โรคย้ำคิดย้ำทำ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Obsessive compulsive disorder)
โรคย้ำคิดย้ำทำ
การล้างมือบ่อยเกินไปสามารถพบได้ในผู้ป่วยโรคย้ำคิดย้ำทำบางราย
บัญชีจำแนกและลิงก์ไปภายนอก
ICD-10F42
ICD-9300.3
OMIM164230
DiseasesDB33766
MedlinePlus000929
eMedicinearticle/287681
MeSHD009771

โรคย้ำคิดย้ำทำ (obsessive–compulsive disorder หรือ OCD) คือความผิดปกติทางจิต TOP5 ของประเทศไทย [1] ซึ่งทำให้ผู้ป่วยต้องตรวจสอบสิ่งรอบตัวซ้ำ ๆ, มีความคิดผุดขึ้นมา, หรือมีความรู้สึกอยากทำในสิ่งที่ทำไปแล้วซ้ำไปซ้ำมา ผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมพฤติกรรมและความคิดของตนเองได้ พฤติกรรมซึ่งพบเห็นได้บ่อย อาทิ การล้างมือ, การนับสิ่งของ, การตรวจสอบว่าประตูล็อกแล้วหรือยัง บางรายรู้สึกยากลำบากในการทิ้งสิ่งของ โดยพฤติกรรมเหล่านี้ส่งผลเสียต่อชีวิตประจำวันของผู้ป่วย[2] หลายครั้งพฤติกรรมเหล่านี้กินเวลาในแต่ละวันไม่น้อยกว่าหนึ่งชั่วโมง[3] ผู้ใหญ่หลายคนรู้ตัวว่าพฤติกรรมของพวกเขาไม่มีเหตุผล[2] ความเจ็บป่วยนั้นเกี่ยวเนื่องกับอาการกระตุกบนใบหน้า, โรควิตกกังวล และการฆ่าตัวตาย[3][4]

อาการ[แก้]

การถูกครอบงำทางความคิด[แก้]

ผู้ป่วยโรคย้ำคิดย้ำทำอาจจะต้องเผชิญกับความคิดที่น่ากลัว เช่น ความคิดเกี่ยวกับภูติผีปีศาจ (ดังที่ได้แสดงในภาพวาดเกี่ยวกับนรก)

การถูกครอบงำทางความคิดคือภาวะที่ความคิดถูกครอบงำอยู่ตลอดเวลาทั้ง ๆ ที่ผู้ป่วยมีความพยายามจะกำจัดและเผชิญหน้ากับความคิดนั้น[5] ผู้ป่วยโรคย้ำคิดย้ำทำมักกระทำพฤติกรรมเพื่อสนองความต้องการของความคิดซึ่งถูกครอบงำ ความคลุมเครือของการถูกครอบงำทางความคิดอาจรวมถึงความรู้สึกสับสนและเครียด เนื่องจากมีความคิดว่าชีวิตของตนไม่สามารถเป็นปรกติได้อีกต่อไป ความคิดที่ถูกครอบงำซึ่งมีพลังแรงกล้าขึ้นอาจจะเป็นความคิดจดจ่ออยู่กับภาพของบุคคลใกล้ตัวหรือญาติกำลังเสียชีวิต[6][7] หรือเกี่ยวกับความสัมพันธ์[8] การถูกครอบงำทางความคิดอื่น ๆ นั้นรวมถึงความคิดที่ว่าผู้มีอำนาจเหนือตน อาทิ เทพเจ้า, ภูติผีปีศาจ, หรือโรคร้าย จะทำอันตรายต่อตนเองหรือบุคคุลที่ตนเองรัก ผู้ป่วยบางรายอาจมีความรู้สึกว่าบางอย่างที่มองไม่เห็นกำลังไหลออกมาจากร่างกายของเขา[9]

