้ยงดูลูกด้วยการเป็นพ่อที่ดี และอยากหาโอกาสทำงานอื่นๆ เท็ดบอกว่า ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาเขาได้มีประสบการชีวิตที่น่าอัศจรรย์กับทาง WWE พร้อมบอกด้วยว่าเขาจะคิดถึง WWE และคิดถึงแฟนๆเสมอ อย่างไรก็ดี เขาบอกว่าไม่ใช่ว่าเขาจะออกจากสมาคมไปแล้ว และจะไม่กลับมาอีกเลย หากแต่นี่คือสิ่งที่ตัวเขาต้องการ ณ เวลานี้ โดยเขาเลือกที่จะไปหางานหรือทำสิ่งอื่นๆ นอกวงการด้วยตัวของเขาเอง[24] สัญญาของเขาได้หมดลงวันที่ 1 กันยายน 2013[25]

ในเดือนเมษายน 2023 เขาถูกตำรวจรัฐมิสซิสซิปปีจับกุมตัว หลังตกเป็นหนึ่งในผู้ต้องหาในขบวนการทุจริตเงินหลวง โดยเขาร่วมมือกับ John Davis ซึ่งเป็น ผอ.ศูนย์ดูแลเงินสวัสดิการสำหรับผู้มีรายได้น้อยของรัฐมิสซิสซิปปี Davis ได้นำเอาเงินหลวงจำนวนหลายล้านดอลลาร์ไปทำสัญญาว่าจ้างบริษัท Priceless Ventures LLC ของเขาให้ทำโครงการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยในรัฐ แต่เขาไม่เคยดำเนินงานตามสัญญาแต่อย่างใด แถมยังเอาเงินหลวงส่วนนั้นไปซื้อยานพาหนะและเรือส่วนตัว รวมถึงนำไปดาวน์บ้านและใช้จ่ายด้านอื่นๆ ด้วย หากถูกตัดสินว่ามีความผิดจริง เขาอาจติดคุกถึง 5 ปี จากข้อหาทุจริต, 20 ปี ต่อทุกๆ กระทงในข้อหาฉ้อโกง, และอีก 10 ปีในข้อหายักยอกทรัพย์ รวมๆ แล้วอาจติดคุกหลายสิบปี[26]

ผลงานภาพยนตร์[แก้]

ในปลายปี 2008 ดิบิอาซีได้ไปแสดง ภาพยนตร์ "เดอะ มารีน 2" ภาพยนตร์ภาคต่อของ WWE Studios โดยเขารับบท โจ ลินวูด[27] นาวิกโยธินสหรัฐที่มาพักร้อนกับภรรยาในประเทศไทย แต่ภรรยาของเขาถูกผู้ก่อการร้ายจับเป็นตัวประกันพร้อมกับแขกในโรงแรม เขาจึงต้องบุกเข้าไปช่วยเหลือทุกคน[28][29][28][30]

