Nepenthes spathulata

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Nepenthes spathulata
หม้อล่างของ Nepenthes spathulata
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
หมวด: Magnoliophyta
ชั้น: Magnoliopsida
อันดับ: Caryophyllales
วงศ์: Nepenthaceae
สกุล: Nepenthes
สปีชีส์: N.  spathulata
ชื่อทวินาม
Nepenthes spathulata
Danser (1935)
ชื่อพ้อง

Nepenthes spathulata เป็นหม้อข้าวหม้อแกงลิงพื้นเมืองของเกาะชวาและเกาะสุมาตรา ขึ้นที่ระดับความสูง 1100 ถึง 2900 ม.จากระดับน้ำทะเล ชื่อ spathulata มาจากภาษาละตินจากคำว่า spathulatus หมายถึง "มีรูปร่างเหมือนช้อนปากแบนกว้าง" ซึ่งหมายถึงรูปทรงของแผ่นใบ[1]

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์[แก้]

Nepenthes spathulata เป็นไม้เลื้อยไต่ ลำต้นยาวได้ถึง 5 ม. เส้นผ่าศูนย์กลาง 8 มม. ปล้องยาว 15 ซม. เป็นทรงกระบอกหรือสี่เหยี่นมขนมเปียกปูนเมื่อตัดขวาง[1]

ใบไร้ก้าน-กึ่งมีก้านใบ แผ่นใบคล้ายแผ่นหนังรูปช้อน ยาว 30 ซม. กว้าง 10 ซม. และค่อยๆสอบเรียวไปทางฐานใบ ปลายมล เรียวแหลมสั้นๆ หรือ เว้าตื้น มีสามถึงห้าเส้นใบตามยาวในแต่ละฝั่งของเส้นกลางใบ เส้นใบแบบขนนกไม่เด่นชัด สายดิ่งยาว 20 ซม. เป็นแบบกึ่งแบบก้นปิด[1]

N. adrianii ดั้งเดิมที่ค้นพบโดย แอดเรียน ยูซูฟ (Adrian Yusuf) ในปี ค.ศ. 2004

หม้อใบกระจุกและหม้อล่างทรงรูปไข่ในส่วนล่างหนึ่งถึงสองในสามส่วน ส่วนบนเป็นทรงกระบอกแคบ N. spathulata อาจเป็นหม้อข้าวหม้อแกงลิงที่มีหม้อใหญ่ที่สุดในสุมาตรา ด้วยขนาดที่สูง 30 ซม. กว้าง 10 ซม. มีปีกตะเข็บ 1 คู่ (กว้าง ≤25 มม.) อยู่ด้านหน้าของหม้อ มีต่อมปกคลุมที่ผิวภายในบริเวณทรงรูปไข่ ปากกลม เอียงยาวไปทางคอ เพอริสโตมแคบในด้านหน้า (กว้าง ≤5 มม.) ก่อนที่จะแผ่กว้างไปด้านหลัง (กว้าง ≤25 มม.) และบานออกในด้านข้างคล้ายหอยแครง ซึ่งเป็นลักษณะที่ผิดแปลกออกไป ขอบด้านในของเพอริสโตมเป็นเส้นมีฟันสั้นแยกกัน ฝาเป็นรูปไข่-รูปหัวใจเล็กน้อย ไม่มีรยางค์ มีเดือยกิ่งที่ฐานฝา ยาว 10 มม.[1]

หม้อบนพบเห็นไม่บ่อยนัก เป็นทรงรูปไข่แคบในหนึ่งในสี่ หรือ หนึ่งในสามของด้านล่าง ด้านบนเป็นทรงกระบอกแคบ มีขนาดเล็กกว่าหม้อล่างมาก สูง 15 ซม. กว้าง 3ซม. ปากเกือบกลมไม่เฉียงยาวไปทางคอ เพียงเฉียงเล็กน้อย เพอริสโตมบาง (กว้าง ≤7 มม.) เป็นคลื่นที่ขอบ เป็นสันแทนที่ตำแหน่งของปีก ลักษณะอื่นๆคล้ายกับหม้อล่าง[1]

Nepenthes spathulata มีช่อดอกแบบช่อกระจะ ก้านช่อดอกยาว 5 ซม. แกนกลางยาว 15 ซม. ในช่อดอกเพศเมียจะสั้นกว่า ก้านดอกย่อยยาว 10 มม. มีใบประดับย่อยรูปเส้นด้าย กลีบเลี้ยงรูปไข่กลับ ยาว 4 มม.[1]

ช่อดอกมีขนสั้นปกคลุมหนาแน่น หม้อเมื่อยังเล็กจะปกคลุมด้วยขนสั้นแต่จะร่วงไปหมดเมื่อโตเต็มที่ ลำต้น แผ่นใบ สายดิ่ง ไม่มีขน[1]

ลำต้น แผ่นใบมีสีเขียว หม้อล่างมีสีเขียวสว่าง เพอริสโตมสีม่วงเข้ม จนถึงสีทองแดงข่อนไปทางเหลือง เพอริสโตมสีแดงสว่าง[1]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 1.7 Clarke, C.M. 2001. Nepenthes of Sumatra and Peninsular Malaysia. Natural History Publications (Borneo), Kota Kinabalu.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]