อาการย้ำคิด (obsession) เป็นความคิด ความรู้สึก แรงขับดันจากภายใน หรือจินตนาการ ที่มักผุดขึ้นมาซ้ำ ๆ โดยผู้ป่วยเองก็ทราบว่า เป็นสิ่งที่ไร้เหตุผล เช่น มีความคิดซ้ำๆว่ามือตนเองสกปรก, คิดว่าลืมปิดแก๊สหรือลืมล็อคประตู, จินตนาการเกี่ยวกับเรื่องทางเพศ หรือการกระทำสิ่งไม่ดีอย่างซ้ำๆ, คิดซ้ำๆ ว่าตนลบหลู่หรือด่าว่าสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งความคิดดังกล่าว ทำให้ผู้ป่วยเกิดความกังวลใจ ความไม่สบายใจอย่างมาก และรู้สึกรำคาญต่อความคิดนี้

อาการย้ำทำ (compulsion) เป็นพฤติกรรมซ้ำๆ ที่ผู้ป่วยทำขึ้น โดยเป็นการตอบสนองต่อความย้ำคิด หรือตามกฎเกณฑ์บางอย่างที่ตนกำหนดไว้ เพื่อป้องกันหรือลดความไม่สบายใจที่เกิดจากความย้ำคิด หรือป้องกันมิให้เกิดเหตุการณ์ร้ายๆตามที่ตนหวั่นเกรง เช่น ต้องล้างมือซ้ำๆ, ตรวจสอบลูกบิดประตูหรือหัวแก๊สซ้ำๆ , พูดขอโทษซ้ำๆ ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่มากเกินปกติ และไม่สมเหตุสมผล

โรคย้ำคิดย้ำทำ พบได้ร้อยละ 2-3 ในประชากรทั่วไป โดยเริ่มมีอาการโดยเฉลี่ยที่อายุ 20 ปี โดยพบได้พอๆกันทั้งในผู้ชายและผู้หญิง นอกจากนี้ ยังพบร่วมกับโรคทางจิตเวชอื่นๆได้ เช่น พบโรคซึมเศร้าร่วมด้วยถึงร้อยละ 60-90 โรคอื่นๆที่พบร่วมกับโรคย้ำคิดย้ำทำ ได้แก่ โรคกลัวสังคม, โรควิตกกังวลทั่วไป, โรควิตกกังวลแพนิค รวมทั้งการดื่มเหล้าจนก่อให้เกิดปัญหาได้

สาเหตุ[แก้]

ปัจจัยทางชีวภาพ

  1. ในด้านการทำงานของสมอง พบว่าผู้ป่วยมีการทำงานของสมองเพิ่มขึ้นในสมองส่วน orbitofrontal cortex, cingulate cortex, caudate และ thalamus ทั้งนี้บริเวณเหล่านี้อาจรวมกันเป็นวงจรที่มีการทำงานมากเกินปกติในผู้ป่วย OCD
  2. ในด้านระบบประสาทสื่อนำประสาท เชื่อว่าผู้ป่วยมีความผิดปกติในระบบซีโรโตนิน (serotonin) โดยพบว่า ยาแก้ซึมเศร้าที่ออกฤทธิ์ต่อระบบซีโรโตนิน มีประสิทธิภาพในการรักษา OCD
  3. ในด้านพันธุกรรม พบว่ามีความเกี่ยวข้องกับการเกิดโรค โดยพบว่าอัตราการเกิดโรคในแฝดไข่ใบเดียวกัน(monozygotic twins) เท่ากับ ร้อยละ 60-90 ในขณะที่ในประชากรทั่วไป พบร้อยละ 2-3


ปัจจัยด้านพฤติกรรมการเรียนรู้

ทฤษฎีการเรียนรู้ เชื่อว่าการเกิดภาวะเงื่อนไข มีบทบาทสำคัญในการเกิดอาการ ย้ำคิด โดย สถานการณ์ปกติ ถูกเชื่อมโยงกับ สถานการณ์อันตราย จึงทำให้เกิดความวิตกกังวล สำหรับอาการย้ำทำนั้น ผู้ป่วยเรียนรู้ว่า การกระทำบางอย่าง ช่วยลดความกังวลลงได้ จึงเกิดเป็นแบบแผนพฤติกรรมดังกล่าว

