น้ำเต้าลม
น้ำเต้าลม | |
---|---|
หม้อล่างของ N. thorelii ที่ถูกเก็บรักษาไว้ที่หอพฤกษศาสตร์,ปารีส | |
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | พืช (Plantae) |
หมวด: | Magnoliophyta |
ชั้น: | Magnoliopsida |
อันดับ: | Caryophyllales |
วงศ์: | Nepenthaceae |
สกุล: | Nepenthes |
สปีชีส์: | N. thorelii |
ชื่อทวินาม | |
Nepenthes thorelii Lecomte (1909) | |
ชื่อพ้อง | |
|
น้ำเต้าลม (อังกฤษ: Nepenthes thorelii[1]) เป็นหม้อข้าวหม้อแกงลิงถิ่นเดียวของอินโดจีน เรารู้น้อยมากเกี่ยวกับมัน แม้แต่นักอนุกรมวิธานยังติดป้ายชื่อของ N. thorelii ผิดบ่อยๆในการค้าต้นไม้
ประวัติทางพฤกษศาสตร์
[แก้]N. thorelii ถูกเก็บได้ครั้งแรกโดย Clovis Thorel ระหว่างปีค.ศ. 1862 และ ค.ศ. 1866[2] จาก Ti-tinh, Lo-thieu, Guia-Toan, เวียดนาม[3] ช่วงเวลานั้น Thorel ได้ตั้งชื่อตัวอย่างของ N. thorelii ว่า Thorel 1032 หนึ่งในตัวอย่างที่เก็บมาที่ถูกเลือกเป็นตัวอย่างต้นแบบเป็นต้นเพศผู้ที่มีหม้อล่างติดมาด้วย มันได้ถูกเก็บรักษาไว้ที่ Museum National d'Histoire Naturelle ในปารีส ร่วมกับตัวอย่างคู่ตัวอย่างต้นแบบที่เป็นเพศเมียพร้อมหม้อบน ตัวอย่างคู่ตัวอย่างต้นแบบตัวอย่างที่สองถูกรักษาไว้ที่หอพรรณไม้แห่ง Bogor Botanical Gardens (Herbarium Bogoriense).[3] ส่วนที่เหลือของ Thorel 1032 ถูกเก็บไว้ที่สวนพฤกษศาสตร์นิวยอร์ก[2]
N. thorelii ถูกจัดจำแนกในปีค.ศ. 1909 โดยนักพฤกษศาสตร์ชาวฝรั่งเศสที่ชื่อ Paul Henri Lecomte ผู้ตั้งชื่อมันตามชื่อ Thorel รายละเอียดถูกตีพิมพ์ใน Lecomte's Notulae systematicae[4] ตั้งแต่นั้นอนุกรมวิธานของ N. thorelii ก็ได้ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์: Nepenthes thorelii f. rubra ถูกอ้างโดย Leo C. Song ในบทความตีพิมพ์ปีค.ศ. 1979 ใน Carnivorous Plant Newsletter[5] แต่ถูกพิจารณาเป็น ชื่อตั้งไร้คำบรรยาย[6]
ปีค.ศ. 1983, Bruce Lee Bednar เขียนป้ายชื่อพืชเพาะเลี้ยงว่า N. kampotiana ที่ถูกคิดว่าเป็นลูกผสมทางธรรมชาติระหว่าง N. mirabilis และ N. thorelii และปรากฏชื่อบนบางบัญชีรายชื่ออย่างไม่เป็นทางการว่า N. × lecouflei[7] Bednar หมายเหตุว่าพืชที่รู้กันในการค้าพืชสวนว่า "thorelii-long green" ที่ถูกพิจารณาว่าเป็น N. mirabilis จากไทยนั้นนั้น มีต้นอื่นที่ถูกเรียกว่า "short round" ที่มีใบปกคลุมด้วยขนสั้นนุ่มและหม้อทรงกลมนั้นอาจจะเป็น N. thorelii ก็ได้ ถ้าในกรณีนี้มันอาจหมายความว่าลูกผสมที่ถูกผสมโดยมนุษย์ ดังเช่น N. 'Hachijo' และ N. 'Effulgent Koto' ที่เป็นลำดับการเปลี่ยนแปลงทางสายพันธุ์ (ไคลน์) ของ N. mirabilis ดังที่ค้านสู่ลูกผสม[7]
ในเอกสารปี 1997 ของสกุลหม้อข้าวหม้อแกงลิง Matthew Jebb และ Martin Cheek ได้ให้ตัวอย่างเพศผู้ที่เก็บรักษาไว้ที่หอพรรณไม้แห่งปารีสเป็นตัวอย่างเลือกเป็นตัวอย่างต้นแบบของ N. thorelii[3] ผู้เขียนหมายเหตุว่ามี "ปัญหาในการแบ่งแยก" ของ N. thorelii และญาติใกล้ชิดของมันอย่าง N. anamensis และ N. smilesii[3]
