โรคย้ำคิดย้ำทำ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก OCD)
โรคย้ำคิดย้ำทำ
การล้างมือบ่อยเกินไปสามารถพบได้ในผู้ป่วยโรคย้ำคิดย้ำทำบางราย
บัญชีจำแนกและลิงก์ไปภายนอก
ICD-10F42
ICD-9300.3
OMIM164230
DiseasesDB33766
MedlinePlus000929
eMedicinearticle/287681
MeSHD009771

โรคย้ำคิดย้ำทำ (obsessive–compulsive disorder หรือ OCD) คือความผิดปกติทางจิต TOP5 ของประเทศไทย [1] ซึ่งทำให้ผู้ป่วยต้องตรวจสอบสิ่งรอบตัวซ้ำ ๆ, มีความคิดผุดขึ้นมา, หรือมีความรู้สึกอยากทำในสิ่งที่ทำไปแล้วซ้ำไปซ้ำมา ผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมพฤติกรรมและความคิดของตนเองได้ พฤติกรรมซึ่งพบเห็นได้บ่อย อาทิ การล้างมือ, การนับสิ่งของ, การตรวจสอบว่าประตูล็อกแล้วหรือยัง บางรายรู้สึกยากลำบากในการทิ้งสิ่งของ โดยพฤติกรรมเหล่านี้ส่งผลเสียต่อชีวิตประจำวันของผู้ป่วย[2] หลายครั้งพฤติกรรมเหล่านี้กินเวลาในแต่ละวันไม่น้อยกว่าหนึ่งชั่วโมง[3] ผู้ใหญ่หลายคนรู้ตัวว่าพฤติกรรมของพวกเขาไม่มีเหตุผล[2] ความเจ็บป่วยนั้นเกี่ยวเนื่องกับอาการกระตุกบนใบหน้า, โรควิตกกังวล และการฆ่าตัวตาย[3][4]

อาการ[แก้]

การถูกครอบงำทางความคิด[แก้]

ผู้ป่วยโรคย้ำคิดย้ำทำอาจจะต้องเผชิญกับความคิดที่น่ากลัว เช่น ความคิดเกี่ยวกับภูติผีปีศาจ (ดังที่ได้แสดงในภาพวาดเกี่ยวกับนรก)

การถูกครอบงำทางความคิดคือภาวะที่ความคิดถูกครอบงำอยู่ตลอดเวลาทั้ง ๆ ที่ผู้ป่วยมีความพยายามจะกำจัดและเผชิญหน้ากับความคิดนั้น[5] ผู้ป่วยโรคย้ำคิดย้ำทำมักกระทำพฤติกรรมเพื่อสนองความต้องการของความคิดซึ่งถูกครอบงำ ความคลุมเครือของการถูกครอบงำทางความคิดอาจรวมถึงความรู้สึกสับสนและเครียด เนื่องจากมีความคิดว่าชีวิตของตนไม่สามารถเป็นปรกติได้อีกต่อไป ความคิดที่ถูกครอบงำซึ่งมีพลังแรงกล้าขึ้นอาจจะเป็นความคิดจดจ่ออยู่กับภาพของบุคคลใกล้ตัวหรือญาติกำลังเสียชีวิต[6][7] หรือเกี่ยวกับความสัมพันธ์[8] การถูกครอบงำทางความคิดอื่น ๆ นั้นรวมถึงความคิดที่ว่าผู้มีอำนาจเหนือตน อาทิ เทพเจ้า, ภูติผีปีศาจ, หรือโรคร้าย จะทำอันตรายต่อตนเองหรือบุคคุลที่ตนเองรัก ผู้ป่วยบางรายอาจมีความรู้สึกว่าบางอย่างที่มองไม่เห็นกำลังไหลออกมาจากร่างกายของเขา[9]

การรักษา[แก้]

การบำบัดโดยการปรับเปลี่ยนความคิด (BT), การบำบัดโดยการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม (CBT), และการใช้ยาทางจิตเวช เป็นวิธีการรักษาที่นิยมที่สุดสำหรับผู้ป่วยโรคย้ำคิดย้ำทำ[10] ยาจิตเวชที่ได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยาสหรัฐมีทั้งหมด 5 ตัว[11]

  1. Clomipramine [Anafranil]
  2. Fluoxetine [Prozac]
  3. Fluvoxamine
  4. Paroxetine [Paxil, Pexeva; โดยเป็น anticholinergic ระดับ 3 เพิ่มความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตในระยะยาว][12]
  5. Sertraline [Zoloft]

ส่วนยาที่ยังไม่ได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยาสหรัฐ แต่บางผลวิจัยพบว่ามีประโยชน์ ได้แก่ venlafaxine​[13]

ปี 2018 องค์การอาหารและยาสหรัฐ (US FDA) ได้อนุมัติให้ Deep Transcranial Magnetic Stimulation (DTMS) ใช้รักษาโรคย้ำคิดย้ำทำ​ได้ หากผู้ป่วยไม่ตอบสนองต่อยา โดยได้รับรอง DTMS ตั้งแต่วันที่ 17 สิงหาคม​ 2018 เป็นต้นไป[14] การรักษาดังกล่าวเป็นการเหนี่ยวนำให้เกิดสนามแม่เหล็กไฟฟ้า ส่งคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าคล้ายเครื่อง MRI ผ่านกระโหลกศีรษะไปยังสมอง สนามแม่เหล็กจะเหนี่ยวนำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ประสาทในบริเวณนั้น ในผู้ป่วยโรคย้ำคิดย้ำทำ จะมีการกระตุ้นสมองในส่วน Posterior-Anterior ใน Medial Prefrontal Cortex ซึ่งจะช่วยปรับการทำงานของสมองให้เข้าสู่ภาวะปกติได้[15] โรงพยาบาลรัฐบาลเฉพาะทางด้านจิตเวช[16] และโรงพยาบาลทั่วไป หลายแห่งในประเทศไทยมีการรักษาในรูปแบบดังกล่าว ทั้งนี้ US FDA ไม่ได้อนุมัติ​ TMS แบบธรรมดาในการรักษาโรคย้ำคิดย้ำทำ เนื่องจากระดับความลึกในการรักษาไม่เพียงพอ คงอนุมัติเฉพาะ DTMS เท่านั้น[17][18]

