Nepenthes sanguinea
บทความเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตนี้มีชื่อบทความเป็นชื่อวิทยาศาสตร์ เนื่องจากไม่มีชื่อสามัญเป็นภาษาไทย |
Nepenthes sanguinea | |
---|---|
N. sanguinea สีส้มจากการปลูกเลี้ยง | |
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | พืช (Plantae) |
หมวด: | Magnoliophyta |
ชั้น: | Magnoliopsida |
อันดับ: | Caryophyllales |
วงศ์: | Nepenthaceae |
สกุล: | Nepenthes |
สปีชีส์: | N. sanguinea |
ชื่อทวินาม | |
Nepenthes sanguinea Lindl. (1849) | |
ชื่อพ้อง | |
|
Nepenthes sanguinea ( จากภาษาละติน: sanguineus = สีแดงเลือด ) เป็นหม้อข้าวหม้อแกงลิงขนาดใหญ่ ที่พบในคาบสมุทรมลายูขึ้นสูงจากระดับน้ำทะเล 900-1800 เมตร หม้อมีหลายขนาดสูงตั้งแต่ 10-30 เซนติเมตร มีสีเขียวและเหลืองถึงส้มและแดงผนังด้านในหม้อเป็นจุดผสมกันระหว่าง 2 สีหลัก
ในประเทศไทยพบที่ทางภาคใต้ตอนล่างของไทยที่จังหวัดยะลา ขึ้นตามยอดเขาในป่าดิบเขาที่เปิดโล่ง ระดับความสูง 1200-1500 เมตร[1]
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
[แก้]Nepenthes sanguinea เป็นไม้เลื้อยไต่ ลำต้นเป็นเหลี่ยมมน มีต่อมสีแดงกระจายทั่วไปตามส่วนต่างๆ ใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปใบพาย กว้างตอนปลาย ยาว 20 ซม. ใบตามลำต้นช่วงปลายมีขนาดเล็กกว่า ปลายใบมนหรือแหลม โคนใบแคบ ใบโอบรอบต้น ปลายเส้นกลางใบยื่นยาวเป็นสายดิ่ง สีเขียวมีแต้มสีน้ำตาลแดงทั่วไป มีขนสีน้ำตาลแดง 4-6 แฉก กระจาย
หม้อล่างรูปรีกว้าง ยาว 13-25 ซม. มีปีก 2 ปีกชายครุยด้านหน้า กว้าง 0.2-0.4 ซม. ขอบชายครุย ยาว 0.4-0.6 ซม. หม้อบนรูปทรงกระบอกแคบยาว 13-27 ซม. ปีกเป็นชายครุยน้อยกว่า
ช่อดอกเป็นช่อแบบช่อกระจุกแยกแขนงสั้นๆ ช่อดอกเพศผู้ยาว 35-65 ซม. ก้านช่อยาว 10-25 ซม. ช่อดอกเพศเมียสั้นกว่า และดอกมีขนาดเล็กกว่า แต่ละช่อแขนงมี 2-3 ดอก กลีบรวม 4 กลีบ เรียงซ้อนเหลื่อม รูปรี ยาวประมาณ 0.3 ซม. เกสรเพศผู้ติดกันเป็นหลอด ยาว 0.2-0.3 ซม. รังไข่ 4 ช่อง ผลแบบแคปซูล แตกตามยาว ยาว 2-2.5 ซม. เมล็ดจำนวนมาก รูปเส้นด้าย ยาวประมาณ 1 ซม.[1]
การปลูกเลี้ยง
[แก้]หม้อข้าวหม้อแกงลิงที่สูงชนิดนี้สามารถปลูกเลี้ยงตรงบริเวณขอบหน้าต่างหรือบริเวณที่ร่มรำไรในบริเวณนอกอาคาร แต่ให้ดีควรปลูกเลี้ยงด้วยตู้เลี้ยง (Vivarium) แต่มีข้อแม้ว่าต้องมีขนาดให้ใหญ่พอที่จะใส่มัน
ลูกผสมทางธรรมชาติ
[แก้]- ? N. albomarginata × N. sanguinea[2]
- N. macfarlanei × N. sanguinea[3]
- N. ramispina × N. sanguinea[3]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 หม้อแกงลิงเขา[ลิงก์เสีย] สารานุกรมพืช หอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
- ↑ Shivas, R.G. 1985. Variation in Nepenthes albo-marginata.PDF (670 KiB) Carnivorous Plant Newsletter 14 (1) : 13–14.
- ↑ 3.0 3.1 Clarke, C.M. 2001. Nepenthes of Sumatra and Peninsular Malaysia. Natural History Publications (Borneo) , Kota Kinabalu.
- Clarke et al (2000). Nepenthes sanguinea. 2006 IUCN Red List of Threatened Species. IUCN 2006. Retrieved on 11 May 2006.
- Shivas, R.G. 1983. Nepenthes of Gunung Ulu Kali.PDF (1.54 MiB) Carnivorous Plant Newsletter 12 (3) : 65–67.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Danser, B.H. 1928. 40. Nepenthes sanguinea LINDL. In: The Nepenthaceae of the Netherlands Indies. Bulletin de Jardin de Botanique, Buitenzorg, Série III, 9 (3–4) : 249–438.