สารประกอบของพืชที่ระบุว่าเป็น N.thorelii เป็นหัวข้อของการศึกษาในบางเรื่อง บทความในปี ค.ศ. 1998 รายงานว่า naphthoquinones จาก N. thorelii แสดงถึงการต้านมาลาเรีย[8] เอกสารในปี ค.ศ. 2007 มีการศึกษาเอนไซม์องค์ประกอบของ nepenthesin ในหม้อในหม้อข้าวหม้อแกงลิงบางชนิดซึ่งรวมถึง N. thorelii ด้วย[9]
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
[แก้]N. thorelii เป็นไม้พุ่มเตี้ย ลำต้นตรง เป็นวงกลมสม่ำเสมอเมื่อตัดขวาง สอบเรียว ต้นยาวประมาณ 40 ซม. เส้นผ่าศูนย์กลาง 4-8 มม. หม้อข้าวหม้อแกงลิงชนิดนี้มีการพัฒนาเหง้าพักตัวที่จะแตกต้นได้ใหม่เมื่อถึงฤดูฝน เหง้านี้มีกิ่งก้านไม่สม่ำเสมอและอาจกว้างได้ถึง 2 ซม.[3]
ใบเป็นรูปใบหอกตรงถึงรูปใข่กลับแคบ แผ่นใบยาว 26 ซม. กว้าง 3 ซม. ปลายใบแหลม ฐานใบหุ้มลำต้นและเป็นครีบ 2 ครีบ ยาว 2.5 ซม.จรดลำต้น ปลายครีบกลม มีสองถึงสี่เส้นใบตามยาวจะแสดงบนข้างทั้งสองของเส้นกลางใบ เส้นใบแบบขนนกมีจำนวนมากและโค้งไปหาส่วนปลายของแผ่นใบ[3]
ใบกระจุกและหม้อล่างเป็นทรงรูปไข่และสูงถึง 11.5 ซม.กว้าง 4.5 ซม. พื้นมีสีเขียวมีลายแดงเรื่อยๆและฝาก็มีสีแดงเรื่อยๆเช่นกัน ปีกทั้งคู่กว้าง 8 มม.อยู่ทางด้านหน้าของหม้อ ปีกมีตะเข็บชายครุยยาว 5 มม.แต่ละชิ้นห่างกัน 2 มม. ปากหม้อเป็นทรงสามเหลี่ยมรูปไข่เฉียง มีเพอริสโตมล้อมรอบ กว้าง 2 ถึง 4 มม.ที่ด้านหน้า 7 มม.ที่ด้านหลัง มีซี่เป็นระเบียบห่างกัน 0.25 - 0.4 มม.ขอบภายในของเพอริสโตมเป็นฟันโดยรอบขนาด 0.2 - 0.5 มม. ฝาหม้อรูปไข่ถึงกลมยาว 3.5 ซม.กว้าง 2.8 ซม. มีต่อมมากมายใต้ฝาโดยเฉพาะบริเวณใกล้เส้นกลาง ขนาด 0.3 - 0.7 มม. ต่อมจะเล็กและหนาแน่นน้อยลงเมื่อไกลจากเส้นกลาง ( 0.15 มม.) เดือยเดี่ยวยาว 2 - 4 มม.อยู่ใกล้บริเวณฐานฝา[3]
หม้อบนเกิดจากมือจับที่ตรงเป็นรูปไข่กลับและค่อยๆแคบลงไปทางปาก มีขนาดพอๆกับหม้อล่างคือสูง 12.5 ซม.กว้าง 4.5 ซม. ปีกในหม้อล่างจะแคบลงโดยกว้างประมาณ 1 - 1.5 มม.มีตะเข็บสายครุยเรียวแหลม (ยาว ≤1.5 มม.) ห่างกัน 3 - 7 มม. ปากหม้อเว้าและเอียงเหมือนกับหม้อล่าง เพอริสโตมกลมกว้างประมาณ 3 - 5 มม. ขอบนอกเป็นคลื่นแบบเป็นระเบียบ ฝาหม้อคล้ายกับหม้อล่าง[3]
N. thorelii มีช่อดอกแบบช่อกระจะขนาดใหญ่ ก้านดอกยาว 8 ถึง 18 ซม. ส่วนแกนกลางยาว 50 ถึง 70 ซม. 1 ก้านดอกย่อยมีดอก 1 ดอก ก้านดอกย่อยอาจยาวถึง 6 มม. และอาจมีหรือไม่มีใบประดับสั้นๆ[3]
N. thorelii มีสิ่งปกคลุมเป็นขนสีขาวแบบเดี่ยวหรือแขนงยาว 0.3 ถึง 0.4 มม.[3]
โครโมโซมของ N. thorelii เป็นโครโมโซมสองชุดมีจำนวน 78 ตามเอกสารของ Katsuhiko Kondo ในปีค.ศ. 1969[10] อย่างไรก็ตามในปี ค.ศ. 1997 มีการศึกษาโดย Günther Rudolf Heubl และ Andreas Wistuba พบจำนวนโครโมโซมเป็น 80[11]
นิเวศวิทยา
[แก้]N. thorelii สามารถพบได้ในเวียดนาม.[3], กัมพูชา, ไทย หรืออาจจะในลาว[12] N. thorelii พบในภูมิอากาศแห้งแบบทุ้งหญ้าซาวานน่า สูงจากระดับน้ำทะเล 200 เมตร[3][12] ในฤดูแล้ง เชื่อว่ามันสามารถมีชีวิตรอดจากเหง้าที่เหลืออยู่ เมื่อถูกไฟป่าเผาใบและลำต้นไปหมด และแตกต้นขึ้นมาใหม่เมื่อถึงฤดูฝน[3][13]
