Nepenthes rafflesiana
บทความเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตนี้มีชื่อบทความเป็นชื่อวิทยาศาสตร์ เนื่องจากไม่มีชื่อสามัญเป็นภาษาไทย |
Nepenthes rafflesiana | |
---|---|
![]() | |
Nepenthes rafflesiana จากบอร์เนียว | |
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | พืช (Plantae) |
หมวด: | Magnoliophyta |
ชั้น: | Magnoliopsida |
อันดับ: | Caryophyllales |
วงศ์: | Nepenthaceae |
สกุล: | Nepenthes |
สปีชีส์: | N. rafflesiana |
ชื่อทวินาม | |
Nepenthes rafflesiana Jack (1835) | |
ชื่อพ้อง | |
|
Nepenthes rafflesiana ( ได้ชื่อตามโทมัส สแตมฟอร์ด แรฟเฟิลส์) หรือมีอีกชื่อหนึ่งว่า Raffles' Pitcher-Plant[1] เป็นหม้อข้าวหม้อแกงลิงที่มีการกระจายตัวกว้างทั้งในเกาะบอร์เนียว, เกาะสุมาตรา, เพนนิซูล่า ประเทศมาเลเซีย, และ ประเทศสิงคโปร์ N. rafflesiana นั้นมีความหลากหลายสูงมาก (ส่วนอีกชนิดคือ N. mirabilis) ด้วยมีรูปแบบมากมายและหลากหลายรายละเอียด แค่ในบอร์เนียวก็มีอย่างน้อยสี่รูปแบบที่ต่างกัน รูปแบบขนาดยักษ์ของพืชชนิดนี้สร้างหม้อที่มีขนาดใหญ่มากสามารถแข่งขันกับ N. rajah ได้เลยทีเดียว
การกระจายพันธุ์และถิ่นอาศัย[แก้]
Nepenthes rafflesiana เป็นหม้อข้าวหม้อแกงลิงพื้นราบที่มีการกระจายพันธุ์กว้าง ทั่วไปพบในบอร์เนียวและบางส่วนของหมู่เกาะรีอู แต่มีการกระจายพันธุ์อย่างจำกัดในเพนนิซูล่า มาเลเซียและสุมาตรา มันมีการกระจายพันธุ์แค่เพียงทางตอนใต้ของเพนนิซูล่า มาเลเซีย โดยเฉพาะในรัฐยะโฮร์มีมากเป็นพิเศษเมื่อเทียบกับที่แห่งอื่น เท่าที่มีการบันทึก N. rafflesiana พบในชายฝั่งตะวันตกของสุมาตรา ระหว่างอินทรปุระและบารุส[2]
ปกติ N. rafflesiana จะขึ้นในบริเวณกลางแจ้ง, ดินเป็นทราย, ความชื้นสูง พบในป่าฝนเขตร้อน,ป่าพรุ, ป่าสันทรายชายหาด และผาริมทะเล มันขึ้นที่ระดับความสูง 0 ถึง 1,200 ม.จากระดับน้ำทะเล[2]
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์[แก้]
Nepenthes rafflesiana เป็นไม้เลื้อยไต่ ลำต้นอาจสูงถึง 15 ม.และหนาถึง 10 มม. ปล้องยาว 20 ซม.[2] สายดิ่งอาจยาวมากกว่า 110 ซม.
หม้อล่างของ N. rafflesiana ป่องและมีปีกชายฝอยขนาดใหญ่ ขนาดของหม้อยากที่จะมีขนาดสูงมากกว่า 20 ซม.ถึงแม้ว่ารูปแบบขนาดยักษ์ของ N. rafflesiana จะมีหม้อยาวมากกว่า 35 ซม.และกว้าง 15 ซม. หม้อบนรูปกรวยและยกขึ้นเป็นพิเศษที่ด้านหน้าของเพอริสโตม หม้อล่างและหม้อบนมีลักษณะพิเศษของเพอริสโตมคือมีคอคอดที่ยาวซึ่งยาวถึง 3 ซม.หรือมากกว่า
สีของหม้อมีความหลากหลายมากจากม่วงดำจนถึงขาว โดยทั่วไป N. rafflesiana มีสีเขียวอ่อนมีจุดสีม่วงเข้มโดยตลอดหม้อในหม้อล่างและสีครีมในหม้อบน
ช่อดอกเป็นแบบช่อกระจะสูง 16 ถึง 70 ซม. มีดอกเดี่ยวสีแดงหรือม่วง บางครั้งก็มีสองดอกบนก้านเดียวกัน
เมื่อยังเล็กต้นปกคลุมไปด้วยขนยาว, ร่วงง่าย, สีน้ำตาลหรือสีขาว เมื่อโตขึ้นมีสิ่งปกคลุมบางและสั้น เป็นขนสีน้ำตาล หรือไม่มีเลย
หน่วยอนุกรมวิธานต่ำกว่าระดับชนิด[แก้]
เพราะมีการกระจายเป็นวงกว้าง N. rafflesiana จึงมีถิ่นอาศัยหลากหลายทำให้เกิดความหลากหลายของลักษณะและสีของหม้อ ตามการแจกแจงหน่วยอนุกรมวิธานต่ำกว่าระดับชนิดของ N. rafflesiana ที่ระบุบไว้ รวมทั้งที่ไม่พิจารณายอมรับในปัจจุบันและสี่ความแตกต่างของอนุกรมวิธานเข้าด้วยกัน
- Nepenthes rafflesiana f. alba Hort.Westphal (2000) nom.nud.