แชมป์และรางวัล[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 "Ted DiBiase Jr Profile". Online World of Wrestling. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 23, 2012. สืบค้นเมื่อ May 2, 2008.
  2. 2.0 2.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ arrestrecord
  3. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ TG
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 "Ted Dibiase". WWE. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 18, 2016. สืบค้นเมื่อ February 11, 2017.
  5. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ slam-Mike
  6. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ wlw3
  7. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ wlw2
  8. DiFino, Lennie (2008-05-26). "Priceless". WWE. สืบค้นเมื่อ 2008-06-04.
  9. Bishop, Matt (2008-06-30). "Big names still on top after Night of Champions". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-18. สืบค้นเมื่อ 2009-07-17.
  10. Sitterson, Aubrey (2008-10-27). "Just desserts". WWE. สืบค้นเมื่อ 2008-11-04.
  11. Tylwalk, Nick (2008-11-04). "Raw: Jericho's title win highlights 800th episode celebration". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-02-05. สืบค้นเมื่อ 2008-12-30.
  12. Csonka, Larry (2008-11-18). "Major News on the Future of Ted DiBiase". 411mania. สืบค้นเมื่อ 2008-11-18.
  13. Tylwalk, Nick (2009-01-13). "Raw: Cena and Michaels collide in Sioux City". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-06. สืบค้นเมื่อ 2009-02-05.
  14. Burdick, Michael (2009-07-26). "Results:Big announcement; enormous combination". World Wrestling Entertainment. สืบค้นเมื่อ 2009-07-26.
  15. Plummer, Dale (2010-02-01). "RAW: Boldly going into the Elimination Chamber". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-28. สืบค้นเมื่อ 2010-03-03.
  16. Plummer, Dale (2010-02-22). "Batista, Jericho and Michaels capitalize on Elimination Chamber opportunities". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-19. สืบค้นเมื่อ 2010-03-03. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  17. Plummer, Dale (2010-02-22). "RAW: Finding a Jewel on the Road to Wrestlemania". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-11-29. สืบค้นเมื่อ 2010-03-03.
  18. Plummer, Dale (2010-03-01). "RAW: A bad trip on the Road to Wrestlemania". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-11-29. สืบค้นเมื่อ 2010-03-03.
  19. Martin, Adam (2010-03-28). "Wrestlemania 26 Results – 3/28/10". WrestleView. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-04-01. สืบค้นเมื่อ 2010-03-29.
  20. Bishp, Matt (April 26, 2011). "Live coverage: 2011 WWE Supplemental Draft". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. สืบค้นเมื่อ April 27, 2011. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)[ลิงก์เสีย]
  21. Hillhouse, Dave (May 13, 2011). "Smackdown: Old standards in Music City". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. สืบค้นเมื่อ May 14, 2011.[ลิงก์เสีย]
  22. Styles, Joey (18 September 2011). "Intercontinental Champion Cody Rhodes def. Ted DiBiase". WWE. สืบค้นเมื่อ 20 September 2011.
  23. Caldwell, James. "DiBiase returns to WWE TV". Pro Wrestling Torch. สืบค้นเมื่อ 15 October 2012.
  24. "WWE news: WWE acknowledges DiBiase's departure". Pro Wrestling Torch. สืบค้นเมื่อ 31 August 2013.
  25. "Clinton native Ted DiBiase Jr. leaves WWE career". Mississippi Business Journal. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-12-25. สืบค้นเมื่อ 31 August 2013.
  26. "Former Professional Wrestler Charged with Theft of Millions of Dollars in Federal Funds Intended for Needy Families". www.justice.gov (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). United States Department of Justice. April 20, 2023. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 20, 2023. สืบค้นเมื่อ 21 April 2023.
  27. Fowler, Matt (2009-08-13). "DiBiase Rocks The Marine 2". IGN. p. 1. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-13. สืบค้นเมื่อ 2009-11-30.
  28. 28.0 28.1 Fowler, Matt (2009-08-13). "DiBiase Rocks The Marine 2". IGN. p. 2. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-13. สืบค้นเมื่อ 2009-11-30.
  29. Reid, Shaheem (2009-12-29). "Ted DiBiase Says 'Marine 2' Is A 'Totally New Marine'". MTV. สืบค้นเมื่อ 2010-01-17.
  30. Baines, Tim (2010-01-16). "DiBiase in on action even if it hurts". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. สืบค้นเมื่อ 2010-01-17.[ลิงก์เสีย]
  31. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ FCW Southern Heavyweight
  32. ""PWI 500": 1–100". Pro Wrestling Illustrated. July 30, 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 2, 2012. สืบค้นเมื่อ July 31, 2010.
  33. "History of the World Tag Team Championship: Ted DiBiase & Cody Rhodes". WWE. June 29, 2008. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 6, 2012. สืบค้นเมื่อ July 22, 2008.
  34. "History of the World Tag Team Championship: Ted DiBiase & Cody Rhodes (2)". WWE. August 11, 2008. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 16, 2012. สืบค้นเมื่อ August 13, 2008.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]