การรักษา[แก้]

การบำบัดโดยการปรับเปลี่ยนความคิด (BT), การบำบัดโดยการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม (CBT), และการใช้ยาทางจิตเวช เป็นวิธีการรักษาที่นิยมที่สุดสำหรับผู้ป่วยโรคย้ำคิดย้ำทำ[10] ยาจิตเวชที่ได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยาสหรัฐมีทั้งหมด 5 ตัว[11]

  1. Clomipramine [Anafranil]
  2. Fluoxetine [Prozac]
  3. Fluvoxamine
  4. Paroxetine [Paxil, Pexeva; โดยเป็น anticholinergic ระดับ 3 เพิ่มความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตในระยะยาว][12]
  5. Sertraline [Zoloft]

ส่วนยาที่ยังไม่ได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยาสหรัฐ แต่บางผลวิจัยพบว่ามีประโยชน์ ได้แก่ venlafaxine​[13]

ปี 2018 องค์การอาหารและยาสหรัฐ (US FDA) ได้อนุมัติให้ Deep Transcranial Magnetic Stimulation (DTMS) ใช้รักษาโรคย้ำคิดย้ำทำ​ได้ หากผู้ป่วยไม่ตอบสนองต่อยา โดยได้รับรอง DTMS ตั้งแต่วันที่ 17 สิงหาคม​ 2018 เป็นต้นไป[14] การรักษาดังกล่าวเป็นการเหนี่ยวนำให้เกิดสนามแม่เหล็กไฟฟ้า ส่งคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าคล้ายเครื่อง MRI ผ่านกระโหลกศีรษะไปยังสมอง สนามแม่เหล็กจะเหนี่ยวนำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ประสาทในบริเวณนั้น ในผู้ป่วยโรคย้ำคิดย้ำทำ จะมีการกระตุ้นสมองในส่วน Posterior-Anterior ใน Medial Prefrontal Cortex ซึ่งจะช่วยปรับการทำงานของสมองให้เข้าสู่ภาวะปกติได้[15] โรงพยาบาลรัฐบาลเฉพาะทางด้านจิตเวช[16] และโรงพยาบาลทั่วไป หลายแห่งในประเทศไทยมีการรักษาในรูปแบบดังกล่าว ทั้งนี้ US FDA ไม่ได้อนุมัติ​ TMS แบบธรรมดาในการรักษาโรคย้ำคิดย้ำทำ เนื่องจากระดับความลึกในการรักษาไม่เพียงพอ คงอนุมัติเฉพาะ DTMS เท่านั้น[17][18]

ปี 2020 US FDA ได้อนุมัติให้ระบบ TMS ของ MagVenture[19] สามารถใช้รักษา OCD ได้

ปี 2023 US FDA ได้อนุมัติให้ระบบ TMS ของ NeuroStar[20] สามารถใช้รักษา OCD ได้ และช่วงปลายปี 2023 สหราชอาณาจักร โดย United Kingdom Conformity Assessed ได้อนุมัติให้ระบบ TMS ของ Magstim สามารถใช้รักษา OCD ได้

นอกจากนี้จิตบำบัดแบบจิตพลวัตอาจช่วยรักษาอาการบางอย่างของโรคนี้ได้ และสมาคมจิตเวชศาสตร์สหรัฐอเมริกาได้กล่าวว่าจิตวิเคราะห์ หรือจิตบำบัดแบบพลวัตนั้นสามารถรักษาอาการหลักของโรคย้ำคิดย้ำทำได้[21]

การรักษาด้วยยา[แก้]