ปี 2020 US FDA ได้อนุมัติให้ระบบ TMS ของ MagVenture[19] สามารถใช้รักษา OCD ได้

ปี 2023 US FDA ได้อนุมัติให้ระบบ TMS ของ NeuroStar[20] สามารถใช้รักษา OCD ได้ และช่วงปลายปี 2023 สหราชอาณาจักร โดย United Kingdom Conformity Assessed ได้อนุมัติให้ระบบ TMS ของ Magstim สามารถใช้รักษา OCD ได้

นอกจากนี้จิตบำบัดแบบจิตพลวัตอาจช่วยรักษาอาการบางอย่างของโรคนี้ได้ และสมาคมจิตเวชศาสตร์สหรัฐอเมริกาได้กล่าวว่าจิตวิเคราะห์ หรือจิตบำบัดแบบพลวัตนั้นสามารถรักษาอาการหลักของโรคย้ำคิดย้ำทำได้[21]

รายชื่อโรงพยาบาลในประเทศไทยที่สามารถรักษาได้[แก้]

  1. โรงพยาบาลศรีนครินทร์[22]
  2. โรงพยาบาลจิตเวชสระแก้วราชนครินทร์[23]

อ้างอิง[แก้]

  1. "5 โรคจิตเวชพบมากสุดในไทย วิตกกังวลหลังเหตุร้ายพุ่งสูง จิตหลุดป่วยซึมเศร้า". www.thairath.co.th. 2023-11-05.
  2. 2.0 2.1 "What is Obsessive-Compulsive Disorder (OCD)?". สืบค้นเมื่อ 27 May 2015.
  3. 3.0 3.1 Diagnostic and statistical manual of mental disorders : DSM-5 (5 ed.). Washington: American Psychiatric Publishing. 2013. pp. 237–242. ISBN 9780890425558.
  4. Angelakis, I; Gooding, P; Tarrier, N; Panagioti, M (25 March 2015). "Suicidality in obsessive compulsive disorder (OCD): A systematic review and meta-analysis". Clinical Psychology Review. 39: 1–15. doi:10.1016/j.cpr.2015.03.002. PMID 25875222.
  5. Markarian Y, Larson MJ, Aldea MA, Baldwin SA, Good D, Berkeljon A, Murphy TK, Storch EA, McKay D (February 2010). "Multiple pathways to functional impairment in obsessive-compulsive disorder". Clin Psychol Rev. 30 (1): 78–88. doi:10.1016/j.cpr.2009.09.005. PMID 19853982.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  6. Baer (2001), p. 33, 78
  7. Baer (2001), p. xiv.
  8. Doron G, Szepsenwol O, Karp E, Gal N (2013). "Obsessing About Intimate-Relationships: Testing the Double Relationship-Vulnerability Hypothesis". Journal of Behavior Therapy and Experimental Psychiatry. 44 (4): 433–440. doi:10.1016/j.jbtep.2013.05.003. PMID 23792752.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  9. Mash, E. J., & Wolfe, D. A. (2005). Abnormal child psychology (3rd ed.). Belmont, CA: Thomson Wadsworth, p. 197.
  10. Doctor's Guide. (2007). New guidelines to set standards for best treatment of OCD เก็บถาวร 2012-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Doctor's Guide Publishing, Ltd.
  11. "ocd". สืบค้นเมื่อ 7 July 2020.
  12. "สมองเสื่อมจากยากลุ่มแอนตี้โคลิเนอร์จิก (anticholinergic)". สืบค้นเมื่อ 7 July 2020.
  13. "Venlafaxine in treatment-resistant obsessive-compulsive disorder". สืบค้นเมื่อ 7 July 2020.
  14. "FDA permits marketing of transcranial magnetic stimulation for treatment of obsessive compulsive disorder". สืบค้นเมื่อ 7 July 2020.
  15. "โรคย้ำคิดย้ำทำ Obsessive-Compulsive Disorder (OCD)". สืบค้นเมื่อ 7 July 2020.
  16. "dtmsannouce" (PDF). สืบค้นเมื่อ 7 July 2020.
  17. "Transcranial Magnetic Stimulation (TMS)". สืบค้นเมื่อ 7 July 2020.
  18. "Integrating Deep Transcranial Magnetic Stimulation Into the OCD Treatment Algorithm". สืบค้นเมื่อ 7 July 2020.
  19. "OCD - MagVenture" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2023-03-09.[ลิงก์เสีย]
  20. "NeuroStar® Advanced Therapy for Mental Health Receives FDA Clearance for Treatment of Anxious Depression". Yahoo Finance (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2022-07-19.
  21. Koran LM, Hanna GL, Hollander E, Nestadt G, Simpson HB (July 2007). "Practice guideline for the treatment of patients with obsessive-compulsive disorder". The American Journal of Psychiatry. 164 (7 Suppl): 5–53. PMID 17849776.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  22. "Srinagarind Hospital, Khon Kaen University". BrainsWay (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  23. "Facebook รพ.จิตเวชสระแก้วราชนครินทร์". m.facebook.com.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)