เนื่องจากการกระจายตัวตามธรรมชาติของมันไม่เป็นที่แน่นอน N. thorelii จึงถูกจัดอยู่เป็นพวกไม่มีข้อมูลในบัญชีแดงชนิดที่ถูกคุกคามของ IUCN 2006 บนพื้นฐานการประเมินในปี ค.ศ. 2000[12]
ชนิดที่เกี่ยวข้อง
[แก้]N. thorelii เป็นญาติใกล้ชิดกับหม้อข้าวหม้อแกงลิงชนิดในอินโดจีนอย่าง N. anamensis และ N. smilesii มีลักษณะทางอนุกรมวิธานหลายๆอย่างที่คล้ายกัน เช่นมีใบแคบยาวคล้ายดาบ และ ฐานใบจะโอบรอบลำต้น N. anamensis อาจจะเติบโตในถิ่นอาศัยที่คล้ายกับ N. thorelii[3]
ลักษณะเด่นของ N. thorelii คือมีเหง้าขนาดใหญ่สำหรับพักตัวในฤดูแล้งและแตกต้นใหม่เมื่อถึงฤดูฝน, สายดิ่งที่ยาวตรงของหม้อบน, ช่อดอกที่มีขนาดใหญ่ อย่างไรก็ตามขอบเขตของความแตกต่างของชนิดหม้อข้าวหม้อแกงลิงในอินโดจีนนั้นยังไม่เป็นที่รู้กัน ทำให้การจำกัดวงนั้นยากเพิ่มมากขึ้น[3]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ สำนักงานหอพรรณไม้. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เต็ม สมิตินันทน์ -- กรุงเทพมหานคร : กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช, 2549
- ↑ 2.0 2.1 Specimen Details: Nepenthes thorelii Lecomte. The New York Botanical Garden.
- ↑ 3.00 3.01 3.02 3.03 3.04 3.05 3.06 3.07 3.08 3.09 3.10 3.11 3.12 3.13 3.14 Jebb, M.H.P. & M.R. Cheek 1997. A Skeletal Revision of Nepenthes (Nepenthaceae). Blumea 42 (1) : 1–106.
- ↑ Lecomte, H. 1909. Les Nepenthes d'indo-Chine. In: H. Lecomte (ed.) Notulae systematicae, I. pp. 59–65.
- ↑ Song, L.C. 1979. Nepenthes crosses made at California State University, Fullerton. Carnivorous Plant Newsletter 8 (1) : 13.
- ↑ Schlauer, J. 2006. Nepenthes thorelii เก็บถาวร 2012-02-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Carnivorous Plant Database.
- ↑ 7.0 7.1 Bednar, B. 1983. Nepenthes mirabilis variation.PDF (111 KiB) Carnivorous Plant Newsletter 12 (3) : 64.
- ↑ Likhitwitayawuid, K., R. Kaewamatawong, N. Ruangrungsi & J. Krungkrai 1998. Antimalarial naphthoquinones from Nepenthes thorelii. Planta Medica 64 (3) : 237–241.
- ↑ Takahashi, K., M. Tanji & C. Shibata 2007. Variations in the content and isozymic composition of nepenthesin in the pitcher fluids among Nepenthes species. Carnivorous Plant Newsletter 36 (3) : 73–76.
- ↑ Kondo, K. 1969. Chromosome numbers of carnivorous plants. Bulletin of the Torrey Botanical Club 96 (3) : 322–328.
- ↑ Heubl, G.R. & A. Wistuba 1997. A cytological study of the genus Nepenthes L. (Nepenthaceae). Sendtnera 4: 169–174.
- ↑ 12.0 12.1 12.2 Clarke, C.M., R. Cantley, J. Nerz, H. Rischer & A. Witsuba 2000. Nepenthes thorelii. 2006 IUCN Red List of Threatened Species. IUCN 2006. Retrieved on 10 May 2006.
- ↑ Kurata, S. 1976. Nepenthes of Mount Kinabalu. Sabah National Parks Publications No. 2, Sabah National Parks Trustees, Kota Kinabalu.