  1. ยาแก้ซึมเศร้า ยาที่รักษาได้ผลดีใน OCD เป็นยาที่จัดอยู่ในกลุ่มที่ออกฤทธิ์ต่อ ระบบซีโรโตนิน เช่น clomipramine และยาในกลุ่ม selective serotonin reuptake inhibitors (SSRI) ทุกตัว ได้แก่ fluoxetine, fluvoxamine, paroxetine, sertraline และ escitalopram โดยทั่วไปมักใช้ในขนาดที่ใช้ในการรักษาโรคซึมเศร้า อาการข้างเคียงที่อาจพบได้แก่ ปวดศีรษะ คลื่นไส้ กระสับกระส่าย นอนไม่หลับ
  2. ยาคลายกังวล ในผู้ป่วยที่มีความวิตกกังวลอยู่สูงอาจใช้ยาในกลุ่ม benzodiazepine ในระยะสั้นๆ ยาในกลุ่มนี้ไม่มีผลในการรักษาอาการย้ำคิด หรืออาการย้ำทำ
  3. ยาต้านโรคจิต ในผู้ป่วยบางรายที่ได้รับการรักษาด้วยยาแก้เศร้าแล้ว อาการยังไม่ดีขึ้น แพทย์อาจพิจารณาให้ยาต้านโรคจิต เช่น risperidone ควบคู่ไปกับยาแก้ซึมเศร้า เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษา

การรักษาวิธีอื่น

การรักษาที่ได้ผลดีคือ พฤติกรรมบำบัด โดยการให้ผู้ป่วยเผชิญ กับสิ่งที่ทำให้กังวลใจและป้องกันไม่ให้มีพฤติกรรมย้ำทำ ที่เคยกระทำ ตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยที่มักล้างมือ ก็ให้จับของที่ผู้ป่วยรู้สึกว่าสกปรก ให้รออยู่ช่วงหนึ่งจึงอนุญาตให้ล้างมือ การฝึกจะทำตามลำดับขั้น เริ่มจากสิ่งที่ผู้ป่วยรู้สึกกังวลน้อยไปหามาก และระยะเวลาที่ไม่ให้ล้างมืออาจเริ่มจาก 10-15 นาที ไปจนเป็นชั่วโมง หากการรักษาได้ผลผู้ป่วยจะกังวลน้อยลงเรื่อยๆ จนสามารถจับสิ่งต่างๆ ได้โดยไม่ต้องรีบไปล้างมือดังก่อน

นอกจากนี้ การให้ความรู้แก่สมาชิกในครอบครัวผู้ป่วย มีความสำคัญอย่างยิ่ง แพทย์ควรแนะนำสมาชิกในครอบครัว ถึงอาการของโรค แนวทางการรักษาและการดูแลผู้ป่วย รวมทั้งแนะนำให้มีท่าทีเป็นกลางต่ออาการของผู้ป่วย โดย ไม่ร่วมมือและช่วยเหลือผู้ป่วยเมื่อผู้ป่วยมีอาการ ในขณะเดียวกัน ก็ไม่ต่อว่าผู้ป่วย เนื่องจากอาจทำให้ผู้ป่วยเครียด และยิ่งกระตุ้นให้อาการเป็นมากขึ้นได้

การรักษาวิธีอื่นๆ ได้แก่ การทำจิตบำบัดรายบุคคล เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยสามารถปรับตัวกับอาการได้ กลับมาใช้ชีวิตได้ใกล้เคียงปกติมากที่สุด

ในรายที่อาการรุนแรง อาจมีการรักษาด้วยวิธีอื่นๆ เช่น การฝังแท่งกำเนิดไฟฟ้าเพื่อกระตุ้นสมองส่วนลึก ( deep brain stimulation ) หรือ การผ่าตัด ( cingulotomy )

[22]

รายชื่อโรงพยาบาลในประเทศไทยที่สามารถรักษาได้[แก้]

  1. โรงพยาบาลศรีนครินทร์[23]
  2. โรงพยาบาลจิตเวชสระแก้วราชนครินทร์[24]

อ้างอิง[แก้]

