Nepenthes villosa
Nepenthes villosa | |
---|---|
![]() | |
หม้อบนของ Nepenthes villosa จากยอดเขากีนาบาลู | |
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
หมวด: | Magnoliophyta |
ชั้น: | Magnoliopsida |
อันดับ: | Caryophyllales |
วงศ์: | Nepenthaceae |
สกุล: | Nepenthes |
สปีชีส์: | N. villosa |
ชื่อทวินาม | |
Nepenthes villosa Hook.f. (1852) | |
![]() | |
การกระจายพันธุ์ N. villosa. | |
ชื่อพ้อง | |
|
Nepenthes villosa หรือ Villose Pitcher-Plant,[1] เป็นหม้อข้าวหม้อแกงลิงถิ่นเดียวของภูเขากีนาบาลูและภูเขาตัมบูยูกอน (Tambuyukon) ในตะวันออกเฉียงเหนือของบอร์เนียว เติบโตที่ความสูงสูงที่สุดมากกว่าหม้อข้าวหม้อแกงลิงทุกชนิดในบอร์เนียว ที่ความสูงมากกว่า 3200 ม. N. villosa มีลักษณะเพอริสโตมที่มีการวิวัฒนาการที่สูงและซับซ้อนมาก ซึ่งลักษณะเด่นนั้นคล้ายกับ N. edwardsiana และ N. macrophylla[2]
ชื่อ villosa มาจากภาษาละตินแปลว่า "เต็มไปด้วยขน" ซึ่งหมายถึงสิ่งปกคลุมที่มีอยู่หนาแน่นของหม้อข้าวหม้อแกงลิงชนิดนี้
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์[แก้]
N. villosa สูงไม่เกิน 60 ซม.[1] ถึงแม้ว่าลำต้นอาจจะยาวถึง 8 ม.มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 10 มม. ปล้องเป็นทรงกระบอกอาจยาวถึง 10 ซม.[2]
ใบคล้ายแผ่นหนังมีก้านใบ แผ่นใบรูปพายถึงรูปขอบขนานอาจยาวถึง 25 ซม. กว้าง 6 ซม. ปลายใบเว้าตื้น ก้านใบมีร่องเล็กตามยาว ยาวประมาณ 10 ซม. ปลอกหุ้มลำต้น เส้นใบปรากฏหนึ่งถึงสามเส้นในแต่ละด้านของเส้นกลางใบ สายดิ่งอาจยาวถึง 50 ซม.[2]
หม้อบนและหม้อล่างคล้ายกัน มีทรงรูปคนโทถึงรูปไข่ สูงประมาณ 25 ซม.[1] กว้าง 9 ซม. มีปีกคู่ตะเข็บ (กว้าง ≤15 มม.) อยู่ด้านหน้าของหม้อ ถึงแม้ว่าจะลดรูปลงเหลือแค่สันในหม้อบน ปากหม้อลาดเอียงและยกขึ้นในคอด้านหลัง ต่อมบนพื้นผิวภายในโค้งมีความหนาแน่น 200 ถึง 1300 ต่อมต่อตารางเซนติเมตร[3] เพอริสโตมเป็นทรงกระบอกเมื่อตัดขวาง กว้าง 20 มม. มีฟันหรือสันรอบเพอริสโตม ฝารูปหัวใจและมีจุดที่ปลาย มีเดือยเดี่ยว (ยาว ≤20 มม.) ที่ฐานของฝา[2]
N. villosa มีช่อดอกแบบช่อกระจะ ก้านช่อดอกอาจยาวถึง 40 ซม. ขณะที่แกนกลางยาว 20 ซม. ก้านดอกย่อยรูปเส้นด้าย-มีใบประดับย่อย ยาว 15 มม. กลีบเลี้ยงกลมถึงรูปไข่ ยาว 4 มม.[2][4]
N. villosa มีสิ่งปกคลุมหนานแน่น เป็นขนยาวสีน้ำตาล ปกคลุมทุกส่วนของพืช[2]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ 1.0 1.1 1.2 Phillipps, A. & A. Lamb 1996. Pitcher-Plants of Borneo. Natural History Publications (Borneo), Kota Kinabalu.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 Clarke, C.M. 1997. Nepenthes of Borneo. Natural History Publications (Borneo), Kota Kinabalu.
- ↑ Danser, B.H. 1928. The Nepenthaceae of the Netherlands Indies. Bulletin de Jardin de Botanique, Buitenzorg, Série III, 9(3–4): 249–438.
- ↑ Kaul, R.B. 1982. Floral and fruit morphology of Nepenthes lowii and N. villosa, montane carnivores of Borneo. American Journal of Botany 69(5): 793–803.
- Sacilotto, R. 2004. Experiments with Highland Nepenthes seedlings: A Summary of Measured Tolerances. Carnivorous Plant Newsletter 33(1): 26–31.
- Shafer, J. 2003. A Novel Method for the Cultivation of Nepenthes villosa.PDF Carnivorous Plant Newsletter 32(1): 20–23.
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
![]() |
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: Nepenthes villosa |
- Danser, B.H. 1928. 51. Nepenthes villosa HOOK. F. In: The Nepenthaceae of the Netherlands Indies. Bulletin de Jardin de Botanique, Buitenzorg, Série III, 9(3–4): 249–438.