- Nepenthes rafflesiana var. alata J.H.Adam & Wilcock (1990)
- Nepenthes rafflesiana var. ambigua G.Beck (1895)
- Nepenthes rafflesiana var. elongata Hort. (1897)
- Nepenthes rafflesiana var. excelsior (Hort.Williams) G.Beck (1895) [= (N. ampullaria × N. rafflesiana) × N. rafflesiana]
- Nepenthes rafflesiana var. glaberrima Hook.f. (1873)
- Nepenthes rafflesiana var. hookeriana (auct. non Low: Hort.Veitch ex Mast.) Becc. (1886) [=N. × hookeriana]
- Nepenthes rafflesiana var. insignis Mast. (1882)
- Nepenthes rafflesiana var. longicirrhosa Tamin & M.Hotta in M.Hotta (1986) nom.nud. [=N. longifolia][2][3]
- Nepenthes rafflesiana var. minor Becc. (1886)
- Nepenthes rafflesiana var. nigropurpurea Mast. (1882)
- Nepenthes rafflesiana var. nivea Hook.f. (1873)
- Nepenthes rafflesiana var. subglandulosa J.H.Adam & Hafiza (2006) [4]
- Nepenthes rafflesiana var. typica G.Beck (1895) nom.illeg.
- Nepenthes rafflesiana var. vittata Lauffenburger (1995) nom.nud.
- Nepenthes rafflesiana pallida Hort.Veitch ex Wilson (1877) [= (N. khasiana × N. gracilis) × N. rafflesiana]
ลูกผสมตามธรรมชาติ[แก้]
ลูกผสมตามธรรมชาติของ N. rafflesiana ที่มีการบันทึกไว้
- ? N. albomarginata × N. rafflesiana[5]
- N. ampullaria × N. rafflesiana [=N. × hookeriana][6]
- ? (N. ampullaria × N. rafflesiana) × N. mirabilis [=N. × hookeriana × N. mirabilis][5]
- N. bicalcarata × N. rafflesiana[6]
- ? (N. bicalcarata × N. rafflesiana) × N. mirabilis var. echinostoma[6]
- N. gracilis × N. rafflesiana[6][7]
- N. mirabilis × N. rafflesiana[6] (including N. mirabilis var. echinostoma × N. rafflesiana) [8]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ Phillipps, A. & A. Lamb 1996. Pitcher-Plants of Borneo. Natural History Publications (Borneo) , Kota Kinabalu.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 Clarke, C.M. 2001. Nepenthes of Sumatra and Peninsular Malaysia. Natural History Publications (Borneo) , Kota Kinabalu.
- ↑ Clarke, C.[M.] 1997. Another Nice Trip to Sumatra. Carnivorous Plant Newsletter 26 (1) : 4–10.
- ↑ Adam, J.H. & Hafiza A. Hamid 2006. Pitcher plants of Lambir Hill in Miri, Sarawak State of Malaysia.PDF (10.3 MiB) International Journal of Botany 2 (4) : 340–352. ISSN 1811-9700
- ↑ 5.0 5.1 Lowrie, A. 1983. Sabah Nepenthes Expeditions 1982 & 1983.PDF (1.25 MiB) Carnivorous Plant Newsletter 12 (4) : 88–95.
- ↑ 6.0 6.1 6.2 6.3 6.4 Clarke, C.M. 1997. Nepenthes of Borneo. Natural History Publications (Borneo) , Kota Kinabalu.
- ↑ Tan, W.K., C.L. Wong & C.K. Frazier 1996. Nepenthes × (rafflesiana and gracilis) ? Nature Malaysiana 21: 82–85.
- ↑ Phillips, A., A. Lamb & C.C. Lee 2008. Pitcher Plants of Borneo. Second Edition. Natural History Publications (Borneo) , Kota Kinabalu.
![]() |
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: Nepenthes rafflesiana |