  1. "5 โรคจิตเวชพบมากสุดในไทย วิตกกังวลหลังเหตุร้ายพุ่งสูง จิตหลุดป่วยซึมเศร้า". www.thairath.co.th. 2023-11-05.
  2. 2.0 2.1 "What is Obsessive-Compulsive Disorder (OCD)?". สืบค้นเมื่อ 27 May 2015.
  3. 3.0 3.1 Diagnostic and statistical manual of mental disorders : DSM-5 (5 ed.). Washington: American Psychiatric Publishing. 2013. pp. 237–242. ISBN 9780890425558.
  4. Angelakis, I; Gooding, P; Tarrier, N; Panagioti, M (25 March 2015). "Suicidality in obsessive compulsive disorder (OCD): A systematic review and meta-analysis". Clinical Psychology Review. 39: 1–15. doi:10.1016/j.cpr.2015.03.002. PMID 25875222.
  5. Markarian Y, Larson MJ, Aldea MA, Baldwin SA, Good D, Berkeljon A, Murphy TK, Storch EA, McKay D (February 2010). "Multiple pathways to functional impairment in obsessive-compulsive disorder". Clin Psychol Rev. 30 (1): 78–88. doi:10.1016/j.cpr.2009.09.005. PMID 19853982.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  6. Baer (2001), p. 33, 78
  7. Baer (2001), p. xiv.
  8. Doron G, Szepsenwol O, Karp E, Gal N (2013). "Obsessing About Intimate-Relationships: Testing the Double Relationship-Vulnerability Hypothesis". Journal of Behavior Therapy and Experimental Psychiatry. 44 (4): 433–440. doi:10.1016/j.jbtep.2013.05.003. PMID 23792752.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  9. Mash, E. J., & Wolfe, D. A. (2005). Abnormal child psychology (3rd ed.). Belmont, CA: Thomson Wadsworth, p. 197.
  10. Doctor's Guide. (2007). New guidelines to set standards for best treatment of OCD เก็บถาวร 2012-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Doctor's Guide Publishing, Ltd.
  11. "ocd". สืบค้นเมื่อ 7 July 2020.
  12. "สมองเสื่อมจากยากลุ่มแอนตี้โคลิเนอร์จิก (anticholinergic)". สืบค้นเมื่อ 7 July 2020.
  13. "Venlafaxine in treatment-resistant obsessive-compulsive disorder". สืบค้นเมื่อ 7 July 2020.
  14. "FDA permits marketing of transcranial magnetic stimulation for treatment of obsessive compulsive disorder". สืบค้นเมื่อ 7 July 2020.
  15. "โรคย้ำคิดย้ำทำ Obsessive-Compulsive Disorder (OCD)". สืบค้นเมื่อ 7 July 2020.
  16. "dtmsannouce" (PDF). สืบค้นเมื่อ 7 July 2020.
  17. "Transcranial Magnetic Stimulation (TMS)". สืบค้นเมื่อ 7 July 2020.
  18. "Integrating Deep Transcranial Magnetic Stimulation Into the OCD Treatment Algorithm". สืบค้นเมื่อ 7 July 2020.
  19. "OCD - MagVenture" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2023-03-09.[ลิงก์เสีย]
  20. "NeuroStar® Advanced Therapy for Mental Health Receives FDA Clearance for Treatment of Anxious Depression". Yahoo Finance (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2022-07-19.
  21. Koran LM, Hanna GL, Hollander E, Nestadt G, Simpson HB (July 2007). "Practice guideline for the treatment of patients with obsessive-compulsive disorder". The American Journal of Psychiatry. 164 (7 Suppl): 5–53. PMID 17849776.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  22. https://www.rama.mahidol.ac.th/ramamental/generalknowledge/general/05012014-1443
  23. "Srinagarind Hospital, Khon Kaen University". BrainsWay (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  24. "Facebook รพ.จิตเวชสระแก้วราชนครินทร์". m.facebook.com.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)